รวมเรื่องควรรู้ก่อนไปจำนำ การจำนำ คืออะไร ? ของอะไรบ้างที่สามารถนำไปจำนำได้ ?
“จำนำ” วิธีที่หลายคนอาจนึกถึงเมื่อเริ่มมีปัญหาติดขัดทางด้านการเงิน แต่การจำนำนั้นแท้จริงแล้ว คืออะไร ? มีกระบวนการหรือขั้นตอนอย่างไรบ้าง มีข้อดี ข้อเสีย อะไรที่ควรรู้ไว้ ? ใครที่สามารถนำของไปจำนำได้ สิ่งของอะไรที่สามารถนำไปได้ ลักษณะการคิดดอกเบี้ยเป็นอย่างไร ? การบังคับจำนำ คืออะไร ? หากสิ่งของหลุดจำนำแล้วอยากได้คืนมีโอกาสไหม ? มาอ่านเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการจำนำที่ แรบบิท แคร์ นำมาให้ เพื่อทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจนำของมีค่าไปจำ นำกัน!
จำนำ คืออะไร ?
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความหมายของการจำนำไว้ว่า การจำนำ นั้นคือ การที่ผู้จำ นำได้ส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ที่ตนเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับการจำนำเพื่อเป็นการประกันว่าตนจะชำระหนี้ (มาตรา ๗๔๗ และมาตรา ๗๔๘) และในกรณีที่ทรัพย์สินที่นำมาจำนำมีตราสารหนี้ (ตราสารหนี้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามกฎหมายและจะโอนกันได้ก็ต่อเมื่อโอนด้วยวิธีของตราสารนั้นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ใบหุ้น หรือตั๋วเงิน) ผู้จำ นำต้องแจ้งให้ผู้รับการจำ นำทราบ และต้องมอบตราสารหนี้นั้นให้ผู้รับการจำนำไว้ด้วย (มาตรา ๗๕๐ มาตรา ๗๕๑ มาตรา ๗๕๒ และมาตรา ๗๕๓)
การจำนำนั้นจะสิ้นสุดเมื่อหนี้ที่นำมาจำนำระงับไป เช่น มีการชำระหนี้กันแล้วหรือได้หักกลบลบหนี้กันแล้ว และการที่ผู้รับจำ นำยอมให้ทรัพย์สินที่จำ นำกลับไปสู่การครอบครองของผู้จำนำย่อมทำให้การจำนำสิ้นสุดลงเช่นกัน (มาตรา ๗๖๙)
กล่าวคือ การจำนำนั้นก็คือการนำสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สินมีค่าไปจำ นำกับผู้รับจำ นำเพื่อแลกกับเงินตามจำนวนที่ตกลงกันไว้และเป็นหลักประกันในการกลับมาชำระหนี้ รวมถึงผู้จำ นำจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้รับจำนำตามวันเวลาที่ตกลงกันเอาไว้ และเมื่อครบกำหนดก็จะต้องมานำเงินที่รับออกไปมาไถ่ถอนสิ่งของมีค่าของตนเองคืน มิเช่นนั้นทรัพย์สินชิ้นนั้นจะตกเป็นของผู้รับจำ นำ และผู้รับจำ นำจะสามารถนำทรัพย์สินเหล่านั้นไปใช้หรือขายทอดตลาดได้นั่นเอง
ข้อดีของการจำนำ
สำหรับคนที่กำลังลังเลใจ ว่าจะนำทรัพย์สินมีค่าในมือไปจำ นำดีหรือไม่ มีข้อดีอย่างไร มาอ่านทำความเข้าใจไปพร้อมกัน
- ได้เงินรวดเร็วทันใจ เหมาะกับคนรีบใช้เงิน
- มีบริการตรวจสอบคุณภาพ และประเมินราคาให้อย่างชัดเจน
- เมื่อมีเงินสามารถมาไถ่สังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนำได้ในทันที
- เพียงมีของก็สามารถทำการจำนำได้ ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน
ข้อเสียของการจำนำ
หลังจากทราบข้อดีของการจำนำไปแล้ว ก็มาทราบในส่วนของข้อเสียในการนำของไปจำนำกันบ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจได้อย่างรอบคอบถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น
- อาจไม่ได้เงินมากเท่าจำนวนที่ต้องการ
- โรงรับจำนำ/สถานที่รับจำนำมักมีกฎตายตัว ไม่ยืดหยุ่น
- ต้องชำระดอกเบี้ยตามที่สถานที่รับจำนำกำหนดทุกเดือน
- หากนำไปจำ นำยังร้านที่ไม่ใช่ร้านของทางรัฐอาจต้องเจอดอกเบี้ยสูงและการกดราคา
- เสี่ยงต่อการสูญเสียของที่มีคุณค่าทางจิตใจหากไม่มีเงินไปชำระตามตกลง
สำหรับใครที่ต้องการใช้เงินหรือมีปัญหาติดขัดด้านการเงินแต่ไม่อยากนำของมีค่าไปจำนำด้วยเหตุผลต่าง ๆ หรืออาจไม่มีของที่มีค่ามากพอนำไปจำ นำเพื่อแลกกับเงินที่สูงได้เท่ากับความต้องการ ก็ยังมีวิธีการขอสินเชื่อส่วนบุคคล กับ แรบบิท แคร์ ที่จะสามารถกู้เงินมาใช้ในการทำกิจธุระต่าง ๆ ไม่ต้องมีคนค้ำประกันหรือใช้ทรัพย์สินมีค่า ก็กู้ได้สบาย ๆ
จำนำถูกกฎหมายหรือไม่ ?
แน่นอนว่าการจำนำนั้นหากเป็นโรงรับ จำนำของรัฐฯ หรือสถานที่/ร้านค้าซึ่งจดทะเบียนและทำตามขั้นตอนในการรับ จำนำตามที่กฎหมายกำหนดอย่างถูกต้องนั้นย่อมถูกกฎหมายอย่างแน่นอน แต่หากเป็นการจำนำกับร้านที่ไม่ผ่านการจดทะเบียน หรือจดทะเบียนแต่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แม้กระทั่งการนำทรัพย์สินของผู้อื่นที่ไม่ใช่ของตนเองมาจำนำ(ขโมยมา) นั่นถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน
จำนำ ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ?
ในส่วนของการคิดดอกเบี้ยของโรงรับ จำนำนั้น โดยปกติ กรณีไม่เต็มเดือนหรือเป็นการที่จำนำภายใน ระยะเวลา 15 วัน ทำการคิดดอกเบี้ยทั้งหมดครึ่งเดือน แต่หากทำการจำนำเป็นระยะเวลาเกิน 15 วัน จะคิดดอกเบี้ย 1 เดือน โดยนับจากวันที่เริ่มจำนำเป็นวันที่ 1
โดยปกติแล้วโรงรับจำนำทั่วไปจะคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 1 หรือ 2 แต่ในส่วนของร้านค้าก็อาจมีการคิดดอกเบี้ยที่แตกต่างกันออกไป
ข้อควรระวัง : ในการส่งดอกเบี้ยหรือการไถ่ถอนทรัพย์สินคืน จะต้องมาให้ตรงกับวันที่ระบุอยู่บนตั๋วจำนำ เพราะหากมาหลังจากวันที่กำหนดจะมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเพิ่มเติมนั่นเอง
ใครจำนำได้บ้าง ?
สำหรับข้อสงสัยในเรื่องที่ว่าใครจะสามารถนำสิ่งของไปจำนำที่โรงรับ จำนำได้บ้างนั้น ตามกฎหมายได้ระบุว่าผู้ที่จะนำสังหาริมทรัพย์ไปจำนำ จะต้องเป็น บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีบัตรประชาชน และไม่เป็นภิกษุ สามเณร
ของอะไรบ้างที่สามารถนำไปจำนำได้ ?
ต้องการใช้เงิน อยากนำของไปจำนำ แต่ไม่รู้ว่าอะไรจำนำได้บ้าง ? อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า สิ่งที่จะสามารถนำไปจำนำได้นั้น คือ ทรัพย์ของผู้จำนำซึ่งเป็นทรัพย์ประเภทสังหาริมทรัพย์ หรือก็คือ เป็นทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้ และไม่ต้องมีทะเบียน เช่น ทอง เพชร นาก เงิน นาฬิกา แว่นตา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือช่าง และของใช้เบ็ดเตล็ด ทุกชนิดซึ่งมีมูลค่า และทางสถานที่รับจำนำประเมินให้ว่าสามารถรับจำนำไว้ได้ โดยทั้งหมดนี้จะยกเว้นสิ่งซึ่งเป็นของราชการ จะไม่สามารถนำไปจำนำได้
ระยะเวลาการจำนำ อายุตั๋วรับจำนำ
โดยทั่วไปแล้วตั๋วรับจำนำนั้นจะมีอายุอยู่ที่ 4 เดือน 30 วัน ซึ่งผู้จำนำจะต้องการทำการไถ่ถอน-ส่งดอกเบี้ยภายในระยะเวลา 4 เดือน 30 วัน (เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำนำวันแรก) หากเลยกำหนดระยะเวลาที่กำหนด ทรัพย์ชิ้นนั้นจะถือว่าเป็นของหลุดจำนำ และตกเป็นสิทธิ์ของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร/สถานที่รับจำนำนั้น ๆ นั่นเอง
ตั๋วรับจำนำตรงกับวันหยุด กำหนดจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุด
ในส่วนของกรณีที่ตั๋วรับจำนำหรือกำหนดจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดทำการของสถานที่รับจำนำ เช่น วันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์จนทำให้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยหรือไถ่ถอนได้ตรงตามวันที่ได้กำหนดไว้ ให้สามารถมาจ่ายดอกเบี้ยหรือไถ่ถอนทรัพย์ในวันที่กลับมาเปิดทำการวันแรกได้ โดยจะไม่มีการคิดดอกเบี้ยเพิ่ม
สิ่งที่ผู้จำนำและผู้รับจำนำควรรู้ และให้ความสำคัญ
- สิ่งที่นำมาจำนำนั้นผู้จำนำจะต้องเป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์โดยตรงเท่านั้น ห้ามนำสิ่งของที่ไม่ใช่ของตัวเอง ยักยอก ลืม หรือลักขโมยมาใช้เด็ดขาด
- กรณีเป็นของที่ไม่ใช้สินทรัพย์ของผู้จำนำ หากมีผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงมาตามของคืน ผู้รับจำนำจะต้องคืนของให้โดยไม่จำเป็นจะต้องได้รับค่าไถ่ถอนใด ๆ
- ผู้รับจำนำจะต้องเก็บรักษาทรัพย์ให้ปลอดภัย ไม่สูญหายและเสียหาย
- ผู้รับจำนำไม่สามารถนำทรัพย์ออกมาใช้เอง หรือให้บุคคลภายนอกใช้ หากเกิดความเสียหายใดต้องรับผิดชอบ
- ทรัพย์สินบางอย่างที่ต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาระหว่างการจำนำ ผู้จำนำจะต้องชำระให้กับผู้รับจำนำ
การบังคับจำนำ คืออะไร ?
การบังคับจำนำคือสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ แล้ววลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ ผู้รับจำนำก็จะมีสิทธิ์ในการบังคับจำนำ กล่าวคือ
- สามารถนำทรัพย์สินชิ้นนั้นออกขายทอดตลาดได้
- หากไม่นำขายทอดตลาดสามารถยื่นฟ้องต่อศาลให้ขายทอดตลาดได้
ของหลุดจำนำ มีโอกาสได้คืนหรือไม่ ?
คำตอบคือเมื่อของหลุดจำนำแล้ว หากเป็นการ จำนำกับโรงรับจำนำของรัฐจะถือว่ากรรมสิทธิ์ของทรัพย์ชิ้นนั้นไม่ใช่ของผู้จำนำอีกต่อไป และไม่สามารถนำคืนมาได้ แต่หากเป็นกรณีจำนำกับร้านค้า อาจต้องอยู่ที่ว่าจะขอเจรจาก็ไถ่ถอนหรือซื้อกลับคืนมาได้หรือไม่ และข้อมูลเหล่านี้ก็ถือเป็นสิ่งที่ควรรู้ก่อนจะนำทรัพย์ที่มีอยู่ไปจำนำ แรบบิท แคร์ หวังว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ คน
สรุป
การจำนำ คือ การที่ผู้จำนำได้ส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ที่ตนเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับการจำนำเพื่อเป็นการประกันว่าตนจะชำระหนี้ โดยทั่วไปแล้วตั๋วรับจำนำนั้นจะมีอายุอยู่ที่ 4 เดือน 30 วัน ซึ่งผู้จำนำจะต้องไถ่ถอน-ส่งดอกเบี้ยภายในระยะเวลา 4 เดือน 30 วัน (เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำนำวันแรก) หากเลยกำหนดระยะเวลาที่กำหนด ทรัพย์ชิ้นนั้นจะถือว่าเป็นของหลุดจำนำ และตกเป็นสิทธิ์ของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร/สถานที่รับจำนำนั้น ๆ
ข้อดีของการจำนำคือได้เงินเร็ว ไม่ต้องมีผู้ค้ำ และสามารถหาเงินมาไถ่ของคืนได้ แต่กลับกันก็มีข้อเสียคือ เงินที่ได้อาจได้ไม่มากเท่าที่ต้องการ และมีความเสี่ยงที่ของที่นำไปจำนำจะหลุดได้
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต