หนี้สาธารณะ คืออะไร ? แตกต่างจากหนี้ครัวเรือนอย่างไร ? หนี้สูงควรกังวลหรือไม่ ?
ช่วงปี 2566 ที่ผ่านมานี้ มีการกล่าวถึงหนี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นหนี้สาธารณะ หรือหนี้ครัวเรือน ที่มีแนวโน้มพุ่งสูง สะท้อนความไม่มั่นคงหลังจากที่ทั้งไทย และแทบทุกประเทศในโลกผ่านพ้นวิกฤติโควิด ที่คุกคามสภาพคล่องจากการเงินในทุกระดับชั้น วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงอยากให้ทุกท่านทำความเข้าใจ หนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน ที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
หนี้สาธารณะ คือ ?
หนี้สาธารณะ (Public debt) คือ หนี้ที่รัฐบาลเป็นคนกู้ยืม โดยมีหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ องค์กรของรัฐ รวมไปถึงกลุ่มรัฐวิสาหกิจและหนี้สินที่รัฐบาลเป็นคนค้ำประกัน โดยส่วนใหญ่ก็เกิดจากที่่ รัฐบาลดำเนินนโยบายขาดดุล (รายจ่ายมากกว่ารายรับ) ทำให้มีปริมาณหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
แน่นอนว่าหนี้สาธารณะไม่สามารถดูลอย ๆ ตัวเดียวได้ ส่วนใหญ่ก็จะนำไปเปรียบเทียบกับ GDP เช่นเดียวกับหนี้ครัวเรือน เนื่องจากรายจ่ายของรัฐบาลส่วนใหญ่ จะถูกนำไปใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยในรัฐบาลเป็นผู้ซื้อสินค้าและบริการก็จะทำให้เงินในระบบหมุนมากขึ้นจากเดิม
ประโยชน์ของหนี้สาธารณะ
- มีเงินใช้จ่ายเพื่อพัฒนาประเทศ
- ช่วยชาติยามฉุกเฉิน
- มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อประชาชน เช่น กระจายความเจริญสูภูมิภาค ส่งเสริมการจ้างงาน
- พัฒนาตลาดตราสารหนี้ เช่นระบบการเงินมีความสมดุลมากขึ้น และส่งเสริมการออมของประชาชน
ประเภทของหนี้สาธารณะ
- หนี้ที่กระทรวงการคลัง หรือหน่วยงานของรัฐกู้ (ไม่นับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
- หนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงิน ทั้งส่วนที่รัฐค้ำ/ไม่ค้ำประกันเงินกู้
- หนี้ที่สถาบันทางการเงินของรัฐกู้ เฉพาะส่วนที่รัฐค้ำประกัน
- หนี้อื่นที่รัฐค้ำประกันเงินกู้
หนี้ครัวเรือน คือ ?
หนี้ครัวเรือน คือ หนี้ของบุคคลที่เกิดจากการกู้ยืมเงินจากการใช้จ่ายไม่ว่า ซื้อรถ ซื้อบ้าน โทรศัพท์ หรือการใช้จ่ายอุปโภคบริโภค ฯลฯ โดยข้อมูลจากเก็บจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ และองค์กรธุรกิจสินเชื่อ สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่ใช่ธนาคาร
ประโยชน์ของหนี้ครัวเรือน
- อาจแสดงว่าประชาชนทั่วไปพึ่งพาระบบหนี้สินนอกระบบน้อยลง และหันมาพึ่งการกู้หนี้ในระบบ ซึ่งอย่างน้อยก็มีกฎหมายควบคุม
- ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเงินสะพัด โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าชิ้นใหญ่ เช่น บ้าน รถ เครื่องใช้ในบ้าน
ประเภทของหนี้ครัวเรือน
หนี้ที่ไม่สร้างรายได้ (non-productive loan)
หนี้ที่ให้ความสุขสบายในวันนี้ แต่มักไม่ทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต เพราะส่วนใหญ่เป็นของที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ช่วยให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค หนี้จากการจับจ่ายซื้อของที่เกินฐานะ
หนี้ที่สร้างรายได้ (productive loan)
หนี้ที่ช่วยให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างอนาคต สร้างอาชีพ หรือความมั่นคงระยะยาว เช่น หนี้เพื่อการศึกษา หนี้ซื้อบ้าน หนี้เพื่อซื้ออุปกรณ์ประกอบอาชีพ
สถานการณ์หนี้สาธารณะของไทยตอนนี้ (2023) เป็นอย่างไร ? น่าเป็นห่วงหรือไม่ ?
