แคร์สุขภาพ

ประโยชน์และข้อควรระวังของ ‘น้ำอัดลม’ เครื่องดื่มยอดนิยมที่หลายคนชอบรับประทาน

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: April 11,2024
  
Last edited: July 13, 2024
น้ำอัดลม

น้ำอัดลม เครื่องดื่มยอดนิยมที่ไม่ว่าใครก็ต้องรู้จักและเคยรับประทาน เพราะนอกจากจะมีรสชาติหวานอร่อยก็ยังช่วงสร้างความรู้สึกสดชื่นให้ผู้ดื่มได้เป็นอย่างมาก แต่ก็อย่างที่เราทราบกันดีว่าหากรักสุขภาพก็ไม่ควรรับประทาน วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงนำประโยชน์ และข้อควรระวังในการดื่มน้ำอัดลม รวมถึงเกร็ดความรู้ต่าง ๆ มาฝากทุกคนกัน

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    น้ำอัดลมคืออะไร ?

    น้ำอัดลม คือเครื่องดื่มอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำโซดา มีรสชาติหวานด้วยสารให้ความหวาน เติมสี และมีการใส่วัตถุปรุงแต่งกลิ่นรส ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำที่ใช้ในการทำน้ำอัดลมนั้นเป็นน้ำสะอาดตามคุณภาพและมาตรฐานของน้ำดื่มซึ่งน้ำจะมีปริมาณ 86-93% ผสมกับน้ำตาลร้อยละ 7-14% ใส่สารปรุงแต่งกลิ่น รส และสีที่ได้จากส่วนผสมของผลไม้ ผัก หรือสมุนไพรซึ่งเป็นส่วนผสมที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นทำการอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปเพื่อให้มีรสซ่า ถือเป็นเครื่องดื่มที่เป็นแหล่งของพลังงานซึ่งร่างกายสามารถรับได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีน้ำตาลปริมาณมากเป็นส่วนประกอบ และน้ำตาลที่ใช้นั้นอยู่ในรูปของของเหลวซึ่งสามารถผ่านช่องปากลงสู่กระเพาะอาหารได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

    น้ำอัดลมทำมาจากอะไร ?

    อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าน้ำอัดลมน้ำทำจากน้ำเป็นส่วนใหญ่ ทำการนำมาผสมกับน้ำตาล และใส่สารเติมแต่งกลิ่น สี และรสชาติ ที่อาจได้มาจากผัก ผลไม้ หรือสมุนไพรต่าง ๆ จากนั้นทำการอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปนั่นเอง

    ในน้ำอัดลมประกอบไปด้วยสารอะไรบ้าง ?

    สำหรับผู้ที่ต้องการทราบว่านอกจากส่วนประกอบหลักสำหรับการทำน้ำอัดลมที่ได้แจกแจงไปแล้วนั้น ในน้ำอัดลมยังประกอบไปด้วยสารอะไรอีกบ้าง โรงพยาบาลเพชรเวชได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารที่อยู่ในน้ำอัดลมว่ามีส่วนประกอบเป็นสารต่าง ๆ ดังนี้

    • น้ำตาลซูโครส จัดเป็นสารที่อยู่ในประเภทของคาร์โบไฮเดรต ซึ่งในน้ำอัดลมปริมาณ 1 ลิตร จะให้พลังงานทั้งหมด 424 กิโลแคลอรี
    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เป็นสารเคมีที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาแทนน้ำตาล ไม่ได้เป็นสารให้ความหวานที่มาจากธรรมชาติอย่างน้ำตาลหญ้าหวานแต่อย่างใด
    • คาเฟอีน เป็นสารซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง มีสรรพคุณช่วยในการกระตุ้นการตื่นตัว ทำให้ไม่ง่วงนอน หากใช้ในปริมาณมากและติดต่อกันนานจะมีอาการเสพติด จากนั้นเมื่อไม่ได้รับสารดังกล่าวจะมีอาการนอนไม่หลับ หรือใจสั่น
    • ฟอสฟอริก คือสารที่มีความเป็นกรดสูงมาก หากบริโภคเป็นประจำจะทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรง
    • กรดคาร์บอนิก กรดชนิดนี้จะเกิดขึ้นจากการเกิดปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้น้ำ อัดลมมีฟอง ซ่า และรสชาติออกเปรี้ยวเล็กน้อย
    • สารกันบูด/วัตถุกันเสีย สารชนิดนี้จะช่วยให้น้ำ อัดลมสามารถอยู่ได้อย่างยาวนาน ไม่เน่าเสีย ป้องกันการเจริญเติบโตของยีสต์และแบคทีเรีย

    ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นสารที่เป็นส่วนผสมที่มีอยู่ในอัดลมซึ่งเมื่อได้รับในปริมาณมากล้วนแล้วแต่ส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา

    กินน้ำอัดลม ปวดท้อง

    น้ำอัดลม ประโยชน์ ข้อดี

    แน่นอนว่าเมื่อน้ำอัดลมนั้นเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ก็แสดงว่าก็ต้องมีข้อดีที่ทำให้ทุกคนอยากดื่มกันได้ แล้วข้อดีของน้ำอัดลมนั้นคืออะไร ? ลองมาดูไปพร้อมกันได้เลย

    • มีรสชาติอร่อย
    • ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
    • ช่วยทำให้รู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้
    • ช่วยเพิ่มอรรถรสระหว่างมื้ออาหาร
    • ช่วยคลายร้อนได้เป็นอย่างดี

    สิ่งเหล่านี้ก็คือข้อดีหลัก ๆ ที่น้ำอัดลมมี สำหรับเมืองไทยที่เป็นเมืองร้อนแบบนี้ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมน้ำอัดลมจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างดี เพราะข้อดีที่มาจากการดื่มน้ำอัดลมเหล่านี้นั่นเอง

    น้ำอัดลม ข้อเสีย ข้อควรระวัง

    แน่นอนว่าเมื่อมีข้อดีแล้วการดื่มน้ำอัดลมก็มีข้อเสียเช่นกัน ความจริงแล้วแม้น้ำอัดลมที่มีรสชาติอร่อย สร้างความชื่นใจให้กับผู้ดื่มได้ แต่น้ำอัดลมก็ถือเป็นเครื่องดื่มที่มีข้อเสียและข้อควรระวังในการดื่มอยู่มาก ดังนี้

    • ดื่มในปริมาณมากทำให้มีอาการท้องอืดและปวดท้อง
    • ดื่มเป็นประจำส่งผลให้ฟันผุและฟันเหลือง
    • ดื่มเป็นประจำส่งผลให้เป็นโรคอ้วนได้
    • ดื่มเป็นประจำส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานได้
    • ดื่มเป็นประจำทำให้มีภาวะความดันโลหิตสูง
    • ดื่มเป็นประจำเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ
    • ดื่มเป็นประจำเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุน
    • ดื่มเป็นประจำส่งผลให้แก่เร็ว ดูแก่กว่าวัย

    สิ่งเหล่านี้คือข้อเสียและเป็นข้อควรระวังที่ต้องคำนึงถึงสำหรับคนที่ชื่นชอบดื่มน้ำอัดลมและมักจะดื่มเป็นประจำและในปริมาณมาก ขอเตือนให้ระมัดระวังเกี่ยวกับสุขภาพ อย่าเอาแต่ตามใจปากหากป่วยมาจะไม่คุ้มกัน

    กินน้ำอัดลมแล้วปวดท้อง เพราะอะไร ?

    ทราบกันไปแล้วว่าน้ำอัดลมน้ำมีความเป็นกรดสูง แต่ความจริงแล้วกรดในน้ำ อัดลมนั้นไม่แรงพอที่จะสามารถกัดกระเพาะของเราได้เนื่องจากกรดในกระเพาะของเรามีความแรงกว่ากรดในน้ำ อัดลมมากถึง 10 เท่า แต่สาเหตุที่ทำให้เมื่อดื่มน้ำอัดลมลงไปเมื่อท้องว่างแล้วปวดท้องก็เพราะว่าเนื่องจากทั้งกรดคาร์บอนิก กรดฟอสฟอริกในนั้น อาจไปมีปฏิกิริยากับกรดที่มีอยู่ในกระเพาะอาหารอยู่แล้ว จึงส่งผลให้เรารู้สึกปวดท้องเมื่อดื่มน้ำอัดลมตอนท้องว่านั่นเอง

     ดื่มน้ำอัดลมมากเกินไป เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?

    ในการดื่มน้ำอัดลมในปริมาณมากและดื่มเป็นประจำนั้น นอกจากจะส่งผลเสียต่อร่างกายดังที่ได้กล่าวมา ยังส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้

    • โรคอ้วน (น้ำหนักเกินมาตรฐาน)
    • โรคฟันผุ
    • โรคเบาหวาน
    • โรคหลอดเลือดและหัวใจตีบตัน
    • โรคกระดูกพรุน
    • โรคสมองเสื่อม
    • โรคระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ
    • โรคหลอดเลือดสมอง 
    • โรคหัวใจ

    น้ำอัดลม ประโยชน์

    น้ำอัดลมผสมเกลือแก้ท้องเสียได้จริงไหม ?

    หลายครั้งที่เราอาจเคยได้ยินว่าการดื่มน้ำ อัดลมที่ผสมกับเกลือจะช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ ซึ่งความจริงแล้วในทางการแพทย์ไม่สามารถทำได้ดังเช่นที่โรงพยาบาลเพชรเวชให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทานน้ำอัดลมผสมเกลือเมื่อท้องเสียไว้ และแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำ อัดลมผสมเกลือเมื่อมีอาการท้องเสียอย่างเด็ดขาด เนื่องจากในน้ำอัดลมนั้นมีน้ำตาล รวมถึงสารและแก๊สต่าง ๆ ในปริมาณที่สูงมาก จึงอาจทำให้เมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของอวัยวะภายในระบบทางเดินอาหาร และทำให้อาการท้องเสีย ปวดท้อง รุนแรงมากยิ่งกว่าเดิมจนเกิดเป็นอันตรายโดยเฉพาะในเด็กและคนชราที่จะมีความเสี่ยงสูงยิ่งกว่าช่วงวัยอื่น ๆ

    ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดท้องหรือท้องเสียเกิดขึ้นเราจึงห้ามดื่มน้ำอัดลมผสมเกลืออย่างเด็ดขาด แต่ควรหาซื้อผงเกลือแร่ประเภท ORS (Oral Rehydration Salt) มารับประทาน หรือหากหาเกลือแร่ดังกล่าวไม่ได้จริง ๆ ก็อาจบรรเทาอาการด้วยการนำน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วปริมาณ 750 มิลลิลิตรจิบแทน

    วิธีดื่มน้ำอัดลมให้ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

    สำหรับผู้ที่ชื่นชอบดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำและได้รับรู้ถึงข้อเสียรวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการดื่มน้ำอัดลมกันไปแล้วแต่ก็ยังคิดว่าตนเองคงเลิกดื่มไม่ได้  แรบบิท แคร์ ก็ได้รวบรวมวิธีการดื่มน้ำอัดลมที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมาให้ ดังนี้

    • ดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ดื่มมากหรือดื่มบ่อยจนเกินไป
    • หลีกเลี่ยงการดื่มในช่วงมื้ออาหารหลัก เช่น มื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็น
    • ไม่ควรดื่มเป็นประจำจนติดเป็นนิสัยหรือดื่มจนเป็นรูทีน
    • เมื่อดื่มแล้วควรบ้วนปากหรือแปรงฟันในทันที
    • ผู้ที่มีโรคประจำตัวไม่ควรดื่ม เช่น โรคเบาหวาน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

    วิธีเหล่านี้ถือเป็นวิธีปฏิบัติตัวอย่างง่ายที่จะทำให้เราสามารถดื่มน้ำอัดลมได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเรานั่นเอง

    ได้ทราบถึงประโยชน์ ข้อเสีย รวมถึงข้อควรระวังในการดื่มน้ำอัดลมกันไปแล้ว จะเห็นได้ว่าแม้จะมีประโยชน์ในการสร้างความสดชื่นและความสุขให้กับเราได้มากยามที่ดื่มรับประทาน แต่ก็มีข้อเสียและส่งผลเสียต่อร่างกายหากดื่มในปริมาณมาก ดังนั้นในการเลือกดื่มน้ำอัดลมนั้นควรดื่มแต่พอดี ดื่มนาน ๆ ที

    นอกจากนี้ แรบบิท แคร์ ยังขอแนะนำให้ทุกคนทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ ไว้เพื่อความอุ่นใจ หากเมื่อไหร่ลืมตัวดื่มมากเกินไปจนต้องไปพบแพทย์จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล


    สรุป

    สรุปบทความ

    น้ำอัดลม คือ เครื่องดื่มที่น้ำมาผสมกับน้ำตาล และใส่สารเติมแต่งกลิ่น สี และรสชาติ ที่อาจได้มาจากผัก ผลไม้ หรือสมุนไพรต่าง ๆ จากนั้นทำการอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป โดยข้อดีของน้ำอัดลมมักเป็นการช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เพิ่มความสดชื่น คลายร้อน เนื่องจากได้รับน้ำตาล แต่ข้อเสียและข้อควรระวัง คือ หากดื่มมากเกินไป จะทำให้มีอาการท้องอืดและปวดท้อง, ส่งผลให้ฟันผุและฟันเหลือง, ดูแก่กว่าวัย รวมไปถึงการเพิ่มความเสี่ยงของโรคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงโรคกระดูกพรุนได้ ดังนั้นการดื่มแต่พอดี ไม่ดื่มเยอะจนเกินไปจะดีที่สุด

    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024