หมอนรองกระดูกคอเสื่อม มีอาการเป็นอย่างไร และมีวิธีรักษาอย่างไร?
เชื่อว่าหลาย ๆ คนเวลาที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอหรือบริเวณบ่าไหล่จากการทำงานก็ดี หรือจากการใช้ชีวิตประจำวันก็ดี ก็มักที่จะเข้าร้านนวดเพื่อทำการนวดคลายกล้ามเนื้อให้อาการตึงปวดนั้นดีขึ้นมา แต่ในความเป็นจริงแล้วอาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณกำลังเข้าสู่การเป็นโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมระยะแรกก็เป็นได้ ดังนั้นถ้าหากว่ามีอาการปวดเมื่อยเรื้อรังบริเวณต้นคอไปจนถึงการเจ็บปวดแบบรุนแรง แล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ยอมไปพบแพทย์นาน ๆ นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ไปจนถึงการพิการหรือทุพพลภาพได้อีกด้วย ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกลักษณะมากขึ้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถช่วยให้คุณนั้นห่างไกลจากโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมได้เป็นอย่างดี
หมอนรองกระดูกคอเสื่อมคืออะไร?
อันดับแรกเราต้องมาทำความรู้จักกับหมอนรองกระดูกคอเบื้องต้นกันก่อน โดยหมอนรองกระดูกคอนั้นจะเป็นส่วนที่คั่นกลางอยู่ระหว่างปล้องกระดูกคอ และจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนทั้งหมด 7 ชิ้น ที่มีชื่อเรียกว่า cervical spine ซึ่งชิ้นที่ 1 นั้นจะยึดติดอยู่กับกะโหลกศีรษะแล้วไล่ลงมาจนถึงชิ้นที่ 7 ที่อยู่ติดกับบริเวณกระดูกหน้าอก ดังนั้นหมอนรองกระดูกคอจึงจะมีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักและให้ความยืดหยุ่นในการเคลื่อนไหวของกระดูกคอ เราจึงสามารถก้ม เงย และหันคอได้นั่นเอง แต่ถ้าหากว่ามีการใช้งานหมอนรองกระดูกคอที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะนำไปสู่การเกิดโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมในอนาคตได้ และมักจะเป็นบริเวณกระดูกคอปล้องที่ 5 ต่อ 6 และ 6 ต่อ 7 ตามลำดับ ส่วนการรักษานั้น นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมบนเว็บไซต์ Chulaortho นายแพทย์จากภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้สัมภาษณ์ว่าส่วนมาก 90-95% โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมมักจะหายเองได้ด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด การฝังเข็ม การนวดแผนไทย การจัดกระดูก รวมไปถึงการทำอัลตราซาวน์และการทำช็อกเวฟด้วย
หมอนรองกระดูกคอเสื่อม อาการเป็นอย่างไร?
- ไม่สามารถติดกระดุมเสื้อเองได้
- ไม่สามารถควบคุมระบบการขับถ่ายหรือระบบปัสสาวะเองได้
- เดินได้ลำบากมากขึ้น เนื่องจากความผิดปกติของการประสานงานในร่างกาย
- มีอาการปวดคอร้าวไปจนถึงบริเวณหัวไหล่หรือแขน
- มีอาการเป็นเหน็บชาที่แขน ขา มือ และเท้าบ่อยขึ้น
- รู้สึกอ่อนแรงมากขึ้น เนื่องจากอาการเหน็บชาที่เป็นบ่อย
- มีอาการคอแข็ง จึงทำให้เคลื่อนไหวคอได้ลำบาก
- หากมีอาการเสื่อมหรือแตกของหมอนรองกระดูกคอ ก็มักจะมีโอกาสเกิดการกดทับบริเวณประสาทไขสันหลังและรากประสาทได้
ลักษณะโรคกระดูกคอเสื่อม 3 กลุ่มอาการ
1. อาการปวดต้นคอ (Axial Neck Pain)
รวมถึงอาการปวดร้าวไปที่บริเวณท้ายทอย ต้นสะบักด้านหลัง และช่วงหัวไหล่ด้านหลัง ซึ่งกลุ่มอาการนี้จะส่งผลจากหมอนรองกระดูกคอเสื่อมและข้อกระดูกคอ
2. อาการกดทับรากประสาท (Radiculopathy)
เกิดจากหมอนรองกระดูกคอเสื่อมไปกดทับบริเวณรากประสาท จึงส่งผลทำให้มีอาการปวดร้าว อ่อนแรง และมีอาการชาลงไปที่แขนและปลายนิ้วมือ
3. อาการกดทับไขสันหลัง (Myelopathy)
มีสาเหตุเดียวกันกับกลุ่มอาการกดทับรากประสาท (Radiculopathy) แต่จะเปลี่ยนจากบริเวณรากประสาทไปเกิดที่บริเวณไขสันหลังแทน และถือว่าในกลุ่มอาการกดทับไขสันหลัง (Myelopathy) นี้มีความรุนแรงและเป็นอันตรายมากที่สุด โดยผู้ที่เป็นจะมีอาการข้อมือเกร็งจนไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ เช่น ติดกระดุมไม่ได้ เขียนหนังสือลำบาก เดินทรงตัวไม่ได้ เดินขาแข็ง ควบคุมระบบการขับถ่ายเองไม่ได้ เป็นต้น
หมอนรองกระดูกคอเสื่อม เกิดจากอะไร?
