แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ใบขับขี่รถยนต์มีกี่ชนิด กี่ประเภท? มีค่าใช้จ่ายเท่าไรบ้าง?

ผู้เขียน : Tawan

A dedicated writer specializing in insurance and financial services, with a particular focus on motor insurance.

close
Published August 16, 2022

ใบขับขี่รถยนต์ที่หลายคนมักคุ้นชินอาจจะอยู่ในกลุ่มใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว หรือใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะเท่านั้น แต่ทราบหรือไม่ว่าประเภทใบขับขี่ไม่ได้มีแค่ใบขับขี่รถส่วนบุคคล หรือใบขับขี่สาธารณะเท่านั้น ยังมีชนิดใบขับขี่ และประเภทใบขับขี่ที่แยกย่อยตามลักษณะรถและการใช้งานรถอีกมากมายให้เลือกใช้ใบขับขี่ได้อย่างถูกต้อง เหมือนกับประเภทป้ายทะเบียนรถ แรบบิท แคร์ รวบรวมประเภทและชนิดของใบขับขี่รถยนต์ พร้อมคุณสมบัติและเงื่อนไขค่าธรรมเนียมในการขอรับใบขับขี่ของรถแต่ละชนิดที่ควรทราบมาฝากกัน

ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

ใบขับขี่มีกี่ประเภท?

ใบขับขี่ทั้งแบบใบอนุญาตขับขี่รถส่วนบุคคล และใบอนุญาตขับขี่รถทุกประเภท แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะรถ น้ำหนักรถและการใช้งานรถ ได้แก่ ใบขับขี่ประเภท 1, ใบขับขี่ประเภท 2, ใบขับขี่ประเภท 3 และใบขับขี่ประเภท 4 สามารถใช้ใบขับขี่ประเภทที่สูงกว่าแทนใบขับขี่ประเภทที่ต่ำกว่าได้กรณีต้องการขับรถที่นอกเหนือจากใบขับขี่ที่มีอยู่

ใบขับขี่ประเภท 1

ใบขับขี่ประเภท 1 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่น้ำหนักรถและน้ำหนักรถบรรทุกรวมกันไม่เกิน 3,500 กิโลกรัมที่ไม่ได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 20 คน ได้แก่ ใบขับขี่ บ.1 และใบขับขี่ ท.1 ใช้ขับรถแท็กซี่ หรือรถตู้ มีอายุการใช้งาน 3 ปี ผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี  และต้องสอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต

ใบขับขี่ประเภท 2

ใบขับขี่ประเภท 2 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า 3,500 กิโลกรัม ที่ไม่ได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า 20 คน ได้แก่ ใบขับขี่ บ.2 และใบขับขี่ ท.2 ใช้ขับรถเมล์, รถบัส, รถบรรทุกสินค้า หรือรถ 6 ล้อ มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี และต้องสอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต

ใบขับขี่ประเภท 3

ใบขับขี่ประเภท 3 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุก ได้แก่ ใบขับขี่ บ.3 และใบขับขี่ ท.3 ใช้ขับรถพ่วง, รถ 10 ล้อ หรือรถ 6 ล้อ มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี ต้องเข้ารับการอมรมหลักสูตรความปลอดภัยตามที่กำหนด และต้องสอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง

ใบขับขี่ประเภท 4

ใบขับขี่ประเภท 4 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ ใบขับขี่ บ.4 และใบขับขี่ ท.4 ใช้ขับรถขนส่งเคมี, รถบรรทุกเชื้อเพลิง มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ต้องเข้ารับการอมรมหลักสูตรความปลอดภัยตามที่กำหนด และต้องสอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง

ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง? ใบขับขี่ บ.1-บ.4 คืออะไร?

ใบขับขี่ บ.1-บ.4 คือ ใบอนุญาตขับขี่ประเภทส่วนบุคคล (บ.) หรือรถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาว มีตัวเลขและตัวอักษรสีดำ สำหรับใช้ขับรถขนส่งส่วนบุคคล (ธุรกิจส่วนตัว) เพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเอง ไม่ใช่เพื่อการรับจ้าง และเป็นรถที่มีน้ำหนักเกินกว่า 1,600 กิโลกรัม

ใบขับขี่ บ.1

ใบขับขี่ บ.1 หรือใบอนุญาตขับขี่ประเภทส่วนบุคคล (บ.) ชนิดที่ 1 คือ ใบขับขี่รถส่วนบุคคลสำหรับใช้ขับรถตู้ หรือรถแท็กซี่ ที่มีน้ำหนักรวมไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม หรือขับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 20 คน ใช้รถตามชนิดใบอนุญาตในการสอบปฎิบัติ มีอายุใช้งานใบขับขี่ประเภท บ.1 อยู่ที่ 3 ปี และอายุของผู้รับใบขับขี่ บ.1 ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

ใบขับขี่ บ.2

ใบขับขี่ บ.2 หรือใบอนุญาตขับขี่ประเภทส่วนบุคคล (บ.) ชนิดที่ 2 คือ ใบขับขี่รถส่วนบุคคลสำหรับใช้ขับรถรถบรรทุก, รถสิบล้อ, รถหกล้อ, รถตู้ หรือรถอื่นๆ ที่มีน้ำหนักรวมเกิน 3,500 กิโลกรัม หรือใช้ขับรถขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า 20 คน ใช้รถขนส่ง หรือรถ 6 ล้อ ขี้นไปในการสอบปฎิบัติ มีอายุใช้งานใบขับขี่ประเภท บ.2 อยู่ที่ 3 ปี และอายุของผู้รับใบขับขี่ บ.2 ต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

ใบขับขี่ บ.3

ใบขับขี่ บ.3 หรือใบอนุญาตขับขี่ประเภทส่วนบุคคล (บ.) ชนิดที่ 3 คือ ใบขับขี่รถส่วนบุคคลสำหรับใช้ขับรถสิบล้อพ่วง รถหัวลาก รถบรรทุกพ่วง หรือรถลากจูงรถอื่น ใช้รถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วงในการสอบปฎิบัติ มีอายุใช้งานใบขับขี่ประเภท บ.3 อยู่ที่ 3 ปี และอายุของผู้รับใบขับขี่ บ.3 ต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

ใบขับขี่ บ.4

ใบขับขี่ บ.4 หรือใบอนุญาตขับขี่ประเภทส่วนบุคคล (บ.) ชนิดที่ 4 คือ ใบขับขี่รถส่วนบุคคลสำหรับใช้ขับรถขนส่งวัตถุอันตราย รถบรรทุกสารเคมี รถบรรทุกน้ำมัน หรือรถบรรทุกก๊าซ ใช้รถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วงในการสอบปฎิบัติ มีอายุใช้งานใบขับขี่ประเภท บ.4 อยู่ที่ 3 ปี และอายุของผู้รับใบขับขี่ บ.4 ต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป

ใบขับขี่รถยนต์ทุกประเภทมีอะไรบ้าง? ใบขับขี่ ท.1-ท.4 คืออะไร?

ใบขับขี่ ท.1-ท.4 คือ ใบอนุญาตขับขี่รถประเภททุกประเภท (ท.) ใช้ขับรถรับจ้างขนส่งสินค้าหรือบุคคล รถขนส่งสินค้าในธุรกิจขนส่ง หรือรถโดยสารสาธารณะที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง เพื่อการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก ใช้แทนได้ทั้งใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล และใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

ใบขับขี่ ท.1

ใบขับขี่ ท.1 หรือใบอนุญาตขับขี่ประเภททุกประเภท (ท.) ชนิดที่ 1 คือ ใบขับขี่สำหรับใช้ขับรถบรรทุกขนส่งทั้งแบบประจำทาง ไม่ประจำทาง หรือขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่มีน้ำหนักรถรวมกันไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม หรือรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 20 คน เช่น รถยนต์ป้ายเหลือง มีอายุใช้งานใบขับขี่ประเภท ท.1 อยู่ที่ 3 ปี และอายุของผู้รับใบอนุญาตขับขี่ ท.1 ต้องไม่ต่ำกว่า 22 ปี

ใบขับขี่ ท.2

ใบขับขี่ ท.2 หรือใบอนุญาตขับขี่ ประเภททุกประเภท ชนิดที่ 2 คือ ใบขับขี่สำหรับขับรถขนส่งโดยรถขนาดเล็กทั้งแบบประจำทาง และไม่ประจำทางสำหรับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวมกันเกิน 3,500 กิโลกรัม หรือรถขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า 20 คน เช่น รถบรรทุกป้ายเหลือง, รถสิบล้อ, รถหกล้อ, รถบัส, รถเมล์, รถตู้ หรือรถยนต์ มีอายุใช้งานใบขับขี่ประเภท ท.2 อยู่ที่ 3 ปี และอายุของผู้รับใบอนุญาตขับขี่ ท.1 ต้องไม่ต่ำกว่า 22 ปี

ใบขับขี่ ท.3

ใบขับขี่ ท.3 หรือใบอนุญาตขับขี่ ประเภททุกประเภท ชนิดที่ 3 คือ ใบขับขี่สำหรับขับรถลากจูงรถอื่นหรือลากล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งของ เช่น รถบรรทุกพ่วงป้ายเหลือง, รถสิบล้อพ่วง หรือรถหัวลาก มีอายุใช้งานใบขับขี่ประเภท ท.3 อยู่ที่ 3 ปี และอายุของผู้รับใบอนุญาตขับขี่ ท.3 ต้องไม่ต่ำกว่า 22 ปี

ใบขับขี่ ท.4

ใบขับขี่ ท.4 หรือใบอนุญาตขับขี่ ประเภททุกประเภท ชนิดที่ 4 คือ ใบขับขี่สำหรับขับรถขนส่งโดยรถขนาดเล็กทั้งแบบประจำทาง และไม่ประจำทางที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภทหรือชนิด และลักษณะการบรรทุกที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น รถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายทุกชนิด มีอายุใช้งานใบขับขี่ประเภท ท.3 อยู่ที่ 3 ปี และอายุของผู้รับใบอนุญาตขับขี่ ท.3 ต้องไม่ต่ำกว่า 25 ปี

ใบขับขี่รถยนต์มีกี่ชนิด?

ชนิดใบขับขี่รถยนต์ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ แบ่งได้ 11 ชนิด ตามชนิดของรถและการใช้งานทั้งแบบบุคคล และสาธารณะ (รับจ้าง) มีเงื่อนไขในการขอรับเพื่อใช้งาน และข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป และไม่สามารถใช้แทนกันได้

ใบอนุญาตขับรถชั่วคราว

ใบอนุญาตขับรถชั่วคราว คือ ใบขับขี่เริ่มต้นสำหรับผู้ขับรถในแต่ละประเภท ได้แก่ ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ผู้ขออายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี มีอายุการใช้งาน 1 ปี และมีค่าธรรมเนียม 100 บาท, ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว ผู้ขออายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี มีอายุการใช้งาน 1 ปี และมีค่าธรรมเนียม 100 บาท, ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว ผู้ขออายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี มีอายุการใช้งาน 1 ปี และมีค่าธรรมเนียม 100 บาท

ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล

ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล คือ ใบขับขี่ที่จะได้นับหลังจากได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีมีอายุการใช้งานใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล 5 ปี และมีค่าธรรมเนียม 500 บาท

ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

ใบขับขี่รถสามล้อส่วนบุคคล คือ ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนใบขับขี่รถยนต์สามล้อจากชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี หรือต่ออายุใบขับขี่รถสามล้อส่วนบุคคลที่มีอายุใช้งาน 5 ปี และมีค่าธรรมเนียม 250 บาท

ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ

ใบขับรถยนต์สาธารณะ คือ ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพขับรถขนส่ง หรือรถบริการสาธารณะ เช่น รถแท็กซี่ โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบขับขี่ชั่วคราวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี มีอายุใช้งานใบขับขี่รถสาธารณะ 3 ปี และมีค่าธรรมเนียม 300 บาท

ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ

ใบขับขี่รถสามล้อสาธาณะ คือ ใบขับขี่รถตุ๊กตุ๊กสำหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือแบบตลอดชีพ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี มีอายุการใช้งานใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ 3 ปี และมีค่าธรรมเนียม 150 บาท

ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ คือ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ที่เปลี่ยนใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี หรือใบอนุญาตสำหรับผู้ที่ต้องการต่ออายุใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีอายุการใช้งาน 5 ปี และมีค่าธรรมเนียม 250 บาท โดยผู้ขอใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี

ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ คือ ใบขับขี่สำหรับวินมอเตอร์ไซค์ หรือไรเดอร์ ขับรถส่งของหรือส่งอาหารที่มีอายุผู้ขอใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 20 ปี และต้องได้รับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราวมาไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว โดยใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณจะมีอายุใช้งาน 3 ปี และมีค่าธรรมเนียม 150 บาท

ใบอนุญาตขับรถบดถนน

ผู้ที่ยื่นขอใบขับขี่รถบดถนน ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และต้องผ่านการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยใบขับขี่รถบดถนนมีอายุใช้งาน 5 ปี และมีค่าธรรมเนียม 250 บาท

ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์

ใบขับขี่รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร มีอายุใช้งาน 5 ปี มีค่าธรรมเนียม 250 บาท และผู้ขอใบขับรถแทรกเตอร์ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นๆ เช่น รถใช้งานเกษตรกรรม

ใบอนุญาตขับรถประเภทอื่น ๆ คือ ใบอนุญาตสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้น เช่น รถอีแต๋น หรือรถไถนาแบบเดินตามที่มีการต่อพ่วง 2 ล้อ สำหรับบรรทุกของ โดยใบขับขี่รถชนิดอื่นๆ มีอายุใช้งาน 5 ปี มีค่าธรรมเนียม 100 บาท และผู้ขอใบขับรถชนิดอื่นๆ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์

ใบขับขี่ระหว่างประเทศหรือใบขับขี่สากล คือ ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีไม่จำกัดอายุผู้ขอทำใบขับขี่สากล แต่ผู้ขอจะต้องใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชนิด 5 ปี หรือตลอดชีพแล้วเท่านั้น โดยใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศมีอายุการใช้งาน 1 ปี และมีค่าธรรมเนียม 500 บาท

หน่วยงานใดดูแลเรื่องใบขับขี่รถยนต์?

หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกที่มีหน้าที่ดูแลใบขับขี่รถยนต์ คือ ฝ่ายใบอนุญาตขับรถ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินการด้านใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตผู้ประจำรถให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 3 กลุ่มงานดังนี้

จะติดต่อกรมการขนส่งทางบกเรื่องใบขับขี่รถยนต์ได้อย่างไร?

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนประเภทใบขับขี่ ทำใบขับขี่ หรือต่อใบขับขี่ สามารถติดต่อได้ที่กรมการขนส่งทางบก กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5 (จตุจักร) ส่วนใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถ (อาคาร 4) 1032 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 02-271-8888 หรือสายด่วน 1584 ในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8:30 น. – 15:30 น. (ปิดทำการวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) หรือติดต่อที่สำนักงานขนส่งประจำพื้นที่หรือจังหวัด

หน่วยงานรับผิดชอบใบขับขี่รถยนต์เบอร์โทรศัพท์เบอร์ภายใน
1. งานใบอนุญาตขับรถ (บญ.)4200
1.1 หมวดใบอนุญาตส่วนบุคคล (มบบ.)0-2271-8426
0-2271-8427
4201
4202
1.2 หมวดใบอนุญาตขับรถสาธารณะ (มบส.)0-2271-84284204-4
1.3 หมวดใบอนุญาตขับรถต่างประเทศ (มบท.)0-2271-84294206-7
2. งานใบอนุญาตผู้ประจำรถและขับรถอื่น (บอ.)0-2271-84804107-8
3. งานอบรมและทดสอบ (อท.)0-2271-84824303
3.1 หมวดอบรม (มอร.)0-2271-84504304, 4305
3.2 ห้องอบรมต่ออายุ 5 ปี4402
3.3  ห้องทดสอบข้อเขียน4306
3.4 หมวดทดสอบ (มทส.)
3.5 สนามทดสอบขับรถ0-2271-84514402, 4307

ไม่ว่าจะต้องทำใบขับขี่ประเภทไหนหรือชนิดใด สามารถขอรับคำปรึกษาฟรี หรือเปรียบเทียบประกันรถยนต์ออนไลน์ด้วยตัวเองกับ แรบบิท แคร์ ที่มีประกันรถยนต์ให้เลือกครบทุกความต้องการจากทุกบริษัทฯ ชั้นนำ ทั้งประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2 หรือประกันชั้น 3 พร้อมรับสิทธิพิเศษความแคร์ที่มากกว่าซื้อประกันรถตรงกับบริษัทเอง ไม่ว่าจะเป็นบริการผ่อนเบี้ยประกัน 0% นานสูงสุด 3-10 เดือน บริการช่วยเหลือฉุกเฉินและแจ้งเคลมออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง หรือส่วนลดสูงสุด 70% รับสิทธิพิเศษและส่วนลดได้ก่อนใคร! โทรเลย. 1438 หรือ https://rabbitcare.com/


บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


 

บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ทำความเข้าใจใครบ้างมีสิทธิ์ขอรถนำขบวน และติดต่อขอได้จากช่องทางไหน

จากที่เคยมีประเด็นร้อนบนโลกออนไลน์ เกี่ยวกับการให้บริการรถนำขบวนชาวต่างชาติ แบบที่มีค่าบริการชัดเจน จนดูเหมือนเกินขอบเขตการทำงานของรถตำรวจทางหลวง
กองบรรณาธิการ
26/03/2024

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

บัตร Easy Pass ต่างจาก M-Flow อย่างไร แล้วสมัคร เติมเงินต้องทำอย่างไรบ้าง

เหล่านักเดินทางทุกท่านเคยคิดสงสัยในใจกันไหมว่า ตอนที่เราขับรถเข้าทางด่วนทำไมต้องมีช่อง Easy Pass, M Pass หรือ M Flow เต็มไปหมด ก่อนหน้านี้ แรบบิท แคร์
กองบรรณาธิการ
25/03/2024

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

สิ่งที่มือใหม่หัดขับควรทำและไม่ควรทำ มีอะไรบ้าง ?

แม้จะเป็น ‘มือใหม่หัดขับ’ ก็ตาม สิ่งไหนควรทำสิ่งไหนที่ไม่ควรทำขณะที่ขับรถบนท้องถนนก็จำเป็นที่จะต้องทราบ
กองบรรณาธิการ
22/03/2024