แคร์การเงิน

เปิดทริค! ภาษีย้อนหลัง มีอายุความกี่ปี? ต้องเสียค่าปรับหรือไม่? พ่อค้าแม่ค้าควรรู้

ผู้เขียน : Mayya Style
Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ

close
linkedin icon
 
 
Published: July 13,2023
  
 
ภาษีย้อนหลัง

ปัจจุบันการทำธุรกิจส่วนตัวถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการหาเงิน นอกเหนือจากการเป็นพนักงานประจำ อย่างไรก็ตามสิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้คือการยื่นภาษี เนื่องจากเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดและทุกคนที่มีรายได้จำเป็นต้องปฎิบัติตามแม้กระทั่งฟรีแลนซ์

วันนี้ แรบบิท แคร์ จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับภาษีย้อนหลัง ว่ามันคืออะไร ต้องเสียค่าปรับหรือไม่ และถ้าหากฝ่าฝืนมีโทษอย่างไร ไปดูกันเลย!!

  
เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ สมัครเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

ภาษีย้อนหลัง คืออะไร 

การยื่นภาษีย้อนหลัง ภาษาอังกฤษเรียกว่า back taxes หรือ Retroactive tax ก็ได้เช่นกัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เมื่อมีการตรวจสอบจากสามหน่วยงาน คือ กรมสรรพากร กรมศุลกาการ และ กรมสรรพสมิต โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังคือ ไม่ยื่นภาษีตามที่กำหนด งบการเงินไม่ถูกต้อง หรือมีการกระทำที่ผิดปกติเป็นเหตุให้กรมสรรพากรสงสัยและเข้าตรวจสอบเพื่อดูแลให้ยอดเก็บภาษี สรรพากรถูกต้องตามที่กำหนดไว้

วิธีตรวจสอบภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากร

  1. ดูจากใบ 50 ทวิที่ทางบริษัทส่งให้กับกรมสรรพากร 
  2. กรมสรรพากรจะดูการเคลื่อนไหวของบัญชีที่ทางสถาบันการเงินส่งให้ และจะเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเมื่อมีการรับหรือโอน มากกว่า 3,000 ครั้งต่อปี หรือโอนเงินมากกว่า 400 ครั้ง และโอนเงินรวมกันมากกว่า 2 ล้านบาทขึ้นไป
  3. ใช้ระบบ Big Data & Data Analytics
  4. กรมสรรพากรจะตรวจสอบผ่านเมนู การแจ้งเบาะแส / ข้อมูลแหล่งภาษีที่ www.rd.go.th
  5. การดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ หรือ Web Scraping

ทำอย่างไรเมื่อถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง? 

หากผู้เสียภาษีโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือคนที่เคยยื่นภาษีแล้ว และ คนที่ยังไม่เคยยื่นภาษี โดยมีรายละเอียดดังนี้

กรณีเป็นผู้เคยเสียภาษีแล้ว 

คุณต้องนำเงินไปจ่ายตามที่กรมสรรพากรเรียกเก็บ แต่แนะนำให้รวบรวมหลักฐานไปให้พร้อมและนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ เช่น ใบลดหย่อนภาษี เป็นต้น เพื่อหาข้อแก้ต่างและนำไปลดหย่อนภาษี

กรณีเป็นผู้ยังไม่เคยเสียภาษี

หากคุณเป็นคนที่ยังไม่เคยยื่นภาษีเลย ให้ดำเนินการยื่นภาษีและชำระค่าปรับตามยอดที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบ หลังจากนั้นให้ติดต่อสำนักงานบัญชี ซึ่งค่าปรับจะถูกบวกเพิ่มจากภาษีอีกเดือนละ 1.5% โดยนับตั้งแต่วันแรกที่เลยกำหนดยื่นภาษีจนถึงวันที่ดำเนินการชำระค่าภาษี

การตรวจสอบภาษีย้อนหลัง อายุความกี่ปี? 

หากคุณถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา / นิติบุคคล และภาษีธุรกิจ ซึ่งหลายคนอาจมีความสงสัยว่า อายุความเท่าไหร่ มีคำตอบ!

ภาษีย้อนหลัง บุคคลธรรมดา กี่ปี

สำหรับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ในอายุความตามหมายเรียกทั้งหมด 2 ปี นับจากวันที่ยื่นภาษี อย่างไรก็ตามอายุความจะขยายไปถึง 5 ปี เมื่อมีหลักฐานว่าผู้นั้นจงใจในการหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีจริง แต่ในกรณีที่ผู้นั้นเคยยื่ภาษีมาแล้ว คุณจะสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ 10 ปี และกรมสรรพากรก็มีสิทธิเรียกดูรายการเดินบัญชีของคุณได้เช่นกัน

ภาษีย้อนหลัง ประเภทธุรกิจ กี่ปี 

กรมสรรพากรสามารถเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้มากถึง 10 ปีตามมาตรา 193/31 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียก โดยอายุความจะนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการยื่นแบบภาษี

ไม่อยากโดนภาษีย้อนหลัง ต้องทำอย่างไร?

หากไม่อยากโดยเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง สิ่งแรกที่คุณควรทำคือการทำบัญชีให้มีความถูกต้อง ชัดเจน ตรวจสอบได้ เพื่อที่จะได้มีข้อมูลไปชีแจงกับกรมสรรพากรได้ หลังจากนั้นให้คุณดำเนินการคำนวณภาษีเบื้องต้น ซึ่งในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์มากมายที่อำนวนความสะดวก เช่น FlowAccount, Calculator Tax เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เพราะจะช่วยในการบันทึกบัญชีออนไลน์ และบันทึกข้อมูลรายรับรายจ่ายไว้ในที่เดียว  

นอกจากนี้ก่อนยื่นภาษีควรตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วน ตรวจสอบดูว่ารายรับของเราอยู่ในเงินได้ประเภทไหนกันแน่ และ ตรวจสอบรายการลดหย่อน ที่มีสิทธิใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

ภาษีย้อนหลัง มีโทษอย่างไรบ้าง? 

หลายคนอาจสงสัยกันว่า หากเจตนาไม่ยื่นภาษี ยื่นภาษีล่าช้า ยื่นภาศษีไม่ครบ หรือถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง มีโทษอย่างไรบ้าง ซึ่งโทษและภาษีย้อนหลัง ค่าปรับจะถูกลดหลั่นกันไปตามความผิด โดยมีรายละเอียดดังนี้

 1. ยื่นแบบภาษีทันตามที่กำหนด แต่เสียภาษีไม่ครบ 

  • เสียค่าปรับ 0.5 – 1 เท่า ของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

2. ไม่ได้ยื่นแบบภาษีภายในวันและเวลาที่กำหนด 

  • มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 2,000 บาท
  • เสียค่าปรับ 1 – 2 เท่า ของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

3. เจตนาและจงใจละเลยไม่ยื่นแบบภาษีภายในวันและเวลาที่กำหนด 

  • มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 5,000 บาท จำคุกสูงสุด 6 เดือน
  • เสียค่าปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

4. หนีภาษี 

  • หนีภาษีมีโทษปรับทางอาญาตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท จำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี
  • เสียค่าปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

เหล่านี้คือแหล่งความรู้เรื่องการถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ที่น้องแคร์รวบรวมมาให้แล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ขอแนะนำให้คุณใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตแทนการโอน และถ้าหากคุณกำลังมองหาบัตรเครดิตอยู่ แนะนำให้มาสมัครบัตรกับ แรบบิท แคร์ เพราะเรามีสิทธิพิเศษมากมายมอบให้ลูกค้า จากพันธมิตรด้านสถาบันทางการเงินชั้นนำ หากมีปัญหา เราก็มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาอยู่ตลอดเวลา หากสนใจ โทรเลย 1438 


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024
Rabbit Care Blog Image 93664

แคร์การเงิน

มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
คะน้าใบเขียว
22/08/2024