อัตราหนี้สาธารณะ ไม่ควรจะเกิน 70% ของ GDP เพราะฉะนั้นจะเข้าสู่เกณฑ์ที่เรียกได้ว่าหนี้สาธารณะเยอะเกินไป และประเทศไม่มีประสิทธิภาพในการจ่ายคืนได้หมด
โดยพบว่าในช่วงปี 2012-2022 หนี้สาธารณะไทยเพิ่มขึ้นจาก 4.9 ล้านล้านบาท (45.5% ของ GDP) เป็น 10.3 ล้านล้านบาท (60.4% ของ GDP) ซึ่งหากดูจากสถิติในปีอื่น ๆ ที่ผ่านมา หนี้สาธารณะของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ประมาณ 6.8% ในขณะที่ GDP ในปี 2022 มีอัตราการโตเพียง 2.8% และในปี 2023 นี้เอง คาดการณ์ว่า GDP อาจขยายตัวประมาณ 3.2% ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง เพราะหากทิศทางของหนี้สาธารณะยังเติบโตเท่าเดิม GDP จะไม่อาจขยายตัวตามทัน และทำให้หนี้สาธารณะเกิน 70% ของ GDP ซึ่งประเทศอาจต้องเข้าสู่สภาวะคาดเข็มขัด และอาตจทำให้ Mega Project บางอย่างต้องพับเก็บไปก่อน
แต่ความหวังก็ไม่ได้หมดสิ้นเสียทีเดียว เพราะหากดูจากเทรนด์การบริหารหนี้สาธารณะ รัฐบาลสามารถบริหารหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีต้นทุนที่เหมาะสมและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อีกทั้งหนี้กว่าร้อยละ 98 เป็นหนี้สกุลเงินบาทจึงช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อระดับสากลยังคงอันดับความน่าเชื่อของประเทศไทยที่ BBB+ มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) แต่ก็ต้องดูกันต่อไป
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยตอนนี้ (2023) เป็นอย่างไร ? น่าเป็นห่วงหรือไม่ ?
นอกจากหนี้สาธารณะแล้ว หลายคนเป็นห่วงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนมากกว่า เพราะประมาณช่วงกลางปี 2023 นี้เอง ได้มีการเช็กหนี้สาธารณะ แล้วพบว่า ไทยมีหนี้สาธารณะกว่า 10.2 ล้านล้านบาท 69% ของหนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมดเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ซึ่งมักจะเป็นเงินในการอุปโภคบริโภค เป็นหนี้เสียที่ไม่อาจสร้างรายได้ รวมถึงกลุ่มเกษตรกร และผู้มีรายได้ต่ำ ยังมีเกณฑ์ติดหนี้ที่สัดส่วนเกินรายได้มาก
ซึ่งหลาย ๆ คนอาจดูสถิติประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนแล้วพูดได้ว่า แต่ละประเทศดูเป็นประเทศที่เจริญมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งจะต้องไปดูสัดส่วนในการใช้จ่ายอีกที เพราะอย่างประเทศสหรัฐฯ หรือญี่ปุ่น ส่วนมากหนี้สินครัวเรือนจะตกไปอยู่ที่การผ่อนบ้าน ผ่อนรถ รวมถึงหนี้ ยังอยู่ในมือของผู้คนที่มีศักยภาพคืนหนี้ได้ ซึ่งในกรณีของประเทศไทย หนี้ 2 ใน 3 ถือเป็น หนี้ที่ไม่สร้างรายได้ (non-productive loan) และหากเทียบกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging market economies) เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย หนี้ครัวเรือนของไทย สูงทะลุทุกประเทศเลย
ฉะนั้นสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยจึงถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่น้อย วิถีการแก้ แน่นอนว่าจะต้องเริ่มมาจากระดับโครงสร้าง เช่น ไม่ปล่อยกู้ดาษดื่น ไปจนถึงการควบคุมกลไกเศรษฐกิจให้รายได้ สอดคล้องกับค่าใช้จ่าย หากแต่หนี้ครัวเรือน ไม่ใช่หนี้สาธารณะ เพราะสามารถเริ่มต้นแก้ปัญหาได้จากรายบุคคล การวางแผนการเงินที่เหมาะสม สามารถเข้าถึงสินเชื่อที่เหมาะสม ยืดหยุ่น ไปจนถึงเริ่มต้นการกู้ยืมเพื่อต่อยอดธุรกิจ หรือผ่านบ้าน ผ่อนรถ แทนที่จะสร้างหนี้จากสิ่งที่ไม่จำเป็น
ฉะนั้นหนึ่งในแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะ หรือหนี้ครัวเรือน สามารถเริ่มต้นด้วยความรู้เท่าทันการเงิน และการบริหาร การลงทุนที่ชาญฉลาด แรบบิท แคร์ ขอแนะนำ ประกันสะสมทรัพย์ สร้างนิสัยอดออม เก็บเงิน พร้อมคุ้มครอง และเงินปันผล สำหรับหลาย ๆ คนที่อยากเริ่มต้นการลงทุนอย่างชาญฉลาด เริ่มเลย ! คลิก
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี