แคร์สุขภาพ

แพ้ผ้าอนามัย ร้ายแรงหรือไม่ !? มีอาการอย่างไร ? พร้อมวิธีสังเกตตัวเอง

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: March 5,2024
  
Last edited: June 13, 2024
แพ้ผ้าอนามัย

แพ้ผ้าอนามัย อาการที่สาว ๆ ควรมีความรู้ติดตัวเอาไว้ เพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว สำคัญต่อสุขอนามัย และอาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการแพ้ผ้าอนามัยมาให้ ตั้งแต่การแพ้ผ้าอนามัย คืออะไร ? มีอาการอย่างไร มีวิธีสังเกตหรือสัญญาณเตือนว่ามีอาการแพ้อย่างไร ? การแพ้ผ้าอนามัยนั้นอันตรายหรือไม่ เมื่อแพ้แล้วจะต้องมีวิธีการในการดูแลรักษาอย่างไร จำเป็นต้องไปพบแพทย์หรือไม่ และจะมีทางออกอย่างไรหากแพ้ผ้าอนามัยอย่างรุนแรง ?

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    แพ้ผ้าอนามัย คืออะไร ?

    แพ้ผ้าอนามัย อาการที่ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอนามัยนั้นเกิดการอักเสบจากการใช้ผ้าอนามัยในช่วงเวลาที่มีประจำเดือนของสาว ๆ หลายคนที่แพ้ผ้าอนามัยนั้นจะมีอาการคัน แสบ บวม หรือมีผื่นแดงขึ้นยังบริเวณหัวหน่าว ปากช่องคลอด หรือกระทั่งบริเวณระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนักส่งผลให้อาจเกิดแผลขึ้นได้ โดยปกติแล้วอาการแพ้ผ้าอนามัย คัน แสบ เป็นผื่น จะหายเองได้ภายใน 1-5 วันนับจากวันที่เริ่มมีอาการ

    สำหรับบางรายที่มีอาการแพ้รุนแรงนั้นจะส่งผลให้ตกขาวมีสีที่เปลี่ยนไป เสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องคลอดซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอวัยวะเพศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงควรรีบปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรโดยเร็ว

    นอกจากนี้แม้สาว ๆ จะไม่เคยแพ้ผ้าอนามัยมาก่อนก็สามารถเกิดการแพ้ผ้าอนามัยขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัวได้เช่นกันเนื่องจากการสะสมของสารเคมีที่เพิ่มมากขึ้น ภูมิคุ้มกันตก หรือสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีอายุมากขึ้น

    สัญญาณเตือนอาการแพ้ผ้าอนามัย

    แน่นอนว่าเมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและสุขภาพภายในของสาว ๆ ที่นับเป็นเรื่องเซนซิทิฟและอาจลุกลามจนส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ก็จำเป็นที่จะต้องสังเกตและให้ความใส่ใจอย่างสม่ำเสมอ มาดูสัญญาณเตือนการแพ้ผ้าอนามัย หากมีสัญญาณเหล่านี้เมื่อไหร่ ต้องลองสังเกตตัวเองอย่างตั้งใจ อย่านิ่งนอนใจและปล่อยไว้ให้อาการลุกลาม

    สำหรับการแพ้ผ้าอนามัยนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ อาการขั้นต้น อาการก่อนเข้าขั้นรุนแรง และอาการรุนแรง ซึ่งแต่ละระดับก็จะมีสัญญาณเตือนหรืออาการ ดังนี้

    • อาการขั้นต้น จะมีความรู้สึกเหนียวเหนอะหนะ อับชื้น ไม่สบายตัว และเริ่มมีความระคายเคือง
    • อาการก่อนเข้าขั้นรุนแรง จะเริ่มมีรอยแดง ผดผื่นขึ้น รู้สึกคัน หรือเป็นสิว
    • อาการรุนแรง จะมีความรู้สึกแสบ บวม มีแผลถลอก ตกขาวมีสีเปลี่ยนไป และอาจติดเชื้อภายในช่องคลอดได้

    จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าหากปล่อยให้อาการ แพ้ผ้าอนามัยลุกลามไปสู้อาการขั้นรุนแรงจะส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและสุขอนามัยของร่างกายสาว ๆ ดังนั้นทุกครั้งที่เป็นประจำเดือนและจำเป็นต้องใส่ผ้าอนามัยก็ควรสังเกตอาการกันไว้ เมื่อเริ่มมีอาการขั้นต้นหรืออาการก่อนเข้าขั้นรุนแรงก็ต้องรีบดูแลป้องกันไม่ให้ลุกลามต่อไป เพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายจนกลายเป็นปัญหาระยะยาว

    แพ้ผ้าอนามัย คัน

    สาเหตุของการแพ้ผ้าอนามัย

    แพทย์ได้ให้ข้อมูลสาเหตุการแพ้ผ้าอนามัยไว้ว่า การแพ้ผ้าอนามัยนั้นปกติแล้วจะเกิดในลักษณะของของผื่นระคายสัมผัส (Contact Dermatitis) ที่จะเกิดขึ้นเมื่อผิวหนังของคนเราสัมผัสกับสารก่อเกิดภูมิแพ้ (Allergen) และสารก่อการระคายเคือง (Irritant) หรือในที่นี้ก็คือสารเคมีหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ของผ้าอนามัย เช่น แผ่นซึมซับ แผ่นกับซึม น้ำหอม สารให้ความเย็นในผ้าอนามัยบางชนิด แถบกาวที่ใช้ในการแปะติด ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้นล้วนก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวได้ จนอาจส่งผลให้เกิดอาการไม่สบายตัว ผดผื่นขึ้น มีอาการคัน บวมแดง แสบร้อน จนอาจลุกลามไปทำให้เกิดแผลและติดเชื้อได้ในลำดับถัดไป

    นอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว การใช้กางเกงชั้นในหรือกางเกงที่รัดแน่น การสวมผ้าอนามัยติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน การไม่เปลี่ยนผ้าอนามัยแผ่นใหม่เป็นระยะเวลานาน ๆ ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดการแพ้ผ้าอนามัยได้ทั้งหมด เนื่องจากเมื่อใส่กางเกงที่รัดแน่นอาจทำให้ผิวหนังเสียดสีกับผ้าอนามัยจนเกิดการอักเสบของผิวหนัง และการใส่ผ้าอนามัยติดต่อกันเป็นเวลานานหรือไม่เปลี่ยนผ้าอนามัยแผ่นใหม่เมื่อถึงเวลาก็อาจทำให้เกิดความอับชื้น เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนังและมีอาการคันเกิดขึ้นได้นั่นเอง

    แพ้ผ้าอนามัย อันตรายหรือไม่ ? 

    สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่าการแพ้ผ้าอนามัยนั้นมีความร้ายแรงหรือมีอันตรายต่อร่างกายของเราหรือไม่นั้น อย่างที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้าว่าการแพ้ผ้าอนามัยนั้นถูกแบ่งเป็น 3 ระดับ หรือ 3 ระยะด้วยกัน ซึ่งหากเป็นการแพ้ผ้าอนามัยในขั้นต้นและได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีก็จะสามารถหายเองได้ในระยะเวลาประมาณ 1-5 วัน ไม่ได้นับเป็นอันตรายร้ายแรง แต่หากเป็นในระยะก่อนอาการเข้าขั้นรุนแรง หรืออาการเข้าขั้นรุนแรงก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อร่างกาย ซึ่งหากลุกลามจนเป็นแผลหรือมีการติดเชื้อภายในช่องคลอดก็นับเป็นอาการร้ายแรงที่มีความเสี่ยงต่อร่างกายที่ไม่ควรละเลยหรือมองข้ามผ่านไป ควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาอย่างถูกวิธี

    สุขอนามัยของหญิงสาวนั้นถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและสามารถเกิดการติดเชื้อได้ง่าย อย่างที่บอกไปว่าแม้ปัจจุบันสาว ๆ อาจยังไม่เคยมีประวัติในการแพ้ผ้าอนามัย แต่ด้วยปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตและสุขภาพร่างกายที่อาจเปลี่ยนไป ก็ทำให้มีโอกาสในการแพ้ผ้าอนามัยเกิดขึ้นได้ ดังนั้น แรบบิท แคร์ จึงขอแนะนำให้ทำประกันสุขภาพเอาไว้ เมื่อมีอาการไม่คาดฝันเกิดขึ้นจะได้รีบไปพบแพทย์แบบไม่ต้องกังวลใจ ไม่ต้องห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายจนทำให้อาการลุกลามรุนแรง

    อาการ แพ้ ผ้าอนามัย

    เมื่อมีอาการแพ้ผ้าอนามัยควรทำอย่างไร ?

    อ่านมาถึงตรงนี้สาว ๆ หลาย ๆ คนอาจเริ่มสงสัย ว่าแล้วหากตนเองเกิดมีอาการแพ้ผ้าอนามัยขึ้นมาควรที่จะต้องจัดการหรือดูแลตัวเองในเบื้องต้นอย่างไร แรบบิท แคร์ นำคำตอบมาให้ ลองอ่านและนำไปปรับใช้กันดู

    • แพ้ผ้าอนามัยลองเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอนามัย เพื่อหาผ้าอนามัยยี่ห้อที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้กับตนเอง โดยอาจเลือกจากผ้าอนามัยที่ปราศจากน้ำหอม เหมาะกับผิวแพ้ง่าย หรืออาจลองเลือกใช้ผ้าอนามัยออร์แกนิก
    • แพ้ผ้าอนามัยลองสำรวจความถี่ในการเปลี่ยนผ้าอนามัยของตนเอง ว่าเปลี่ยนทุก 4 ชั่วโมงหรือไม่ เพราะในการใส่ผ้าอนามัยไม่ว่าประจำเดือนจะมาน้อยหรือมากก็ควรเปลี่ยนในทุก ๆ 4 ชั่วโมง
    • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสวมใส่กางเกงและกางเกงชั้นในไม่ให้รัดแน่นเกินไป เพื่อป้องกันการเสียดสีและเกิดการอับชื้นบริเวณจุดซ่อนเร้น
    • แพ้ผ้าอนามัยลองทำความสะอาดบริเวณจุดซ่อนเร้นทุกวันด้วยน้ำอุ่นและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่ปราศจากน้ำหอมและสารก่อการระคายเคือง และควรซับให้แห้งทุกครั้งหลังการทำความสะอาด
    • แพ้ผ้าอนามัยลองห้ามเกาบริเวณที่มีอาการคันหรือมีผื่น เพราะอาจทำให้อาการลุกลามและร้ายแรงขึ้นได้
    • แพ้ผ้าอนามัยลองอาจลองนั่งแช่ในน้ำอุ่น (ต้องระวังไม่ให้อุณหภูมิของน้ำสูงเกินไป) เป็นระยะเวลาประมาณ 5-10 นาที เพื่อช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง
    • แพ้ผ้าอนามัยอาจลองปรึกษาเภสัชเผื่อรับยาบรรเทาอาการคันต่าง ๆ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกรอย่างเคร่งครัด

    หากลองปฏิบัติดังนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นในช่วง 5 วัน – 1 สัปดาห์ หรือพบสัญญาณผิดปกติที่ร้ายแรงขึ้นของร่างกาย เช่น ช่วงคลอดมีกลิ่นผิดปกติ ตกขาวมีสีผิดปกติ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ ผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้น แสบ บวม แดง มีไข้ ควรรีบเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว

    แพ้ผ้าอนามัย

    หากแพ้ผ้าอนามัยรุนแรง สามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง ?

    อย่างที่ได้กล่าวไปว่าหากมีการแพ้อนามัยในระยะเริ่มต้นนั้นเราอาจทำการดูแลตัวเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อบรรเทาอาการ รักษา และป้องกันและลดโอกาสในการแพ้ผ้าอนามัยไม่ให้เกิดซ้ำอีกได้ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ผ้าอนามัยอย่างรุนแรงนั้นทำเพียงวิธีเบื้องต้นที่ได้บอกไปอาจจะไม่สามารถช่วยได้ หลังจากรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องตรงจุดจนดีขึ้นแล้ว อาจจะต้องลองเปลี่ยนไปใช้ถ้วยอนามัยแทนการใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นเพื่อป้องกันการแพ้ผ้าอนามัย ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาและทำการวิธีการใช้ เพราะการใช้ถ้วยอนามัยก็มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเช่นกันนั่นเอง

    สรุป

    ข้อมูลเหล่านี้คือข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการแพ้อนามัยที่สาว ๆ ทุกคนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์และต้องใช้ผ้าอนามัยกันอยู่ทุกเดือนควรทราบเป็นความรู้ติดตัวกันเอาไว้ หากมีอาการไม่พึงประสงค์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นจะได้ไม่ตกอกตกใจ ตั้งสติในการดูแลตัวเองได้ แรบบิท แคร์ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และขอให้สุขอนามัยของทุกคนแข็งแรง


    สรุป

    สรุปบทความ

    การแพ้ผ้าอนามัยนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ด้วยกัน ซึ่งจะมีสัญญาณเตือนหรืออาการแตกต่างกัน ดังนี้

    • อาการขั้นต้น จะมีความรู้สึกเหนียวเหนอะหนะ อับชื้น ไม่สบายตัว และเริ่มมีความระคายเคือง
    • อาการก่อนเข้าขั้นรุนแรง จะเริ่มมีรอยแดง ผดผื่นขึ้น รู้สึกคัน หรือเป็นสิว
    • อาการรุนแรง จะมีความรู้สึกแสบ บวม มีแผลถลอก ตกขาวมีสีเปลี่ยนไป และอาจติดเชื้อภายในช่องคลอดได้

    สุขอนามัยของหญิงสาวนั้นถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและสามารถเกิดการติดเชื้อได้ง่าย หากมีอาการรุนแรง เสี่ยงต่อร่างกาย และไม่ควรละเลยหรือมองข้ามผ่านไป ควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาอย่างถูกวิธี

    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024