Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์

บทความนี้จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์ ซึ่งมาจากคำถามที่เรามักเจอบ่อยๆ เกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ทะเบียนรถยนต์สำคัญอย่างไร มีความเชื่อมโยงกับการทำประกันรถยนต์หรือไม่ การต่อทะเบียนต้องทำอย่างไร การประมูลทะเบียนรถคืออะไร รวมไปถึงหากมีกรณีไม่ดีเกิดขึ้น เช่นโดนสวมทะเบียนรถต้องทำอย่างไร และทะเบียนรถขาด โดนจับหรือไม่? วันนี้เรามีคำตอบสำหรับทุกคำถามที่กล่าวมาข้างต้นให้ได้คลายข้อสงสัยกัน ดังนั้นเราไปดูข้อมูลกันเลย..

ประกันรถยนต์กับการต่อทะเบียนรถยนต์เหมือนกันไหม?

สำหรับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจนั้น ไม่เหมือนกับการต่อทะเบียนรถยนต์ และเป็นคนละส่วนกับ การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เบื้องต้นเราสามารถสรุปความแตกต่างที่เข้าใจกันได้ง่าย ๆ ดังนี้

ต่อทะเบียนรถยนต์ คือ คือการนำรถยนต์มาตรวจสภาพ พร้อมเสียภาษีสำหรับรถยนต์เป็นประจำในทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าของรถต้องทำตามตามกฎหมาย โดยเงินภาษีที่จ่ายไป ทางหน่วยงานของรัฐบาลจะนำไปใช้เป็นงบประมาณต่าง ๆ บนท้องถนน เช่น สร้างถนน หรือปรับปรุงเส้นทางการเดินทางต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เมื่อหลังจากวิธีต่อทะเบียนรถยนต์เรียบร้อย เจ้าของรถจะได้รับป้ายภาษี หรือป้ายวงกลม (ป้ายสี่เหลี่ยม) ที่แสดงวันที่หมดอายุชัดเจน และการไม่นำรถไปต่อทะเบียน อาจเกิดผลเสียด้านกฎหมายได้

พ.ร.บ รถยนต์ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ เพื่อให้เกิดความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น และผู้มีรถจะต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ทุกปี ซึ่งประกันรถภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. รถยนต์ นี้ ก็จะแตกต่างจากประกันรถภาคสมัครใจในเรื่องความคุ้มครอง และอิสระในการเลือกทำนั่นเอง

ถ้าไม่ไปต่อทะเบียนรถยนต์ตามระยะเวลา จะมีโทษอะไรบ้างไหม?

ในกรณีที่ลืมต่อทะเบียนรถยนต์อาจจะโดนปรับ หรือถ้าลืมต่อทะเบียนรถยนต์เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจต้องโทษทางกฎหมาย ดังนี้

  • เสียค่าปรับ 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน ยิ่งปล่อยไว้นาน ค่าปรับก็จะยิ่งเพิ่ม นอกจากค่าปรับแล้ว การไม่ต่อภาษีรถยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมายที่คุณอาจคาดไม่ถึง เช่น ค่าตรวจสภาพ, ค่าป้ายใหม่ เป็นต้น นี่ยังไม่รวมไปถึงค่าเดินทางไป ๆ มา ๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการที่เราไปต่อภาษีแน่นอน
  • ในกรณีที่เราไม่ได้ทำการต่อทะเบียนเกิน 3 ปี ทางขนส่งจะดำเนินการระงับป้ายทะเบียนของเราทันที หากจะใช้รถคันเดิมจะต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่พร้อมคืนป้ายทะเบียน รวมถึงดำเนินการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลัง

สรุปแล้ว หากจะให้ประหยัดเงิน และเวลามากที่สุด วิธีต่อทะเบียนรถยนต์ที่ดี คือการต่อเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอ เป็นเรื่องที่คุณไม่ควรมองข้าม ในกรณีที่กลัวว่าไม่มีเวลา การต่อทะเบียนรถออนไลน์จะเป็นหนทางที่น่าสนใจมาก

มีวิธีต่อทะเบียนรถยนต์มีกี่ช่องทาง สามารถต่อทะเบียนรถออนไลน์ได้ไหม?

เบื้องต้นแล้ว เราสามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้ล่วงหน้า 3 เดือน โดยมีวิธีต่อทะเบียนรถยนต์ได้ จะต้องเตรียมเอกสารสำหรับการต่อทะเบียนรถออนไลน์และแบบต่อทะเบียนเอง ดังนี้

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
  • เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป )
  • เงินสำหรับอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522

หลังจากที่นำรถไปตรวจสภาพ (รถที่มีอายุเกิน 7 ปี) และมี พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นเสียภาษีประจำปีได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือจะเป็นช่องทางอื่น ๆ ที่เปิดให้เข้าไปยื่นเสียภาษีได้ ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลากหลายช่องทาง ดังนี้

  • สำนักงานขนส่งทางบก
  • ที่ทำการไปรษณีย์
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่รับต่อภาษีรถยนต์
  • กรณีที่ต้องการต่อทะเบียนรถออนไลน์ สามารถต่อได้ที่ เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก eservice.dlt.go.th (เฉพาะรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี)

หากรถอายุเกิน 7 ปี จะไม่สามารถต่อทะเบียนรถออนไลน์ได้ และต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานที่ตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่รับรองโดยกรมขนส่ง ซึ่งจะตรวจความพร้อมของสัญญาณไฟ สภาพการเบรก ตรวจควันดำเสียก่อน

สำหรับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ทุก ๆ ปีเจ้าของรถจะต้องดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบของกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2562 ซึ่งในหมวด 3 ข้อที่ 17 ระบุไว้ว่า รถทุกคันที่จดทะเบียนแล้ว ต้องเสียภาษีรถประจำปี เว้นแต่รถที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีประจำปี

โดยเอกสารของการต่อทะเบียนออนไลน์และภาษีรถ ในกรณีที่ต่อทะเบียนรถออนไลน์สามารถรอรับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ได้ภายใน 5 วัน ทำการนับจากวันชำระเงิน แต่ในกรณีที่เดินทางไปติดต่อ

นอกจากรถยนต์สภาพเกิน 7 ปี เงื่อนไขอะไรอีกบ้าง ถึงสามารถต่อทะเบียนรถออนไลน์ได้?

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น มีข้อกำหนดว่ารถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี จะไม่สามารถต่อทะเบียนรถออนไลน์ได้ เพราะตามกฎหมายบังคับให้ต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถเพื่อยืนยันว่ารถยังมีสภาพดี สามารถใช้งานได้จริงอยู่ นอกจากนี้ เงื่อนไขของรถที่เราสามารถต่อทะเบียนรถออนไลน์ได้ มีดังนี้

  • ต้องเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน, รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน, รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์
  • รถไม่เคยค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี
  • รถยนต์ที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด
  • รถทุกจังหวัดที่มีสถานะทะเบียนปกติ หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
  • ต้องเป็นรถที่ไม่ถูกอายัด
  • ต้องเป็นรถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี หรือไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ

หากต้องตรวจสภาพรถเพื่อต่อทะเบียน จะเสียค่าใช้จ่ายเท่าใด?

ในกรณีที่รถของคุณมีอายุการใช้เงินเกินระยะเวลาที่กำหนดตามข้างต้นได้กล่าวไว้ จะต้องมีการตรวจสภาพรถ โดยสามารถตรวจได้ที่สถานตรวจเอกชน (ตรอ.) ทุกแห่ง ที่ได้การรับรองจากกรมการขนส่งทางบก รวมถึงที่กรมขนส่งทางบกทุกแห่ง ส่วนอัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์ ขึ้นอยู่กับประเภทรถ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท

นอกจากนี้จะมีรถบางประเภทที่ไม่สามารถตรวจสภาพได้ที่ ตรอ. ของเอกชน ต้องนำไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น ได้แก่

  • รถที่ดัดแปลงสภาพผิดไปจากที่ได้จดทะเบียนไว้
  • รถที่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในสมุดคู่มือทะเบียนรถ เช่น เปลี่ยนเครื่องยนต์, เปลี่ยนลักษณะรถ, เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
  • รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ เช่น ไม่ปรากฏตัวเลข, ตัวเลขชำรุด หรือมีร่องรอยการแก้ไข, ขูด, ลบ หรือลบเลือน จนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ เป็นต้น
  • รถที่เจ้าของได้แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราว หรือแจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปไว้
  • รถเก่าที่มีเลขทะเบียนเป็นเลขทะเบียนรุ่นเก่า เช่น กท-00001, กทจ-0001 เป็นต้น ซึ่งรถดังกล่าวต้องเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่เมื่อมีการนำมาเสียภาษีประจำปี
  • รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
  • รถที่ได้สิ้นอายุภาษีประจำปี (ขาดต่อทะเบียน) เกิน 1 ปี

รถประเภทไหนจองทะเบียนรถออนไลน์ได้บ้าง?

ประเภทรถที่สามารถจองเลขทะเบียนออนไลน์ได้ ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคลลไม่เกิน 7 คน หรือรถเก๋ง และรถกระบะ 4 ประตู (รถป้ายขาว ตัวหนังสือสีดำ), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถตู้ (รถป้ายขวา ตัวหนังสือสีน้ำเงิน), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถกระบะบรรทุก หรือรถกระบะ 2 ประตู (รถป้ายขาว ตัวหนังสือสีเขียว) และจักรยานยนต์ส่วนบุคคลหรือรถมอเตอร์ไซค์

ทั้งนี้ การจองทะเบียนรถออนไลน์สำหรับทะเบียนรถป้ายขาว ทะเบียนรถตู้ หรือทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ ต้องเป็นการจองหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล สำหรับใช้แจ้งจดทะเบียนรถใหม่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ย้ายรถจากพื้นที่อื่นเข้ามาใช้งานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือจดทะเบียนป้ายกรุงเทพฯ อยู่แล้วเท่านั้น

เช็คตารางจองทะเบียนรถออนไลน์ได้จากที่ไหนบ้าง?

สามารถเช็คเลขทะเบียนรถยนต์ที่เปิดให้จองในแต่ละประเภทรถ วันที่เปิดจองในแต่ละหมวดอักษรและเลขทะเบียน หรือกำหนดจดทะเบียนได้จากตารางกำหนดการจองเลขทะเบียนทางอินเตอร์เน็ตในหน้าเว็บไซต์ ซึ่งจะอัพเดทข้อมูลเลขทะเบียนที่เปิดให้จองได้ในช่วงวันเสาร์ของทุกอาทิตย์ หรือเช็คเลขทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่เปิดให้จองผ่านเว็บไซต์ออนไลน์

สามารถจองทะเบียนรถที่ขนส่งแทนการจองทะเบียนรถออนไลน์ได้ไหม?

ไม่สามารถเดินทางไปกรมการขนส่งทางบก กรุงเทพมหานคร หรือสํานักงานขนส่งกรุงเทพมหานครทั้ง 5 พื้นที่ เพื่อจองหมายเลขทะเบียนรถสำหรับใช้แจ้งจดทะเบียนใช้งานในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครได้ หากต้องการเลือกเลขทะเบียนรถสำหรับรถใหม่ป้ายแดงที่รอจดทะเบียน หรือรถจดทะเบียนแล้วที่ต้องการเปลี่ยนเลขทะเบียนรถใหม่ จะต้องจองเลขทะเบียนรถออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกแต่เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ไม่สามารถไปรอคิวเพื่อจองทะเบียนรถที่กรมการขนส่งทางบก กรุงเทพมหานครได้เหมือนในอดีต

อย่างไรก็ตาม สามารถเดินทางไปสำนักงานขนส่งในพื้นที่ประจำจังหวัดเพื่อจองทะเบียนรถสำหรับแจ้งจดทะเบียนและใช้งานในพื้นที่ต่างจังหวัดได้โดยไม่ต้องจองทะเบียนรถออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ สามารถเช็คเลขทะเบียนรถยนต์ที่สามารถจองได้จากตารางจองทะเบียนรถในเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกและเช็คเลขทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ในเว็บไซต์ส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์ (สคบ.) กรมการขนส่งทางบก

สามารถจองทะเบียนรถ ต่างจังหวัด ผ่านช่องทางออนไลน์ได้หรือไม่?

ไม่สามารถจองทะเบียนรถต่างจังหวัดออนไลน์ได้ เนื่องจากการจองทะเบียนรถออนไลน์จะจองได้เฉพาะรถที่ต้องการจดแจ้งและใช้ป้ายทะเบียนกรุงเทพมหานคร หรือต้องการย้ายทะเบียนมายังพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น หากต้องการจองเลขทะเบียนรถสำหรับใช้งาน ต่างจังหวัด หรือจดทะเบียนรถในพื้นที่ต่างจังหวัดอยู่แล้ว ให้ตรวจสอบการเปิดจองเลขทะเบียนกับสำนักงานขนส่งประจำพื้นที่

จองทะเบียนรถออนไลน์ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ขั้นตอนการจองเลขทะเบียนรถออนไลน์จะเริ่มต้นจากการตรวจสอบข้อมูลรถและข้อมูลหลักเกณฑ์จองเลขทะเบียนรถที่เปิดให้จอง การเลือกเลขทะเบียน การจองหมายเลขทะเบียนรถ และการแจ้งจดทะเบียนเลขทะเบียนรถที่จองออนไลน์ได้ มีรายละเอียดขั้นตอนการจองทะเบียนรถออนไลน์ดังต่อไปนี้

1. ตรวจสอบข้อมูลรถ

กรณีรถป้ายแดง ผู้ทำการจองทะเบียนรถออนไลน์ต้องได้รับรถแล้ว รวมถึงไฟแนนซ์หรือบริษัทผู้ขายรถต้องส่งข้อมูลตัดบัญชีรถให้กรมขนส่งทางบกรับทราบแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถทำการจองเลขทะเบียนออนไลน์ได้ หากเป็นรถจดทะเบียนแล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนเลขทะเบียนใหม่ ต้องเป็นรถที่มีสถานะใช้งานปกติ และต้องแจ้งจดทะเบียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือต้องการแจ้งย้ายการใช้งานรถมาที่พื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น

2. ตรวจสอบเลขทะเบียนที่เปิดจอง

สามารถเช็คตารางจองเลขทะเบียนรถยนต์ที่เปิดให้จองออนไลน์ได้จากเว็บไซต์ หรือตารางจองเลขทะเบียนรถจักรยานยนต์ ได้จากเว็บไซต์ โดยจะมีข้อมูลอักษรประจำหมวดและเลขทะเบียนรถที่เปิดให้จองสำหรับรถแต่ละประเภท วันและเดือนที่เปิดจอง พร้อมลำดับจดทะเบียนให้ได้เตรียมตัวก่อนวันเปิดจริง

3. ตรวจสอบเงื่อนไขและวิธีการจองทะเบียนรถ

ศึกษาวิธีการกรอกข้อมูลทั้งในส่วนข้อมูลผู้จอง และข้อมูลเฉพาะรถ โดยต้องพิมพ์ข้อมูลติดกัน โดยไม่มีการเว้นวรรคหรือเครื่องหมายขีดกลาง (-) เนื่องจากหากใส่ข้อมูลใดผิดไปจะไม่สามารถนำเลขทะเบียนดังกล่าวที่จองไปใช้ในการแจ้งจดทะเบียน โดยมีเงื่อนไขการจองทะเบียนรถออนไลน์ ดังต่อไปนี้

  • ไม่สามารถจองเลขทะเบียนย้อนหลังได้
  • ไม่สามารถเปลี่ยน โอน หรือยกเลิกเลขทะเบียนที่จองได้ ไม่ว่ากรณีใดใดทั้งสิ้น
  • จองเลขทะเบียนได้ครั้งละ 1 หมายเลข สำหรับการจองเลขทะเบียนรถยนต์
  • จองเลขทะเบียนได้ครั้งละ 5 หมายเลข สำหรับการจองเลขทะเบียนมอเตอร์ไซค์
  • ไม่สามารถใช้เลขทะเบียนที่จองได้ หากไม่จดทะเบียนตามเวลาที่กำหนด
  • จองเลขทะเบียนออนไลน์ได้ครั้งต่อไปภายในระยะเวลา 90 วัน

4. เข้าจองเลขทะเบียนรถในเว็บไซต์

จองหมายเลขทะเบียนรถยนต์สำหรับใช้จดแจ้งการใช้งานในทุกประเภทได้ในทุกวันจันทร์-ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดเสาร์/อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. ผ่านทางเว็บไซต์ https://reserve.dlt.go.th/reserve/ หรือจองเลขทะเบียนรถจักรยานยนต์ออนไลน์ได้ในวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-14.00 น. ผ่านทางเว็บไซต์ https://forms.gle/2iDMqAkF7AGZocpj6 เท่านั้น

ทั้งนี้ ควรเตรียมเลขทะเบียนที่ต้องการไว้หลากหลายชุดเพื่อความรวดเร็วในการจอง กรณีเลขทะเบียนที่ต้องการมีคนจองตัดหน้า เนื่องจากอาจมีผู้ให้ความสนใจจองเลขทะเบียนออนไลน์เลขชุดเดียวกันพร้อมกันเป็นจำนวนมาก

5. ตรวจสอบผลจองทะเบียนรถ

สามารถเช็กผลการจองเลขทะเบียนได้ด้วยเลขบัตรประชาชน เลขทะเบียนการค้า หรือเลขหนังสือเดินทาง ซึ่งจะทราบผลการจองได้เมื่อเข้าสู่หน้าตรวจสอบผลการจองทะเบียนออนไลน์เท่านั้น โดยจะทราบผลการจองได้ในทันทีสำหรับการจองเลขทะเบียนรถยนต์ และทราบผลภายใน 3-7 วัน สำหรับการจองทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์

6. จดแจ้งใช้งานทะเบียนรถ

สามารถจดแจ้งใช้งานทะเบียนรถยนต์ได้ตามกำหนดวันจดทะเบียนที่มีระบุ ("ปัจจุบันจดทะเบียนถึงเลข") ในตารางจองทะเบียนรถที่ประกาศอยู่ในหน้าเว็บไซต์ โดยต้องแจ้งจดทะเบียนใช้งานทะเบียนรถที่จองได้ภายในช่วงวันที่กำหนด มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิ์การจอง ในขณะที่ต้องดำเนินการจดทะเบียนภายใน 90 วัน สำหรับเลขทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่จองได้ ทั้งนี้ จะได้รับป้ายทะเบียนภายใน 1-2 สัปดาห์ สูงสุดไม่เกิน 1 เดือน ทั้งนี้ต้องแจ้งให้บริษัทประกันบันทึกสลักหลังกรมธรรม์ประกันรถยนต์ด้วย กรณีแจ้งเปลี่ยนเลขทะเบียนรถยนต์

เลขทะเบียนประมูลทะเบียนรถมีกี่ประเภท?

เลขทะเบียนประมูลทะเบียนรถที่บุคคลทั่วไปและนิติบุคคลสามารถเข้าประมูลได้ทั้งแบบออนไลน์และแบบปกติ มีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่

  1. หมายเลขทะเบียนสวย
  2. หมายเลขทะเบียนรถเลขสวยลักษณะพิเศษ
  3. หมายเลขออกประมูลใหม่ทางอินเทอร์เน็ต
  4. หมายเลขออกประมูลใหม่พร้อมการประมูลหมวดปกติ

มีรายละเอียดป้ายทะเบียนที่สามารถประมูลได้ดังนี้

  • หมายเลขทะเบียนสวย คือ การประมูลทะเบียนประมูลหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่ต้องการหรือเป็นที่นิยมของประชาชน
  • หมายเลขทะเบียนรถเลขสวยลักษณะพิเศษ คือ การประมูลทะเบียนรถที่ประกอบด้วยคำหรือข้อความลักษณะพิเศษที่ได้รับความเห็นชอบเพื่อใช้แทนตัวอักษรประจำหมวด สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิดเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น เช่น กำไร88 ดวงดี99 รุ่ง89 เสน่ห์66
  • หมายเลขออกประมูลใหม่ทางอินเทอร์เน็ต การประมูลทะเบียนรถที่ผู้ชนะการประมูลไม่ชำระราคาประมูลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด โดยราคาเริ่มต้นประมูลจะเท่ากับจำนวนเงินที่ค้างชำระราคาของหมายเลขทะเบียนนั้น
  • หมายเลขออกประมูลใหม่พร้อมการประมูลหมวดปกติ คือ การประมูลทะเบียนรถที่ชนะการประมูลแต่ชำระราคาไม่ครบถ้วน และนำออกประมูลทะเบียนใหม่ทางอินเทอร์เน็ตครบ 8 ครั้งแล้ว แต่ไม่มีผู้เสนอราคา โดยราคาเริ่มต้นประมูลจะเท่ากับราคาเริ่มต้นของการประมูลตามปกติ

วิธีประมูลทะเบียนรถออนไลน์ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประมูลทะเบียนรถต้องลงเข้าร่วมการประมูลก่อนวันประมูล หรือวันประมูล โดยสามารถเลือกลงทะเบียนได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

  • ลงทะเบียนด้วยตนเองก่อนวันประมูล ณ สำนักงานกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งจังหวัดที่จัดการประมูลหมายเลขทะเบียน สถานที่จัดการประมูลหมายเลขทะเบียน หรือสถานที่ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
  • ลงทะเบียนและอัพโหลดเอกสารผ่านเว็บไซต์ WWW.TABIENROD.COM ก่อนวันประมูล โดยผู้ที่ลงทะเบียนจะต้องเลือกลงทะเบียนตามหมายเลขทะเบียนรถที่ตนต้องการประมูลพร้อมวางหลักประกันการประมูลตามที่กำหนด

หลังจากนั้นผู้ที่ลงทะเบียนประมูลทะเบียนรถเรียบร้อยแล้ว สามารถเดินทางเข้าร่วมการประมูลตามวันเวลา และสถานที่ที่กำหนด โดยต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนผู้เข้าร่วมประมูล กรณีเข้าร่วมประมูลทะเบียนด้วยตนเอง หรือส่งสำเนาบัตรประชาชน พร้อมหลักฐานการโอนเงินค่าหลักประกันประมูล ก่อนการประมูล กรณีเข้าร่วมประมูลทางเว็บไซต์ โดยมีรายละเอียดการเข้าร่วมประมูลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดดังต่อไปนี้

การประมูลทะเบียนรถในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถเข้าร่วมประมูลได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ การประมูลทะเบียนทางวาจา การประมูลทะเบียนทาง Internet และการประมูลทะเบียนทางโทรศัพท์ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกอาทิตย์ที่ 2 และ 4 ของเดือน โดยการจัดประมูลจะจัดที่ห้องประชุมชั้น 7 อาคาร 6 กรมการขนส่งทางบก หรือตามวัน เวลาและสถานที่กำหนด

การประมูลทะเบียนรถในส่วนภูมิภาค สามารถเข้าร่วมประมูลได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ การประมูลทะเบียนรถทางวาจา และการประมูลทะเบียนรถทาง Internet ซึ่งจะจัดขึ้นตามแผนการประมูลในแต่ละปีงบประมาณของแต่ละจังหวัด หรือจะมีกำหนดการวันและเวลาที่ได้กำหนดไว้แล้วในแต่ละจังหวัด

เช็คตารางประมูลทะเบียนรถได้ที่ไหน?

สามารถเช็คตารางปฏิทินประมูลทะเบียนรถออนไลน์ และประมูลทะเบียนประมูลทางวาจา (เคาะไม้) สำหรับใช้แจ้งจดทะเบียนทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ทั้งประมูลป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ประมูลป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือประมูลป้ายทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล กรุงเทพฯ ได้จากเว็บไซต์ WWW.TABIENROD.COM

สามารถดูประกาศวันเวลาและสถานที่จัดการประมูลทะเบียนได้จากเว็บไซต์ WWW.TABIENROD.COM กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งประจำพื้นที่/จังหวัด ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

เช็คราคาประมูลทะเบียนรถล่าสุดได้ที่ไหน?

สามารถตรวจสอบสถิติประมูลทะเบียนรถย้อนหลัง และผลการประมูลได้ที่ WWW.TABIENROD.COM หรือติดต่อ กรมการขนส่งทางบก 1032 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0-2271-8888, 02-061-6512, 061-615-6359 หรือ Call Center 1584

ราคาประมูลทะเบียนรถจะขึ้นอยู่กับความต้องการหรือความนิยมของทั้งตัวเลขและหมวดตัวอักษรประจำทะเบียน ซึ่งจะมีประเภทค่าใช้จ่ายในการประมูล 2 รายการ คือ หลักประกันก่อนเริ่มประมูล ราคาหมายเลขทะเบียนโดยต้องวางหลักประกันก่อนเริ่มประมูล โดยมูลค่าหลักประกันจะขึ้นอยู่กับความนิยมของเลขทะเบียนรถยนต์ในแต่ละหมวด หรือแต่ละตัวเลข

เริ่มต้นตั้งแต่ 2,000, 5,000, 20,000 หรือ 50,000 ในขณะที่ราคาเริ่มต้น ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1,000, 2,000, 3,000, 5,000, 30,000, 10,000, 50,000 และ 100,000 โดยสามารถเพิ่มราคาครั้งละ 500, 1,000, 2,000, 5,000, 2,000 และ 10,000 มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการประมูลทะเบียนในแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้

1. กลุ่มเลขสี่ตัวเหมือน
การประมูลทะเบียนรถส่วนกลาง หลักประกัน 50,000 บาท ราคาเริ่มต้น 100,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ในขณะที่การประมูลทะเบียนส่วนภูมิภาค หลักประกัน 20,000 บาท ราคาเริ่มต้น 50,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท

2. กลุ่มเลขสามตัวเหมือน, เลขสองตัวเหมือน, เลขตัวเดียว, เลขคู่ 8 และคู่ 9
การประมูลทะเบียนรถส่วนกลาง หลักประกัน 20,000 บาท ราคาเริ่มต้น 30,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ในขณะที่การประมูลทะเบียนส่วนภูมิภาค หลักประกัน 5,000 บาท ราคาเริ่มต้น 10,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 2,000 บาท

3. กลุ่มเลขหลักพัน, เลขเรียง และเลขคู่
การประมูลทะเบียนรถส่วนกลาง หลักประกัน 5,000 บาท ราคาเริ่มต้น 5,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ในขณะที่การประมูลทะเบียนส่วนภูมิภาค หลักประกัน 2,000 บาท ราคาเริ่มต้น 3,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 1,000 บาท

ประมูลทะเบียนรถได้แล้วต้องทำอย่างไรต่อ?

กรณีแพ้การประมูลหรือประมูลทะเบียนรถไม่ได้ตามต้องการ สามารถขอรับเงินค่าหลักประกันคืนได้ โดยหากชำระค่าหลักประกันเป็นเงินสด สามารถรับเงินคืนแบบเงินสดได้ที่สำนักงานทันที แต่หากจ่ายค่าหลักประกันด้วยวิธีการโอนเงินหลักประกันเข้าบัญชีหน่วยงาน ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งจะโอนเงินคืนให้ภายใน 7 วันทำการ

กรณีประมูลทะเบียนรถได้ตามต้องการ แต่หลักประกันสูงกว่าราคาหมายเลขทะเบียนที่ประมูลได้กรมการขนส่งทางบกจะคืนหลักประกันส่วนที่เหลือให้ผู้ชนะการประมูล แต่กรณีหลักประกันต่ำกว่าราคาที่ประมูลได้ แต่สูงกว่าร้อยละ 10 ของราคาหมายเลขทะเบียนที่ประมูลได้ ให้ผู้ชนะการประมูลชำระราคาหมายเลขทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของราคาหมายเลขทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่ประมูลหมายเลขทะเบียน และให้ผู้ชนะการประมูลชำระราคาหมายเลขทะเบียนส่วนที่เหลือจากให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันประมูลหมายเลขทะเบียน

เมื่อชำระค่าประมูลทะเบียนรถครบถ้วนแล้ว ผู้ชนะประมูลจะต้องนำรถมาแจ้งจดทะเบียนด้วยหมายเลขที่ประมูลได้ ภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันที่ชนะการประมูล หรือโอนหมายเลขทะเบียนรถที่ชนะประมูลพร้อมประกันรถยนต์ให้กับผู้อื่น หรือรถคันอื่นได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใด

ดูทะเบียนรถใหม่! ป้ายแดงปลอมดูยังไง? ป้ายแดงปลอมค่าปรับเท่าไร?

อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องเตือนสำหรับผู้ขับขี่ที่ออกรถใหม่ที่อยู่ในระหว่างรอแจ้งจดทะเบียนเพื่อรับป้ายทะเบียนรถ (ป้ายขาว) หรือมีความคิดอยากจะซื้อป้ายแดงปลอมที่ขายกันตามออนไลน์มาติดรถยนต์ เพื่อรักษาสถานะรถใหม่ไว้ให้นานที่สุด

ท่ามกลางกระแสป้ายแดงปลอมระบาดอย่างหนักตามข่าวที่เห็นในช่วงนี้ แรบบิท แคร์ จะพาเพื่อน ๆ ทุกคนไปดูทะเบียนรถว่าป้ายแดงที่ได้รับมาจากไฟแนนซ์ว่าเป็นป้ายแดงจริงหรือป้ายแดงปลอม ป้ายแดงปลอมคืออะไร? ใช้ป้ายแดงปลอมมีความผิดหรือไม่? รวมไปถึงมีวิธีสังเกตดูทะเบียนรถป้ายแดงปลอมมาฝากกัน

ป้ายแดง คืออะไร?

ป้ายแดง หรือรถป้ายแดง คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์ชั่วคราวชนิดหนึ่งหรือเครื่องหมายพิเศษที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ออกให้กับบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถที่ได้รับใบอนุญาต นำไปใช้ติดให้กับรถออกใหม่ใช้ในระหว่างรอการจดทะเบียนรถยนต์กับหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกในพื้นที่ใช้รถ รถที่จะนำไปส่งให้กับลูกค้า หรือใช้ติดรถยนต์ที่ต้องส่งซ่อม ภายในระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน โดยป้ายแดงของแต่ละโชว์รูมที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกจะหมุนเวียนใช้งานสลับกันไปให้กับลูกค้าที่ใช้บริการโชว์รูมนั้น ๆ โดยไม่สามารถจัดจำหน่ายป้ายแดงต่อได้

ป้ายแดงจะมีลักษณะคล้ายแผ่นป้ายทะเบียนรถโดยทั่วไป แต่จะมีสีพื้นของตัวแผ่นป้ายทะเบียนเป็นสีแดง และมีตัวอักษรสีดำ โดยเมื่อแจ้งจดทะเบียนเรียบร้อยภายในระเวลาที่กำหนดแล้ว เจ้าของรถจะได้รับป้ายทะเบียนขาว หรือป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้แทนป้ายแดง

ป้ายแดง มีข้อจำกัดในการใช้งานอย่างไร?

การใช้งานป้ายแดงจะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการใช้งานที่แตกต่างจากป้ายทะเบียนรถตามปกติ ตัวอย่างเช่น ป้ายแดงมีระยะเวลาอนุญาตให้ใช้งานชั่วคราวได้ไม่เกิน 30 วันนับจากวันที่ได้รับรถ และหลังจากครบตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ต้องเปลี่ยนเป็นป้ายทะเบียนขาวทันที หากเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบเจ้าของรถยนต์ใช้รถป้ายแดงเกินระยะเวลาที่กำหนด จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 6 ฐานใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียน มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

รวมถึงยังมีข้อกำหนดในการใช้งานอื่น ๆ อีก เช่น ห้ามใช้งานรถป้ายแดงเป็นระยะทางเกินกว่า 3,000 กิโลเมตร ผู้ขับขี่รถป้ายแดงต้องพกและบันทึกข้อมูลการใช้งานรถยนต์ลงในสมุดคู่มือประจำรถป้ายแดงที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบกทุกครั้ง หรือห้ามขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืน มีรายละเอียดข้อห้ามและข้อกำหนดใช้งานรถรถบนต์ป้ายแดง ดังต่อไปนี้

1. ใช้รถป้ายแดงต้องจดบันทึกในสมุดคู่มือประจำรถ

ผู้ใช้รถป้ายแดงต้องบันทึกข้อมูลการใช้งานรถยนต์ลงในสมุดคู่มือประจำรถทุกครั้ง ซึ่งข้อมูลที่ต้องบันทึกลงไปในสมุดดังกล่าว ได้ไแก่ ชื่อและนามสกุลผู้ขับขี่ ชื่อและรุ่นยี่ห้อรถยต์ หมายเลขเครื่องยนต์ ความประสงค์ในการใช้รถ วันเดือนปี และระยะเวลาที่นำรถไปใช้เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีหากมีการเรียกตรวจ ซึ่งมีข้อกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 28 ระบุว่าผู้ขับขี่จะต้องทำบันทึกการใช้รถลงในสมุดคู่มือเสมอ

2. ห้ามใช้รถป้ายแดงเกิน 30 วัน

สามารถใช้ป้ายทะเบียนชั่วคราว (ป้ายแดง) ติดกับรถยนต์ใหม่ได้ไม่เกิน 30 วัน นับตั้งแต่วันรับรถ โดยหากใช้ป้ายแดงนานเกิดระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น เจ้าของรถจะมีความผิดฐานเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีรถยนต์ประจำปีรวมถึงความผิดฐานใช้รถที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 6(1) และมาตรา 59 ฐานใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน มีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท

3. ห้ามรถป้ายแดงในเวลากลางคืน

สามารถขับรถป้ายแดงได้ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกเท่านั้น หรือตั้งแต่ 06.00 - 18.00 น. ซึ่งปัจจุบันได้อนุโลมขยายระยะเวลาขับขี่รถยนต์ป้ายแดงไปจนถึง 20.00 น. แล้ว ทั้งนี้ หากมีเหตุฉุกเฉินจำเป็นต้องขับขี่รถป้ายแดงในเวลากลางคืน หรือหลังเวลาที่กำหนด จำเป็นต้องแจ้งให้นายทะเบียนรับทราบและได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น

4. ห้ามขับรถป้ายแดงข้ามเขต

สามารถขับรถป้ายแดงได้เฉพาะในเขตที่ระบุไว้ในป้ายทะเบียนชั่วคราวเท่านั้น ไม่สามารถขับรถป้ายแดงวิ่งข้ามเขตอื่นได้ ตัวอย่างเช่น ป้ายทะเบียนชั่วคราวกรุงเทพมหานคร จะใช้ขับขี่ได้เฉพาะภายในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เท่านั้น ไม่สามารถขับไปยังจังหวัดอื่นได้

หากมีความจำเป็นต้องขับรถข้ามเขตพื้นที่ใช้งานตามที่ระบุไว้ในแผ่นป้ายทะเบียนชั่วคราว ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนและลงบันทึกการใช้รถในสมุดคู่มือประจำรถด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ หากฝ่าฝืนขับรถป้ายแดงเกินจำนวนวันที่กำหนด (ไม่เกิน 30 วัน) ขับข้ามเขตที่แจ้งขอใช้งาน หรือใช้รถป้ายแดงเกินเวลาที่กำหนด จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 27 และมาตรา 26 ประกอบมาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ป้ายแดงปลอม คืออะไร?

ป้ายแดงปลอม คือ ป้ายทะเบียนชั่วคราวที่ถูกปลอมแปลงให้มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับป้ายแดงที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) อย่างถูกต้อง และไม่ใช่ป้ายแดงที่อยู่ในความครอบครองของบริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์และได้รับอนุญาตให้ใช้งานเครื่องหมายป้ายแดงจากกรมการขนส่งทางบก มักพบเห็นกลุ่มมิจฉาชีพจัดจำหน่ายอย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางออนไลน์ หรือโชว์รูมจัดทำป้ายแดงขึ้นเองเพื่อให้ลูกค้าของตนใช้งาน

สาเหตุที่ทำให้เกิดกรณีป้ายแดงปลอม คือ ป้ายแดงที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบกอย่างถูกต้อง และจัดสรรให้หมุนเวียนใช้งานได้เฉพาะศูนย์บริการฯ แต่ละแห่งมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้มีจำนวนป้ายแดงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานไม่เพียงพอต่อจำนวนรถยนต์ใหม่ที่อยู่ในระหว่างรอจดทะเบียน

ตัวอย่างกรณีที่ทำให้ป้ายแดงที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น กรณียอดจัดจำหน่ายรถยนต์ใหม่เพิ่มมากขึ้นกระทันหันในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง รวมถึงลูกค้า หรือศูนย์บริการรถยนต์ดำเนินการจดแจ้งทะเบียนรถใหม่ล่าช้า และใช้ป้ายแดงนานกว่าระยะเวลาที่กำหนดเกิน 30 วัน

ทำให้โชว์รูมไม่สามารถหาป้ายแดงที่ถูกต้องมาหมุนเวียนเพื่อใช้ติดให้กับรถยนต์ของลูกค้ารายใหม่ได้อย่างเพียงพอ จึงอาจทำให้โชว์รูมเลือกใช้ป้ายแดงปลอมใส่ให้กับรถยนต์ของลูกค้าใหม่แทน นอกจากนั้นแล้ว ยังรวมถึงกรณีลูกค้าซื้อป้ายแดงปลอมจากอินเทอร์เน็ตมาติดรถยนต์เอง เนื่องจากทำป้ายแดงหาย หรือต้องการสวมรอยรถเก่าด้วยป้ายแดงปลอมเพื่อทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นรถใหม่

ใช้ป้ายแดงปลอม จะมีโทษอะไรบ้าง?

การใช้ป้ายแดงปลอมนับเป็นหนึ่งในความผิดฐานการปลอมแปลงและใช้เอกสารราชการปลอม มีความผิดทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดฐานใช้รถไม่แจ้งจดทะเบียน หรือใช้แผ่นป้ายทะเบียนไม่ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มีรายละเอียดดังนี้

1. ปลอมแปลงและใช้เอกสารราชการปลอม

กรณีเป็นผู้จัดจำหน่ายป้ายแดงปลอม หรือเป็นผู้ซื้อป้ายทะเบียนปลอมและนำไปใช้กับรถยนต์ของตัวเองซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น จะมีความผิดฐานปลอมแปลงและใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 หรือมาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ใช้รถที่ไม่จดทะเบียนและเสียภาษีประจำปี

กรณีใช้รถยนต์ที่ติดป้ายทะเบียนชั่วคราว (ป้ายแดง) นานกว่าระยะเวลาที่กำหนดเกิน 30 วัน โดยไม่นำรถไปจดแจ้งทะเบียนและเสียภาษีรถยนต์ประจำปีให้ถูกต้อง มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 6 ห้ามไม่ให้ใช้รถที่ไม่ได้จดทะเบียน หรือรถที่ยังไม่เสียภาษีประจำปี มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

3. ใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถไม่ถูกต้อง

กรณีใช้ป้ายแดงปลอมจะยังมีความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะไม่ถูกต้องตามที่กำหนด ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 รถที่จดทะเบียนแล้ว ต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ป้ายแดงปลอม สังเกตอย่างไร?

ป้ายแดงปลอมจะมีลักษณะโดยรวมแตกต่างจากป้ายแดงที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบก ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้ และอนุญาตให้ศูนย์บริการฯ หรือบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถครอบครองเพื่อใช้ติดให้กับรถของลูกค้าใหม่ หรือนำรถไปซ่อมแซมอย่างถูกต้องตามกฎหมายในระหว่างรอจดแจ้งทะเบียน

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ป้ายแดงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องมีจำนวนทั้งหมด 2 แผ่น สำหรับใช้ติดด้านหน้า และด้านหลังของตัวรถ และคู่มือประจำตัวรถสำหรับป้ายทะเบียนรถชั่วคราว (ป้ายแดง) มีจุดสังเกตป้ายแดงปลอม ดังต่อไปนี้

1. ลักษณะแผ่นป้าย

ป้ายแดงปลอมอาจมีสัญลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะตามที่ป้ายแดงที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบกต้องมี แต่อาจจะมีขนาดและสีของตัวอักษร ตัวเลข หรือภาพองค์ประกอบที่ไม่คมชัด ซีดจาง ไม่สะท้อนแสง และตัวแผ่นป้ายมีความบางกว่าปกติ

2. ลายน้ำ

ป้ายแดงปลอมจะไม่มีลายน้ำรูปตราเครื่องหมายราชการของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ซึ่งเป็น “รูปตรามาตุลีเทพบุตรขับรถเทียมม้า” ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้ให้แสดงในแผ่นป้ายทะเบียนชั่วคราวที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้

3. อักษรนูน

ป้ายแดงปลอมจะไม่มีตราปั๊มตัวอักษรย่อนูน “ขส.” ซึ่งย่อมาจากคำว่า “กรมการขนส่งทางบก” ที่บริเวณมุมด้านล่างขวาของแผ่นป้ายทะเบียนชั่วคราว (ป้ายแดง) หรืออาจมีตัวอักษรอยู่ แต่มีขนาดเล็กผิดปกติ หรือเห็นได้ไม่คมชัด และชัดเจน

4. สมุดคู่มือประจำตัวรถ

ป้ายแดงปลอมจะไม่มีสมุดคู่มือประจำตัวรถหรือ "สมุดคู่มือประจำรถใช้กับเครื่องหมายพิเศษ (ป้ายแดง)" มาให้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนชั่วคราว (ป้ายแดง) ซึ่งสมุดคู่มือดังกล่าวจะมีหน้าปกเป็นสีน้ำตาล แตกต่างจากสมุดคู่มือประจำรถตามปกติ และต้องมีข้อมูลรถตรงกับสมุดคู่มือประจำตัวรถด้วยเช่นกัน หรืออาจมีสมุดคู่มือประจำตัวรถสำหรับป้ายทะเบียนชั่วคราวให้ แต่อาจเป็นสมุดคู่มือปลอม

แจ้งขอความช่วยเหลือทางกฎหมายกรณี “ป้ายแดงปลอม” ได้ที่ไหน?

กรณีได้รับความเสียหายจากการใช้ป้ายแดงปลอมโดยไม่รู้ตัว สามารถขอรับการคุ้มครองและคำปรึกษาทางกฎหมายได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) สำนักงานอัยการสูงสุด โทร 02 515 4112 หรือสภาองค์กรของผู้บริโภค โทรศัพท์ 02 239 1839 กด 1

สิ่งสำคัญที่สุดเกี่ยวกับ “ป้ายแดง” สำหรับผู้ที่กำลังเตรียมจะซื้อรถใหม่หรือเจ้าของรถป้ายแดงที่ยังไม่จดทะเบียน คือ ป้ายแดงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานอย่างถูกต้องจากกรมการขนส่งทางบก จะไม่มีการซื้อขายโดยเด็ดขาด ดังนั้นแล้ว ป้ายแดงที่มีการซื้อขายในท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์หรือคนรู้จักแนะนำให้ซื้อเป็นป้ายแดงปลอมทั้งสิ้น

“ป้ายแดง” จะต้องไม่มีการซื้อขาย ถ้าพบเห็นว่ามีการขายผ่านช่องทางต่าง ๆ ต้องระวังเพราะเป็นป้ายแดงปลอมอย่างแน่นอน อย่าหลงเชื่อซื้อมาโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากจะเสี่ยงเสียเงินฟรีแล้ว ยังเสี่ยงโดนจับอีกด้วย ซึ่งโทษก็หนักเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน ผู้ขับขี่ที่พึ่งออกรถใหม่ป้ายแดงควรสังเกตป้ายแดงของตัวเอง ว่าเป็นของปลอมหรือไม่ รวมถึงควรรีบดำเนินการจดทะเบียนรถให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อป้องกันกรณีรถยนต์ถูกโจรกรรมในระหว่างยังไม่ได้รับทะเบียนป้ายขาว ซึ่งทำให้ยากต่อการติดตามตรวจสอบรถสูญหายมากขึ้น ตลอดจนควรศึกษาข้อกำหนดในการใช้ป้ายแดงด้วย เพราะการใช้รถยนต์ป้ายแดงมีข้อกำหนดอยู่หลายข้อเลยทีเดียว นอกจากนี้แนะนำว่าให้ทำประกันรถยนต์ เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยงในทุก ๆ การเดินทางโดยเฉพาะรถใหม่ มือใหม่หัดขับยิ่งควรทำประกันรถยนต์เอาไว้

สำหรับผู้ขับขี่ที่สนใจอยากทำประกันรถยนต์ แต่ยังติดปัญหาไม่มีเงินก้อน หรือยังตัดสินใจเลือกไม่ได้ ขอแนะนำ แรบบิท แคร์ โบรกเกอร์ประกันภัยรถยนต์ที่รวบรวมบริษัทประกันชั้นนำเอาไว้จำนวนมาก สามารถเปรียบเทียบเบี้ยประกันและความคุ้มครองของแต่ละบริษัทได้ รวมถึงยังมาพร้อมข้อเสนอดี ๆ อีกมากมาย ทั้งบริการผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน ผ่อนสบาย ๆ ได้ทั้งบัตรเครดิตและเงินสด ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน แถมยังการันตีเรื่องราคาสุดคุ้ม เจอราคาถูกกว่า พร้อมคืนส่วนต่างให้ทันทีภายใต้เงื่อนไขของบริษัทเดียวกัน ทำประกันรถยนต์ชั้น 1ออนไลน์ได้ง่ายนิดเดียว เรื่องประกันภัยไว้ใจ แรบบิท แคร์

หากถูกมิจฉาชีพ สวมทะเบียนปลอมต้องทำอย่างไร?

ทุกวันนี้เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ข้อดีคือช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น แต่เทคโนโลยีก็แอบมีข้อเสียเพราะทำให้การปลอมแปลงเอกสารราชการกลายเป็นเรื่องง่าย โดยเฉพาะกันปลอมทะเบียนรถยนต์ ที่โดนกันเป็นว่าเล่น ไปดูกันว่าถ้าวันหนึ่งเกิดปัญหาเข้ากับตัว ถูกมิจฉาชีพ สวมทะเบียนปลอม จะต้องทำอย่างไร? มีวิธีไหนที่บ้างที่จะตรวจสอบทะเบียนรถหรือป้องกันได้บ้าง หากเผลอใช้ทะเบียนปลอมไป จะต้องโดนโทษอะไร? วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบ

ทะเบียนปลอม คืออะไร?

ทะเบียนปลอม คือ ทะเบียนรถที่ถูกทำขึ้นมาเพื่อเลียนแบบทะเบียนจริง ซึ่งเป็นวิธีที่มิจฉาชีพชอบใช้ก่อนเข้าสู่ตลาดรถมือสอง ทำให้การซื้อรถจากคนแปลกหน้า หรือไม่มีที่มาที่ไหนถือว่ามีความเสี่ยงอย่างมาก หรือบางครั้งทะเบียนปลอมก็ถูกนำไปใช้เพื่อสวมทับทะเบียนจริงอีกที และอาจเป็นรถยนต์ที่ผิดกฎหมาย ถูกโจรกรรมมาย้อมแมวขายต่อ ซึ่งหากมีการซื้อรถยนต์คันดั่งกล่าวไป อาจถูกตั้งข้อหาในการรับซื้อของโจรได้ รวมถึงอาจได้รถยนต์ที่ไม่มีมาตรฐาน พังง่าย ต้องซ่อมแซมบ่อย

นอกจากนี้ บางแห่งยังมีการทำป้ายทะเบียนปลอมเพื่อนำไปใช้ก่อเหตุผิดกฎหมาย ทำให้ตำรวจไม่สามารถติดตามสืบหาได้ และหากโชคร้าย มิจฉาชีพสวมทะเบียนปลอมของคุณ คุณอาจจะต้องเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลในการพิสูจน์ความจริง และอาจมีประวัติติดตัวด้วย ดังนั้นทางที่ดี พยายามหลีกเลี่ยง และตรวจสอบทะเบียนรถก่อนใช้งานป้ายดั่งกล่าวเสมอจะดีที่สุด

วิธีการสังเกตและตรวจสอบทะเบียนรถปลอมและเช็กเล่มทะเบียนปลอม

สำหรับใครที่สนใจอยากซื้อรถยนต์มือสอง และกังวลว่าจะเป็นป้ายทะเบียนปลอม ก็สามารถตรวจสอบทะเบียนรถได้จากจุดสังเกต ดังต่อไปนี้

  • ป้ายทะเบียนรถของจริงที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบก จะมีตัวอักษรย่อนูน ขส ที่มุมด้านล่างขวา
  • ป้ายทะเบียนรถของจริงที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบก จะมีลายน้ำตราเครื่องหมายราชการกรมการขนส่งทางบกปรากฏในแผ่นป้ายทะเบียนรถ เป็นรูปมาตุลีเทพบุตรขับรถเทียมม้า โดยลายน้ำบนป้ายทะเบียนของรถจะใช้เทคนิคการพิมพ์แบบพิเศษ ทำให้เมื่อเรามองมุมเฉียงหรือป้ายถูกแสงแดดจะสะท้อนลายน้ำปรากฎให้เห็น แต่ถ้าเป็นป้ายทะเบียนปลอมจะไม่สามารถทำได้
  • ป้ายทะเบียนรถของจริงที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบก จะมีความหนา แข็งแรง เพราะผลิตจากสังกะสีเคลือบด้วยกระดาษ 3M หากมีป้ายทะเบียนที่ผลิตจากวัสดุอื่นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นทะเบียนปลอม
  • ป้ายทะเบียนรถของจริงที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบก จะมีสีที่สด สะท้อนแสง
  • ป้ายทะเบียนรถของจริงที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบกตัวหนังสืออักษร ตัวเลขมีความคมชัด คมชัด ปั๊มนูน ระยะห่างช่องไฟได้มาตรฐาน ไม่สีจาง หลุดลอก หรือตัวอักษรเลือนหาย และตัวเลขจะต้องตรงกันกับสมุดคู่มือประจำตัวรถเสมอ

นอกจากการตรวจสอบทะเบียนรถป้ายทะเบียนปลอมแล้ว ยังมีวิธีเช็กเล่มทะเบียนปลอมอีกด้วย โดยคุณสามารถเช็กได้ ดังนี้

  • ให้ดูวันเดือนปีที่จดทะเบียน เลขเครื่องยนต์ และเลขตัวถัง ต้องตรงกับเลขที่ถูกปั๊มไว้ที่เครื่องยนต์ โดยตรวจสอบได้จากส่วนกระโปรงรถหรือดูที่ข้างเครื่องยนต์ จะเห็นสติกเกอร์ที่บอกเลขเครื่องชัดเจน ส่วนเลขถังสามารถพบได้ที่ สติกเกอร์ พรบ. , แผงหน้าปัดรถ, ประตูฝั่งคนขับ , ใต้พรมฝั่งคนขับ, กระโปรงรถ, โครงหน้ารถ, ใต้ยางอะไหล่ ใต้และซุ้มล้อหลัง
  • ชื่อผู้ถือสิทธิ์ครอบครองรถจะต้องเป็นชื่อเดียวกับผู้โอนสิทธิ์
  • ควรมีอัพเดตการต่อภาษีรถยนต์ทุกปี
  • ตรวจสอบประวัติการโอน การนำเข้า ปรับเปลี่ยน ยกเลิกหรือระงับการใช้งานของรถยนต์ ว่าตรงกับข้อมูลคนขายที่ให้มาหรือไม่

หรือในกรณีที่ไม่มั่นใจ อยากจะเปลี่ยนป้ายทะเบียนเลย ก็สามารถทำได้ เพียงแจ้งขอเปลี่ยนเลขทะเบียนใหม่ที่สำนักงานขนส่งประจำจังหวัด พร้อมเงินค่าธรรมเนียม 775 บาท หากรถยังอยู่ในไฟแนนซ์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับบริษัทไฟแนนซ์อีก 500 บาท และเสียค่ามัดจำในการนำใบคู่มือจดทะเบียนออกมาด้วย

โดยสรุปแล้ว ป้ายทะเบียนของจริงจะแตกต่างตรงส่วนวัสดุที่ผลิต โดยป้ายทะเบียนของจริงจะใช้วัสดุ และขั้นตอนการผลิตแบบพิเศษ ยากต่อการเลียนแบบ หรือหากเลียนแบบได้ เพราะจะต้องใช้กำลังทรัพย์ในการปลอมค่อนข้างสูง มิจฉาชีพหลายส่วนจึงเลือกที่จะปลอมเฉพาะบางจุดเท่านั้น หรือหากไม่มั่นใจ แต่ยังไม่อยากเสียเงินในการเปลี่ยนป้ายทะเบียน สามารถขอตรวจสอบทะเบียนรถกับทางกรมการขนส่งทางบกโดยตรงเพื่อความสบายใจได้เช่นกัน

ถูกมิจฉาชีพสวมทะเบียนปลอมต้องทำอย่างไร?

หากติดตามข่าว จะมีข่าวรถยนต์โดนสวมทะเบียนปลอมออกมาให้เห็นอยู่บ่อย ๆ จอดรถไว้ที่บ้านไม่ได้ขับไปไหน แต่วันดีคืนดีกลับมาใบสั่งส่งมาที่บ้าน ว่าขับรถผิดกฎหมายจราจรบ้าง ขับรถใช้ความเร็วบ้าง หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณ แนะนำให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

  • พยายามรวบรวมใบสั่งและหลักฐานที่เกี่ยวกับรถของตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น รูปพรรณสัณฐาน สัญลักษณ์หรือจุดที่แตกต่างกับรถที่สวมทะเบียนก่อนเดินทางไปที่หน่วยงานออกใบสั่ง
  • ติดต่อไปยังหน่วยงานที่ออกใบสั่ง พร้อมแจ้งข้อมูลและหลักฐานที่มีทั้งหมด รวมถึงความแตกต่างระหว่างรถยนต์ของคุณและรถยนต์คันที่สวมทะเบียนปลอม เพื่อให้ตำรวจในพื้นที่ ทำการติดต่อเช็คประวัติรถดังกล่าวกับสถานีตำรวจที่ออกใบสั่ง
  • เมื่อทำการตรวจสอบทะเบียนรถแล้ว ทางหน่วยงานที่ออกใบสั่งจะทำการยกเลิกใบสั่ง เมื่อพบว่าไม่ใช่รถคันเดียวกันจริง
  • ไปแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน โดยให้นำข้อมูลและหลักฐานที่มีไปแสดงด้วย หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะสืบสวน ตามจับรถคันที่สวมทะเบียนปลอมมาดำเนินคดีต่อไป

อย่าชะล่าใจปล่อยไว้นาน เพราะนานวันเข้าอาจโดนมองว่าจำนนต่อหลักฐานและเสียค่าปรับได้ อย่างไรก็ตาม หากตัวเราเป็นฝ่ายถูกหลอกลวง สามารถแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนมาที่สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ผ่านเว็บไซต์ tcc.or.th หรือ อินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เลย

หากสวมทะเบียนปลอม จะมีโทษอย่างไรบ้าง?

หลังจากดูวิธีรับมือกรณีที่โดนนำทะเบียนรถยนต์ไปสวมเป็นทะเบียนปลอมแล้ว มาดูในทางกลับกันว่าหากคุณเป็นคนใช้ทะเบียนปลอมเสียเอง จะมีความผิดทางกฎหมายอย่างไรบ้าง

  • กรณีที่ทำป้ายทะเบียนรถขึ้นมาเอง โดยไม่มีสิทธิใช้หมายเลขทะเบียนนั้น ทั้งผู้ที่ทำป้าย และเจ้าของรถจะมีความผิดตามมาตรา 265 ประกอบมาตรา 268 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ฐานปลอมเอกสารราชการ และใช้เอกสารราชการปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท - 100,000 บาท
  • กรณีที่มีการนำหมายเลขทะเบียนที่ทางราชการออกให้ไปใช้กับรถคันอื่น เจ้าของรถจะมีความผิดตามมาตรา 265 ฐานปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 - 10,000 บาท และมีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ซึ่งหากเป็นป้ายที่ทางราชการออกให้จริงอาจมีโทษอื่น ๆ เพิ่มขึ้นด้วย

เจอป้ายแปลก ๆ บนท้องถนน แบบนี้เป็นป้ายทะเบียนปลอมหรือเปล่า?

หลายคนอาจจะเคยเจอป้ายทะเบียนรถที่ขึ้นต้นด้วย TC หรือ QC อาจจะเกิดข้อสงสัยว่า แบบนี้ป้ายดั่งกล่าวถูกกฎหมายหรือไม่ ทำไมถึงมีการนำมาวิ่งบนท้องถนนได้ โดยเจ้าป้ายทะเบียนรถทั้ง TC และ QC มีความพิเศษ ดังนี้

  • ป้ายทะเบียนรถ TC เป็นป้ายสำหรับรถต้นแบบของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ที่ต้องนำออกมาขับเพื่อทดสอบสมรรถนะ ประสิทธิภาพ รวมไปถึงระบบการทำงานก่อนผลิตจริง จึงจำเป็นต้องมีป้ายทะเบียนเฉพาะ เพื่อให้แยกรถทดสอบเหล่านี้ออกจากรถทั่วไปได้อย่างชัดเจน ซึ่งเริ่มมีการใช้มาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2560 เป็นต้นมา
    วิธีตรวจสอบทะเบียนรถป้ายทะเบียน TC จะเป็นแผ่นป้ายโลหะพื้นสีขาวสะท้อนแสง มีเครื่องหมาย ขส ที่มุมล่างขวา บรรทัดแรกนำหน้าด้วยตัวอักษร TC ตามด้วยตัวเลขไม่เกิน 4 หลัก และบรรทัดที่สองแสดงชื่อจังหวัด เหมือนป้ายทะเบียนทุกประการ
  • ป้ายทะเบียนรถ QC อีกหนึ่งป้ายทะเบียน ที่ออกแบบมาด้วยวัตถุประสงค์คล้ายกัน แต่กลุ่ม QC จะเป็นรถยนต์ที่อยู่ขั้นตอนการทดสอบคุณภาพก่อนจำหน่าย ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนจะเหมือนป้าย TC ทุกประการ แค่เปลี่ยนอักษรเป็น QC เท่านั้น

โดยป้ายทะเบียนสำหรับการทดสอบบนท้องถนนทั้งสองชนิด จะต้องมีการติดเครื่องหมายแสดงการใช้รถให้เห็นได้อย่างชัดเจนที่ด้านหน้าและด้านท้ายรถด้านละหนึ่งแผ่น รถจักรยานยนต์ติดไว้ที่ด้านท้ายรถเหมือนป้ายทะเบียนรถทั่วไป นอกจากนี้ จะต้องมีสำเนาหนังสืออนุญาตไว้กับตัวรถตลอดระยะเวลาทดสอบ ผู้ขับรถทดสอบต้องมีใบอนุญาตขับรถตรงตามลักษณะรถเท่านั้น รวมถึงต้องมีหลักฐานการเอาประกันภัยอีกด้วย ไม่ใช่ป้ายทะเบียนปลอมแต่อย่างใด

ทุกวันนี้ความเสี่ยงเกิดขึ้นได้รอบตัว มิจฉาชีพเยอะไปหมด ดังนั้นก่อนซื้อรถยนต์มือสองแนะนำให้ตรวจสอบทะเบียนรถให้ดี รวมถึงหากเกิดเหตุโดนสวมทะเบียนปลอม ให้ปฏิบัติตามวิธีที่เราแนะนำเอาไว้ ไม่อย่างนั้นหากพวกมิจฉาชีพ นำทะเบียนรถเราไปก่อเหตุร้ายอะไรขึ้นมา จะยุ่งเข้าไปใหญ่ ทางที่ดีรีบไปลงบันทึกประจำวันเอาไว้จะดีที่สุด

ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถยนต์ ที่อยากทำประกันรถยนต์แต่ยังเลือกประกันที่ถูกใจไม่ได้ ลองเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์ โบรกเกอร์ประกันภัยที่ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความไว้วางใจ ให้คุณเลือกสรรได้เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้รถของคุณ โดยภายในเว็บไซต์มีประกันภัยรถยนต์ให้เลือกทุกประเภท มากกว่า 30 บริษัท จะเปรียบเทียบความคุ้มครอง หรือเบี้ยประกันก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่สำคัญเรายังการันตีราคาสุดคุ้ม เจอราคาถูกกว่า เราคืนส่วนต่างให้ภายใต้เงื่อนไขของบริษัทเดียวกันทันที

ไขข้อสงสัย ทะเบียนรถขาด โดนจับหรือไม่? อยากต่อทะเบียนรถต้องทำอย่างไร?

ทะเบียนรถขาด เป็นปัญหากวนใจของคนที่ต้องใช้รถทุกวัน เพราะบางทีทำงานก็ไม่มีเวลาออกไปต่อเทียน หรือตรวจทะเบียนรถมากนัก บางครั้งหากโดนตำรวจเรียกตรวจ อาจเจอปัญหาเรื่องทะเบียนรถขาดได้ ซึ่งหลายคนก็สงสัย ว่าทะเบียนรถขาด 2 ปีจะโดนจับหรือไม่? และการต่อทะเบียนรถต้องทำอย่างไร? รวมไปถึงค่าปรับ ทะเบียนรถขาด เท่าไหร่? ทะเบียนรถขาดได้กี่ปี ? เรารวบรวมคำตอบมาให้ครบ ใครเจอปัญหานี้อยู่จะได้หายข้อข้องใจ และต่อทะเบียนได้ถูกต้อง พร้อมขับรถแบบมั่นใจมากยิ่งขึ้น

ทะเบียนรถขาด คืออะไร?

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รถของคุณจะมีค่าใช้จ่ายประจำปีตามกฎหมาย พ.ร.บ รถและต่อภาษีทะเบียนรถ โดยการต่อทะเบียนรถหรือจ่ายภาษีประจำปี จะได้ป้ายสี่เหลี่ยมหรือป้ายวงกลมจากขนส่งที่ระบุวันที่ต่อภาษี ในปีถัดไป หากคุณไม่ไปทำการจ่ายภาษีตามวันที่กำหนด จะถือเป็นการขาดจ่ายภาษี ส่งผลให้ทะเบียนรถขาด คุณจึงต้องหมั่นตรวจทะเบียนรถยนต์เป็นประจำ ว่าครบกำหนดจ่ายภาษีรถยนต์หรือไม่ เพราะบางคนปล่อยให้ทะเบียนรถขาด 1 ปี บางคนปล่อยให้ทะเบียนรถขาดเกิน 5 ปี ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะอาจต้องจ่ายค่าปรับ ทะเบียนรถขาด โดยไม่รู้ตัว ส่วนทะเบียนรถขาดได้กี่ปี หลักๆ คือไม่ควรเกิน 3 ปีจะดีที่สุด

ทะเบียนรถขาด ทำธุรกรรมได้หรือไม่

เมื่อทะเบียนรถขาด หลายคนเกิดความกังวลใจ เพราะกลัวจะไม่สามารถทำธุรกรรมได้ แต่ความจริงทะเบียนรถขาดต่อภาษี ไม่เกิน 3 ปี สามารถซื้อขายรถได้ตามปกติ แต่ผู้ที่ซื้อจะต้องไปต่อทะเบียนรถด้วยตัวเอง แต่หากเป็นธุรกรรมประเภทอื่น เช่น เข้าไฟแนนซ์ จะไม่สามารถทำได้ คุณจะต้องต่อทะเบียนให้เรียบร้อย ดังนั้นก่อนจะขายต้องตรวจทะเบียนรถให้เรียบร้อย ผู้ซื้อที่ดูรถมือสองไว้ก็ต้องตรวจทะเบียนรถเช่นเดียวกัน หากได้ทะเบียนรถขาดจะได้ไปต่อได้อย่างถูกต้อง จะได้ไม่ต้องถามอีกว่าทะเบียนรถขาดได้กี่ปี

ทำอย่างไร เมื่อทะเบียนรถขาด

เริ่มต้นง่ายๆ ตรวจทะเบียนรถตัวเองก่อน ว่าทะเบียนรถขาดหรือไม่ สังเกตจากป้ายที่ได้จากการต่อภาษีล่าสุด ในป้ายจะมีการบอกวันสิ้นอายุของการต่อทะเบียนรถเอาไว้ เจ้าของรถสามารถต่อภาษีก่อนกำหนดได้ไม่เกิน 90 วัน ซึ่งเมื่อเกินกำหนดเสียภาษี และมีค่าปรับ ทะเบียนรถขาด ร้อยละ 1 ของค่าต่อทะเบียนที่ต้องชำระต่อเดือน จนถึงวันที่ชำระ ใครที่รู้ตัวว่าทะเบียนรถขาด 1 ปี ต้องรีบไปจ่ายโดยด่วน ปล่อยไว้นานต้องเสียค่าปรับ ทะเบียนรถขาดโดยไม่จำเป็นเลย

ทะเบียนรถขาด โดนจับหรือไม่?

คำถามที่หลายคนสงสัยมากที่สุด ทะเบียนรถขาด จะโดนจับหรือไม่? ลองมาดูกัน ว่าหากปล่อยให้ทะเบียนรถขาด จะโดนอะไรบ้าง

1. โดนค่าปรับ

ถ้าทะเบียนรถขาด คุณจะต้องเสียค่าปรับ 1% ทุกเดือนนับจากวันที่หมดอายุ และจะเก็บไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะต่อภาษีสำเร็จ ลองคิดภาพหากคุณปล่อยให้ทะเบียนรถขาดไปเรื่อยๆ หลายปี อาจเสียเงินค่าปรับ ทะเบียนรถขาดจำนวนสูงเลยทีเดียว ดังนั้นตรวจทะเบียนรถ และจ่ายภาษีรถยนต์อย่างถูกต้อง จะได้ขับขี่แบบมั่นใจด้วย

2. ถูกระงับทะเบียนรถ

ทะเบียนรถขาด แค่เสียค่าปรับไม่เพียงพอ! ทะเบียนรถขาด 1 ปี , ทะเบียนรถขาด 2 ปี ไม่เป็นไร เพราะหากคุณทะเบียนรถขาด 3 ปี หรือมากกว่านั้น จะต้องถูกระงับป้ายทะเบียนรถ เจ้าของรถจะต้องยื่นดำเนินการขอป้ายทะเบียนใหม่ ถือเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และใช้เวลาพอสมควร คุณจะต้องเตรียมเอกสาร เพื่อนเดินทางไปต่อที่ขนส่ง เพราะแหล่งบริการต่อภาษี ไม่สามารถดำเนินการแทนได้ ดังนั้นถ้าไม่อยากถูกระงับทะเบียนรถ ต้องไปจ่ายภาษีต่อทะเบียนรถขาดให้เรียบร้อย ข้อสำคัญไม่ควรปล่อยให้ทะเบียนรถขาด 3 ปี เพราะคุณจะต้องเสียค่าปรับ ทะเบียนรถขาดจนกระเป๋าฉีกแน่นอน ดังนั้นตรวจทะเบียนรถเป็นประจำด้วย

3. มีความผิดทางกฎหมาย

คำถามที่ว่าทะเบียนรถขาด โดนจับหรือไม่? ตอบได้เลยว่า ไม่โดนจับแต่เสียค่าปรับหนักมาก! เพราะหากคุณไม่จ่ายภาษี และไม่ต่อ พ.ร.บ. จะส่งผลให้คุณไม่สามารถต่อทะเบียนรถได้เช่นกัน หากโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบ จะต้องถูกปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท ถือเป็นค่าปรับ ทะเบียนรถขาดที่เยอะพอสมควร ไม่อยากเสียเงินหมื่น และเข้าไปสถานีตำรวจให้วุ่นวาย รีบไปต่อทะเบียนรถขาดโดยด่วน

ส่วนใครที่เกิดคำถามว่าทะเบียนรถขาดได้กี่ปี โดยถัดไปเราจะมาไขคำตอบกัน

ทะเบียนรถขาดได้กี่ปี

ใครยังไม่ได้จ่ายภาษีรถยนต์ และปล่อยให้ทะเบียนรถขาดมานาน ลองมาดูกันว่า ทะเบียนรถขาดได้กี่ปีกัน?

คำตอบคือ : ในส่วนนี้ไม่มีการกำหนด วันและเวลาที่ชัดเจน ว่าทะเบียนรถขาดได้กี่ปี แต่เป็นการกำหนดช่วงเวลาแบบกว้างๆ เอาไว้เป็นเกณฑ์ในการจ่ายภาษีรถยนต์ หากคุณปล่อยให้ทะเบียนรถขาด 1 – 3 ปี ขึ้นไป จะต้องเสียค่าปรับภาษีที่แตกต่างกัน และหากปล่อยไว้ให้ทะเบียนรถขาดเกิน 3 ปี จะต้องถูกระงับการใช้รถและต้องดำเนินการอีกหลายขั้นตอน หากใครที่ปล่อยให้ทะเบียนรถขาดเกิน 5 ปี ต้องทำเรื่องขอป้ายทะเบียนใหม่ได้เลย เพราะป้ายเก่าถูกระงับโดยอัตโนมัติเรียบร้อย ข้อสรุปทะเบียนรถขาดได้กี่ปี ย้ำชัดๆ ว่าไม่เกิน 3 ปี จะสามารถต่อทะเบียนและใช้งานได้ปกติ

อยากต่อทะเบียนรถ ต้องทำอย่างไร?

ใครที่ปล่อยให้ทะเบียนรถขาด 1 ปี หรือทะเบียนรถขาด 2 ปี ถึงเวลาต้องเสียค่าปรับให้เรียบร้อย ส่วนใครที่ใกล้ขาด ลองมาดูวิธีการต่อทะเบียนรถกัน มีดังนี้

  • การต่อภาษีรถยนต์ประจำปี สิ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ พ.ร.บ.รถยนต์ โดยถ้าเป็นรถใหม่อายุไม่เกิน 7 ปี จะต้องนำเอกสาร สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง และสำเนาบัตรประชาชน ไปซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดทั่วประเทศ , ตัวแทนประกันภัย , เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทุกสาขา แต่หาก 7 ปีขึ้นไป ต้องตรวจสอบสภาพรถยนต์และต้องได้รับการรับรองจากกรมขนส่งทางหลวงด้วย
  • ส่วนคนที่ทะเบียนรถขาด 3 ปี และทะเบียนรถขาดเกิน 5 ปี จะถูกระงับทะเบียนรถแบบอัตโนมัติ ต้องไปเสียค่าปรับ และยื่นทำทะเบียนรถใหม่ให้เรียบร้อย

อย่าให้ทะเบียนรถขาด 3 ปี

การไม่ยอมจ่ายภาษี ปล่อยให้ทะเบียนรถขาด 1 ปี หรือทะเบียนรถขาด 2 ปี อาจดูไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะเสียค่าปรับเพียงเล็กน้อย แค่ 1% จากยอดที่ต้องชำระ แต่หากปล่อยให้ทะเบียนรถขาด 3 ปี บางคนหนักกว่านั้น คือทะเบียนรถขาดเกิน 5 ปี จะโดนแจ้งจอด และมีจดหมายจากกรมขนส่ง ส่งมาตามที่อยู่ของเจ้าของรถ เพราะคุณทะเบียนรถขาด 3 ปี จะถูกระงับการใช้รถยนต์ และทะเบียนจะถูกยกเลิก ส่วนใครที่ทิ้งให้ทะเบียนรถขาดเกิน 5 ปี ต้องดำเนินการขอทะเบียนรถคันใหม่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมภาษีย้อนหลัง ถือเป็นปัญหาชวนปวดหัว หากรู้ตัวว่าทะเบียนรถขาด 1 ปี , ทะเบียนรถขาด 2 ปี ควรรีบไปจ่ายจะดีที่สุด

เอกสารที่ใช้ในการต่อทะเบียนใหม่

เอกสารที่ใช้ในการต่อทะเบียนรถใหม่ สำหรับคนที่ทะเบียนรถขาด 2 ปี , ทะเบียนรถขาด 3 ปี และทะเบียนรถขาดเกิน 5 ปี มีดังนี้

การขอทะเบียนใหม่

  • นำแผ่นป้ายและสมุดคู่มือไปให้ทางราชการ
  • ชำระภาษีย้อนหลัง สูงสุด 3 ปี
  • แจ้งขอใช้รถอีกครั้ง พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียม
  • ซื้อ พ.ร.บ. รถใหม่

เอกสารอะไรบ้างที่ต้องใช้ในการขอทะเบียนใหม่

  • บันทึกการระงับทะเบียน
  • บัตรประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริงและสำเนา)
  • พ.ร.บ. ที่ทำใหม่
  • หนังรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล / สำเนาบัตรของผู้มีอำนาจลงนาม (ถ้ารถจดทะเบียนในนามนิติบุคคล)
  • หนังสือสัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานการขาย (ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของเดิม)
  • หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (ในกรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ)

ทะเบียนรถขาดได้กี่ปี? ย้ำอีกครั้ง ว่าไม่เกิน 3 ปี ก่อนจะไปจ่ายภาษีรถยนต์ อย่าลืมเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน!

ใครที่รู้ตัวว่าทะเบียนรถขาด 1 ปี , ทะเบียนรถขาด 2 ปี , ทะเบียนรถขาด 3 ปี หรือทะเบียนรถขาดเกิน 5 ปี ถึงเวลาต้องจ่ายภาษีรถยนต์ให้ถูกต้อง เวลาขับรถบนท้องถนนจะได้ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ คุณตำรวจด้วย การต่อทะเบียนรถสมัยนี้ ทำง่ายมาก วิธีการทำได้ตามที่เราแนะนำเลย จะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะ หวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณได้สาระ และไขข้อสงสัยเรื่องทะเบียนรถขาดได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งนอกจากเรื่องของการต่อทะเบียนรถแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือการทำ ประกันภัยรถยนต์ เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็น และช่วยสร้างความสบายใจ มั่นใจ ให้กับการขับขี่ได้มากยิ่งขึ้น

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา