ถ้าไม่อยากเป็น หนี้นอกระบบ ต้องทำอย่างไร?
เชื่อว่าหลายคนคงเคยประสบกับปัญหาทางการเงินแบบชักหน้าไม่ถึงหลัง จนต้องไปพึ่งการกู้เงินนอกระบบ เนื่องจากคิดว่าง่ายไม่ต้องใช้เอกสารอะไรมากมายก็ได้เงินออกมาใช้แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า คุณกำลังตกหลงเป็นเหยื่อของหนี้นอกระบบ ที่ดอกเบี้ยแพงแสนแพง แถมถ้าจ่ายไม่ตรงตามกำหนด อาจโดนทำร้ายร่างกายแบบที่เราเห็นตามหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ก็เป็นได้
ดังนั้นเพื่อการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจึงได้ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถกู้ในระบบได้มากยิ่งขึ้น วันนี้ Rabbit Care จึงได้รวบรวมข้อมูลดีๆ ของการกู้ในระบบมาฝากกันค่ะ
ขอสินเชื่อส่วนบุคคลให้ผ่านฉลุย ต้องเตรียมอะไรบ้าง
หลายคนอาจเคยประสบกับการขอกู้สินเชื่อรวมหนี้แล้วไม่ผ่าน จนทำให้เกิดความสงสัยว่าเกิดข้อผิดพลาดประการใด ยิ่งเป็นมือใหม่หัดกู้ ที่ไม่ทราบว่าจะต้องเตรียมเอกสาร หรือมีขั้นตอนอะไรบ้าง ก็อาจจะยิ่งทำให้เกิดความกังวลใจ ดังนั้นมาเช็กลิสต์เอกสารต่างๆ ที่ต้องเตรียมไปกันดีกว่า
1. มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ต้องมี Statement ตัวจริงย้อนหลัง 6 เดือน และสลิปเงินเดือนตัวจริง ย้อนหลัง 3 เดือน
2. มีประวัติทางการเงินทีดี ไม่ติดประวัติที่เครดิตบูโร ก็จะทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้น ซึ่งต้องมีสำเนาหลักฐานการปิดบัญชีหนี้เครดิตบูโร (ถ้ามี) เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่เคยมีประวัติการเบี้ยวจ่ายการชำระค่างวดมาก่อนก็จะทำให้กู้ได้ง่ายขึ้น
3. เอกสารต้องครบถ้วน ควรสอบถามกับเจ้าหน้าที่ให้แน่ชัดว่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารก่อนที่จะยื่นให้เจ้าหน้าที่ เช่น
• บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
• สำเนาทะเบียนบ้าน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
• ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
• สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณะบัตรของคู่สมรส (ถ้ามี)
• หน้าสมุดธนาคาร (บัญชีที่เงินเดือนเข้า)
• ใบรับรองเงินเดือน
4. ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ เนื่องจากเวลาธนาคารต้องติดต่อ หรือทวงถามตามหนี้จะได้สะดวก และเป็นตัวช่วยพิสูจน์ความน่าเชื่อถือได้อีกทางหนึ่งด้วย
รัฐฯ หนุน 3 แบงค์ปล่อยกู้นอกระบบ
การขอสินเชื่อส่วนบุคคลกับสถาบันการเงินไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าเรารู้จักเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะยื่น ก็จะทำให้อนุมัติได้รวดเร็วทันใจ แถมไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกทวงหนี้ที่โหดร้ายอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ 3 ธนาคารอย่าง ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธ.อ.ส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือหนี้นอกระบบ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีรายได้น้อยและบุคคลทั่วไป สามารถติดต่อยื่นขอได้จนถึง 31 มีนาคม 2563 มีรายละเอียด ดังนี้
- ระยะเวลากู้สินเชื่อส่วนบุคคลไม่เกิน 5 ปี หรือ 60 งวด
- วงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย
- อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.85 ต่อเดือน
- ต้องมีบุคคลค้ำประกันอย่างน้อย 1 คน หรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
อีกหนึ่งตัวช่วยของการขอสินเชื่อ
สินเชื่อซิตี้แบงก์ หนึ่งในสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อในระบบ ที่เข้าใจทุกความต้องการของผู้กู้ แถมเพิ่มสภาพคล่องในทุกๆ ด้าน ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษสูงสุดไม่เกิน 15.99% ต่อปี ระยะเวลาการผ่อนชำระขั้นต่ำ 12 เดือน และสูงสุดไม่เกิน 60 เดือน ในวงเงินสินเชื่อสูงสุด 5 เท่าของรายได้ หรือไม่เกิน 1,000,000 บาท
