แคร์การเงิน

ค่าเบี้ยปรับ กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: November 14,2017
  
Last edited: November 14, 2017

ในปัจจุบันผู้คนมีปัญหาทางการเงินมากขึ้น ทั้งรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย หรือการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ตลอดจนถึงปัญหาของประชาชนระดับรากหญ้า ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินได้ จึงมุ่งไปใช้บริการธุรกิจนอกระบบกันแทน

ส่วนคนที่มีหลักประกันประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินหรือบ้าน ก็เลือกใช้บริการในรูปแบบจำนองหรือขายฝากแทน เพราะสะดวก ขั้นตอนการกู้ไม่ยุ่งยาก แถมได้เงินมาใช้แบบรวดเร็วทันใจ ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องผิด หากแต่ว่าคุณทำมันอย่างถูกขั้นตอนตามกฎหมาย

จำนอง

จำนองไม่ใช่จำนำ

จำนอง คือ การที่คุณ (ผู้จำนอง) เอาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเอง เช่น ที่ดิน หรือทรัพย์สินที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่ง ที่เรียกว่า ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้

ทั้งนี้ ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดิน หรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนองแต่อย่างใด

ตัวอย่างเช่น

นาย A ได้กู้เงินจากนาย B เป็นจำนวนเงิน 4 แสนบาท โดยนาย A ได้นำที่ดินของตนจำนวน 2 แปลง ไปจดทะเบียนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน 4 แสนบาท ที่นาย A ได้กู้ไปจากนาย B

โดยนาย A ไม่ต้องส่งมอบที่ดินของตนให้แก่นาย B และ นาย A ยังคงมีสิทธิ์ครอบครองใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติ

แล้วจำนองกับจำนำ ต่างกันอย่างไร ?

การจำนำ คือ คุณต้องเอาของไปไว้กับคนที่รับจำนำ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นของที่เคลื่อนที่ได้ เช่น สร้อยทอง ทีวี เป็นต้น แต่การจำนองไม่ต้องเอาของไปไว้กับคนรับจำนอง คุณจึงยังสามารถใช้ของที่จำนองได้ เช่น บ้านหรือที่ดิน ซึ่งการจำนอง เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนอง แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

  • การจำนองทรัพย์ของตน เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเอง

ในกรณีนี้ จะเป็นเช่นเดียวกับตัวอย่างข้างต้น คือ นาย A ได้กู้เงินจากนาย B เป็นจำนวนเงิน 4 แสนบาท โดยนาย A นำที่ดินซึ่งเป็นของตนเอง ไปจดทะเบียนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้ของนาย A เอง

  • การจำนองทรัพย์ของตน เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น

นาย A ได้กู้เงินจากนาย B เป็นจำนวนเงิน 4 แสนบาท โดยนาย C ได้นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่นาย A ได้กู้ไปจากนาย B

จำนองกับจำนำ ต่างกันอย่างไร

ทรัพย์สินที่ใช้ในการจำนอง

ทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนองได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน หรือสิ่งปลูกสร้างทุกชนิด อันติดอยู่กับที่ดินนั้น
  2. สังหาริมทรัพย์ ที่จำนองได้ คือ
  • เรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
  • แพ
  • สัตว์พาหนะ
  • สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ที่กฎหมายได้บัญญัติให้จดทะเบียนจำนองได้ เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่ เป็นต้น

ทรัพย์สินที่ใช้ในการจำนอง

การชำระหนี้จำนอง

การชำระหนี้จำนอง มีข้อควรรู้ ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นการชำระหนี้จำนองทั้งหมดหรือแค่บางส่วน หรือการระงับหนี้จำนองไม่ว่าในกรณีใด ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงในการจำนอง ทั้งหมดทั้งมวลนี้ กฎหมายบังคับให้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

ไม่เช่นนั้นแล้ว จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้

ตัวอย่างเช่น

นาย A จำนองที่ดินของตนไว้กับนาย B ต่อมานาย B ยอมปลดจำนองที่ดินดังกล่าวให้แก่นาย A แต่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ไปจดทะเบียนการปลดจำนองต่อเจ้าหน้าที่

ต่อมานาย B โอนการจำนองให้นาย C โดยจดทะเบียนถูกต้อง แล้วนาย C ได้บังคับจำนองที่ดินแปลงนี้ นาย A จะยกข้อต่อสู้ว่านาย B ปลดจำนองให้แก่ตนแล้วขึ้นต่อสู้กับนาย C ไม่ได้

ไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด

ค่าเบี้ยปรับ กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด (Prepayment Penalty)

ในปัจจุบัน ธนาคารมักเปิดโอกาสให้ผู้กู้ สามารถชำระเงินงวดเพิ่มสูงกว่าปกติได้ ซึ่งเงินที่ชำระเกินนั้น จะไปตัดหนี้ส่วนที่เป็นเงินต้นลง ทำให้หนี้เงินกู้หมดเร็วขึ้นกว่าที่กำหนดในสัญญา

แต่เมื่อไหร่ที่มีการชำระหนี้ทั้งหมด เพื่อปิดบัญชีและไถ่ถอนจำนองออกไป ภายในระยะเวลา 3 ปีแรกของการกู้เงิน ก่อนครบกำหนดตามสัญญากู้ ธนาคารส่วนใหญ่จะคิดค่าเบี้ยปรับ กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด ซึ่งธนาคารแต่ละแห่งจะคิดมากน้อยแตกต่างกัน

หากเป็นกรณีผู้กู้ค้างชำระภายหลังระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้ ธนาคารจะคิดเบี้ยปรับ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นเป็นอัตราดอกเบี้ยผิดนัด ซึ่งธนาคารแต่ละแห่งจะคิดไม่เท่ากัน

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า การทำธุรกรรมนี้ได้ถูกออกแบบมาให้มีกฏหมายคุ้มครองทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายผู้จำนองและฝ่ายผู้รับจำนอง จึงมั่นใจได้เลยว่าจะไม่มีปัญหาใด ๆ แน่นอน หากคุณทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง


ที่มา


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024
Rabbit Care Blog Image 93664

แคร์การเงิน

มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
คะน้าใบเขียว
22/08/2024
Rabbit Care Blog Image 90939

แคร์การเงิน

ถูกยืมเงินบ่อย ๆ ควรปฏิเสธอย่างไร เพราะอะไรเราถึงมักตกเป็นเหยื่อการขอยืมเงิน ?

ปัญหาชวนปวดหัวอย่างการถูกยืมเงินถือเป็นปัญหาที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเผชิญ ไม่ว่าจะด้วยเพราะสถานการณ์การเงินที่เป็นอยู่ลำพังเอาตัวเองให้รอดก็ลำบาก
คะน้าใบเขียว
23/07/2024