รู้จักกับสภาพคล่อง ตัวช่วยสำคัญที่ทำให้คุณไม่เป็นหนี้ยามฉุกเฉิน
เงินไม่พอใช้ เงินขาดมือ นับเป็นปัญหาของใครหลายคนเพราะเป็นวิกฤตที่ทำให้คุณไม่มีเงินใช้ จะซื้ออะไรก็ซื้อไม่ได้ และหนักสุดอาจทำให้คุณเป็นหนี้ได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องบริหารเงินให้มี "สภาพคล่อง" เพื่อให้มีเงินใช้ในเวลาจำเป็น นอกจากนี้สภาพคล่องยังมีความเกี่ยวเนื่องกับการเงินหลาย ๆ รูปแบบ เรียกได้ว่าสภาพคล่องเป็นเรื่องพื้นฐานของการบริหารการเงินก็ว่าได้ ซึ่งเราจะมาอธิบายถึงความสำคัญให้ทราบกันในบทความนี้
สภาพคล่อง คืออะไร?
Liquidity หรือสภาพคล่องในทางการเงินหมายถึงความสามารถของหน่วยเงินหรือสินทรัพย์ในการแลกเปลี่ยนหรือจ่ายชำระหนี้ในตลาดได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย นั่นหมายความว่าสินทรัพย์หรือเงินที่มีความคล่องสูงสามารถถูกขายหรือแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย ๆ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์นั้น ๆ อย่างไรก็ตามสภาพคล่องของสินทรัพย์หรือเงินตรานั้นอาจมีความแตกต่างกันไปตามตลาดและสภาวะเศรษฐกิจ ถ้ามีความคล่องตัวสูง หมายความว่ามีเงินสดหรือสินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้มากและอยู่ในที่ต้องการ ส่วนสภาพคล่องต่ำ หมายความว่าสินทรัพย์หรือเงินตรานั้นไม่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย หรืออาจต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือผลทางการเงินเมื่อจะแปลงเป็นเงินสดได้
สภาพคล่อง มีอะไรบ้าง?
สภาพคล่องมีหลายรูปแบบซึ่งจะมีผลต่อในการแปลงสินทรัพย์เป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ยกตัวอย่างเช่นดังนี้
เงินสด : เมื่อคุณมีเงินสดในมือหรือบัญชีธนาคารที่สามารถถอนเงินได้ทันทีตามต้องการ การมีเงินสดมากก็จะช่วยให้คุณสามารถจ่ายชำระหนี้หรือใช้จ่ายสนองความต้องการได้ทันทีเมื่อมีความจำเป็น
สินทรัพย์มีค่า : สินทรัพย์ที่มีความคล่องสูงมักเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสูงและสามารถขายหรือแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย เช่น หลักทรัพย์ที่ซื้อขายได้ง่ายและมีความเปลี่ยนแปลงราคาสูง กองทุน หุ้นต่าง ๆ เป็นต้น
อัตราส่วนทางการเงิน สภาพคล่อง คำนวณอย่างไร?
หากยิ่งมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี นั่นหมายถึงจะทำให้มีความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นดียิ่งขึ้นด้วย การคำนวณอัตราส่วนสภาพคล่อง (ratio สภาพคล่อง) นั้นมักจะใช้บ่อยในรูปแบบของบริษัท ซึ่งจะเป็นการช่วยคำนวณบริการเงินขององค์กร โดยแบ่งออกเป็นอัตราส่วนทางการเงิน 2 ประเภท
1. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
ซึ่งเป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน โดยมีสูตรคำนวณคือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน ÷ หนี้สินหมุนเวียน (เท่า)หากค่าที่ได้มีมากกว่า 1 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องดี เนื่องจากมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน แต่ถ้าค่าที่ได้น้อยกว่า 1 แสดงว่า บริษัทมีสภาพความคล่องไม่ดี เนื่องจากบริษัทมีทรัพย์สินหมุนเวียนไม่พอต่อการชำระหนี้สิน
2. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว
ซึ่งเป็นการคำนวณวัดอัตราสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องสูงอันสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว โดยจะตัดรายการค่าสินค้าคงเหลือที่แปลงเป็นเงินสดได้ช้าออกไป โดยมีสูตรคำนวณคือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว = สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ ÷ หนี้สินหมุนเวียน (เท่า) หากค่าที่ได้มากกว่า 1 แสดงว่าบริษัทมีสภาพความคล่องดี สามารถจ่ายหนี้หมุนเวียนในเวลาอันรวดเร็วได้ ซึ่งยิ่งสูงยิ่งมีสภาพความคล่องเยอะ แต่ถ้าค่าที่ได้น้อยกว่า 1 แสดงว่าบริษัทมีสภาพความคล่องต่ำเรื่องจากมีทรัพย์สินหมุนเวียนน้อยนั่นเอง ยิ่งค่าน้อยสภาพความคล่องยิ่งน้อยตาม
การบริหารสภาพคล่องมีประโยชน์อย่างไร?
การวางแผนสภาพคล่องเป็นสิ่งจำเป็นทั้งบริษัทและตัวบุคคล เนื่องจากเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าในแต่ละวันจะมีความเสี่ยงรูปแบบใดเข้ามาบ้าง ซึ่งอาจมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเข้ามาได้เสมอ ซึ่งถ้าคุณเป็นพนักงานการบริการสภาพความคล่องที่ดีก็จะช่วยให้คุณมีเงินใช้หากตกงานอย่างกะทันหัน หรือถ้าคุณเปิดบริษัทก็จะทำให้บริษัทมีเงินจ่ายหนี้สินเมื่อมีรายจ่ายที่ต้องเพิ่มจากการประกอบธุรกิจนั่นเอง
การบริหารสภาพคล่องที่ดีจะทำให้คุณไม่เป็นหนี้เพิ่มเติม เนื่องจากการขาดเงินหรือรายได้จะทำให้ขาดสภาพความคล่อง ซึ่งอาจทำให้คุณต้องไปกู้หนี้เพิ่มขึ้น หรือถ้าต้องการเงินด่วนมาใช้หมุนก็ต้องเสี่ยงต่อการถูกคิดดอกในปริมาณมหาศาล หรือถ้าเราไม่มีเครดิตในการกู้ ก็อาจส่งผลต้องขายทรัพย์สินมีค่าบางอย่างออกไปอย่างเร่งด่วน ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกดราคาอีกเช่นกัน ทำให้โดยรวมแล้วเราจะขาดทุนหนักซ้ำเข้าไปอีก
ด้วยเหตุนี้การบริหารสภาพความคล่องให้มีเงินหมุนเวียนในเวลาฉุกเฉิน จะทำให้เรามีโอกาสใช้จ่ายจำเป็นเมื่อมีวิกฤตบางอย่างที่กระทบต่อรายรับนั่นเอง
มนุษย์เงินเดือนทั่วไปควรมีสภาพคล่องเท่าไหร่?
จากวิกฤตโควิดที่ผ่านมานั้น เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของสภาพคล่องได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีหลายคนที่โดนปลดออกจากงานกะทันหัน หากพิจารณาแล้วสำหรับมนุษย์เงินเดือนทั่วไปควรมีสภาพความคล่องหรือมีเงินสดและทรัพย์สินสำรองไว้ที่ประมาณ 6 เดือน ของค่าใช้จ่ายรายเดือน หรือถ้าให้เซฟที่สุดก็ควรอยู่ที่ประมาณ 1 ปี เพราะถ้าเราโดนปลดออกจากงานกะทันหัน อย่างน้อยก็มั่นใจได้ว่าจะมีเงินใช้ระหว่างหางานใหม่ หรือหาช่องทางสร้างรายได้ใหม่ ๆ นั่นเอง
สำหรับใครที่ต้องการเงินฉุกเฉิน และไม่มีสินทรัพย์เลย เราขอแนะนำสินเชื่อเงินด่วนจากแรบบิท แคร์ ซึ่งจะมอบเงินด่วนฉุกเฉินให้คุณสำหรับจับจ่ายใช้สอยในเรื่องสำคัญ ขอกู้ง่าย และดอกเบี้ยต่ำ เหมาะกับผู้ที่ขาดสภาพคล่องเป็นอย่างยิ่ง
สินเชื่อที่แรบบิท แคร์ แนะนำ