แคร์สุขภาพ

เบื่ออาหาร เกิดจากสาเหตุอะไร ? เป็นสัญญาณบ่งบอกโรคหรือภาวะใดบ้าง ?

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
 
Published: April 1,2024
  
Last edited: April 9, 2024

เบื่ออาหาร อาการที่หลายคนคงเคยเผชิญหน้ากับมันกันมาบ้าง ซึ่งหากโชคดีอาการดังกล่าวก็อาจมาเพียงชั่วครู่ชั่วคราว แต่ในกรณีที่มีอาการเบื่ออาหารหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ล่ะ ควรทำอย่างไร อาการเช่นนี้แท้จริงแล้วเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีการแก้ไขอย่างไร เบื่อ อาหารถือเป็นอาการที่บ่งบอกโรคหรือภาวะใดหรือไม่ ? ลองมาอ่านทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    อาการเบื่ออาหาร

    อาการเบื่ออาหาร (Loss od Appetite) คืออาการที่ผู้เป็นนั้นมีความต้องการในการรับประทานอาหารลดน้อยลง ไม่รู้สึกอยากอาหารดังเช่นปกติ ไม่ว่าจะเป็นเมนูโปรดที่เคยชื่นชอบ หรืออาหารสีสันหน้าตาแปลกใหม่ที่ไม่เคยรับประทานมาก่อนก็ล้วนแต่ไม่สามารถดึงดูดความสนใจและทำให้อยากรับประทานอาหารได้ ซึ่งอาการเบื่ออาหารนั้นมีทั้งแบบที่เป็นการเบื่อแบบชั่วคราว และอาการเบื่ออย่างรุนแรง ทั้งยังสามารถเกิดได้จากสาเหตุด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากปัญหาจากสุขภาพร่างกายหรือปัญหาจากสุขภาพจิตซึ่งสำหรับรายละเอียดส่วนนี้นั้นจะมีการกล่าวถึงโดยละเอียดในหัวข้อถัด ๆ ไป

    เบื่ออาหารชั่วคราว vs เบื่ออาหารอย่างรุนแรง

    สำหรับภาวะหรืออาการเบื่ออาหารนั้นโดยปกติเราจะพบอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน นั่นก็คืออาการเบื่ออาหารชั่วคราว ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ยาบางอย่างและได้รับผลข้างเคียงจากการรับยาตัวนั้น และจะดีขึ้นเมื่อพ้นช่วงระยะเวลาที่รับยา นอกจากนี้ก็ยังมีภาวะอาการเบื่ออาหารอย่างรุนแรง เช่น การเป็นโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคทางร่างกายหรือโรคทางด้านจิตใจ ที่อาจจะต้องได้รับการรักษาอย่างเป็นกิจจะลักษณะจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเราจะมีการพูดถึงสาเหตุของอาการเบื่ออาหารอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไปนี้เลย

    เบื่ออาหาร เกิดจากอะไร ?

    อย่างที่ได้เกริ่นไปในหัวข้อก่อนหน้าว่าอาการเบื่ออาหารนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งแน่นอนว่าก่อนจะไปถึงคำถามที่ว่าการเบื่ออาหาร แก้ยังไง ? เราก็ควรจะแน่ใจว่าอาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นอยู่กับตัวเองนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุไหนจะได้ทำการแก้ไขและรักษาได้อย่างถูกวิธี โดยสาเหตุหลัก ๆ ในการเกิดภาวะเบื่ออาหารก็จะสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ

    เกิดจากมีปัญหาสุขภาพร่างกาย 

    สำหรับผู้ที่ไม่อยากอาหารจากปัญหาสุขภาพร่างกายนั้นส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายได้รับการติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัสชนิดต่าง ๆ โดยผู้ที่มีการไม่อยากอาหารจากเชื้อเหล่านี้นั้นจะมีอาการของไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วย เช่น ไอ อ่อนเพลีย จาม ทั้งนี้หากเป็นการไม่อยากอาหารจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสก็จะกลับมาเป็นปกติได้ในเวลาไม่นาน เนื่องจากการป่วยด้วยโรคติดต่อเหล่านี้นั้นสามารถหายได้ไว 

    นอกจากปัญหาการติดเชื้อดังที่ได้กล่าวไปแล้ว การไม่อยากอาหารจากปัญหาสุขภาพก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่หลากหลายซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารที่รุนแรงและยาวนานยิ่งกว่านั้นก็คือ

    • เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
    • เป็นโรคมะเร็งรังไข่
    • เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
    • เป็นโรคมะเร็งตับอ่อน
    • เป็นโรคสมองเสื่อม
    • ภาวะหัวใจวาย
    • ภาวะตับวายเรื้อรัง
    • ภาวะไตวายเรื้อรัง
    • เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
    • เป็นโรคไฮโปไทรอยด์
    • ติดเชื้อเอชไอวี
    • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
    • ตั้งครรภ์ในช่วงแรก

    ทั้งนี้การจะทราบว่าการไม่อยากอาหารที่เป็นอยู่นั้นมีสาเหตุมาจากอะไร เมื่อไปพบแพทย์ควรบอกเล่าอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับการไม่อยากอาหาร เช่น ​​ขมปาก เบื่ออาหาร เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เบื่ออาหาร ฯลฯ

    เกิดจากมีปัญหาสุขภาพจิต

    ในส่วนของคนที่มีภาวะไม่อยากอาหารเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตนั้นมักจะเกิดในผู้ที่มีอาการซึมเศร้า ได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ รู้สึกเสียใจมาก ๆ เบื่อหน่าย มีความเครียดและความวิตกกังวลสะสม ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยนั้นมีความอยากอาหารที่ลดน้อยลง ทั้งยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น การอ่อนเพลีย ขาดแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตและทำสิ่งต่าง ๆ

    เกิดจากการใช้ยา

    สำหรับผู้ที่มีอาการเบื่ออาหารโดยมีสาเหตุมาจากการใช้ยานั้นเนื่องจากยาบางชนิดจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารที่ลดน้อยลง เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาโคเดอีน มอร์ฟีน หรือการทำเคมีบำบัดสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง และนอกจากจะเบื่ออาหารจากยารักษาโรคเหล่านี้แล้วนั้น การใช้ยาเสพติดหรือสารเสพติดก็จะส่งผลให้เบื่ออาหารเช่นกัน ได้แก่ โคเคน เฮโรอีน และแอมเฟตามีน เป็นต้น

    เบื่ออาหาร อันตรายหรือไม่ ?

    สำหรับอาการเบื่ออาหารนั้นแม้ว่าเบื้องต้นเมื่อมองผิวเผินแล้วอาจจะไม่ได้ดูเป็นอันตรายร้ายแรงสักเท่าไหร่ แต่ความจริงแล้วการเบื่ออาหารในระยะยาวส่งผลอันตรายต่อร่างกายของคนเราเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อมีความรู้สึกไม่เจริญอาหาร ไม่รับประทาน ร่างกายก็จะไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ และส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว อีกทั้งยังเพิ่มระดับความอันตรายขึ้นเมื่ออาการเบื่ออาหารนี้นั้นเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ซึ่งทาง สสส.ได้ให้ข้อมูลว่าอาการเบื่ออาหารนั้นมักพบในผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงไป บวกกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาก็สามารถทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุได้โดยง่าย และเมื่อได้รับสารอาหารไม่พอก็จะส่งผลต่อร่างกายมากกว่าที่เกิดกับในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่วัยกลางคนทั่วไป เพราะร่างกายของผู้สูงอายุนั้นมีแนวโน้มที่จะอ่อนแอกว่านั่นเอง

    ภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดร่วมกับการเบื่ออาหาร

    เมื่อมีอาการเบื่ออาหารเกิดขึ้นเป็นเวลานาน แน่นอนว่าจะต้องมีผลเสียและภาวะแทรกซ้อนในทางลบเกิดขึ้นกับร่างกาย โดยผู้ที่เบื่ออาหารเป็นระยะเวลาติดต่อกันยาวนานจะมีภาวะแทรกซ้อนที่จำเป็นต้องระวัง ดังนี้

    • มีความรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ
    • น้ำหนักตัวลดลงอย่างมาก
    • หัวใจเต้นเร็วมากจนผิดปกติ
    • หัวใจเต้นช้าลงจนผิดปกติ
    • อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง
    • มีไข้ รู้สึกไม่สบายตัว
    • มีอาการป่วยอื่น ๆ แทรกซ้อน
    • เกิดภาวะร่างกายขาดสารอาหาร

    อาการแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นอาการที่มักพบเมื่อเบื่ออาหารและไม่สามารถรับประทานอาหารตามปกติมาได้ในระยะเวลาหนึ่ง ควรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์และรับการรักษาอย่างถูกวิธี

    โรคเบื่ออาหาร วิธีแก้

    ในเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ หากมีอาการเบื่อ อาหารจะมีวิธีแก้ง่าย ๆ ดังนี้

    • ลองรับประทานเมนูโปรด
    • ลองปรับเปลี่ยนเมนูใหม่ ๆ ที่ไม่เคยลิ้มลอง
    • ลองเปลี่ยนบรรยากาศการรับประทานอาหาร
    • ลองไปทานอาหารในสถานที่ใหม่ ๆ
    • เลือกรับประทานอาหารที่มีรสชาติสดชื่น
    • ลองปรับสภาพแวดล้อมให้เย็นขึ้น

    สิ่งเหล่านี้อาจช่วยลดความเบื่อและไม่อยากทานอาหารได้ในเบื้องต้น แต่หากไม่ดีขึ้นควรเข้าพบและปรึกษาแพทย์

    เบื่ออาหารแบบไหนควรพบแพทย์ ?

    นอกจากการไม่อยากกินอาหารเป็นระยะเวลานานและมีภาวะแทรกซ้อนที่ควรไปพบแพทย์แล้ว ยังมีวิธีการสังเกตตนเอง ว่าหากมีอาการเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอให้รู้สึกเบื่ออาหารเป็นระยะเวลานาน

    • อาเจียนต่อเนื่องมากกว่า 1 วัน
    • ไม่สามารถดื่มน้ำและรับประทานของเหลวได้
    • น้ำหนักลดลงมากโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • รู้สึกเจ็บเวลารับประทานอาหาร กลืนลำบาก
    • ปัสสาวะน้อย สีเข้ม และมีกลิ่นแรง
    • มีอาการปวดท้องรุนแรงร่วมด้วย
    • การขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูก
    • อุจจาระสีผิดปกติ มีมูกเลือดปน
    • คลื่นไส้ ไม่อยากอาหารมากกว่า 3 วัน
    • ประจำเดือนมาไม่ปกติ

    สำหรับใครที่เบื่อการรับประทานอาหารและมีอาการเหล่านี้ ควรเร่งรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที ไม่ต้องรีรอ สำหรับใครที่รู้สึกว่าตนเองร่างกายไม่แข็งแรง หรือมีแนวโน้มว่าจะมีภาวะเบื่ออาหาร ไม่ว่าจะจากสาเหตุใด ๆ ขอแนะนำให้ทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ ไว้ ดูแลครอบคลุม มั่นใจ จะเป็นอะไรก็รีบไปพบคุณหมอได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายจนไม่ได้ไปสักที

    เบื่ออาหารเป็นสัญญาณบอกโรคอะไร ?

    แน่นอนว่าอาการไม่อยากอาหารนั้นถือเป็นสัญญาณบอกโรคได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคทางกาย หรือโรคทางด้านจิตใจ ทั้งนี้การสังเกตอาหารของตนเองอย่างละเอียดและแจ้งข้อมูลให้แพทย์ทราบเพื่อทำการวินิจฉัย ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยและเจอต้นเหตุของโรคได้โดยง่าย และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยเร็วที่สุดนั่นเอง

    และทั้งหมดนี้ก็ถือเป็นสิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการเบื่ออาหาร เพราะในยุคปัจจุบันนั้นมีทั้งโรคทางร่างกาย และสิ่งที่ส่งผลกระทบทางจิตใจมากมาย อาจทำให้เกิดภาวะเบื่ออาหารได้ มีความรู้ติดตัวกันไว้ จะได้ดูแลตนเองได้อย่างทันท่วงที


    สรุป

    สรุปบทความ

    อาการเบื่ออาหาร (Loss od Appetite) คือ อาการที่ผู้เป็นนั้นมีความต้องการในการรับประทานอาหารลดน้อยลง ไม่รู้สึกอยากอาหารดังเช่นปกติ ในบางรายอาการอาจหายได้เอง หรือเกิดจากผลข้างเคียงของการทานยาบางชนิด แต่หากมีอาการอื่น ๆ ดังต่ไปนี้ร่วมด้วย ควรพบแพทย์ทันที

    • อาเจียนต่อเนื่องมากกว่า 1 วัน
    • ไม่สามารถดื่มน้ำและทานของเหลวได้
    • น้ำหนักลดลงมากโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • รู้สึกเจ็บเวลาทานอาหาร กลืนลำบาก
    • ปัสสาวะน้อย สีเข้ม และมีกลิ่นแรง
    • มีอาการปวดท้องรุนแรงร่วมด้วย
    • ขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูก
    • อุจจาระสีผิดปกติ มีมูกเลือดปน
    • คลื่นไส้ ไม่อยากอาหารมากกว่า 3 วัน
    • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

    โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
    Nok Srihong
    25/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

    ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
    Nok Srihong
    22/04/2024