15 ประเภทป้ายทะเบียนต้องรู้! สีป้ายทะเบียนรถแต่ละสี มีความหมายอย่างไร?
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมใช้รถรุ่นเดียวกัน แต่ป้ายทะเบียนรถกลับมีสีไม่เหมือนกัน มีทั้งแบบป้ายทะเบียนสะท้อนแสง ป้ายทะเบียนไม่สะท้อนแสง รวมถึงยังมีป้ายทะเบียนหลายสีอีกด้วย แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลของสีแผ่นป้ายทะเบียนรถในแต่ละประเภทที่แตกต่างตามลักษณะของรถ และลักษณะการใช้งาน เมื่อตอนจดทะเบียนรถครั้งแรกไม่ว่าจะเป็นป้ายทะเบียนรถตู้ ป้ายทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ หรือป้ายทะเบียนประมูลมาฝากกัน
1. ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีดำ
รถที่มีป้ายทะเบียนพื้นสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ คือ ทะเบียนรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (Sedan, Not more than 7 Pass.) เช่น รถเก๋งทั่วไป หรือรถยนต์โดยทั่วไปที่ไม่ใช่รถบรรทุก หรือรถมอเตอร์ไซต์ส่วนบุคคล (Motorcycle) มีรายละเอียดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย. 1) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) ดังนี้
1.1 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย. 1)
รถที่ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร เช่น เก๋งตอนเดียว เก๋งสองตอน เก๋งสองตอนแวน นั่งสองตอนท้ายบรรทุก และอื่นๆ ดังต่อไปนี้
- รถเก๋งตอนเดียว
- รถเก๋งสองตอน
- รถเก๋งสองตอนแวน
- รถเก๋งสามตอน
- รถเก๋งสามตอนแวน
- รถนั่งสองตอน
- รถนั่งสองตอนแวน
- รถนั่งสามตอน
- รถนั่งสามตอนแวน
- รถนั่งสองแถว
- รถนั่งสองตอนสองแถว
- รถนั่งสองตอนท้ายบรรทุก
- รถประทุนตอนเดียว
- รถประทุนสองตอน
- รถตู้นั่งสามตอน
- รถเฉพาะกิจ (รถมอเตอร์โฮม, รถถ่ายทอดสัญญาณ, รถพยาบาล)
- รถลักษณะอื่นๆ
1.2 รถจักรยานยนต์ (รย.12)
รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่ม อีกไม่เกินหนึ่งล้อ และให้หมายความรวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วยต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ยาวไม่เกิน 2.50 เมตร ถ้ามีพ่วงข้างรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ยาวไม่เกิน 1.75 เมตร และเมื่อนำมาพ่วงกับรถจักรยานยนต์แล้วต้องมีขนาดกว้างวัดจากล้อหลังของรถจักรยานยนต์ถึงล้อของรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 1.50 เมตร และอื่นๆ ดังต่อไปนี้
- จักรยานยนต์
- จักรยานพ่วงข้าง (มีหรือไม่มีหลังคา)
2. ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีน้ำเงิน
ป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีน้ำเงิน คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์ประเภทส่วนบุคคลที่มีที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่ง (Microbus & Passenger Van) เช่น รถตู้ รถสองแถว มีรายละเอียดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย. 2) ดังนี้
2.1 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย. 2)
รถที่ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร และความยาวของตัวถังวัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึง ท้ายรถต้องไม่เกิน 2 ใน 3 ของความยาววัดจากศูนย์กลางเพลาล้อ หน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง เช่น เก๋งสามตอน นั่งสองแถว นั่งสองตอนสองแถว ตู้นั่งสามตอน นั่งสองแถว และอื่นๆ ดังต่อไปนี้
- รถเก๋งสามตอน
- รถเก๋งสามตอนแวน
- รถนั่งสามตอน
- รถนั่งสามตอนแวน
- รถนั่งสองตอนสองแถว
- รถนั่งสองแถว
- รถตู้นั่งสามตอน
- รถตู้นั่งสี่ตอน
- รถรถเฉพาะกิจ (รถตู้พยาบาล, รถมอเตอร์โฮม)
- รถลักษณะอื่นๆ
3. ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีเขียว
ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวหนังสือสีเขียว คือ ป้ายทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคล (Van & Pick Up) สำหรับรถกระบะทุกประเภท รวมไปถึงรถตู้ที่ใช้บรรทุกสินค้า และรถเฉพาะกิจบางประเภท ทั้งนี้ รถกระบะบางคันอาจมีป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีดำ เนื่องจากได้จดทะเบียนรถเป็นรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล ทำให้หากมีการนำรถไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น การนำรถส่วนบุคลไปใช้ขนส่งสินค้า อาจมีความผิดตามกฎหมายได้ มีรายละเอียดรถยนต์บรรทุกส่วน (รย. 3) ดังนี้
3.1 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย. 3)
รถที่ไม่ได้ใช้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่า ด้วยการขนส่งทางบก ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร และความยาวของตัวถังวัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึงท้ายรถไม่เกิน 3 ใน 5 ของความยาววัดจาก ศูนย์กลางเพลาล้อหน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง เช่น กระบะบรรทุก ตู้บรรทุก กระบะบรรทุกมีหลังคา และอื่นๆ ดังต่อไปนี้
- รถเก๋งทึบบรรทุก
- รถกระบะบรรทุกพื้นเรียบ
- รถกระบะบรรทุก (ไม่มีหลังคา)
- รถกระบะบรรทุก (มีหลังคา)
- รถกระบะบรรทุก (เสริมกระบะข้าง)
- รถกระบะบรรทุก (มีหลังคาฝาปิดด้านข้าง-ท้าย)
- รถตู้บรรทุก
- รถดับเพลิง
- รถเฉพาะกิจ (รถเก็บขยะมูลฝอย, รถเทคอนกรีต, รถขนส่งน้ำอัดลม, รถขนน้ำ, รถขนซีเมนต์ผง)
- รถลักษณะอื่นๆ
4. ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีแดง
ป้ายทะเบียนพื้นเป็นสีขาวอักษรและตัวหนังสือสีแดง คือ ป้ายทะเบียนรถสามล้อส่วนบุคคล บรรทุกไม่เกิน 7 ที่นั่ง (Motortricycle) มีรายละเอียดรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล (รย. 4) ดังนี้
4.1 รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล (รย. 4)
รถที่ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 1.50 เมตร ยาวไม่เกิน 4 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 550 ลูกบาศก์เซนติเมตร และอื่นๆ ดังนี้
- รถประทุนสองตอน
- รถประทุนสามตอน
- รถประทุนสองแถว
- กระบะบรรทุกพื้นเรียบ
- รถกระบะบรรทุก (ไม่มีหลังคา)
- รถกระบะบรรทุก (มีหลังคา)
- รถกระบะบรรทุก (เสริมกระบะข้าง)
- รถกระบะบรรทุก (มีหลังคาปิดด้านข้าง-ท้าย)
- รถตู้บรรทุก
- รถรถลักษณะอื่นๆ
5. ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวอักษรสีแดง
รถที่มีป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรสีแดง คือ รถยนต์รับจ้างที่วิ่งระหว่างจังหวัด (Interprovincial Taxi) มีรายละเอียดรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด (รย. 5) ดังนี้
5.1 รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด (รย. 5)
รถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร และอื่นๆ ดังต่อไปนี้
- รถเก๋งสองตอน
- รถเก๋งสองตอนแวน
- รถเก๋งสามตอน
- รถเก๋งสามตอนแวน
- รถนั่งสองตอน
- รถนั่งสองตอนแวน
- รถนั่งสามตอน
- รถนั่งสามตอนแวน
6. ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวอักษรสีดำ
ป้ายทะเบียนรถพื้นสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ คือ ป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (Urban Taxi) หรือรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ (Public Motorcycle) มีรายละเอียดรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รย. 6) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ (รย.17) ดังนี้
6.1 รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รย. 6)
รถเก๋งสองตอน ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร มีประตูไม่ต่ำกว่าสี่ประตู ซึ่งต้องเป็นประตูที่ไม่ได้ติดตั้งระบบควบคุมการปิดเปิดประตูรถจากศูนยก์ลาง (CENTRAL LOCK) กระจกกันลมต้องเป็นกระจกโปร่งใสสามารถมองเห็นสภาพภายในรถ และสภาพจราจรภายนอกรถได้ชัดเจน และห้ามมิให้นำวัสดุอื่นใดมาติดหรือบังส่วนหนึ่งส่วนใดของกระจก เว้นแต่เป็นการติดเครื่องหมายหรือเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด หรือการติดวัสดุสำหรับบัง หรือกรองแสงแดดที่กระจกกันลมด้านหน้าตามขนาดที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป สำหรับรถยนต์รับจ้าง (TAXI – METER) ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2535 เป็นต้นไป (ยกเว้นรถยนต์รับจ้างที่เจ้าของรถ นำมาจดทะเบียนแทนรถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 17 เมษายน 2535) ต้องเป็นรถเก๋งสอง ตอน หรือรถเก๋งสองตอนที่มีพื้นที่บรรทุกภายในตัวรถ (รถเก๋งสองตอนแวน) ที่ผลิตสำเร็จรูปจาก โรงงานผู้ผลิต มีขนาดกว้างของรถไม่เกิน 2.5 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร มีประตูไม่ต่ำกว่าสี่ประตู และมีเครื่องยนต์ที่มีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
- รถเก๋งสอนตอน
- รถเก๋งสองตอนแวน
- รถเก๋งสามตอน
- รถเก๋งสามตอนแวน
- รถนั่งสองตอน
- รถนั่งสองตอนแวน
- รถนั่งสามตอน
- รถนั่งสามตอนแวน
6.2 รถจักรยานยนต์สาธารณะ (รย.17)
รถจักรยานยนต์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ต้องมีความกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ความยาวไม่เกิน 2.50 เมตร ความสูงไม่เกิน 2 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 125 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ไม่หมายรวมถึงรถจักรยานยนต์ที่มีพ่วงข้างและจักรยานที่ติดเครื่องยนต์
- รถจักรยานยนต์ (ไม่ต้องกำหนดลักษณะ)
7. ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวอักษรสีน้ำเงิน
รถที่มีป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรสีน้ำเงิน คือ รถยนต์รับจ้าง 4 ล้อขนาดเล็ก (Fixed Route Taxi) มีรายละเอียดรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง (รย. 7) ดังนี้
7.1 รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง (รย. 7)
รถสองตอน มีประตูไม่ต่ำกว่าสองประตู ขนาดกว้างของรถไม่เกิน 1.50 เมตร ยาวไม่เกิน 4 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 800 ลูกบาศก์เซนติเมตร
- รถนั่งสองยอน
8. ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวอักษรสีเขียว
ป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรสีเขียว ป้ายทะเบียนสำหรับรถสามล้อรับจ้าง (Tuk Tuk) มีรายละเอียดรถยนต์รับจ้างสามล้อ (รย. 8) ดังนี้
8.1 รถยนต์รับจ้างสามล้อ (รย. 8)
รถที่ต้องมีลักษณะประทุน โดยมีที่นั่ง 2 ตอน หรือ 2 แถว ขนาดกว้าง ไม่เกิน 1.50 เมตร ยาวไม่เกิน 4 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 550 ลูกบาศก์เซนติเมตร
- รถประทุนสองตอน
- รถประทุนสองแถว
9. ป้ายทะเบียนสีเขียว ตัวอักษรสีขาว/สีดำ
รถที่มีป้ายทะเบียนสีเขียวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีขาวหรือสีดำ คือ รถสำหรับธุรกิจบริการ (Hotel Taxi) รถบริการทัศนาจร (Tour Taxi) และรถให้เช่า (Car For Hire) มีรายละเอียดรถยนต์บริการธรุกิจ (รย. 9) รถยนต์บริการทัศนาจร (รย.10) และรถยนต์บริการให้เช่า (รย.11) ดังนี้
9.1 รถยนต์บริการธรุกิจ (รย. 9)
รถยนต์บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่า ซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ต้องเป็นรถเก๋ง สองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้บรรทุกคนโดยสารระหว่างท่าอากาศยาน ท่าเรือเดินทะเล สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟกับโรงแรมที่พักอาศัยที่ทำการของผู้โดยสาร หรือที่ ทำการของผู้บริการธุรกิจนั้น
- รถเก๋งสองตอน
- รถเก๋งสอนตอนแวน
- รถเก๋งสามตอน
- รถเก๋งสามตอนแวน
- รถนั่งสองตอน
- รถนั่งสองตอนแวน
- รถนั่งสามตอน
- รถนั่งสามตอนแวน
9.2 รถยนต์บริการทัศนาจร (รย.10)
รถยนต์บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่า ซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คนต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวใช้รับส่งคนโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว
- รถเก๋งสองตอน
- รถเก๋งสองตอนแวน
- รถเก๋งสามตอน
- รถเก๋งสามตอนแวน
- รถนั่งสองคน
- รถนั่งสองตอนแวน
- รถนั่งสามตอน
- รถนั่งสามตอนแวน
9.3 รถยนต์บริการให้เช่า (รย.11)
รถยนต์บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่า ซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นรถยนต์ที่จัดไว้ให้เช่า ซึ่งมิใช่เป็นการเช่าเพื่อนำไปรับจ้างบรรทุกคนโดยสารหรือสิ่งของ
- รถเก๋งสองตอน
- รถเก๋งสองตอนแวน
- รถเก๋งสามตอน
- รถเก๋งสามตอนแวน
- รถนั่งสองตอน
- รถนั่งสองตอนแวน
- รถนั่งสามตอน
- รถนั่งสามตอนแวน
10. ป้ายทะเบียนสีส้ม ตัวอักษรสีดำ
รถที่มีป้ายทะเบียนรถสีส้มสะท้อนแสง ตัวหนังสือเป็นสีดำ คือ รถแทรกเตอร์ (Tractor) รถบดถนน (Road Roller) รถที่ใช้ในทางเกษตรกรรม (Farm Vehicle) และรถพ่วง (Automobile Trailer) มีรายละเอียดรถแทรกเตอร์ (รย.13) รถบดถนน (รย.14) รถใช้งานเกษตรกรรม (รย.15) และรถพ่วง (รย.16) ดังนี้
10.1 รถแทรกเตอร์ (รย.13)
รถที่มีล้อหรือสายพาน และมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง เป็นเครื่องจักรกลขั้นพื้นฐานในงานที่เกี่ยวกับการขุด ตัก ดัน หรือฉุดลากเป็นต้น หรือรถยนต์สำหรับลากจูงซึ่งมิได้ใช้ ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกต้องมีขนาดกว้าง ไม่เกิน 4.40 เมตร ยาวไม่เกิน 16.20 เมตร
- รถขุดตัก
- รถแทรกเตอร์
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร
10.2 รถบดถนน (รย.14)
รถที่ใช้ในการบดอัดวัสดุบนพื้นให้แน่น และมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง หรือใช้รถอื่นลากจูง ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 3.50 เมตร ยาวไม่เกิน 8 เมตร
- รถบดถนน (ไม่กำหนดลักษณะ)
10.3 รถใช้งานเกษตรกรรม (รย.15)
รถที่ผลิต หรือประกอบขึ้นเพื่อใช้งานเกษตรกรรม โดยใช้เครื่องยนต์ซึ่งมิได้ใช้สำหรับรถยนต์ โดยเฉพาะมาติดตั้งต้องเป็นรถที่มีสามล้อหรือสี่ล้อ น้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม มีขนาดกว้างไม่เกิน 2 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร
- รถใช้งานเกษตรกรรม (ไม่ต้องกำหนดลักษณะ)
10.4 รถพ่วง (รย.16)
รถที่เคลื่อนที่ไปโดยใช้รถอื่นลากจูง ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร
- รถพ่วง (ไม่ต้องกำหนดลักษณะ)
11. ป้ายทะเบียนสีฟ้า ตัวอักษรสีขาว (แนวยาว)
ป้ายทะเบียนสีฟ้าสะท้อนแสง มีตัวหนังสือ จุดวงกลม ตัวเลข และเส้นขีดสีขาว คือ แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต คณะผู้แทนทางกงศุล องค์การระว่างประเทศและสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดจั้งขึ้นในประเทศไทย
12. ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีดำ (แนวยาว)
ป้ายสีขาวสะท้อนแสงแนวยาว มีตัวหนังสือ จุดวงกลม ตัวเลข และขีดสีดำ คือ แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต
13. ป้ายทะเบียนสีเทา ตัวอักษรสีดำ (แนวยาว)
ป้ายทะเบียนรถยนต์สีเทาสะท้องแสง มีตัวหนังสือ จุดวงกลม ตัวเลข และเส้นขีดที่เป็นสีดำ คือ ป้ายทะเบียนของเจ้าพนักงานกงสุลกิติมศักดิ์
14. ป้ายทะเบียนสีแดง ตัวอักษรสีดำ
ป้ายทะเบียนสีแดง ตัวหนังสือสีดำ คือ ป้ายทะเบียนรถชั่วคราวที่ออกให้กับรถยนต์ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมาย สามารถขับขี่ได้ชั่วคราวตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก เช่น ห้ามใช้รถป้ายแดงเกิน 30 วัน รถป้ายแดงห้ามขับข้ามเขต หรือห้ามขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืน
15. ป้ายทะเบียนกราฟิก
ป้ายทะเบียนรถที่มีพื้นหลังเป็นรูปภาพกราฟิกที่แตกต่างจากป้ายทะเบียนทั่วไป เช่น รูปเรือสุพรรณหงส์ รูปวัดพระแก้ว หรือรูปภาพสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญประจำจังหวัด คือ ป้ายทะเบียนรถที่ได้จากการประมูล หรือป้ายทะเบียนประมลโดยกรมการขนส่งทางบก โดยปัจจุบันจะมีการเปิดประมูลป้ายทะเบียนกราฟิกเฉพาะทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งเท่านั้น
ประกันรถยนต์แต่ละชั้นคุ้มครองความเสียหายของป้ายทะเบียนหรือไม่
การคุ้มครองป้ายทะเบียนรถยนต์ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัยที่คุณเลือก โดยทั่วไปแล้ว ประกันภัยรถยนต์แต่ละชั้นมีรายละเอียดความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ดังนี้:
1. ประกันชั้น 1
- ประกันชั้น 1 เป็นประกันที่ครอบคลุมมากที่สุด คุ้มครองทั้งตัวรถและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน รวมถึงความเสียหายจากอุบัติเหตุ ความเสียหายต่อบุคคลที่สาม การโจรกรรม อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติ
- ป้ายทะเบียนรถที่เสียหายจากอุบัติเหตุ เช่น ชนหรือกระแทก มักจะอยู่ในขอบเขตความคุ้มครองของประกันชั้น 1 ซึ่งบริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าซ่อมหรือเปลี่ยนป้ายทะเบียน
2. ประกันชั้น 2+ และชั้น 3+
- ประกันชั้น 2+ และประกัน3+คุ้มครองอะไรบ้าง ให้ความคุ้มครองป้ายทะเบียนเหมือนประกันชั้น 1 แต่จะเน้นคุ้มครองความเสียหายจากในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุกับคู่กรณีเท่านั้น โดยไม่ครอบคลุมกรณีที่ไม่มีคู่กรณี
- หากป้ายทะเบียนเสียหายจากอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี ประกันอาจคุ้มครอง แต่ถ้าเสียหายจากการกระแทกที่ไม่มีคู่กรณี ประกันอาจไม่ครอบคลุม
3. ประกันชั้น 2 และชั้น 3
- ประกันชั้น 2 คุ้มครองอะไรบ้าง และประกันชั้น 3 คุ้มครองอะไรบ้าง เฉพาะความเสียหายของคู่กรณีและบุคคลที่สามเท่านั้น ไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถของผู้เอาประกัน ดังนั้น หากป้ายทะเบียนเสียหาย บริษัทประกันจะไม่คุ้มครอง
ดังนั้น หากต้องการให้ป้ายทะเบียนได้รับการคุ้มครองในกรณีที่เสียหายจากอุบัติเหตุ ควรเลือกประกันชั้น 1 หรือชั้น 2+ ที่ครอบคลุมในเรื่องของความเสียหายต่อรถยนต์ของคุณ
ไม่ว่าจะขับรถป้ายทะเบียนแบบไหน อย่าลืมพกความมั่นใจตลอดทุกเส้นทางขับขี่ด้วยประกันรถยนต์จาก แรบบิท แคร์ ที่รวบรวมจากทุกบริษัทประกันชั้นนำมาให้เลือกเปรียบเทียบประกันรถยนต์ออนไลน์ได้ทันที พร้อมรับส่วนลดสูงสุด 70% และสิทธิพิเศษความแคร์เพิ่มฟรีทันทีไม่มีค่าใช้จ่าย เฉพาะลูกค้าที่เลือกซื้อประกันรถออนไลน์กับ แรบบิท แคร์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นผ่อน 0% นานสูงสุด 3-10 เดือน บริการแจ้งเคลมออนไลน์ บริการแจ้งเหตุฉุกเฉินทางถนนผ่านทางโทรศัพท์และ LINE (@rabbitcare) ตลอด 24 ชั่วโมง โทรเลย 1438
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ป้ายทะเบียนรถ กับข้อห้ามที่คุณควรรู้
- เรื่องต้องรู้! ก่อนเลือกจองทะเบียนรถ (รถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์) ออนไลน์
- ทำยังไงดี ? จู่ๆ ป้ายทะเบียนแตกลายงา!
- เช็คทะเบียนรถก่อนซื้อ/โดนชนแล้วหนี/อายัดทะเบียน ตรวจสอบชื่อได้ใครเป็นเจ้าของ
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต