Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบสินเชื่อ อนุมัติไว กับ

Rabbit Care

ติดแบล็คลิส blacklist
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Aug 04, 2022

ติดแบล็คลิสต์คืออะไร? ทำไมขอกู้เงินไม่ผ่าน? เช็คเครดิตบูโรได้ที่ไหน?

ติดแบล็คลิสต์เครดิตบูโร เป็นสิ่งที่หลายคนมักจะกลัวกัน โดยเฉพาะเวลาที่ต้องการขอสินเชื่อ หลายคนคิดว่าการติดแบล็คลิสต์จะทำให้ขอสินเชื่อยากขึ้น เราจะมาไขข้อข้องใจเรื่องการติดแบล็คลิสต์เครดิตบูโร ว่ายังสามารถขอสินเชื่อได้หรือไม่ หากติดแบล็คลิสต์เครดิตบูโรจะมีวิธีการแก้อย่างไร ให้ประวัติของคุณกลับมาขาวสะอาดอีกครั้ง วิธีเช็คเครดิตบูโร นอกจากนี้น้องแคร์ยังจะมาช่วยไขข้อสงสัยให้กับทุกคนว่าทำไมถึงทำเรื่องขอกู้ไม่ผ่านทั้ง ๆ ที่มีรายได้สูง

เครติดบูโรคืออะไร

ก่อนที่จะไปดูวิธเช็คเครดิตบูโร เราขอพาทุกคนไปรู้จักกับเครติดบูโรกันก่อนว่าคืออะไรทำไมหลาย ๆ คนต่างหวาดผวากับคำ ๆ นี้กัน อันที่จริงแล้วเครดิตบูโร (Credit Bureau) หรือ ข้อมูลเครดิต เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการชำระหนี้ของตัวลูกหนี้ที่ถูกเก็บโดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau หรือ NCB) โดยจะปรากฎในรายงานเมื่อมีผู้ประสงค์ขอเรียกดูข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในกรณีต่าง ๆ โดยตัวข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ใน 2 รูปแบบด้วยกันคือ

  • ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนเจ้าของบัญชี : ตัวอย่างเช่น วันเดือนปีเกิด, ที่อยู่อาศัย, เลขบัตรประชาชน
  • ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และประวัติการชำระสินเชื่อ : ประวัติการชำระสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิต รวมไปถึงสถานะบัญชีว่าชำระตรงตามปกติหรือไม่

ติดแบล็คลิสต์บูโรคืออะไร

ขอสินเชื่อจากธนาคารไม่ผ่านต้องเป็นเพราะว่าติดแบล็คลิสต์ (Blacklist) แน่ ๆ เลย หลาก ๆ คนรีบไปเช็คเครดิตบูโร ก่อน แล้วไอการติดแบล็คลิสต์บูโรนี่มันคืออะไร เราไปทำเข้าใจกับคำ ๆ นี้กันให้มากขึ้นกันดีกว่า ซึ่งคำนี้เป็นคำที่คนทั่วไปต่างเอาไว้เรียกสำหรับคนที่มีหนี้เสียไม่ชำระหนี้ตรงตามกำหนด ซึ่งเราต้องบอกเลยว่าการติดแบล็คลิสต์นั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด

โดยข้อมูลจากทางบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้กล่าวว่าไว้แบล็คลิสต์นั่นไม่มีอยู่จริง ตัวบริษัทเองมีหน้าที่แค่รวบรวมและบันทึกข้อมูลเครดิตของลูกหนี้หรือบุคคลต่าง ๆ เท่านั้น ไม่ได้มีหน้าที่ทำรายชื่อแบล็คลิสต์ ซึ่งการขอสินเชื่อไม่ผ่านจนต้องรีบไปเช็คเครดิตบูโรอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด หรือข้อมูลเครดิตไม่เป็นไปตามเงื่อนไขซึ่งอาจเป็นผลจากการผิดนัดชำระหนี้

ทำอะไรถึงติดแบล็คลิสต์บูโร

จากที่กล่าวไปข้างต้นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ข้อสินเชื่อไม่ได้อาจมาจากข้อมูลเครดิตไม่ผ่านเกณฑ์ของสถาบันการเงินหรือธนาคารตั้งไว้ โดยเมื่อเช็คเครดิตบูโรแล้วตัวประวัติเสียนั้นเกิดจากการที่คุณชำระหนี้ไม่ตรงเวลา หรือเกิดจากการผิดนัดชำระหนี้กับธนาคารหรือสถาบันการเงิน โดยหากคุณชำระหนี้ไม่ตรงตามเป็นเวลา 90 วันจะถือว่าคุณมีประวัติเสียนั่นเอง

คุณสามารถเช็กประวัติเครดิตบูโรของคุณได้จากทางธนาคาร เพื่อตรวจสอบว่าคุณมีชื่ออยู่ในข่ายหนี้เสียหรือไม่ แต่ถ้าเช็คเครดิตบูโรแล้วคุณมีประวัติการชำระหนี้ที่ตรงต่อเวลาไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณจะไม่มีประวัติเสียให้บันทึกอย่างแน่นอน

ติดแบล็คลิสต์กี่ปีถึงหมดอายุความ

จากข้างต้นเรารู้เกี่ยวกับเช็คเครดิตบูโรและรู้ว่าการติดแบล็คลิสต์นั้นไม่มีอยู่จริง ทาง NCB แค่บันทึกข้อมูลเครดิตของลูกหนี้เท่านั้น ซึ่งในกรณีที่คุณมีวินัยทางการเงินก็ไม่ต้องกังวลอะไร แต่ถ้าคุณมีปัญหาในการชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นการผิดนัด, ไม่ชำระหนี้ตามตกลงไว้ ซึ่งก่อให้เกิดข้อมูลเครดิตในเชิงลบ ทางบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ NCB จะมีการเก็บข้อมูลเครติดไว้ตลอดไม่ว่าจะดีหรือไม่ก็ตาม และแม้ว่าคุณจะทำการปิดหนี้ก้อนนั้นไปแล้ว เมื่อเช็คเครดิตบูโรจะพบประวัติข้อมูลเครติดของคุณจะยังคงอยู่

โดยตัวเครดิตบูโรจะมีการเก็บข้อมูลในรายบุคคลธรรมดากฎหมายกำหนดให้เก็บข้อมูลเครดิตไว้ในระบบได้ไม่เกิน 3 ปี (36 เดือน) และข้อมูลของนิติบุคคลระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่สถาบันการเงินรายงงานไปยัง NCB โดยจะมีการอัปเดตข้อมูลใหม่เข้าไปทุก ๆ สิ้นเดือนนั้นเอง

ติดแบล็คลิสต์ ขอสินเชื่อได้ไหม

การติดแบล็อคลิสอย่างที่เราคุยกันไปแล้วนั้นไม่มีอยู่จริงเพราะ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัดไม่มีอำนาจในการจัดบุคคลให้อยู่ในแบล็คลิสต์ (Blacklist) การขอสินเชื่อนั้นจะผ่านหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคารนั้น ๆ ว่าจะอนุมัติสินเชื่อให้คุณหรือไม่ คนที่ติดแบล็คลิส ออกรถฟรีดาวน์ก็เป็นไปได้เมื่อปฏิบัติตรงตามเงื่อนไข โดยทางสถาบันการเงินจะเช็กจากคุณสมบัติพื้นฐานรวมไปถึงข้อมูลเครดิตย้อนหลังหรือเช็คเครดิตบูโร ซึ่งถ้าหากคุณเป็นคนที่มีประวัติทางการเงินไม่ค่อยดีอาจเรียกได้ว่าเป็นอุปสรรคของการยื่นขอสินเชื่อ โดยทำให้โอกาสในการที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อให้แก่คุณลดลง

เพราะหากเทียบกับคนที่มีประวัติการชำระเงินที่ขาวสะอาด เมื่อเช็คเครดิตบูโรแล้วไม่มีการผิดนัดชำระหนี้ แน่นอนว่าธนาคารจะอนุมัติให้กับคนที่มีประวัติที่ดี มากกว่าคนที่มีประวัติเสียอยู่แล้ว ซึ่งในกรณีที่กู้ไม่ผ่าน หรือสถาบันการเงินปฏิเสธสินเชื่อโดยให้เหตุผลว่าเพราะข้อมูลในเครดิตบูโร ธนาคารหรือสถาบันการเงินดังกล่าวต้องออกหนังสือชี้แจงเหตุผลการปฏิเสธให้สินเชื่อโดยชัดเจนว่าเป็นเพราะเหตุใด

ติดแบล็คลิสต์ แก้อย่างไรได้บ้าง?

สำหรับใครที่รู้ตัวเองดีว่าติดแบล็คลิสต์จากการเช็คเครดิตบูโร หรือจริงๆแล้วก็คือการมีประวัติเสียด้านการชำระหนี้ แต่มีความจำเป็นที่จะต้องสมัครบัตรเครดิตหรือขอสินเชื่อ ซึ่งเราก็คงต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาก่อนว่าให้คุณใจเย็น ๆ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณติดแบล็คลิสต์หรือมีข้อมูลเครดิตไม่ดีจากเครดิตบูโร ก็จะเท่ากับว่าโอกาสการขอสินเชื่อหรือสมัครบัตรผ่านแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นควรเช็คเครดิตบูโรและแก้ไขการข้อมูลเครดิตจากที่แย่ให้กลายเป็นดี หรือพูดง่าย ๆ คือแก้ไขการติดแบล็คลิสต์นั่นเอง นี่จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจะจัดการให้เสร็จเสียก่อน โดยอาจทำตามวิธีการดังนี้


1.เข้าไปเจรจากับทางธนาคารหรือสถาบันการเงิน


สิ่งแรกที่คุณควรจะทำเลยในการแก้ไขการติดแบล็คลิสต์หลังจากเช็คเครดิตบูโรเลยก็คือ การเข้าไปเจรจากับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อขอยืดระยะเวลาการชำระหนี้หรือการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ ทั้งนี้ให้คุณบอกกับทางเจ้าหน้าที่ไปตามตรงว่าคุณผ่อนจ่ายไหวเดือนละประมาณเท่าไหร่ และติดปัญหาตรงไหนจนทำให้เกิดการติดแบล็คลิสต์ เพื่อที่ทางเจ้าหน้าที่จะได้ช่วยแนะนำและช่วยหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้นั่นเอง


2.รักษาเครดิตด้วยการชำระหนี้ให้ตรงกำหนด


เมื่อทางธนาคารหรือสถาบันได้อนุมัติทำการปรับโครงสร้างหนี้หลังจากเช็คเครดิตบูโรกับคุณเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่คุณควรจะต้องทำเลยก็คือ “การชำระหนี้ให้ตรงกำหนด” เพื่อเครดิตทางการเงินที่ดีและรักษาโอกาสที่ได้รับ(เป็นครั้งที่ 2) อีกทั้งคุณอย่าลืมที่จะเก็บเอกสารหลักฐานในการจ่ายค่างวดไว้ทุกฉบับ เพื่อที่จะได้นำเอกสารในส่วนนี้ไปเป็นหลักฐานต่อทางธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใหม่ เมื่อถึงตอนที่คุณจัดการหนี้ก้อนนี้หมดแล้วและต้องการสมัครบัตรเครดิตหรือขอสินเชื่อ


3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย


การที่ทางธนาคารยอมปรับโครงสร้างหนี้ให้กับคุณ นั่นก็เท่ากับว่าคุณได้รับโอกาสที่ดีอีกครั้ง เพราะฉะนั้นคุณควรที่จะรักษาโอกาสนี้ไว้ให้ดีที่สุด จ่ายค่างวดให้ตรงเวลา หมั่นเช็คเครดิตบูโร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ทำให้คุณต้องติดแบล็คลิสต์ในครั้งก่อน ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย การที่ไม่วางแผนทางด้านการเงิน เป็นต้น


4.หมั่นตรวจสอบข้อมูล


ลำดับต่อมาสิ่งที่คนติดแบล็คลิสต์ควรทำเลยก็คือ หมั่นตรวจสอบข้อมูลเช็คเครดิตบูโรอยู่เสมอว่าทางธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ได้แจ้งเปลี่ยนข้อมูลกับทางศูนย์ตรวจเครดิตบูโรแล้วหรือยัง ? เพราะแม้ว่าคุณจะชำระหนี้ตรงตามเวลาและปิดจบหนี้เรียบร้อยแล้ว แต่ข้อมูลการติดแบล็คลิสต์จะอยู่ในระบบอย่างน้อย 3 ปี ถึงจะถูกลบข้อมูลออก เพราะฉะนั้นอย่าลืมตรวจสอบข้อมูลเช็คเครดิตบูโรอยู่เสมอ


5.อย่าปล่อยให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย


หลังจากเช็คเครดิตบูโรและคุณพ้นจากสถานะติดแบล็คลิสต์และสามารถสมัครบัตรเครดิตใหม่ได้แล้ว สิ่งที่คุณต้องจำให้ขึ้นใจเลยก็คือ “อย่าปล่อยให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” หมั่นชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนด เพื่อป้องกันการติดแบล็คลิสต์จนคุณเสียเครดิตอีกครั้ง!

เช็กเครติดบูโรหรือเช็กติดแบล็คลิสต์อย่างไร

สำหรับใครที่กำลังที่จะขอสินเชื่อหรือต้องการกู้ซื้อบ้านหรือซื้อรถ การเช็คเครดิตบูโรหรือว่าเช็กการติดแบล็คลิสต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ เพราะธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ มักจะเช็คเครดิตบูโรหรือเช็คข้อมูลเครดิตย้อนหลัง การเช็คเครดิตบูโรก็จะถือว่าเป็นการเตรียมพร้อม หากมีหนี้เสียหรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่าติดแบล็คลิสต์จะได้ปรับแก้ได้ทัน และยังเป็นการตรวจสอบข้อมูลทางการเงินด้วยว่ามีหนี้งอกเกินจริงหรือไม่, ยอดการปิดหนี้เป็นจริงรึเปล่า, ป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงิน โดยมีวิธีการตรวจเช็กดังนี้


โมบายแอปพลิเคชัน


เช็คเครดิตบูโรโดยการส่งรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report)

  • Bureau OK (บูโรโอเค) : สามารถรับผลการตรวจสอบการเช็คเครดิตบูโรได้ทันที ให้บริการเกี่ยวกับเครดิตบูโรค่อนข้างครอบคลุม
  • Bualuang mBanking (ธนาคารกรุงเทพ) : ได้รับผลการเช็คเครดิตบูโรทันที
  • KKP Mobile (ธนาคารเกียรตินาคินภัทร) : ได้รับทันที
  • MyMo (ธนาคารออมสิน) : ภายใน 24 ชั่วโมง
  • Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) : ภายใน 24 ชั่วโมง
  • ttb touch (ธนาคารทีทีบี) : รอผลเช็คเครดิตบูโรภายใน 3 วัน


ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร


สำหรับผู้ที่ต้องการเอกสารรับรองโดยตรง ที่สามารถรอรับรายงานได้เลยภายใน 15 นาที และใช้เพียงแค่บัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น สามารถยื่นดำเนินการขอตรวจเช็คเครดิตบูโรที่สถานที่ตรวจเครดิต ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรตามที่แต่ละคนสะดวกได้เลย (และอย่าลืมเตรียมค่าธรรมเนียมในการขอตรวจสอบเครดิตบูโรไว้ด้วย โดยหากเป็นรายงานเครดิต จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 100 บาท แต่หากเป็นรายงานข้อมูลเครดิตและสกอริ่งจะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 200 บาท) ซึ่งศูนย์ตรวจสอบเครดิตที่คุณสามารถไปใช้บริการได้ มีดังนี้

  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 โซนพลาซา (ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม 9 และด้านหลังเซ็นทรัล พระราม 9) เปิดให้บริการเช็คเครดิตบูโรตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9.00 - 16.30 น.
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ภายในสถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง เปิดให้เช็คเครดิตบูโรตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 - 18.00 น.
  • เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อกชั้น 3 (โซนธนาคาร) ให้บริการเช็คเครดิตบูโรตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 - 18.00 น.
  • Bureau Lab (บูโร แล็บ) ท่าวังหลัง (บริเวณทางเข้า - ออกท่าเรือ และใกล้ประตู 8 โรงพยาบาลศิริราช) เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 - 18.00 น.
  • Bureau Lab (บูโร แล็บ) ภายในสถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต ให้บริการเช็คเครดิตบูโรตั้งแต่วันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 9.00 - 18.00 น.
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ - เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม เปิดให้เช็คเครดิตบูโรตั้งแต่วันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 9.00 - 18.00 น.


ตู้คีออสสำหรับเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเอง


นอกจากศูนย์ตรวจสอบเครดิตแล้ว ยังมีตู้คีออส สำหรับตรวจเช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเองโดยเฉพาะด้วย สามารถรับรายงานทางอีเมลล์ได้ทันที โดยคุณสามารถหาตู้ที่ว่านี้ได้ที่

  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 โซนพลาซา (ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม 9 และด้านหลังเซ็นทรัล พระราม 9)
  • Bureau Lab (บูโรแล็บ)
  • ภายในสถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต
  • ท่าวังหลัง (บริเวณทางเข้า - ออกท่าเรือ และใกล้ประตู 8 โรงพยาบาลศิริราช)
  • สถานีกลางบางซื่อ (หลังเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ประตูทางเข้า 1 จุดติดตั้งนาฬิกาประจำสถานี หรือนาฬิกาหน้าปัดหมายเลข 9)
  • ชั้น 4 บนศูนย์การค้า ดิ อเวนิว รัชโยธิน กรุงเทพฯ


เคาน์เตอร์ธนาคารและตู้เอทีเอ็ม


ไม่ใช่แค่บนแอปพลิเคชั่น แต่ทุกคนยังสามารถตรวจเช็คเครดิตบูโรได้ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร 5 แห่ง (ทุกสาขาทั่วประเทศไทย) ได้แก่

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
  • ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ หากเป็นตู้ ATM จะสามารถขอเช็คเครดิตบูโรได้ผ่านบัตร ATM ของ 2 ธนาคาร คือ
  • ธนาคารกรุงไทย ทำรายการเช็คเครดิตบูโรผ่านหน้าจอตู้ ATM เมนูตรวจเครดิตบูโร
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ ทำรายการเช็คเครดิตบูโรผ่านหน้าจอตู้ ATM เมนูตรวจเครดิตบูโร


ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์


หากใครพักอาศัยอยู่ต่างจังหวัดในพื้นที่ห่างไกลยากจะหาศูนย์ตรวจสอบเครดิตสาขาที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ อาจขอตรวจเช็คเครดิตบูโรได้ตามที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ สามารถตรวจสอบเครดิตบูโรแบบสรุปได้ฟรี พร้อมรอรับได้ทันที แต่หากต้องการรายงานเครดิตอาจต้องรอภายใน 7 วัน คิดค่าบริการ 150 บาท

การเช็คเครดิตบูโรสำคัญอย่างไร ทำไมเราต้องเช็ค?

ปกติเครดิตบูโรจะมีหน้าที่เก็บรวบรวมประวัติและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์การเงินของลูกค้าในแต่ละสถาบันการเงิน ที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโรจัดให้ การตรวจข้อมูลเครดิตหรือเช็คเครดิตบูโรของตัวเองจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้เราสามารถเช็คข้อมูลตัวเองด้านประวัติการชำระสินเชื่อทั้งหมดว่าเป็นอย่างไรบ้าง และทำให้เราสามารถเช็คได้ว่าเอกสารสำคัญส่วนตัวของเรามีใครที่นำไปแอบอ้างเพื่อใช้ในการทำอะไรบ้างหรือไม่ อย่างเช่น การปลอมแปลงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รวมถึงเอกสารการเงินต่าง ๆ มีการแอบอ้างนำไปสมัครสินเชื่อโดยใช้ชื่อเราหรือไม่ เพราะฉะนั้นการเช็คเครดิตบูโรจึงมีความสำคัญในแง่ของการป้องกันการถูกสวมสิทธิ์ การแอบอ้างนำข้อมูลไปใช้ และก็ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อย่างเช่น

  • ลดโอกาสไม่ให้สถาบันการเงินและคนที่ฝากเงินต้องเสียหายจากหนี้กองทุนฟื้นฟู
  • ตรวจสอบข้อมูลของผู้ขอสินเชื่อแต่ละคนก่อนอนุมัติสินเชื่อ
  • การเช็คเครดิตบูโรเพิ่มโอกาสให้ผู้ขอสินเชื่อได้รับการอนุมัติสินเชื่อตามวงเงินที่ต้องการ (กรณีที่รักษาประวัติการเงินมาเป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาติด Black List)

เหตุผลที่ทำไมกู้ไม่ผ่านทั้ง ๆ ที่มีรายได้

การติดแบล็คลิสต์เครดิตบูโรคืออะไรและเช็คเครดิตบูโรทำอย่างไร ในตอนนี้เพื่อน ๆ คนได้รับคำตอบกันไปบ้างแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้นั้นก็คือการขอกู้นั่นเอง ซึ่งหลายคนคงเกิดข้อสงสัยว่าทำไมถึงขอกู้ไม่ผ่านทั้งที่คุณจะเป็นผู้ที่มีรายได้เป็นประจำ และมีรายรับในแต่ละเดือนสูง เช็คเครดิตบูโรอยู่ตลอด น้องแคร์ได้รวบปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุไว้ด้านล่างนี้


มีภาระในการผ่อนสินเชื่อเยอะเกินไป


หลายคนมักจะตกม้าตายในข้อนี้ เพราะเห็นว่าตัวเองมีรายรับในแต่ละเดือนสูง แต่ทำไมกู้ไม่ผ่าน ทั้ง ๆ ที่เงินเดือนต่อเดือนคุณก็ได้เยอะ เช็คเครดิตบูโรแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถขอสินเชื่อได้สบาย ๆ คุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่า นอกจากรายได้ที่จะเป็นหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อแล้ว ภาระหนี้สินอื่น ๆ ก็มีส่วนที่จะทำให้ธนาคารอนุมัติหรือไม่อนุมัติสินเชื่อให้คุณได้ เพราะมองว่าคุณมีภาระหนี้สูง อาจส่งผลให้คุณชำระหนี้สินไม่ไหวในภายหลัง เมื่อธนาคารมองเห็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จึงเป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม ไม่ให้คุณสร้างภาระหนี้เพิ่ม ด้วยการไม่ปล่อยสินเชื่อกู้เงินให้แก่คุณ สำหรับหลักการประเมินว่าคุณกำลังมีหนี้สินที่เยอะเกินไป เสี่ยงกู้ไม่ผ่าน สามารถคิดเป็นจำนวนคร่าว ๆ ได้ง่าย ๆ ตามสูตรคำนวณมา ดังนี้

ภาระหนี้สินต่อเดือน / เงินเดือน x 100 = ภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน (%)

ตัวอย่าง ผู้กู้มีหนี้สินที่ต้องผ่อนอยู่แล้วรวม 15,000 บาท หากมีเงินเดือนอยู่ที่ 25,000 บาท แสดงว่า เรามีภาระผ่อนหนี้ต่อเดือนคิดเป็น 60% ของรายได้ต่อเดือน ซึ่งอาจสุ่มเสี่ยงที่จะกู้เงินผ่านได้ นอกจากนี้ทางสถาบันการเงินเกรงว่าผู้กู้จะไม่สามารถผ่อนชำระหนี้สินได้ หรือผ่อนได้ลำบาก ทำให้กู้ได้วงเงินที่น้อยได้ ในทางกลับกัน หากมีหนี้สินต่ำกว่า 60% หรือมีหนี้ 1 ใน 3 ของรายได้ อัตราการกู้เงินผ่านก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ดังนั้น หากอยากกู้ได้ง่าย ๆ ลดโอกาสการกู้ไม่ผ่านลงได้


เคยมีประวัติการชำระหนี้ล่าช้า


เหตุผลที่ทำไมกู้ไม่ผ่านสักที อาจเกิดจากวินัยในการชำระหนี้ของคุณในอดีต เมื่อเช็คเครดิตบูโรแล้วมีประวัติชำระหนี้ล่าช้าก็อาจมีผล ธนาคารจะไม่อนุมัติสินเชื่อให้แก่คุณ หากตรวจสอบในระบบพบว่าคุณมีการผิดนัดชำระหนี้ และถึงแม้ว่าคุณจะกลับมาเคลียร์หนี้สินดังกล่าวให้หมดไปแล้วก็ตาม แต่ข้อมูลการผิดชำระหนี้จะอยู่ในระบบฐานข้อมูลเป็นระยะเวลาสามปี ประวัติการผิดนัดชำระหนี้จึงจะหายไปจากระบบ แล้วคุณถึงจะกลับมาขอยื่นกู้สินเชื่อได้อีกครั้ง แต่คุณก็จะต้องรักษาวินัยในการชำระหนี้ให้ตรงเวลาตลอดไปด้วย เพราะทางสถาบันการเงินคงไม่อยากเสี่ยงเป็นแน่


ติดเครดิตบูโร


หากคุณเป็นผู้ที่มีประวัติติดเครดิตบูโร ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมกู้ไม่ผ่าน เพราะการติดเครดิตบูโร จะหมายถึงการที่คุณมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี เช่น ไม่จ่ายหนี้ ผิดนัดชำระหนี้ ฯลฯ ซึ่งคุณจะควรเช็คเครดิตบูโรและทำการแก้การติดเครดิตบูโรก่อน ด้วยการทำให้ประวัติคุณกลับมาขาวสะอาดอีกครั้ง ซึ่งวิธีการแก้การติดเครดิตบูโร คุณจะต้องเคลียร์ภาระหนี้สินที่คุณมีทั้งหมดก่อน

โดยหลักการเคลียร์เครดิตบูโร ให้ปรึกษาร่วมกันกับทางสถาบันทางการเงิน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ เพื่อหาทางออกในการชำระหนี้สินให้หมดได้ไวขึ้น และหลังจากพยายามเคลียร์หนี้สินต่าง ๆ ให้ตรงต่อเวลา เพื่อสร้างเครดิตใหม่และล้างชื่อไม่ดีออกจากเครดิตบูโร โดยทาง NCB ได้กล่าวไว้ว่า ประวัติการเงินที่มีอยู่ในเครดิตบูโรจะถูกลบออกให้ภายใน 3 ปี


ส่งเอกสารไม่ครบถ้วน


หลายคนสงสัยว่าแค่ส่งเอกสารไม่ครบถ้วน ทำไมกู้ไม่ผ่านได้เลย และทางธนาคารก็ไม่ติดต่อมาเพื่อขอเอกสารใหม่ เพราะแค่ขอเอกสารใหม่ก็อาจมีสิทธิ์ยื่นขอกู้เงินผ่านได้ หากคุณทางธนาคารจะคิดว่าคุณตั้งใจปกปิดเงินรายได้ที่แท้จริง จึงทำให้คุณกู้เงินไม่ผ่านสักที ถึงอันที่จริงแล้วไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม คุณอาจจะไม่ได้เก็บเอกสารที่ธนาคารร้องขอไว้กับตัว แต่การเรียกดูเอกสารเป็นการประเมินความน่าเชื่อถือของผู้กู้เบื้องต้น ที่ทางธนาคารใช้ประเมินผู้กู้ ดังนั้น การเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เก็บเอกสารจากทางธนาคารไว้ให้เรียบร้อย จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับทางธนาคารได้มากขึ้น

โดยเบื้องต้น ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจะเรียกขอเอกสารสำหรับการกู้เงิน 2 ส่วน คือ

  • เอกสารแสดงตัวตน เช่น บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล เป็นต้น
  • เอกสารเกี่ยวกับรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร เป็นต้น


ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไม่เข้าเกณฑ์


รู้หรือไม่ การขอสินเชื่อ หรือการกู้เงินบางอย่าง จำเป็นต้องมีทรัพย์สินหลักประกันนอกจจากการเช็คเครดิตบูโร ไว้เป็นหลักประกันความเสี่ยงในการชำระหนี้ ซึ่งทรัพย์สินที่คุณเลือกมานั้นก็มีผลอย่างยิ่งต่อการพิจารณาสินเชื่อ เช่น ถ้าคุณใช้ทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงอย่าง บ้าน รถยนต์ จะยิ่งช่วยการันตีกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ว่า คุณมีความน่าเชื่อถือ มีหลักประกันว่าจะไม่มีการทิ้งหนี้สินอย่างแน่นอน และจะช่วยให้คุณกู้เงินได้ผ่านง่ายดายขึ้น

ทั้งนี้ก็มีสินเชื่อบางประเภทเช่นกัน ที่สามารถขอกู้เงินได้โดยไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์สินคอยประกัน เช่น บัตรเครดิต, บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลนั่นเอง โดยสินเชื่อเหล่านี้จะเน้นการพิจารณาจากรายได้ มีการเช็คเครดิตบูโร ตรวจความสม่ำเสมอในบัญชีเงินของผู้กู้เงินเป็นหลัก เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกนำทรัพย์สินต่าง ๆ มาค้ำประกัน แต่วงเงินที่ได้อาจจะน้อยกว่าสินเชื่อประเภทที่ต้องมีบุคคลหรือใช้ทรัพย์สินคอยค้ำประกัน


นโยบายของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง


แม้ว่าแต่ละธนาคารจะมีสินเชื่อให้กู้ประเภทเดียวกัน แต่เงื่อนไขในการอนุมัติสินเชื่อของแต่ละธนาคารก็จะมีความแตกต่างกันไป หมายความว่า คุณอาจกู้ไม่ผ่านจากธนาคาร A เนื่องจากเงื่อนไข กลุ่มเป้าหมายไม่เป็นไปตามนโยบายของธนาคาร A แต่ถ้าคุณไปยื่นขอสินเชื่อที่ธนาคาร B ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายแบบคุณ อาจจะได้รับการอนุมัติกู้เงินง่ายกว่าก็ได้

ดังนั้น ก่อนที่คุณจะไปยื่นขอสินเชื่อที่ไหน คุณอาจจะลองศึกษาถึงกลุ่มเป้าหมายของธนาคาร หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ดี รวมถึงลองชั่งน้ำหนักดูว่าจะยื่นเรื่องกับสถาบันการเงินไหนถึงจะมีโอกาสได้รับการอนุมัติมากกว่ากัน จะช่วยลดความเสี่ยงกู้ไม่ผ่านได้อีกด้วย


ประเภทของอาชีพหรือรูปแบบการได้มาของรายได้


ถึงแม้ว่าคุณจะมีรายได้เป็นประจำ และมีรายได้ที่สูแต่ก็กทำเรื่องกู้ไม่ผ่านสักที นั่นก็เป็นเพราะว่าคุณเป็นผู้ที่มีรายได้อิสระ หรือที่เรียกว่าทำงานฟรีแลนซ์ ซึ่งลักษณะงานแบบนี้ ทางธนาคารจะมองว่าคุณมีแหล่งที่มาของรายได้ที่ไม่มั่นคง อาจเสี่ยงต่อการจ่ายเงินล่าช้า กรณีที่นี้คุณอาจจะต้องมีเงินสำรองในบัญชีว่ามีเงินสำรอง หากเดือนไหนไม่มีงานเข้า ก็สามารถนำเงินส่วนนี้มาใช้จ่ายค่างวดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับทางสถาบันทางการเงิน

แต่กลับกันหากเป็นพนักงานประจำที่มีรายได้มั่นคง มีเงินเดือนเข้ามาเป็นประจำทุก ๆ เดือน จะไม่มีปัญหาเรื่องของการขาดรายได้ นอกเสียจากจะออกจากงาน แต่ระยะเวลาการทำงานก็มีผลกำับการปล่อยกู้ด้วยเหมือนกัน ถึงแม่้คุณจะเป็นพนักงานประจำ แต่หากคุณเพิ่งเริ่มทำงานกับบริษัทที่ใหม่ได้ไม่ถึงครึ่งปี ทางสถาบันการเงินก็อาจจะมองว่ายังเสี่ยงอยู่

เรียกได้ว่าตอบทุกข้อสงสัยทั้งเรื่องการติดแบล็คลิสต์และเรื่องที่ว่าทำไมถึงกู้ไม่ผ่านให้กับหลาย ๆ คนได้เข้าใจกันมากขึ้น แนะนำวิธีการเช็คเครดิตบูโรต่าง ๆ ถ้าคุณมีเรื่องจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน แล้วคุณทำเรื่องขอกู้ที่ไหนก็ไม่ผ่านสักที ขอแนะนำสินเชื่อส่วนบุคคลจาก แรบบิท แคร์ เราช่วยเลือกสินเชื่อที่มีโอกาสได้อนุมัติสูงสุด โดยที่คุณไม่ต้องไปหาเอง เพิ่มโอกาสอนุมัติสินเชื่อ วงเงินสูงถึง 2 ล้านบาท อนุมัติไวใน 1 วัน ไม่ต้องมีการค้ำประกัน และยังช่วยผ่อนภาระต่อเดือน ด้วยการโอนหนี้ รวมหนี้ จากหลายที่ไว้ที่เดียว แล้วผ่อนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ไม่ยุ่งยาก สมัครได้ง่าย พร้อมบริการคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ของ แรบบิท แคร์ ที่ช่วยคุณในทุกขั้นตอน ลดโอกาสการกู้ไม่ผ่าน คลิกสมัครเลย!

ค้นหาสินเชื่อ

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

KKP Personal LoanKKP Personal Loan

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ไม่มีความต้องการคนค้ำ
  • เงินเข้าภายใน 1 วัน หลังอนุมัติ
  • ระยะผ่อน: 12-72 เดือน
  • แสนละ 80 บาท/วัน ผ่อนสบาย
  • มีเอกสารเงินเดือนและอายุงาน 4 เดือน
  • ต้องมีรายได้ 30,000 บาท/เดือน
สินเชื่อส่วนบุคคล Happy CashHappy Cash

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 9.99% พิเศษ 5 เดือน
  • สูงสุด 1.5 ล้าน
  • ผ่อน 60 เดือน ไม่มีค้ำ
  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ผ่อนรวมไม่เกิน 60 ปี
  • พนักงาน 15,000 บาท+, เจ้าของกิจการ 50,000 บาท+
  • อายุงาน 6 เดือนขึ้นไป, เจ้าของกิจการ 3 ปี
สินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสพรอมิส

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • รายได้ต่ำ 30,000 บาท อนุมัติสูงสุด 1.5 เท่า
  • วงเงินสูงสุด 300,000 บาท หรือ 5 เท่าของรายได้
  • ดอกเบี้ยต่ำสุด 15%, สูงสุด 25%, ค่าธรรมเนียม 0-10%
  • อนุมัติเร็วใน 1 ชั่วโมง หากครบเอกสาร
  • สมัครได้ด้วยรายได้เริ่มต้น 8,000 บาท
  • ชำระขั้นต่ำ 3% ของยอดคงเหลือ หรือ 300 บาท
สินเชื่อเงินสดนาโนฟินนิกซ์นาโนฟินนิกซ์

สินเชื่อเงินสด

  • ยืม 10,000 บาท ดอกเบี้ยวันละ 9 บาท
  • อนุมัติเร็ว แจ้งผลใน 5 นาที
  • กู้ได้แม้รายได้ 8,000 บาท
  • วงเงิน 100,000 บาท ไม่ต้องค้ำ
  • สมัครได้ทุกอาชีพ รายได้ไม่แน่นอน
  • ใช้แค่บัตรประชาชนและสเตทเม้นท์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา