โปรแกรมคำนวณภาษีรถยนต์
ภาษีรถยนต์คืออะไร ทำไมต้องต่อภาษีรถยนต์?
โดยปกติแล้วสำหรับผู้ที่มีรถยนต์ จะมีค่าใช้จ่ายประจำปี ไม่ว่าจะเป็นค่าประกันรถยนต์ ค่าต่อ พ.ร.บ. รวมไปถึงค่าภาษีรถยนต์ ซึ่งรถยนต์แต่ละคันจะมีการเสียภาษีที่ต่างกัน เคยสงสัยหรือไม่ว่าเป็นเพราะอะไร แล้วการคำนวณภาษีรถยนต์มีวิธีคิดอย่างไร รวมถึงเดี๋ยวนี้คนนิยมต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์กันทั้งนั้น แล้วขั้นตอนต่อภาษีรถแบบออนไลน์เป็นอย่างไร วันนี้เราเตรียมคำตอบมาให้คุณแล้ว
ภาษีรถยนต์คืออะไร และจ่ายเพื่ออะไร?
ภาษีรถยนต์ คือ ภาษีชนิดหนึ่งที่เจ้าของรถยนต์ต้องจ่ายเป็นรายปีให้กับกรมการขนส่งทางบก เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปใช้เป็นงบประมาณเพื่อปรับปรุงการคมนาคมให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รถใช้ถนนยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับ น้ำหนักรถ อายุ และความจุของกระบอกสูบ (cc) หรือที่เรียกกันว่ากำลังเครื่องยนต์ โดยคำนวณด้วยอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได แต่ก็จะมีส่วนลดให้กับรถยนต์เก่าที่ใช้งานมาแล้วเกิน 6 ปีขึ้นไปตามกำหนดเช่นกัน ซึ่งสามารถศึกษาได้จากสูตรคำนวณภาษีรถของเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก และหลังจากที่ได้ชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว ภายใน 10 วันจะมีการจัดส่งป้ายภาษีรถยนต์ หรือ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี หรือที่เรียกกันว่าป้ายสี่เหลี่ยม ลักษณะเป็นสีชมพู-ฟ้า และระบุปีที่ป้ายภาษีนี้จะสิ้นอายุเอาไว้อย่างชัดเจน ให้ผู้ขับขี่นำมาติดที่บริเวณกระจกหน้ารถยนต์ตลอดเวลา เพราะถ้าใช้รถยนต์ที่ไม่มีเครื่องหมาย หรือหลักฐานการต่อทะเบียนรถยนต์ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท หากถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ
อย่าสับสน! ภาษี ไม่ใช่ พ.ร.บ. เพราะ พ.ร.บ. รถยนต์ คือ กฎหมายการประกันภัยภาคบังคับสำหรับรถยนต์ทุกคัน ที่จะช่วยชำระค่าเสียหายเบื้องต้นรวมถึงอาจมีสินไหมทดแทนได้ตามที่กฎหมายกำหนดหากเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินขณะขับขี่ ซึ่งแตกต่างจากภาษีอย่างสิ้นเชิง แต่สาเหตุที่คนมักจะเข้าใจผิดคิดว่าทั้งสองอย่างเหมือนกันเป็นเพราะโดยปกติ พ.ร.บ. และภาษีจะต้องดำเนินการไปคู่กัน โดยจะต้องยื่นต่อ พ.ร.บ. ก่อนแล้วจึงจะสามารถดำเนินการต่อทะเบียนรถยนต์ได้ ดังนั้นหากพ.ร.บ. ขาด ก็อาจจะโดนเอาผิดเรื่องขาดต่อภาษีรถยนต์ไปด้วยทันที
วิธีคำนวณค่าภาษีรถยนต์ 2567
ตัวอย่าง : การคำนวณภาษีรถยนต์ ของรถเก๋งอายุ 7 ปี ขนาดเครื่องยนต์ 1,300 ซีซี
600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.5 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท
600-1500 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท = (1,300 – 600) = 700 x 1.50 = 1,050 บาท
นำผลลัพธ์ทั้งสองมารวมกัน จะได้ 300 + 1,050 = 1,350 บาท
ได้รับส่วนลด 20% เพราะเป็นรถที่อายุการใช้งาน 7 ปี เท่ากับ 1,350 x 20% = 270 บาท
ดังนั้น ราคาต่อภาษีรถยนต์ ของรถเก๋งอายุ 7 ปี เครื่องยนต์ 1,300 ซีซี จะเท่ากับ 1,080 บาท
สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเสียภาษีรถยนต์ประจำปี
- การต่อภาษีรถยนต์สามารถทำได้ก่อนวันที่จะหมดอายุจริงล่วงหน้า 90 วัน
- หากมีการต่อภาษีรถยนต์ล่าช้ากว่ากำหนดตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะต้องเสียค่าปรับ ทางกฎหมายจะถือว่าเป็นการขาดต่อตั้งแต่ 1-3 ปี จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 % ต่อเดือน
- หากมีการขาดต่อภาษีรถยนต์ ติดต่อกันเกิน 3 ปีขึ้นไป จะถือว่าป้ายทะเบียนรถยนต์นั้นถูกยกเลิกทันที ต้องไปทำเรื่องขอทะเบียนใหม่ พร้อมเสียค่าปรับที่กรมการขนส่งทางบก
- รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีขึ้นได้ ต้องตรวจสภาพก่อนต่อภาษีทุกครั้ง
- ก่อนต่อภาษีรถยนต์ทุกครั้ง จำเป็นจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือประกันภัยภาคบังคับก่อน จึงสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้
ต่อภาษีรถยนต์ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง?
- สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
- ช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้แก่ เว็บไซต์ http://eservice.dlt.go.th, แอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax, แอปพลิเคชั่น mPay และ TrueMoney Wallet
- เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก สำหรับรถส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ที่ค้างการชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี
- ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ เปิดทำการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 18.00 น. และในวันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชยเวลา 09.00 - 17.00 น. โดยจะมีค่าธรรมเนียม 40 บาทและจะได้รับใบเสร็จในทันที ส่วนป้ายต่อภาษีรถยนต์จะถูกส่งไปยังที่อยู่ที่ระบุไว้ภายหลัง (กรณีที่รถยังผ่อนไม่หมดจะไม่สามารถดำเนินการได้)
- บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru For Tax) มีบริการครบวงจรให้กับรถที่ต้องตรวจสภาพกับตรอ. ด้วย
- จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส สำหรับรถส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ที่ไม่ต้องเข้าตรวจสภาพกับตรอ.เท่านั้น
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำหรับรถส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์เท่านั้น โดยจะต้องเป็นรถที่ไม่ค้างชำระหรือค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี และยื่นขอเสียภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
- ห้างสรรพสินค้าในโครงการ ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)
- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาที่ให้บริการ ได้แก่ สาขาลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล 3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่และบางนา เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
- พาราไดซ์ พาร์ค เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.
- เซ็นทรัลเวิลด์ เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 11.00 - 18.00 น.
- เซ็นทรัล สาขาที่ให้บริการ ได้แก่ สาขาศาลายา, แจ้งวัฒนะและเวสต์เกต เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.
- เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.
- ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 15.00 น.
- ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) เป็นตู้ที่ผู้ใช้บริการสามารถดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ได้ด้วยตัวเอง และสามารถเลือกชำระค่าภาษีผ่านการตัดผ่านบัญชีได้ทุกธนาคาร นอกจากนั้น ยังสามารถพิมพ์ป้ายต่อภาษีรถยนต์จากตู้โดยตรงหรือจะให้จัดส่งทางไปรษณีย์ไปที่บ้านซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 3 วันและมีค่าจัดส่ง 32 บาทก็ได้
การขาดต่อภาษีรถยนต์ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะโดนค่าปรับทุกเดือนจนอ่วม แถมอาจจะต้องเสียเวลาไปจดทะเบียนใหม่ให้ยุ่งยากในกรณีขาดต่อภาษีรถยนต์ 3 ปีขึ้นไป และเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดี นอกจากนี้ก็ยังจะทำให้ไม่สามารถทำประกันรถทั้งภาพบังคับและภาคสมัครใจได้เลย เพราะฉะนั้นทางที่ดีก็ไม่ควรจะชำระภาษีเกินเวลาหรือถ้ากลัวลืมก็ลองใช้แอปพลิเคชันของกรมการขนส่งทางบกเพื่อแจ้งเตือนวันชำระภาษีได้ และเมื่อชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว
ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ มีขั้นตอนอย่างไร?
เบื้องต้น ทางกรมขนส่งได้เปิดโอกาสให้เจ้าของรถสามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบาย ลดปัญหาเจ้าของรถไม่มีเวลาไปติดต่อเดินเรื่องภาษีรถยนต์ตามสถานที่อื่น ๆ ได้ โดยการจะต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้นั้น จะมีเงื่อนไข ดังนี้
- ต้องชำระก่อนวันที่ภาษีหมดอายุ
- ประเภทของรถที่สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ หากเป็นรถยนต์จะต้องมีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ไม่เกิน 5 ปี
- ในกรณีที่อายุรถเกินกำหนด หรือรถค้างค่าภาษีรถยนต์เกิน 1 ปี จะสามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ ก็ต่อเมื่อผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อน
สำหรับการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สามารถเสียภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่ชำระเงินค่าภาษีสำเร็จ จนถึงวันที่ได้รับเอกสารจากไปรษณีย์ รวมทั้งสิ้นประมาณ 5 วันทำการ และมีอยู่ 2 ช่องทางในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ดังนี้
- เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก ซึ่งสามารถเลือกช่องทางชำระเงิน โดยสามารถเลือกเสียภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ผ่านการหักบัญชีเงินฝาก, บัตรเครดิต, บัตรเดบิต, เคาน์เตอร์บริการต่าง ๆ หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
- แอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax สามารถดาวน์โหลดทั้ง Google Play Store และ Apple Store และสามารถเลือกช่องทางการเสียภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ SCB Easy App และ QR ชำระเงิน
หากต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนี้
- ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 32 บาท
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท
- ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) ร้อยละ 2 รวม VAT 7% ของค่าธรรมเนียม
และนอกจากการต่อภาษีออนไลน์แล้ว ยังมีช่องทางอื่น ๆ เปิดบริการให้เข้าต่อภาษีรถยนต์ได้ ดังนี้
- สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ (ไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ตาม)
- ที่ทำการไปรษณีย์
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)"
- จุดบริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีช่องทางมากมายให้ ทั้งการเสียภาษีรถยนต์ออนไลน์หรือการเดินทางไปติดต่อหน่วยงาน นอกจากนี้ยังสามารถทำได้ล่วงหน้าก่อนหมดอายุมากถึง 90 วัน ดังนั้น เพื่อป้องกันค่าปรับภาษีรถยนต์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
อัตราภาษีรถยนต์คิดอย่างไร?
ในการเก็บภาษีรถยนต์ประจำปีตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 จะแบ่งได้ทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
- เก็บภาษีรถยนต์ตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
- เก็บภาษีรถยนต์ตามน้ำหนัก
- เก็บภาษีรถยนต์เป็นรายคัน
- เก็บภาษีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า
ในส่วนของการคำนวณภาษีรถยนต์ประจำปี สามารถคำนวณได้หลายรูปแบบ สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 4 ประตู, รถเก๋ง เป็นต้น โดยการคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) โดยรายละเอียดมีดังนี้
- ตั้งแต่ 1 - 600 cc คิดอัตราภาษี cc ละ 50 สตางค์
- ตั้งแต่ 601 - 1,800 cc คิดอัตราภาษี cc ละ 1.50 บาท
- ตั้งแต่ 1,801 cc ขึ้นไป คิดอัตราภาษี cc ละ 4 บาท
ส่วนรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปก็จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้
- อายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
- อายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
- อายุการใช้งานเกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
- อายุการใช้งานเกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
- อายุการใช้งานเกิน 10 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว คือ รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- น้ำหนักรถ 0- 500 ก.ก. คิดอัตราภาษี 150 บาท
- น้ำหนักรถ 501- 750 ก.ก. คิดอัตราภาษี 300 บาท
- น้ำหนักรถ 751 - 1,000 ก.ก. คิดอัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 - 1,250 ก.ก. คิดอัตราภาษี 800 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 - 1,500 ก.ก. คิดอัตราภาษี 1,000 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 - 1,750 ก.ก. คิดอัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 - 2,000 ก.ก. คิดอัตราภาษี 1,600 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 - 2,500 ก.ก. คิดอัตราภาษี 1,900 บาท
- น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 ก.ก. คิดอัตราภาษี 2,200 บาท
- น้ำหนักรถ 3,001 – 3,500 ก.ก. คิดอัตราภาษี 2,400 บาท
- น้ำหนักรถ 3,501 – 4,000 ก.ก. คิดอัตราภาษี 2,600 บาท
- น้ำหนักรถ 4,001 – 4,500 ก.ก. คิดอัตราภาษี 2,800 บาท
- น้ำหนักรถ 4,501 – 5,000 ก.ก. คิดอัตราภาษี 3,000 บาท
- น้ำหนักรถ 5,001 – 6,000 ก.ก. คิดอัตราภาษี 3,200 บาท
- น้ำหนักรถ 6,001 – 7,000 ก.ก. คิดอัตราภาษี 3,400 บาท
- น้ำหนักรถตั้งแต่ 7,001 กิโลกรัมขึ้นไป คิดอัตราภาษี 3,600 บาท
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน คือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง โดยการคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก ดังนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 ก.ก. คิดอัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1,800 ก.ก. คิดอัตราภาษี 1,600 บาท
อัตราภาษีจัดเก็บเป็นรายคัน จะเป็นรถพิเศษ ประกอบด้วย
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
- รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
- รถพ่วงนอกจากรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถบดถนน คันละ 200 บาท
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
อัตราภาษีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
เสียภาษีรถยนต์ออนไลน์ ทำได้ที่ไหนบ้าง 2567
ช่องทางสำหรับชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์ สามารถชำระได้ตลอด 24 ชั่วโมงทั้งบนเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกและแอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax ที่สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งบน Google Play Store และ Apple Store
ขาดต่อภาษีรถยนต์ได้นานแค่ไหน?
การต่อภาษีรถยนต์หรือที่มักจะเรียกกันจนชินปากว่าการต่อทะเบียนรถยนต์เป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าของรถยนต์ทุกท่านจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นจะมีโทษอย่างแน่นอน แต่ถ้าหากว่าเกิดเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ขาดต่อภาษีรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการขาดต่อภาษีรถยนต์ 1 ปี ขาดต่อภาษีรถยนต์ 2 ปี ค่าปรับและโทษเป็นอย่างไร และเราจะสามารถขาดต่อภาษีได้กี่วัน กี่เดือน หรือกี่ปีจึงจะไม่มีค่าปรับหรือบทลงโทษใด ๆ มาอ่านไปพร้อมกันที่นี่ได้เลย!
วิธีตรวจสอบว่าขาดต่อภาษีรถยนต์หรือไม่
เนื่องจากการต่อภาษีรถยนต์จะต้องดำเนินการชำระเป็นรายปี จึงอาจจะทำให้เจ้าของรถยนต์บางท่านเกิดการหลงลืมไปว่า รถของเราต่อภาษีไปแล้วหรือยัง? ตามกำหนดการต้องต่อภาษีภายในวันไหน? เบื้องต้นเราสามารถเช็กได้จากป้ายภาษีรถยนต์ที่กระจกหน้ารถเพื่อดูวันสิ้นอายุที่เขียนไว้และดำเนินการต่อภาษีเมื่อใกล้ครบกำหนดได้ล่วงหน้า 3 เดือน หรือถ้าหากอยากจะทราบข้อมูลโดยละเอียดทั้งวันที่และจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายก็สามารถเช็กได้ง่าย ๆ ที่ ระบบสอบถามข้อมูลค่าภาษีรถประจำปีของเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก โดยระบุเพียงประเภทรถ, จังหวัด/สาขา, เลขทะเบียนรถ และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนผู้ครองครองก็สามารถตรวจสอบได้เลยด้วยตัวเอง ส่วนถ้าขาดต่อภาษีรถยนต์ 1 ปี หรือ ขาดต่อภาษีรถยนต์ 2 ปี ค่าปรับจะมากแค่ไหนมีข้อมูลให้อ่านกันแน่นอน
ขาดต่อภาษีรถยนต์ ขาดได้นานแค่ไหน?
อัตราโทษของการขาดต่อภาษีรถยนต์ คือ จะคิดค่าปรับในอัตราจำนวน 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน แปลว่าถ้าหากขาดต่อภาษีรถยนต์ไม่เกิน 1 เดือนยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติโดยไม่เสียค่าปรับ แต่ถ้าหากถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจระหว่างที่ภาษีขาด แม้ว่าจะขาดแค่วันเดียวแต่ก็มีโทษปรับถึง 20,000 บาท ดังนั้นการชำระล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน หรือชำระให้ตรงเวลาจะถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดนั่นเอง
ส่วนในกรณีที่ ขาดต่อภาษีรถยนต์ 1 ปี (ไม่เกิน 2 ปี) จะต้องเสียภาษี และถูกเรียกเก็บค่าปรับย้อนหลังตามจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายทบไปทุกเดือนที่ขาดต่อภาษี และถ้า ขาดต่อภาษีรถยนต์ 2 ปี ค่าปรับก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่ยังสามารถดำเนินการต่อภาษีด้วยขั้นตอนเดิมได้ตามปกติ แต่หากว่า ขาดต่อภาษีรถยนต์ 3 ปี ขึ้นไป จะได้รับเอกสารจากกรมการขนส่งทางบกส่งมาที่บ้านว่า รถยนต์คันดังกล่าวถูกเพิกถอนทะเบียน ไม่สามารถนำรถไปใช้ได้ทุกกรณี หากถูกตรวจพบจะโดนข้อหาใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท หลังจากที่ได้รับเอกสารยกเลิกทะเบียนรถยนต์แล้ว เจ้าของรถจะต้องนำสมุดคู่มือและแผ่นป้ายทะเบียนไปคืนสำนักงานขนส่งที่แจ้งจดทะเบียนใช้รถคันดังกล่าวไว้ เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการระงับทะเบียนภายใน 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะถูกปรับอีกไม่เกิน 1,000 บาท หลังจากนั้นก็ต้องแจ้งจดทะเบียนใหม่ พร้อมกับชำระภาษี พ.ร.บ. และค่าปรับทั้งหมดที่คำนวณมาจนถึงวันที่ดำเนินการ อีกทั้งยังต้องนำรถเข้าตรวจสภาพกับกรมขนส่งเท่านั้น และจะยังใช้รถไม่ได้จนกว่าจะได้ป้ายทะเบียนที่เป็นหมวดอักษรและตัวเลขใหม่มาใส่แทนป้ายเก่า เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้ยุ่งยากแนะนำว่าอย่าขาดต่อภาษีรถยนต์จะดีกว่า
เอกสารการต่อภาษีตามกำหนด และกรณีขาดต่อภาษีรถยนต์ 1 ปี หรือ ขาดต่อภาษีรถยนต์ 2 ปี
- คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ หรือ เล่มทะเบียนรถ ตัวจริงหรือสำเนาก็ได้ในกรณีผ่อนชำระอยู่
- ใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ ณ วันที่ดำเนินการต่อภาษี
- (รถอายุมากกว่า 7 ปี) ใบรับรองการตรวจสภาพรถ จากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
- (รถใช้ระบบแก๊ส) ใบรับรองการตรวจสภาพระบบแก๊ส โดยระบบ LPG ให้ตรวจสอบทุก 5 ปี / NGV, CNG ให้ตรวจสอบทุกปี และตรวจสอบตัวถังบรรจุแก๊ส LPG ทุก 10 ปี / NGV ทุก 5 ปี
- (กรณีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง) หนังสือมอบอำนาจ และ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ
เอกสารการต่อภาษี กรณีขาดต่อภาษีรถยนต์ 3 ปี (ต้องยื่นจดทะเบียนรถยนต์ใหม่)
- คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ หรือ เล่มทะเบียนรถ ตัวจริงหรือสำเนาก็ได้ในกรณีผ่อนชำระอยู่
- ใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ ณ วันที่ดำเนินการต่อภาษี
- หลักฐานการได้มาของรถ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ และต้องมีใบกำกับภาษีด้วย ยกเว้นรถยนต์ป้ายแดงไม่ต้องยื่นเอกสารนี้
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ จากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ หรือ หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตัวจริงพร้อมสำเนา
- ใบรับรองการตรวจสภาพระบบแก๊ส สำหรับรถยนต์ระบบแก๊สทั้ง CNG, NGV และ LPG
- หนังสือมอบอำนาจ และ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ กรณีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
- หนังสือแจ้งการจำหน่ายจากบริษัทผู้ผลิตกรณีเป็นรถนำเข้า เช่น ใบรับรองการนำเข้าจากกรมศุลกากร และใบเสร็จรับเงินค่าอากรขาเข้า
วิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ รถเกิน 7 ปี ต้องทำอย่างไร?
วิธีการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ทั้งรถยนต์ใหม่ และรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี สามารถทำตามขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
- เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ E-Service กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th
- หากเป็นผู้ใช้งานใหม่ให้เลือก “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่”
- จากนั้นให้กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน เช่น เลขบัตรประชาชน ที่อยู่ปัจจุบันหรือที่อยู่ส่งเอกสาร เบอร์มือถือ อีเมล์ รวมถึงตั้งรหัสผ่าน เมื่อเรียบร้อยแล้วให้กดบันทึกข้อมูล
- เข้าสู่ระบบด้วยเลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านที่บันทึกไว้
- เลือกไปที่หัวข้อ “ชำระภาษีรถประจำปี”
- เลือกไปที่หัวข้อ “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”
- กรอกข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ให้ครบถ้วน จากนั้นเลือกไปที่ “ลงทะเบียนรถ”
- กรอกข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ. โดยถ้าหากยังไม่ได้ซื้อ พ.ร.บ. สามารถซื้อผ่านออนไลน์ในขั้นตอนนี้ได้เลย แต่ถ้าหากว่าทำการซื้อ พ.ร.บ. ไว้แล้ว ให้เลือกไปที่ “มีแล้ว”
- เลือกไปที่หัวข้อ “กรอกที่อยู่ส่งเอกสาร” แล้วกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
- เลือกไปที่ “เลือกวิธีการชำระเงิน” จากนั้นให้เลือกวิธีการชำระเงินที่ต้องการ ซึ่งจะมีวิธีการชำระเงินให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น หักบัญชีธนาคาร ชำระผ่านบัตรเครดิต และชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ
- ตรวจสอบข้อมูลทุกอย่างให้ถูกต้อง แล้วเลือกไปที่ “ตกลง”
- จากนั้นให้ทำการชำระเงินตามวิธีการชำระเงินที่เลือก
- เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ทางกรมการขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จรับเงิน ป้ายภาษี ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ ภายใน 3-5 วันทำการ รวมถึงหากทำการซื้อ พ.ร.บ. ก็จะได้รับกรมธรรม์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมาให้ด้วยเช่นกัน
**กรณีที่เลือกชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์บริการ ผู้ต่อภาษีจะต้องพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถยนต์ และนำไปชำระเงินตามจุดรับชำระต่างๆ เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือตู้ ATM ของธนาคารที่ร่วมโครงการ
ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ รถเกิน 7 ปี มีข้อกำหนดอะไรบ้าง?
ถึงแม้ว่ารถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะสามารถต่อภาษีออนไลน์ได้แล้ว แต่ก็ยังมีเงื่อนไขและข้อกำหนดตามกฎหมายอยู่หลายข้อ ได้แก่
- รถยนต์ที่ต้องการต่อภาษีออนไลน์จะต้องไม่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี
- รถยนต์ที่ต้องการต่อภาษีออนไลน์จะต้องเป็นรถยนต์ที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด
- รถยนต์ที่ต้องการต่อภาษีออนไลน์ต้องมีสถานะทะเบียนปกติ หรือไม่ถูกระงับทะเบียน เนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปีนานติดต่อกันครบ 3 ปี
- รถยนต์ที่ต้องการต่อภาษีออนไลน์ต้องไม่ใช่รถยนต์ที่ถูกอายัด
- รถยนต์ที่ต้องการต่อภาษีออนไลน์ต้องเป็นรถยนต์ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี หรือไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ
รวมถึงรถยนต์ที่มีอายุการใช้งาน 7 ปียังต้องทำการตรวจเช็คสภาพก่อนต่อภาษีเหมือนเดิม และยังสามารถชำระภาษีล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน
จริงๆ แล้วหลักการต่อภาษีประจำปีของรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี ก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิมสักเท่าไหร่ ยังคงต้องนำรถยนต์ไปตรวจสภาพก่อนต่อภาษี ต้องเตรียมสมุดเล่มทะเบียนรถหรือสำเนาเล่มทะเบียนรถ เพื่อตรวจสอบข้อมูลและส่งไปให้กับกรมการขนส่งทางบกตามปกติ เพียงแต่สามารถทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ก็ถือว่าสะดวกสบายขึ้นในระดับหนึ่ง
นอกจากนี้ ผู้ใดนำรถไม่มีภาษีหรือรถยนต์ทะเบียนขาดมาใช้ จะมีโทษค่าปรับภาษีรถยนต์ไม่เกิน 2,000 บาท โดยทั่วไป เจ้าของรถสามารถต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน ก่อนวันหมดอายุ และเมื่อต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อย ก็จะได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว ฉะนั้นมาเพิ่มความอุ่นใจด้วยการเลือกประกันรถยนต์ที่เหมาะสมกับคุณ
ท่านสามารถต่อภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างง่ายดายแล้ว การทำประกันรถยนต์ออนไลน์ก็สะดวกสบายไม่แพ้กัน เมื่อทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ออนไลน์ ผ่าน Rabbit Care เพราะเราเป็นโบรกเกอร์ประกันรถยนต์ที่รวบรวมเอาบริษัทชั้นนำไว้มากกว่า 30 แห่ง มีประกันรถยนต์ให้เลือกหลายหลายรูปแบบ รวมถึงยังมีสิทธิพิเศษที่รับประกันได้ว่ามากกว่าที่อื่นอย่างแน่นอน
วิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านแอปฯ DLT Vehicle Tax
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
- สำหรับผู้ใช้ครั้งแรก ลงทะเบียนด้วยการกรอกชื่อ-นามสกุล อีเมล เลขประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์
- กดปุ่ม "กดเพื่อรับรหัส OTP" แล้วกรอกรหัส OTP ที่ได้รับทางอีเมล แล้วกดยืนยัน
- ตั้งรหัส PIN 6 หลัก
- สำหรับผู้เคยลงทะเบียนหรือลงทะเบียนเสร็จสิ้นแล้ว เข้าเมนู "ชำระภาษีรถ"
- เลือกรูปแบบการชำระภาษี
- กรอกข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคลผู้ครอบครองรถ
- เลือกประเภทรถที่ต้องชำระภาษี และกรอกข้อมูลทะเบียนรถ
- กรอกข้อมูลประกันภัยรถ (พ.ร.บ.)
- เลือกวิธีการรับเครื่องหมายการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์หรือที่ตู้ Kiosk เฉพาะในกรุงเทพมหานคร
- เลือกช่องทางการชำระเงินจาก SCB Easy App หรือ QR ชำระเงิน
ต่อภาษีรถยนต์ที่ที่ทำการไปรษณีย์
เจ้าของรถสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศเช่นกัน ยกเว้นกรณีที่รถยังผ่อนไม่หมดจะไม่สามารถดำเนินการได้ โดยจะมีค่าธรรมเนียม 40 บาทและจะได้รับใบเสร็จในทันที ส่วนป้ายต่อภาษีรถยนต์จะถูกส่งไปยังที่อยู่ที่ระบุไว้ภายหลัง ซึ่งที่ทำการไปรษณีย์จะเปิดทำการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 18.00 น. และในวันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชยเวลา 09.00 - 17.00 น. โดยประเภทรถที่สามารถต่อภาษีที่ทำการไปรษณีย์ได้จะเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน, รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเหมือนสำนักงานกรมการขนส่ง
ค่าธรรมเนียมต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่
ปัจจุบัน มีจุดที่ให้บริการรับชำระและต่อภาษีรถยนต์หลายจุด โดยมีทั้งจุดที่ฟรีค่าธรรมเนียมและจุดที่คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ดังนี้
- สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ : ฟรีค่าธรรมเนียม
- เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก : ค่าจัดส่งเอกสาร 32 บาท, ค่าธรรมเนียมธนาคาร 20 บาท และค่าธรรมเนียมการใช้บัตรกรณีชำระด้วยบัตรเครดิตร้อยละ 2 รวม VAT 7% ของค่าธรรมเนียม
- แอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax : ค่าจัดส่งเอกสาร 32 บาท, ค่าธรรมเนียมธนาคาร 20 บาท และค่าธรรมเนียมการใช้บัตรกรณีชำระด้วยบัตรเครดิตร้อยละ 2 รวม VAT 7% ของค่าธรรมเนียม
- บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru For Tax) : ฟรีค่าธรรมเนียม
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) : ฟรีค่าธรรมเนียม
- ห้างสรรพสินค้าในโครงการ ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax) : ฟรีค่าธรรมเนียม
- ที่ทำการไปรษณีย์ : ค่าธรรมเนียม 40 บาท
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส : มีค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท และค่าจัดส่งป้ายต่อภาษีรถยนต์ 40 บาท
- ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) : มีค่าจัดส่งเอกสาร 32 บาท
ต่อภาษีรถยนต์ที่สำนักงานขนส่ง
การต่อภาษีรถยนต์สามารถทำได้ที่สำนักงานขนส่ง ซึ่งมีสาขาอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ข้อดีของการต่อภาษีที่สำนักงานขนส่งคือ สามารถใช้บริการข้ามจังหวัดได้ ไม่ว่ารถของเราจะจดทะเบียนที่จังหวัดไหน โดยวัน - เวลาที่เปิดให้บริการจะเป็นวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. ซึ่งประเภทรถที่สามารถต่อภาษีที่สำนักงานขนส่งได้ มีดังนี้:
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
โดยสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครเองก็มีให้บริการถึง 5 พื้นที่ ได้แก่:
1. สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1
- เขตพื้นที่ : บางขุนเทียน บางคอแหลม จอมทอง ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ คลองสาน สาทร ทุ่งครุ บางบอน และยานนาวา
- ที่อยู่ : 1005 ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
- โทร : 0-2415-7337
2. สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2
- เขตพื้นที่ : ตลิ่งชัน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ หนองแขม พระนคร บางแค และทวีวัฒนา
- ที่อยู่ : 51 ถนนสวนผัก แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
- โทร : 0-2882-1620-35
3. สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3
- เขตพื้นที่ : พระโขนง ประเวศ สวนหลวง คลองเตย บางนา วัฒนา และบางจาก
- ที่อยู่ : ตรงข้ามซอยสุขุมวิท 62/1 เลขที่ 2479 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
- โทร : 0-2332-9688-91
4. สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 4
- เขตพื้นที่ : คันนายาว คลองสามวา บึงกุ่ม มีนบุรี ลาดกระบัง สะพานสูง และหนองจอก
- ที่อยู่ : 34 หมู่ 6 ถนนร่วมพัฒนา แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
- โทร : 0-2332-9688-91
5. สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5 (กรมการขนส่งทางบก)
- เขตพื้นที่ : ป้อมปราบศัตรูพ่าย ปทุมวัน ดุสิต บางซื่อ บางเขน ดินแดง จตุจักร ลาดพร้าว สายไหม สัมพันธวงศ์ บางรัก พญาไท ห้วยขวาง บางกะปิ ดอนเมือง ราชเทวี หลักสี่ และวังทองหลวง
- ที่อยู่ : 1032 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
- โทร : 0-2272-3100
ภาษีรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร หากไม่เสียภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นยังไง?
รถยนต์ไฟฟ้าได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกยานพาหนะที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากข้อดีในเรื่องของการใช้พลังงานสะอาดเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนตัวรถ ส่งผลให้ลดการปล่อยมลพิษสู่ภายนอก อันเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนและอีกหนึ่งมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันเป็นอย่างมากกับฝุ่น P.M. 2.5 ที่ดีกรีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน
อีกหนึ่งข้อดีที่ไม่พูดไม่ได้ของรถไฟฟ้านั้นก็คือเรื่องการประหยัดพลังงานและช่วยลดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง รวมไปถึงอัตราภาษีของตัวรถที่เจ้าของต้องเสียให้กับทางกรมขนส่งทางบกก็ถือว่าต่ำกว่ารถยนต์เชื้อเพลิงน้ำมันอยู่พอสมควร ภาครัฐที่เล็งเห็นโอกาสทองในครั้งนี้จึงไม่รอช้าที่จะลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้กันมากขึ้น ดังนั้นวันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์ไฟฟ้ามาเพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการตัดสินใจใช้รถประเภทนี้กัน
ภาษีรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร
ภาษีรถยนต์ไฟฟ้าหรือภาษีรถ EV คือ การเสียภาษีประเภทหนึ่งที่ผู้ครอบครองรถยนต์ไฟฟ้าต้องทำการชำระอย่างสม่ำเสมอตามกฎหมาย โดยปกติแล้วรถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการใช้กันในปกติทั่วไปก็จะมีการเสียภาษีด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากตัวรถยนต์ไฟฟ้ามีโครงสร้างของการขับเครื่องรวมถึงระบบการทำงานที่แตกต่างจากรถยนต์ในรูปแบบปกติจึงทำให้กรมการขนส่งทางบกมีการระบุการเสียภาษีรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นมาเพิ่มเติม
สำหรับเงินที่ได้จากการจัดเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้าหรือแม้แต่ภาษีรถยนต์ธรรมดาเองก็ตาม จะถูกทางภาครัฐนำไปเป็นเงินส่วนกลางเพื่อพัฒนาการคมนาคมภายในประเทศให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงทางเท้า, การก่อสร้างถนนเส้นใหม่ ๆ หรือการปรับปรุงถนนที่มีการชำรุดให้กลับมามีคุณภาพ ทำให้เงินภาษีในส่วนนี้จะถูกนำไปใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อัตราภาษีรถยนต์ไฟฟ้า
ตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ.2522 ได้มีกำหนดเกี่ยวกับการเสียภาษีของรถยนต์ที่ดำเนินการด้วยกำลังไฟฟ้าไว้อย่างชัดเจน และจากในช่วงต้นที่เราได้พอเกริ่นไว้ให้ทุกคนทราบกันคร่าว ๆ แล้วว่าภาษีรถ EV กับภาษีรถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงมีการเรียกเก็บที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากกลไกการขับเคลื่อนของระหว่างรถยนต์ทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ซึ่งอัตราภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจะใช้วิธีคิดโดยอิงจากตัวน้ำหนักของรถยนต์คันนั้น ๆ ยิ่งไปกว่านั้นตัวรถไฟฟ้าเองยังแบ่งแยกย่อยได้เป็นอีกหลายประเภท จึงส่งผลให้การเก็บภาษีรถ EV ในแต่ละชนิดมีการจัดเก็บที่แตกต่างกันไปอีก
รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลสำหรับการนั่งไม่เกิน 7
- น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม : 150 บาท
- น้ำหนัก 501 – 750 กิโลกรัม : 300 บาท
- น้ำหนัก 751 – 1,000 กิโลกรัม : 450 บาท
- น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กิโลกรัม : 800 บาท
- น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กิโลกรัม : 1,000 บาท
- น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กิโลกรัม : 1,300 บาท
- น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กิโลกรัม : 1,600 บาท
- น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กิโลกรัม : 1,900 บาท
- น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กิโลกรัม : 2,200 บาท
- น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กิโลกรัม : 2,400 บาท
- น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กิโลกรัม : 2,600 บาท
- น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กิโลกรัม : 2,800 บาท
- น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กิโลกรัม : 3,000 บาท
- น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กิโลกรัม : 3,200 บาท
- น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กิโลกรัม : 3,400 บาท
- น้ำหนัก 7,001 กิโลกรัมขึ้นไป : 3,600 บาท
รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลสำหรับการนั่งเกิน 7
- น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม : 75 บาท
- น้ำหนัก 501 – 750 กิโลกรัม : 150 บาท
- น้ำหนัก 751 – 1,000 กิโลกรัม : 225 บาท
- น้ำหนัก 1,001 – 1,250 กิโลกรัม : 400 บาท
- น้ำหนัก 1,251 – 1,500 กิโลกรัม : 500 บาท
- น้ำหนัก 1,501 – 1,750 กิโลกรัม : 650 บาท
- น้ำหนัก 1,751 – 2,000 กิโลกรัม : 800 บาท
- น้ำหนัก 2,001 – 2,500 กิโลกรัม : 950 บาท
- น้ำหนัก 2,501 – 3,000 กิโลกรัม : 1,100 บาท
- น้ำหนัก 3,001 – 3,500 กิโลกรัม : 1,200 บาท
- น้ำหนัก 3,501 – 4,000 กิโลกรัม : 1,300 บาท
- น้ำหนัก 4,001 – 4,500 กิโลกรัม : 1,400 บาท
- น้ำหนัก 4,501 – 5,000 กิโลกรัม : 1,500 บาท
- น้ำหนัก 5,001 – 6,000 กิโลกรัม : 1,600 บาท
- น้ำหนัก 6,001 – 7,000 กิโลกรัม : 1,700 บาท
- น้ำหนัก 7,001 กิโลกรัมขึ้นไป : 1,800 บาท
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล : 50 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ : 50 บาท
หากไม่เสียภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นยังไง?
นโยบายดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามือใหม่ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้อีกจำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังมีอีกหลายคนเช่นกันที่อาจหลงลืมไม่ชำระภาษีรถยนต์ไฟฟ้าตามกำหนดเวลา ต้องบอกเลยว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรลืมเด็ดขาด เพราะถ้าหากคุณไม่ยื่นเสียภาษีรถยนต์ไฟฟ้าตามที่กำหนดไว้ นอกจากจะต้องเสียค่าปรับตามที่กรมการขนส่งทางบกแจ้งไว้แล้ว ก็จะทำให้คุณมีปัญหาด้านเอกสารอื่นๆ เมื่อต้องการต่อภาษีรถยนต์อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการสร้างประวัติไม่ดีติดตัว ทำให้นอกจากค่าปรับที่อาจจะต้องเสียเพิ่ม ก็อาจถูกระงับทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าได้อีกด้วย
ดังนั้นเพื่อที่จะได้ขับรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนโดยไร้ปัญหา ทุกคนต้องอย่าลืมชำระภาษีรถยนต์ไฟฟ้าตามกำหนดเวลาด้วย สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสียภาษีรถยนต์ไฟฟ้าได้กับกรมการขนส่งทางบก นอกจากนี้แล้วเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่และป้องกันค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ประกันรถยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพียงเลือกแพ็คเกจประกันรถยนต์ที่เหมาะสมกับตัวคุณผ่านทาง แรบบิท แคร์ ซึ่งรวบรวมประกันรถยนต์จากบริษัทประกันชั้นนำทั่วประเทศไทยเอาไว้แล้วในเว็บไซต์ จะช่วยอำนวยความสะดวกของคุณ ยกระดับความปลอดภัยในการขับขี่ไปได้อีกหนึ่งขั้น
ถ้าขาดต่อภาษีรถยนต์ ประกันรถยนต์ยังคุ้มครองไหม
หากขาดต่อภาษีรถยนต์และสงสัยว่าประกันรถยนต์ยังคงคุ้มครองหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันและเงื่อนไขของกรมธรรม์ โดยรายละเอียดมีดังนี้
1. ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
- การขาดต่อภาษีรถยนต์ไม่ส่งผลต่อความคุ้มครองตามพ.ร.บ. ประกันภัยภาคบังคับนี้จะยังคงคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
- อย่างไรก็ตาม รถยนต์ถือว่าผิดกฎหมายเมื่อใช้บนถนนหากภาษีขาด และหากเจ้าหน้าที่ตรวจพบ อาจถูกปรับหรือระงับการใช้รถได้
2. ประกันภัยภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1, 2, 3 และอื่น ๆ)
- ประกันภัยภาคสมัครใจ เช่น ประกันชั้น 1, ชั้น 2+ หรือชั้น 3+ อาจยังคงให้ความคุ้มครอง แม้ว่าจะขาดต่อภาษี แต่ต้องตรวจสอบรายละเอียดของกรมธรรม์ เนื่องจากบางบริษัทประกันภัยอาจมีข้อกำหนดที่ต่างกัน
- บางบริษัทอาจยกเลิกการคุ้มครองในกรณีที่พบว่ารถยนต์ไม่มีป้ายวงกลม หรือขาดต่อภาษี เนื่องจากถือเป็นการใช้รถอย่างผิดกฎหมาย
3. เงื่อนไขเพิ่มเติมจากบริษัทประกันภัย
บางบริษัทอาจมีข้อกำหนดว่า หากขาดต่อภาษีรถยนต์ การคุ้มครองอาจถูกยกเลิก หรือจำกัดความคุ้มครองในบางกรณี เช่น การไม่รับเคลมค่าเสียหายสำหรับรถของคุณเองในอุบัติเหตุที่คุณเป็นฝ่ายผิด แต่ยังคงคุ้มครองบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย
โดยสรุปแล้ว พ.ร.บ. รถยนต์จะยังคงคุ้มครองแม้ว่าคุณขาดต่อภาษี แต่คุณอาจมีปัญหาทางกฎหมายในการใช้รถบนท้องถนน สำหรับประกันภาคสมัครใจจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกัน บางแห่งอาจยังคงคุ้มครอง แต่ควรสอบถามกับบริษัทประกันที่คุณทำไว้โดยตรงเพื่อให้แน่ใจ อย่างไรก็ตาม การต่อภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางกฎหมายและการเคลมประกัน
ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์