โดยปกติแล้วโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมนั้นจะพบมากในหมู่คนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากส่วนประกอบของน้ำในหมอนรองกระดูกที่ลดน้อยลง แต่สำหรับในปัจจุบันนี้มักจะพบได้มากในหมู่คนวัยทำงานหรือพนักงานออฟฟิศที่มีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
- การมีพฤติกรรมการใช้คอและการใช้กล้ามเนื้อแผ่นหลังที่ผิดลักษณะ จนไปเร่งทำให้หมอนรองกระดูกคอเสื่อมไวมากขึ้น เช่น การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ๆ การก้มหน้าก้มตาเล่นโทรศัพท์มือถือหรือเล่นแท็บเล็ต เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะทำให้เกิดโรค CVS หรือออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย
- ในบางครั้งโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมนั้นอาจจะมีสาเหตุมาจากการเกิดอุบัติเหตุได้เช่นเดียวกัน เช่น การเกิดอุบัติเหตุรถชนจากทางด้านหลังอย่างรุนแรง เป็นต้น
- รวมทั้งหมดผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจจะส่งผลต่อข้อกระดูกต้นคอด้วย เช่น ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อคอเกร็งกระตุก (Cervical Dystonia) เป็นความผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อต้นคอได้ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของคอที่ผิดปกติ และกลุ่มอาการ Klippel-Feil Syndrome เป็นความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด จากการที่กระดูกคอนั้นมีการเชื่อมกันตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป จึงทำให้คอมีลักษณะที่สั้นมากกว่าปกติ
หมอนรองกระดูกคอเสื่อม รักษาอย่างไร?
สำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมในปัจจุบันนั้น จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่
กลุ่มที่ 1 (อาการยังไม่รุนแรงมากนัก)
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานยาอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
- การทำกายภาพบำบัด
- การทำประคบร้อนเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดชั่วคราว
กลุ่มที่ 2 (ทานยาแล้วยังไม่ดีขึ้น)
- การรักษาผ่านคลื่นความร้อน
- การฉีดยาบริเวณเหนือเส้นประสาทที่บริเวณคอ
- การรักษาโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง (Nucleoplasty) เพื่อทำการลดแรงดันของหมอนรองกระดูกสันหลัง พร้อมทำลายเส้นประสาทที่งอกเข้า มาในแกนกลางของหมอนรองกระดูกสันหลัง และเข้าไปปรับโมเลกุลโครงสร้างของหมอนรองกระดูกสันหลังใหม่
- การช็อกเวฟ เพื่อบรรเทาอาการปวดและเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูของร่างกาย
- การใช้เครื่องอัลตราซาวน์ รักษาโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
- การใช้เครื่อง Red Cod จัดระเบียบการทำงานของกล้ามเนื้อ
กลุ่มที่ 3 (ต้องรักษาโดยวิธีการผ่าตัด)
- การผ่าตัดผ่านกล้องโดยใช้หมอนรองกระดูกเทียม สำหรับผู้ที่เป็นมานานมากกว่า 6 สัปดาห์ และสวมคอลลาร์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เพื่อช่วยประคองคอหลังการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม
- การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Fusion) เป็นการใส่สกรูโลหะไทเทเนียม ยึดระหว่างกระดูกสันหลังและปลูกระดูกไว้รอบ ๆ
วิธีการดูรักษาให้ห่างไกลโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งนาน ๆ โดยที่ไม่ขยับร่างกายหรือไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถเลย โดยการยืดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ
- การปรับตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- เก้าอี้นั่งต้องมีพนักพิงที่ทำให้นั่งสบาย
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรบิดคอให้มีเสียงดัง
- การพักผ่อนให้เพียงพอ
ดังนั้นเรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ เพราะในปัจจุบันนี้คนเราต่างใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ที่เรานั้นไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเราเจ็บป่วยขึ้นมาเมื่อใด สิ่งสำคัญที่เราจะต้องเตรียมนั่นก็คือในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ซึ่งถ้าหากใครที่ไม่ได้มีเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็อาจจะลำบากได้ ดังนั้นการเลือกทำประกันสุขภาพ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะประกันสุขภาพจะช่วยรองรับความเสี่ยงด้วยวงเงินคุ้มครองด้านสุขภาพในยามฉุกเฉิน ช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท อีกทั้งยังช่วยคลายกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาได้อีกด้วย เจ็บป่วยเล็กน้อยก็เคลมได้
และเมื่อซื้อประกันสุขภาพผ่านโบรกเกอร์ชั้นนำอย่างแรบบิท แคร์ คุณจะสามารถเข้าถึงความคุ้มครองได้อย่างรวดเร็วและได้รับความคุ้มครองอย่างง่าย ๆ โดยที่เบี้ยประกันนั้นมีราคาที่ถูก เพราะคุณจะได้รับแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้ดีที่สุดจากการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพที่หลากหลาย อีกทั้ง แรบบิท แคร์ ยังมีข้อเสนอสุดพิเศษให้คุณอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพรายปี ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ประกันสุขภาพรายเดือน ประกันสุขภาพแบบไม่ต้องสำรองจ่าย หรือประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี และนอกจากนี้ก็ยังมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ง่ายดาย และสะดวกรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องไปเสียเวลาติดต่อตัวแทนขายประกันสุขภาพทีละบริษัทแต่อย่างใด
ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