นอกจากนี้ลูกค้าที่อยู่ในบริษัทที่จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน ข้าราชการ หรือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป และต้องได้รับวงเงินอนุมัติตั้งแต่ 150,000 บาทขึ้นไป จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ลดสูงสุด 3%
ตัวอย่างการคำนวณอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมแบบอัตราลดต้นลดดอก
ยอดเงินกู้จำนวน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอก 15% และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 13% ระยะเวลาผ่อนชำระ 24 งวด งวดละ 2,744 บาท
1. วิธีคำนวณดอกเบี้ยในแต่ละงวด
• (ยอดเงินกู้คงค้าง x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนวันในแต่ละงวด)/365
• (50,000 x 15% x 31)/ 365 = 636.99
2. วิธีคำนวณค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินในแต่ละงวด
• (ยอดเงินกู้คงค้าง x อัตราค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน x จำนวนวันในแต่ละงวด)/365
• (50,000 x 13% x 31)/ 365 = 552.05
3. วิธีคำนวณยอดชำระคืนเงินต้น
• เงินงวดที่ชำระ – ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินที่ได้จากข้อ 1 และ 2
• 2,744 – 636.99 – 552.05 = 1554.96
คุณสมบัติของการขอสินเชื่อบุคคลซิตี้แบงก์
• สัญชาติไทย มีอายุ 21 ปีขึ้นไป รวมระยะเวลาผ่อนชำระแล้วไม่เกิน 60 ปี
• มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป และมีอายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป สำหรับพนักงานบริษัท
• ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกันอย่างน้อย 2 ปี สำหรับเจ้าของกิจการ
• สำเนาบัตรประชาชน
• สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน ย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือน
• สำเนาสมุดบัญชีธนาคารหน้าแรก และสำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
• กรณีเจ้าของกิจการ หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ถ้ามี)
บัตรกดเงินสดอีกหนึ่งตัวช่วยที่ไม่ต้องพึ่ง หนี้นอกระบบ
บัตรกดเงินสด สามารถนำบัตรมากดเงินสดทุกตู้เอทีเอ็มในประเทศไทย โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการกด แต่ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกไม่เกิน 28% ต่อปี ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันหมดทุกธนาคาร และคิดอัตราดอกเบี้ยจำนวนวันตามที่ใช้จริง
เช่น ถ้านายก. ถือบัตรกดเงินสดไปกดที่ตู้เอทีเอ็มในวันที่ 1 ม.ค. และได้จ่ายคืนชำระคืนภายในวันที่ 6 ก.พ. ของเดือนเดียวกัน ก็จะมีการคำนวณดอกเบี้ยแบบรายวันที่ถูกกว่า เนื่องจากคิดเป็นแบบรายวันที่ลูกค้านำมาคืน แต่ถ้าผู้ถือบัตรชำระตามรอบบิลที่เรียกเก็บก็จะคิดดอกเบี้ยร้อยละ 28
ตัวอย่าง หากผู้ถือบัตรมีการกดเงินสดออกมาจากตู้เอทีเอ็มจำนวน 9,000 บาท ในวันที่ 1 ก.พ. และมียอดสรุปในวันที่ 5 มี.ค. นับรวมได้ 36 วัน การคำนวณดอกเบี้ยรอบปัจจุบันคือ นำจำนวนเงินที่กดเงินสด X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันที่กู้ยืมนับตั้งแต่วันที่กดเงินสดจนถึงวันที่สรุปยอดบัญชีของแต่ละสถาบันการเงิน / 365 วัน (9,000 X 28% X 36/ 365 = 248.55 บาท)
ใครกำลังประสบปัญหาเป็นหนี้นอกระบบอยู่ ก็ลองนำวิธีที่เราแนะนำไปปรับใช้กันดู เชื่อว่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้หลายคนหลุดพ้นจากภาระหนี้สินล้นพ้นตัวไปได้ ที่สำคัญเมื่อแก้ปัญหาได้แล้ว ก็ขอให้รักษาวินัยทางการเงินที่ดีเอาไว้ และไม่ก่อหนี้เกินตัว จนเป็นปัญหาอีกในอนาคต คลิกสมัครได้ที่ Rabbit Care ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก อนุมัติรวดเร็วฉับไว ให้วงเงินสูงสุด 5 เท่าของจำนวนเงินเดือน ขั้นตอนง่ายๆ สมัครเข้ามาตอนนี้เลยนะคะ
มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี