Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Oct 23, 2023

Emerging Market (EM) คืออะไร น่าสนใจต่อการลงทุนอย่างไร

สำหรับคนที่สนใจจะลงทุนในต่างประเทศ เบื้องต้นเลยคือควรทำความเข้าใจระบบเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการเติบโตของตลาด รวมถึงเสถียรภาพของตลาดนั้นๆ ซึ่งเราอาจจะคุ้นเคยกับ Developed Market กันมาบ้าง ว่าเป็นตลาดพัฒนาแล้ว ถ้าอย่างนั้น Emerging Market (EM) คืออะไร และมีความน่าสนใจต่อการลงทุนอย่างไร

Emerging Market คืออะไร

Emerging Market คือ คือระบบเศรษฐกิจของตลาดในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วมากถึง 10-20 % ต่อปี Emerging Market ตัวย่อคือ EM หรือ ตลาดเกิดใหม่นอกจากนี้ยังมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น จนเกือบคล้ายกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว นั่นหมายถึงการเพิ่มความสามารถทางสภาพคล่องในหนี้ท้องถิ่น และตลาดตราสารทุน มีปริมาณการแลกเปลี่ยนทางการค้ามากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนทางตรงจากนักลงทุนต่างชาติ เพียงแต่ Emerging Market ยังขาดหลักเกณฑ์บางประการที่จะทำให้เป็นประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว อย่างเช่น โครงสร้างพื้นฐาน ความเสรีของตลาดทุน และการกระจายรายได้ของเศรษฐกิจ

ความน่าสนใจต่อการลงทุนใน Emerging Market

เมื่อเราทราบแล้วว่า Emerging Market คืออะไร ที่นี้เรามาดูความน่าสนใจของ Emerging Markek ต่อนักลงทุนกันดีกว่า เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตสูง ทำให้ความน่าสนใจอยู่ที่อัตราการเติบโตนั่นเอง ซึ่งในปี 2022 ขนาดของ GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของกลุ่มประเทศในกล่มนี้ มีสัดส่วนมากถึง 50% ของ GDP ทั่วโลก หรือคิดเป็น 84,884 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มในอนาคตที่ประเทศในกลุ่มนี้จะเติบโตขึ้นเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกแทนกลุ่ม Developed Market ภายในปี 2030

ข้อดีและข้อเสียของการลงทุนใน Emerging Market

ข้อดีของการลงทุนใน Emerging Market

  • ตลาดมีศักยภาพในการเติบโตสูง ทำให้มีผลตอบแทนที่สูงสำหรับนักลงทุน
  • โครงสร้างประชากรมีอายุน้อยกว่าตลาดในกลุ่ม Developed Market ทำให้มีกำลังแรงงานเพื่อเป็นฐานการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ได้สูง จึงเกิดการลงทุนที่มากกว่า
  • มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัฐต่อการรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคตอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย กับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเช่น ท่าเรือน้ำลึก สนามบินอู่ตะเภา หรือรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น

ข้อเสียของการลงทุนใน Emerging Market

  • เนื่องจากมีอัตราการเติบโตสูงจากการลงทุนที่สูง ทำให้เกิดความผันผวนของตลาดหุ้นที่สูงเช่นกัน ราคาหุ้นขึ้นลงได้มาก และมีเสถียรภาพที่ต่ำ
  • มีปัจจัยเสี่ยงได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงทางด้านการเมือง หรือความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของสกุลเงิน เป็นต้น

ดัชนีที่ใช้ระบุ Emerging Market

สำหรับการแบ่งประเภท สามารถมีดัชนีได้หลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับผู้สังเกตการณ์หรือผู้วิเคราะห์ แต่ตัวแปรที่ถูกนำมาพิจารณากันอย่างกว้างขวางคือ ระดับของรายได้ คุณภาพของระบบการเงิน และอัตราการเจริญเติบโต ซึ่งดัชนีชี้วัดที่น่าสนใจในการระบุ Emerging Market คือ MSCI Emerging Markets Index ที่ครอบคลุมหุ้นจากหลายอุตสาหกรรมและหลายประเทศ โดยล่าสุด MSCI ได้จัดกลุ่มของ Emerging Market ไว้ทั้งหมด 24 ประเทศด้วยกัน ซึ่ง MSCI Emerging Markets Index จะให้น้ำหนักกับประเทศในเอเชียเป็นหลัก นำมาโดยประเทศจีน ไต้หวัน และเกาหลี ซึ่งประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งใน Emerging Market เช่นกัน

ตลาดการลงทุนในประเทศไหนบ้างที่นับว่าเป็น Emerging Market

จากข้อมูลดัชนีหลักทรัพย์ที่จัดทำโดย MSCI พบว่าประเทศหลักๆ ที่อยู่ในกลุ่มของ Emerging Market สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ

  • 1. ละตินอเมริกา ได้แก่ บราซิล ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และเปรู
  • 2. ยุโรปตะวันออกกลาง และแอฟริกา ได้แก่ สาธารณรัฐเชก อียิปต์ กรีซ ฮังการี คูเวต โปแลนด์ การ์ตาร์ ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ ตุรกี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • 3. เอเชีย ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และประเทศไทย

หากพิจารณาโดยรวมแล้ว การลงทุนในตลาดเกิดใหม่หรือ Emerging Market คือสิ่งที่น่าสนใจ ด้วยอัตราการเติบโตที่สูง นำมาซึ่งผลตอบแทนที่สูง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงควบคู่ไปกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกด้วยเช่นกัน เพื่อทำความเข้าใจลักษณะการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี และมีความเสี่ยงในเกณฑ์ที่รับได้นั่นเอง

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

สินเชื่อส่วนบุคคล ทีทีบี แคชทูโกทีทีบี แคชทูโก

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 17%/ปี, 14%/ปี ใช้ Direct Debit
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท หรือ 5 เท่าของรายได้
  • ผ่อนสบาย 72 เดือน ไม่ต้องมีคนค้ำ
  • รวบหนี้ 4 รายการ ลดดอกเบี้ย
  • รับเงินเดือน 20,000 บาท/เดือน ทำงานเกิน 4 เดือน
  • รายได้ 30,000 บาท/เดือน ดำเนินธุรกิจ 2 ปี
สินเชื่อส่วนบุคคลไทยเครดิตไทยเครดิต

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 9.99% ต่อปี
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน
  • จ่ายขั้นต่ำ 3% หรือ 500 บาท
  • อายุ 20-60 ปี ไทย
  • รวบหนี้บัตรและเงินสดที่เดียว
  • ไม่มีคนค้ำ
สินเชื่อส่วนบุคคล Happy CashHappy Cash

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 9.99% นาน 5 เดือน
  • วงเงินสูงสุด 1.5 ล้าน
  • ผ่อนนาน 60 เดือน ไม่ต้องค้ำ
  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ผ่อนชำระไม่เกิน 60 ปี
  • พนักงาน 15,000 บาท+, เจ้าของกิจการ 50,000 บาท+
  • อายุงานประจำ 6 เดือน+, เจ้าของกิจการ 3 ปี
สินเชื่อเงินสดนาโนฟินนิกซ์นาโนฟินนิกซ์

สินเชื่อเงินสด

  • ดอกเบี้ยวันละ 9 บาท สำหรับ 10,000 บาท
  • แจ้งผลไวสุดใน 5 นาที
  • ยืมได้ รายได้ 8,000 บาท/เดือน
  • วงเงินสูงสุด 100,000 บาท หมุนเงินสบาย
  • สมัครง่าย รายได้ไม่แน่นอน
  • สเตทเม้นท์ไม่ดี ใช้บัตรประชาชน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา