ยังเป็นนักศึกษา ทำประกันสะสมทรัพย์ได้ไหม?
พูดถึงความเสี่ยงก็ต้องคิดถึงประกันชีวิต แต่เด็กมหาลัยหลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ประกันพวกนี้ค่อยไปทำตอนมีงานประจำแล้วไม่ดีกว่าเหรอ? อีกอย่างทำประกันก็แพง เด็กมหาลัยได้เงินค่าขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำไม่ได้แน่ บอกเลยว่าไม่แน่เสมอไป เพราะเฟรชชี่หน้าใหม่ก็ทำประกันชีวิตได้เช่นกัน
เป็นเด็กมหาวิทลัย ทำประกันสะสมทรัพย์ได้ไหม?
ทำไมประกันสะสมทรัพย์ถึงน่าสนใจ
เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า ประกันสะสมทรัพย์นั้นเหมือนจะใกล้เคียงกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแตกต่างกับประกันชีวิตโดยสิ้นเชิง
ประกันชีวิต คุณจะได้เงินต่อเมื่อเสียชีวิต และเงินเหล่านั้นจะส่งต่อไปให้กับคนที่อยู่ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นคนรัก ครอบครัว หรือทายาท
ส่วนประกันสะสมทรัพย์ มีความคุ้มครองเล็ก ๆ น้อย ๆ หนักไปทางให้ผลตอบแทนในรูปแบบของเงิน และจะจ่ายคืนพร้อมผลตอบแทนเหล่านั้น เมื่อครบกำหนดสัญญา
และจริงอยู่ที่ประกันสะสมทรัพย์นั้นไม่จำเป็นมากนัก เมื่อเทียบกับประกันประเภทอื่นๆ เช่น ประกันสุขภาพที่ช่วยเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ความเจ็บป่วยต่าง ๆ หรือประกันอุบัติเหตุ ที่ช่วยดูแลครอบคลุมการบากเจ็บที่ไม่คาดฝัน
นั่นสิ ความคุ้มครองก็น้อยกว่า ครอบคลุมได้ไม่เท่ากับประกันประเภทอื่น ๆ แล้วเราจะทำไปทำไม โดยเฉพาะกับวัยรุ่นวัยเรียนแบบเรา ๆ
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับประกันสะสมทรัพย์ที่ทำให้วัยมหาลัยช่างฝันอยากทำ คือเป็นตัวช่วยให้เราเก็บออมเงินก้อนโตได้ จริงอยู่ที่เรานำไปฝากบัญชี กินดอกเบี้ยรายปีในบัญชีได้ แต่ด้วยความสะดวกสบาย ความสามารถในการถอน โอน หรือจ่ายที่ง่ายจนเงินรั่วไหลได้ในพริบตา หลายคนยั้งใจไม่อยู่ รู้ตัวอีกทีก็เก็บเงินไม่อยู่เสียแล้ว
การทำประกันสะสมทรัพย์จึงเหมือนการบังคับให้เราออมเงินกลาย ๆ ได้รับความคุ้มครองบ้าง เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ที่สำคัญ ทำได้ง่าย อายุ 15 ปี ขึ้นไปก็สามารถทำได้ และถ้าเป็นเด็กมหาลัย เริ่มต้นที่อายุ 18 – 19 ปี ขึ้นไป ก็สามารถทำเองได้ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ หลักฐานที่ใช้ยื่นก็ไม่เยอะ ดอกเบี้ยไม่แพง มีระยะเวลาสัญญาให้เลือกตามความต้องการ จะสะสมแบบ 5 ปี หรือ 10 ปีก็ได้
ยิ่งวัยเรียน วัยนักศึกษามหาวิทลัย ยังเป็นวัยที่ยังไม่มีพันธะต่าง ๆ การแบ่งปันเงินออกจากค่าใช้จ่ายรายเดือนจะทำได้ง่ายกว่าวัยทำงาน แถมยังไม่ต้องจ่ายภาษีเงินได้ทุก ๆ ปี ช่วงนี้แหละจึงเหมาะกับการเริ่มทำประกันสะสมทรัพย์
แต่ก็ไม่อยากทำ แล้วได้ใช้เงินตอนแก่นี่นา
หลายคนติดภาพว่าทำประกันชีวิตแล้วกว่าจะได้ผลตอบแทนคืน ก็ต้องรอกันไปจนแก่ หลายคนไม่อยากรอนานถึงขนาดนั้น แต่ถ้าให้เก็บออมเงินเองอาจจะลำบาก เพราะสิ่งยั่วยวนใจให้ใช้เงินมันช่างเยอะเสียเหลือเกิน จรอง ๆ แล้วก็ไม่เสมอไปหรอก เพราะประกันชีวิตออมทรัพย์ ส่วนมากจะมีระยะเวลาที่ให้คุณเลือกออมได้ตามแต่สะดวก แบ่งได้ 2 แบบ คือ
- ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้น
ได้ผลประโยชน์รวดเร็ว ระยะจ่ายดอกเบี้ยก็สั้น ใช้ระยะเวลาราว ๆ 3 – 5 ปี ขึ้นอยู่กับสัญญาของประกัน ซึ่งน่าจะตอบโจทย์ใครหลาย ๆ คน เหมาะกับวัยรุ่นที่ตั้งเป้าหมายเก็บเงินไว้สร้างตัวตอนเรียนจบ หรือคนที่มีเป้าหมายทางการเงินที่แน่ชัด แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าเอาไปทำอะไร หรือเก็บเงินเองไม่ค่อยอยู่ เช่น อยากสะสมเงินก้อน เพื่อนำไปใช้ลงทุนธุรกิจหลังเรียนจบ เป็นต้น
- ประกันสะสมทรัพย์ระยะยาว
หากมีเป้าหมายเก็บเงินก้อนโตในระยะยาว (5 ปีขึ้นไป จนถึง 15 ปีขึ้นไป) มีข้อดีที่เบี้ยประกันไม่สูงมาก แถมยังมีกรมธรรม์ที่คุ้มครองชีวิตได้นาน อาจจะไม่เหมาะกับคนที่รีบนำเงินก้อนเหล่านี้มาใช้ แต่จะเหมาะมาก ๆ สำหรับใครที่อยากเก็บออมเงินไว้ใช้จ่ายวัยเกษียณเพิ่มอีกช่องทาง หรือเก็บไว้ให้ลูกหลาน ให้คนที่รักเผื่อคุณไม่อยู่
จะเห็นได้ว่าประกันสะสมทรัพย์ทั้งระยะสั้น ระยะยาว มีลักษณะไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน หากคุณอยากออมเงินสั้น ๆ ไม่ถึง 10 ปี การเลือกทำประกันสะสมทรัพย์แบบระยะสั้นจะเหมาะมาก ๆ เพราะเมื่อเรียนจบ คุณจะมีเงินก้อนไว้กับตัวโดยไม่ต้องพึ่งคนทางบ้าน
บางคนสามารถนำเงินก้อนเหล่านี้ไปหาประสบการณ์ต่าง ๆ ก่อนทำงานจริงจัง หรือบางคนมีแพลนอยากเปิดร้าน หรือทำธุรกิจเล็ก ๆ ก็สามารถทำได้
แต่ถ้าคุณกำลังจะผ่านพ้นวัยรุ่น หรืออยู่ในช่วงวัยสร้างครอบครัวที่มองการณ์ไกล อยากเก็บเงินก้อนไว้ให้ลูกของตน ประกันออมมทรัพย์แบบระยะยาวจะตอบโจทย์มากกว่า แน่นอนว่าไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ให้ลูกเสมอไป คุณเก็บไว้ใช้จ่ายตอนตัวเองเกษียณ จะได้ไม่ต้องพึ่งพาลูกหลานให้รู้สึกลำบากใจ
ที่น่าสนใจคือ เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำประกันชีวิตออมทรัพย์ระยะเวลานานมากน้อยแค่ไหน แถมถ้าทำถึงระยะเวลาสัญญา ยังได้ผลตอบแทนคืนอีกด้วย บางเจ้าให้มากถึง 300% ของเบี้ยประกันเลยนะ
จำเป็นต้องใช้เงิน ไม่ถึงระยะเวลาสัญญา ขอเงินคืนได้ไหม?
น้อง ๆ วัยมหาลัยที่คิดจะทำ อาจจะเกิดลังเลขึ้น เพราะการออมเงินก้อนด้วยวิธีเหล่านี้ จะไม่สะดวกสบาย ไม่สามารถถอนได้ทันทีแบบการฝากบัญชีธนาคารทั่วไป และถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินก้อน จะไปขอคืนได้ไหม?
นอกจากนี้ ถ้าเกิดครอบครัวต้องการความช่วยเหลือ เงินก้อนที่ออมไว้ไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้อาจจะไม่คุ้มเสีย ยิ่งกับสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ บางครั้งก็ต้องใช้เงินก้อนมาหมุนช่วยครอบครัว บางคนอาจจะนำเงินก้อนไปจ่ายค่าเทอมแทนพ่อแม่อีก
ไม่ต้องกังวลไป จริง ๆ แล้ว ในแต่ละบริษัทประกันจะมีเงื่อนไขไม่เหมือนกัน แต่โดยรวมแล้วคุณสามารถเรียกขอเงินประกันคืนไปได้ เพียงแต่จะเสียสิทธิ์ในการได้ผลตอบแทนที่สะสมทั้งหมด
อธิบายง่าย ๆ ดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนที่จะได้มาโดยตลอด ทางบริษัทจะไม่คืนมา แต่จะคืนเงินที่คุณจ่ายเป็นค่าทำประกันทุก ๆ ปี คืนให้เต็มจำนวน
แต่ทั้งนี้ การทำประกัน ไม่ว่าจะประกันใด ๆ ก็ตาม สิ่งสำคัญคือการอ่านเงื่อนไข ข้อปฎิบัติต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วน หรืออาจจะเลือกทำประกันออมทรัพย์สั้น ๆ ระยะไม่กี่ปีดูก่อน เพื่อทำความเข้าใจก็ได้เช่นกัน
เรียนจบ มีเงินก้อนส่วนตัวใช้ทันที ไม่มีอะไรดีไปกว่านี้อีกแล้ว!
ถ้าใครสนใจ ลองเปรียบเทียบประกันออมทรัพย์ต่างๆ ก่อนซื้อได้ที่ Rabbit Care กันได้เลย! เพราะเรามีบริการซื้อประกันสะสมทรัพย์ ออนไลน์ง่าย ๆ พร้อมเปรียบเทียบเบี้ยประกันและเงื่อนไขต่าง ๆ ในครั้งเดียว รับรองว่าตอบโจทย์สุด ๆ
สรุป
การทำประกัน ไม่ว่าจะประกันใด ๆ ก็ตาม สิ่งสำคัญคือการอ่านเงื่อนไข ข้อปฎิบัติต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วน หรืออาจจะเลือกทำประกันออมทรัพย์สั้น ๆ ระยะไม่กี่ปีดูก่อน เพื่อทำความเข้าใจก็ได้เช่นกัน
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct