แก่แต่เก๋า แบบนี้อายุเยอะยังต่ออายุใบขับขี่ได้ไหม?
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยของเรามีอัตตราการเกิดที่น้อยลง และทำให้เข้าสู่ยุคของผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ยังตามไม่ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเดินทาง หรือการคมนาคม นี่เองที่ทำให้หลายคน ถึงแม้จะอายุมากแล้ว ก็ยังเลือกที่จะขับรถด้วยตัวเองมากกว่าการเดินทางด้วยชนส่งสาธารณะ
แต่เราจะสามารถขับรถยนต์เองได้จนถึงอายุเท่าไหร่กัน? แล้วถ้าอายุมากแบบนี้ ยังสามารถต่ออายุใบขับขี่ได้ไหม? มีใบขับขี่ตลอดชีพให้ทำอยู่หรือในปัจจุบัน วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนไปหาคำตอบ ตามมาเลย!
ส่องสถิติ อายุเยอะยังไหวไหมกับการขับรถ?
กรมควบคุมโรคได้เปิดเผยสถิติที่จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนน่าสนใจออกมา พบว่าช่วงอายุ 15-24 ปี และช่วง 50-80 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่น
นอกจากนี้ ยังมี โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบใบอนุญาตขับรถให้เหมาะสมกับประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยเสริมว่า อายุที่มากขึ้นและสมรรถภาพทางร่างกายที่ลดลง เช่น
- การหมดสติอย่างฉับพลันในหมู่ผู้สูงอายุ
- ปัญหาด้านการมองเห็น
- ความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
- ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ความว่องไวในการตอบสนองต่อเหตุการณ์คับขันช้าลง, การทำงานระหว่างอวัยวะต่าง ๆ ให้ประสานกันได้ไม่ดี และสมาธิลดลง
- อ่อนล้าง่ายถ้าต้องขับรถนาน ๆ
- มีโรคประจำตัว
- ผู้สูงอายุบางคนยังต้องทานยาซึ่งอาจจะมีผลต่อความสามารถในการการขับรถ
และปัญหาสุขภาพอีกหลาย ๆ อย่าง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นของกลุ่มผู้ขับขี่ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ หากมีแนวโน้มเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง ผู้สูงอายุจะได้รับอันตรายมากกว่าและโอกาสถึงแก่ชีวิตสูงกว่าคนหนุ่มสาวถึง 9 เท่า แม้จะมีการคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งแล้วก็ตาม
ส่วนสถิติจากทางต่างประเทศ อย่างสหรัฐฯ แม้บางรัฐฯ จะไม่มีตัวเลขอายุที่ขีดเส้นกำหนดกฎหมายแน่นอน ว่าอายุเท่าไหร่จึงไม่ควรขับรถ แต่ข้อมูลสถิติพบว่า คนขับรถที่สูงอายุมีสถิติเกิดอุบัติเหตุปางตายต่อระยะทางเป็นไมล์มากกว่ากลุ่มอื่น และมักจะเกิดเหตุฝ่าฝืนกฎจราจรและอุบัติเหตุไม่ถึงตายมากกว่าคนหนุ่มสาว
แม้จะยังไม่มีผลวิจัยเจาะจงว่าอายุมีผล แต่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจัยด้านสุขภาพล้วนมีผล และการที่อายุเยอะมากขึ้นเอง ก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ นี่เองที่ทำให้ปัจจุบัน ไทยเองก็ได้ทำการยกเลิกใบขับขี่ตลอดชีพลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา
จะเห็นจากสถิติว่าบางฝ่ายอาจจะรู้สึกเห็นด้วย เพราะมองเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล และควรเช็กจากสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลเป็นหลัก แถมในไทยระบบการขนส่งยังไม่เอื้อต่อการเดินทางสำหรับผู้สูงอายุ แต่อีกฝ่ายก็แสดงความเห็นว่าเป็นความเสี่ยงที่อันตราย และไม่เห็นด้วยกับการให้ผู้สูงอายุออกมาขับขี่รถยนต์บนท้องถนน
เรียกได้ว่าเป็นข้อถกเถียงที่น่าสนใจกันเลยทีเดียวกับเรื่องของอายุผู้ขับขี่บนท้องถนน
แล้วถ้ายังขับไหว ปัจจุบันสามารถต่ออายุใบขับขี่ได้จนถึงอายุเท่าไหร่กันนะ?
เบื้องต้น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทางกรมการขนส่งทางบกได้กำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ทำใบขับขี่แต่ละประเภทเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรถแต่ละประเภทต่างก็กำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำแตกต่างกันออกไป ดังนี้
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในกรณีที่ขอใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว สามารถทำได้ตั้งแต่ 15 ปี แต่ต้องเป็นรถจักรยานยนต์ไม่เกิน 110 ซีซี เท่านั้น
- ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
- ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ, ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี
- ใบขับขี่รถบดถนน, ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ และใบขับขี่รถชนิดอื่นตามมาตรา 43 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
จะเห็นได้ว่า ในการทำใบขับขี่ของไทยไม่ว่าจะประเภทให้ก็ตาม จะยังไม่มีการกำหนดขอบเขตอายุที่ห้ามขับรถอย่างชัดเจน ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ก็ได้หยิบยกความเสี่ยงนี้ เกิดมาเป็นแนวทางการป้องกันความเสี่ยงเป็นกฎหมายต่าง ๆ ออกมา
เช่น ในกลุ่มสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่จะกำหนดให้มีการตรวจสอบสมรรถภาพทางกายอีกครั้งเมื่อผู้ขับขี่มีอายุครบตามเกณฑ์ที่กำหนด อย่าง สวีเดน เมื่ออายุถึง 45 ปี จะต้องมีการตรวจสมรรถภาพทางกายใหม่ และตรวจซ้ำทุก 10 ปีหากยังต้องการขับรถต่อ หรือ ฝรั่งเศส กำหนดเกณฑ์อายุที่ 60 ปี และต้องตรวจอีกครั้งในทุก 2-5 ปี หากยังต้องการขับรถต่อ
หรือกรณีออสเตรเลีย แม้รัฐจะไม่ได้กำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้แต่มีมาตรการควบคุมดูแลผู้ขับขี่ที่มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบว่ามีอาการหรือมีความผิดปกติตามหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนดหรือไม่ และออกใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่ามีสุขภาพดีพอที่จะขับขี่รถ
ส่วนในไทย หลายฝ่ายเองก็มองเห็นถึงความเสี่ยง จึงมีการยกเลิกใบขับขี่ตลอดชีพแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา และมีการตั้งกฎใหม่ ออกมาว่า
การขอรับและต่ออายุใบขับขี่ ตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เป็นต้นไป จะต้องมีเอกสารใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินการทุกครั้ง
เนื่องจากตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเดิมจะไม่มีการกำหนดให้ใช้เอกสารใบรับรองแพทย์ แต่ด้วยสมรรถภาพของร่างกายของผู้ขับรถมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัยที่เพิ่มมากขึ้นและอาจมีโรคประจำตัว หรืออาจมีเหตุให้สมรรถภาพของร่างกายบกพร่องจนไม่สามารถขับรถได้ จึงจำเป็นต้องกำหนดให้ผู้ขับรถเข้ารับการตรวจรับรองจากแพทย์ก่อนเบื้องต้นก่อนการต่ออายุใบขับขี่ เพื่อเป็นการคัดกรอง และรับรองจากทางแพทย์ว่าผู้มาต่ออายุใบขับขี่นั้น ยังคงสามารถขับขี่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้แล้ว ผู้สูงอายุเอง หรือคนในครอบครัว ก็ควรประเมินตนเองเบื้องต้นก่อนการไปต่ออายุใบขับขี่ โดยอาจประเมินเบื้องต้นจาก
- มีประวัติหกล้มง่ายหรือไม่ เพราะอาจเป็นสัญญาเตือนว่าระบบประสาทและสมองเสื่อมลง
- เคยมีอุบัติเหตุเล็ก ๆ หรือฝ่าฝืนกฎจราจรโดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ เช่น ขับฝ่าไฟแดงบ้างไหม
- สายตาเป็นอย่างไร สามารถอ่านหนังสือตัวเล็ก ๆ ได้ไหม, อ่านป้ายจราจรได้ดีแค่ไหน
- มีความสามารถทางร่างกายเป็นอย่างไร ยังสามารถเดินเหินลุกนั่งคล่องตัวหรือไม่
- มีโรคประจำตัวที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ไหม เช่น โรคลมชักหรือลมบ้าหมู, โรคหัวใจขาดเลือดรุนแรงจนเกิดหัวใจวาย หรือหัวใจเต้นผิดปกติจนเกิดอัมพาตเฉียบพลันขณะขับรถ
- ยารักษาโรคประจำตัวมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึมลดความสามารถในการขับรถหรือไม่ เช่น ยาแก้แพ้, ยากล่อมประสาท หรือยาต้านความเครียด ฯลฯ
- พฤติกรรมในช่วงสูงอายุเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน เช่น บางคนเมื่ออายุ 60 ปี อาจง่วงหลับง่าย ต้องมีการงีบพักผ่อนระหว่างวัน เป็นต้นหรือหากผู้สูงอายุบางราย ยังมีความจำเป็นต้องขับรถยนต์อยู่ ก็อาจจะต้องลองประเมินว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้าง เช่น บางรายเลือกขับแค่ละแวกบ้านที่คุ้นเคยไม่ขับทางไกล, บางรายต้องไม่กินยาก่อนการขับรถ โดยอาจปรึกษาเภสัชกรในการปรับเปลี่ยนยา หรือการเปลี่ยนเวลาทานยา เป็นต้น
ต่ออายุใบขับขี่ได้แล้ว แต่อายุผู้ขับจะยังส่งผลต่อการทำประกันรถยนต์ไหม?
แรบบิท แคร์ บอกได้เลยว่ามีผลออย่างแน่นอน แต่เป็นผลในทางที่ดี เพราะบริษัทฯหลายแห่ง จะให้ส่วนลดพิเศษเมื่อผู้ทำประกันรถยนต์มีอายุมาก ก็จะยิ่งได้ส่วนลดเบี้ยประกันรถยนต์มากขึ้นเท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบริษัทฯนั้นๆ ด้วยว่ากำหนดอัตราส่วนลดไว้มากน้อยแค่ไหน
เช่น บริษัทฯ A อาจให้ส่วนลด สำหรับเจ้าของรถยนต์ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ได้รับส่วนลดมากถึง 20% แต่บริษัทฯ B เน้นให้ส่วนลด 20% กับผู้ขับที่มีอายุ 30 – 40 ปี
หลัก ๆ แล้ว การทำประกันรถยนต์นั้น สิ่งที่จะช่วยประเมินการรับทำประกันฯ หรือกำหนดเบี้ยราคาประกันรถยนต์มักมาจากปัจจัยอื่น ๆ มากกว่า อย่าง อายุการใช้งานของรถยนต์, ประวัติการเคลม, ประวัติการขับรถ เป็นหลักมากกว่า
ตัวอย่าง คุณห่วงใย อายุ 50 ปี มีใบขับขี่ตลอดชีพ และรถยนต์อายุการใช้งานมากถึง 15 ปี แต่มีประวัติการขับขี่ที่ดี ไม่เคยผิดกฎการจราจร ประวัติเบิกเคลมน้อย แบบนี้มีสิทธิจะได้ส่วนลดเบี้ยประกันฯ และยังเป็นที่ชื่นชอบของบริษัทฯอีกด้วย
ตรงข้ามกับ คุณแคร์ อายุ 30 ปี แม้จะมีรถยนต์ที่อายุการใช้งานน้อย 5 ปี แต่มักจะมีประวัติการเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ แบบนี้อาจจะได้ส่วนลดประกันรถน้อยลง
ส่วนการเบิกเคลมก็หมดห่วง หากเป็นไปตามเงื่อนไขการทำประกันฯ แม้ผู้ขับจะมีอายุที่มาก ก็ยังสามารถเบิกเคลมได้สบาย ยกเว้นเงื่อนไขบางอย่าง เช่น นำรถไปใช้งานผิดกฎหมาย หรือมีการระบุชื่อผู้ขับ แต่ตอนเกิดเหตุ ผู้ขับไม่ใช่ชื่อที่ระบุไว้ เป็นต้น
ประกันรถยนต์ที่แนะนำสำหรับผู้ขับขี่สูงอายุ
การเลือกประกันรถยนต์สำหรับผู้ขับขี่สูงอายุนั้นควรพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ความคุ้มครองที่ครอบคลุม ความสะดวกสบาย และการคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีความเสี่ยงในการขับขี่เพิ่มขึ้นจากเรื่องการตอบสนองที่ช้าลงและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ประกันที่เหมาะสมที่สุดควรให้ความคุ้มครองครบถ้วนเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงินและความกังวลต่ออุบัติเหตุ ประกันรถยนต์ที่คุ้มครองเฉพาะคู่กรณีอย่างประกันชั้น 2 คุ้มครองอะไรบ้าง และประกันชั้น 3 คุ้มครองอะไรบ้าง จึงไม่เหมาะสม แต่ขอแนะนำตัวเลือกประกันชั้นอื่นๆ ดังต่อไปนี้
- ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 (เหมาะสมที่สุด)
- ความคุ้มครองที่ครอบคลุม: ประกันชั้น 1 เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ขับขี่สูงอายุ เนื่องจากมีความคุ้มครองเต็มรูปแบบ ครอบคลุมทั้งความเสียหายต่อตัวรถของผู้เอาประกันและรถของคู่กรณี รวมถึงการคุ้มครองในกรณีอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี (เช่น ขับรถชนสิ่งของหรือรถเสียหลักเอง)
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล: ประกันชั้น 1 ยังครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้สูงอายุที่อาจมีความเสี่ยงด้านสุขภาพหรืออาการบาดเจ็บที่ต้องรักษานานขึ้น
- คุ้มครองในกรณีฉุกเฉิน: มีการคุ้มครองเพิ่มเติม เช่น ค่าใช้จ่ายในการประกันตัวหากถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย และคุ้มครองกรณีภัยธรรมชาติหรือรถถูกโจรกรรม
- ความสะดวกในการเคลม: การเคลมประกันชั้น 1 มักจะง่ายและรวดเร็ว ซึ่งช่วยลดความกังวลและความซับซ้อนสำหรับผู้สูงอายุ
- ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ (ทางเลือกที่ประหยัดกว่า)
- คุ้มครองเมื่อมีคู่กรณี: ประกันชั้น 2+ เป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีความมั่นใจในการขับขี่ แต่ต้องการประหยัดค่าเบี้ยประกัน โดยคุ้มครองค่าซ่อมรถของผู้เอาประกันในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี
- คุ้มครองโจรกรรมและไฟไหม้: ประกันชั้น 2+ ยังคุ้มครองกรณีรถถูกโจรกรรมหรือไฟไหม้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการคุ้มครองรถที่มีมูลค่าสูง แต่ไม่คุ้มครองอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถชนสิ่งของหรือขับชนกำแพง
- เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการขับขี่: ประกันชั้นนี้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ขับรถระมัดระวังและไม่ต้องการการคุ้มครองเต็มรูปแบบแบบชั้น 1 แต่ยังต้องการความคุ้มครองในกรณีที่มีคู่กรณี
- ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+ (สำหรับงบประมาณจำกัด)
- คุ้มครองเมื่อชนกับยานพาหนะทางบก: ประกันรถยนต์ชั้น 3+ ราคาถูก เป็นประกันที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ขับรถในเมืองหรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงจากการชนกับรถคันอื่น แต่ไม่ต้องการจ่ายเบี้ยประกันแพง โดยคุ้มครองค่าซ่อมรถในกรณีที่มีคู่กรณีเท่านั้น
- ไม่คุ้มครองกรณีไม่มีคู่กรณี: อย่างไรก็ตาม ประกันชั้นนี้ไม่คุ้มครองรถของผู้เอาประกันหากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถชนสิ่งของ หรือรถเสียหลักเอง ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงสำหรับผู้สูงอายุ
ข้อพิจารณาเพิ่มเติมในการเลือกประกันสำหรับผู้สูงอายุ
- สุขภาพและความปลอดภัย: ผู้สูงอายุอาจมีปัญหาด้านการมองเห็นหรือการตอบสนองช้าลง ดังนั้นการเลือกประกันที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและคุ้มครองอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจะช่วยลดความกังวล
- ความเสี่ยงที่สูงขึ้น: ผู้สูงอายุมักเผชิญความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น การเลือกประกันที่คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถเองและค่าใช้จ่ายทางกฎหมายจะช่วยป้องกันความเสียหายทางการเงิน
- ความสะดวกในการใช้บริการ: ควรเลือกประกันที่มีบริการหลังการขายที่ดี เช่น การช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง การเคลมที่สะดวก และศูนย์บริการที่เชื่อถือได้
ไม่ว่าจะอายุเลขหลักไหน อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น การเลือกประกันรถยนต์ที่ไว้ใจได้ จึงเป้นเรื่องสำคัญ! และสำหรับใครที่ยังเลือกไม่ได้ ต้องนี่เลย เปรียบเทียบประกันรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์!
แรบบิท แคร์ นอกจากจะมีบริการเปรียบเทียบเบี้ยประกัน ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์การขับขี่ของคุณแล้ว เรายังมีบริการหลังการขายให้คุณอุ่นใจเมื่ออยู่บนท้องถนน ทั้ง บริการช่วยเคลม, บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน แถมยังสมัครง่ายแค่ปลายนิ้ว คลิกเลย!
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- อัปเดต โรคที่ห้ามทำใบขับขี่ ทั้งแบบชั่วคราวและถาวร
- เปิดทุกขั้นตอน! ต่อใบขับขี่อย่างไรในยุคโควิด
- ชวนนักขับมาทำใบขับขี่ออนไลน์ สไตล์ New normal
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct