แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ทำประกันรถยนต์/พ.ร.บ. ซ้อน 2 บริษัทได้ไหม? ยกเลิกได้หรือเปล่า?

ผู้เขียน : Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care

close
Published February 25, 2022

การทำประกันซ้อนอาจเกิดขึ้นได้จากทั้งความตั้งใจและไม่ตั้งใจ แต่ทราบหรือไม่ว่าการทำประกันภัยรถยนต์ซ้อนไม่ได้ช่วยเพิ่มความคุ้มครองที่จะได้รับแต่อย่างใด รวมถึงอาจสร้างความวุ่นวายในการแจ้งเคลมระหว่างบริษัทประกันภัยอีกด้วย หลายคนอาจสงสัยว่าถ้าทำประกันหรือ พ.ร.บ. ซ้ำแล้วจะเบิกสินไหมยังไง หรือจะยกเลิกประกันซ้ำได้หรือไม่ แรบบิท แคร์ รวบรวมทุกคำถามเกี่ยวกับการทำประกันรถยนต์ 2 บริษัทเพื่อประกอบการตัดสินใจมาให้แล้วที่นี่

ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

1. ทำประกันภัยรถยนต์ซ้อนกัน 2 บริษัทได้ไหม?

สามารถทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ซ้อนกับประกันรถยนต์ประเภทสมัครใจได้ เพราะกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องมี พ.ร.บ. แต่การทำประกันรถภาคสมัครใจซ้อนกันมากกว่า 2 บริษัท จะไม่ช่วยให้ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นตามจำนวนของกรมธรรม์ประกันรถที่ทำเกินแต่อย่างใด โดยบริษัทประกันภัยจะต้องร่วมกันเฉลี่ยจ่ายชดใช้สินไหม หรือจ่ายค่าเสียหายให้ผู้ทำประกันภัยตามลำดับการทำประกันภัยก่อนและหลังโดยไม่เกินกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และวงเงินความคุ้มครองของกรมธรรม์ที่ทำไว้ ตามรายละเอียดดังนี้

1.1 กรณีทำประกันรถพร้อมกัน

หากทำประกันรถซ้ำซ้อนกันในวันเเละเวลาเดียวกัน ให้แต่ละกรมธรรม์ประกันภัยร่วมกันเฉลี่ยจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

1.2 กรณีทำประกันรถก่อน-หลัง

หากทำประกันรถซ้ำกันในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน บริษัทประกันที่รับทำประกันก่อนต้องเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดก่อน หากค่าชดเชยจากบริษัทประกันรายแรกไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง บริษัทประกันในลำดับถัดไปจะเข้ามาจ่ายค่าสินไหมชดเชยในส่วนที่ยังขาดให้จนครบโดยไม่เกินจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

2. ทำ พ.ร.บ. ซ้ำซ้อนกัน 2 ฉบับ จะเบิกได้ทั้ง 2 บริษัทเลยหรือไม่?

สามารถขอรับค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยประเภทบังคับ หรือ พ.ร.บ. ได้ทั้ง 2 ฉบับ กรณีที่ค่าสินไหมชดเชยจากบริษัทประกันที่แรกไม่พอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง โดยหากทำ พ.ร.บ. ซ้อนกัน 2 ฉบับ จะมีวิธีให้ความคุ้มครองแบบเดียวกับกรณีทำประกันรถยนต์ซ้ำกัน คือ 

บริษัทไหนที่เริ่มให้ความคุ้มครองก่อน ต้องเริ่มเคลมกับบริษัทนั้นให้ครบวงเงินชดเชยก่อน หากวงเงินที่ได้รับยังไม่เพียงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง สามารถแจ้งเคลมค่าความเสียหายเพิ่มเติมกับบริษัทถัดไปได้ แต่หากทำ พ.ร.บ. หรือประกันรถยนต์ประเภทสมัครใจพร้อมกัน 2 บริษัท ในวันและเวลาเดียวกัน จะให้ทั้งสองบริษัทร่วมกันเฉลี่ยจ่ายชดเชยความเสียหายแทน มีรายละเอียดการเคลมสินไหมจาก พ.ร.บ. ดังนี้

2.1 เบิกสินไหมจาก พ.ร.บ. กรณีบาดเจ็บ

กรณีผู้ขับขี่ฝ่ายที่ไม่ประมาทได้รับความเสียหายบาดเจ็บทางร่างกาย จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาทต่อหนึ่งคน และหากค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงเกินวงเงินความคุ้มครองของ พ.ร.บ. จากบริษัทแรก จึงจะเบิกค่าชดเชยเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. อื่นที่ทำซ้ำไว้ได้ แต่หากเป็นฝ่ายประทาท จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น จำนวน 30,000 บาทเท่านั้น

2.2 เบิกสินไหมจาก พ.ร.บ. กรณีเสียชีวิต

กรณีผู้ขับขี่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตโดยเป็นฝ่ายถูก จะขอรับสินไหมชดเชยจากประกันภัย พ.ร.บ. กรณีเสียชีวิตได้เต็มวงเงิน จำนวน 500,000 บาทต่อหนึ่งคน จากทั้งสองกรมธรรม์ พ.ร.บ. ที่ทำซ้ำกัน แต่หากผู้เสียชีวิตเป็นฝ่ายประมาท จะได้รับเฉพาะวงเงินชดเชยค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาทต่อคนเท่านั้น 

อย่างไรก็ตาม ต้องขอรับสินไหมทดแทนจากประกันภัย พ.ร.บ. ให้ครบตามวงเงินความเสียหายที่กำหนดไว้เป็นอันดับแรกก่อน หลังจากนั้นประกันรถยนต์ประเภทสมัครใจ เช่น ประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันรถยนต์ชั้น 2 จะให้วงเงินความคุ้มครองเพิ่มเติมในส่วนที่เกินจากวงเงินสูงสุดที่ พ.ร.บ. กำหนดไว้

3. ทำประกันรถซ้อนจะยกเลิกได้หรือไม่?

3.1 ยกเลิกได้ด้วยการแจ้งขอเวนคืนกรมธรรม์

สามารถแจ้งยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่ซื้อเกินได้โดยติดต่อกับบริษัทประกันภัยโดยตรงเพื่อแจ้งขอยกเลิกประกัน และเตรียมเอกสารประกอบการขอยกเลิก เช่น สำเนาบัตรประชาชน กรมธรรม์ตัวจริง และหน้าสมุดบัญชีธนาคาร 

อย่างไรก็ตาม เมื่อแจ้งยกเลิกประกันแล้ว จะไม่ได้รับเบี้ยประกันคืนเต็มตามจำนวนเงินที่จ่ายไป เนื่องจากกรมธรรม์ได้เริ่มความคุ้มครองไปแล้ว แต่จะได้รับเงินค่าส่วนต่างตามสัดส่วนการคืนเบี้ยประกันภัยที่ คปภ. กำหนดไว้ในตารางแนบท้ายกรมธรรม์ 

3.2 ยกเลิกได้ด้วยการหยุดจ่ายเบี้ยประกันรถ

การหยุดจ่ายเบี้ยโดยไม่แจ้งบริษัทประกันภัย เป็นอีกหนึ่งวิธีในการบอกเลิกกรมธรรม์ความคุ้มครองที่สามารถทำได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข หรือข้อกฎหมายแต่อย่างใด หากเพิ่งทราบว่าทำประกันรถซ้อนโดยไม่ได้ตั้งใจ ต้องการยกเลิกความคุ้มครอง และอยู่ในระหว่างแบ่งจ่ายเบี้ยประกันกับบริษัทประกันภัยอยู่ เจ้าของกรมธรรม์สามารถเลือกหยุดจ่ายเบี้ยประกันได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งบริษัท เพียงเท่านี้เท่านี้ประกันรถที่ต้องการยกเลิกก็จะไม่มีผลบังคับใช้อีกต่อไป

นอกจากการทำประกันซ้ำจะไม่ช่วยเพิ่มความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดอุบัติเหตุเเล้ว ยังอาจสร้างภาระทางการเงินจนทำให้ไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ครบ และต้องยกเลิกทุกกรมธรรม์ความคุ้มครองไป 

การทำประกันรถยนต์ที่คุ้มค่าที่สุด คือ การเลือกทำประกันรถให้ครบถ้วนตามความต้องการใช้งาน และความสามารถในการจ่ายเบี้ยด้วยแบบประกันรถยนต์และ พ.ร.บ. จากทุกบริษัทประกันภัยชั้นนำที่ แรบบิท แคร์ คัดมาให้แล้ว 

พร้อมระบบเปรียบเทียบที่จะช่วยประหยัดเวลาในการเลือกและคำนวณค่าใช้จ่ายให้เห็นทันที รับส่วนลดสูงสุด 70% หรือผ่อน 0% นานสูงสุด 3-10 เดือนได้ทันที เฉพาะลูกค้าที่ซื้อประกันรถกับ แรบบิท แคร์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป! เปรียบเทียบเลย!


บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


บทความแคร์เรื่องประกันยานยนต์

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

เอารถเข้าอู่เคลมประกัน มี่กี่ประเภท? ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

หากผู้เอาประกันเลือกเอารถเข้าอู่เคลมประกันกับอู่ในเครือของบริษัทประกันภัยรถยนต์ ทางบริษัทฯ จะเป็นผู้ดำเนินการให้ตั้งแต่ขั้นตอนการจองคิวซ่อม
Thirakan T
26/04/2024

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ประกันรถหาย มอเตอร์ไซค์ ราคาเท่าไหร่ และคุ้มครองอะไรบ้าง

เคยจินตนาการตอนที่เราต้องเจอสถานการณ์รถมอเตอร์ไซค์หายกันไหม? นี่จึงเป็นเหตุผลที่ ประกันรถหาย มอเตอร์ไซค์ มีความสำคัญขึ้นมาอย่างโดดเด่น
Thirakan T
17/04/2024

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

หมากัดรถทำยังไงดี? สามารถเคลมประกันได้หรือไม่

เห็นคำว่าหมากัดรถหลายคนอาจจะยังจินตนาการได้ไม่ออก ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกิดขึ้นมาเพราะอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วมันมีโอกาสขึ้นสูงมาก
Thirakan T
25/03/2024