แคร์สุขภาพ

พรีไบโอติก คืออะไร จำเป็นต้องทานเสริมหรือไม่ ?

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
 
Published: April 3,2024

แน่นอนว่าสำหรับกลุ่มคนที่รักการดูแลสุขภาพ ‘พรีไบโอติก’ คงเป็นชื่อที่พอจะได้ยินผ่านหูและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เนื่องจากในปัจจุบันนั้นการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้นกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ที่ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพและการดูแลรักษารูปร่างให้ดูดีอยู่เสมอ 

แล้วเจ้า ‘พรีไบโอติก’ นั้นความจริงแล้วคืออะไรมีความสำคัญต่อร่างกายและการดูแลสุขภาพของเราอย่างไร การทานพรีไบโอติก ช่วยอะไร จำเป็นที่จะต้องรับประทานเสริมจริงหรือไม่ วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมเรื่องน่ารู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับพรีไบโอติกมาให้ เพื่อที่ทุกคนจะได้ทำความเข้าใจและนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัว

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    พรีไบโอติก คืออะไร ?

    โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพรีไบโอติกว่า พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออาหารชนิดหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิตที่ร่างกายของคนเรานั้นไม่สามารถย่อยและทำการดูดซึมได้ยังบริเวณลำไส้เล็ก ดังนั้นอาหารเหล่านี้จึงสามารถถูกลำเลียงเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้โดยที่ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่เปลี่ยนรูปและจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียที่ชื่อว่าโพรไบโอติกส์ ซึ่งจะทำให้เป็นการกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดนี้ หรืออาจกล่าวได้ว่าพรีไบโอติกส์นั้นเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ซึ่งส่วนมากนั้นจะพบได้ในกระเทียม หัวหอม ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ นั่นเอง

    พรีไบโอติกสำคัญต่อร่างกายอย่างไร ?

    สำหรับคนที่สงสัยว่าพรีไบโอติกนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายมากแค่ไหน หรือมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร กล่าวคือพรีไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งให้ประโยชน์แก่ร่างกายที่ทางการแพทย์นั้นจะเรียกว่าจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal Flora) ชนิดหนึ่งที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดีก็จะสามารถดูแลรักษาระดับจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติได้ แต่หากร่างกายอ่อนแอหรือได้รับสิ่งแปลกปลอมซึ่งก่อให้เกิดความผิดปกติต่อจุลินทรีย์ในร่างกายและทำให้เสียความสมดุลจนทำให้พรีไบโอติกจุลินทรีย์ประจำถิ่นชนิดนี้ถูกรุกรานก็จะส่งผลกระทบตามมา

    เช่น หากร่างกายของคนเราได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็จะส่งผลให้จุลินทรีย์ในร่างกายนั้นมีปริมาณลดลง และหากร่างกายได้รับเชื้ออื่นที่อาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ต่อร่างกายได้นั้นก็จะทำให้โอกาสในการสูญเสียจุลินทรีย์ภายในร่างกายเพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้การสร้างความสมดุลระหว่างจุลินทรีย์ประจำถิ่นและร่างกายนั้นจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้อย่างเด็ดขาด โดยวิธีการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ประจำถิ่นเหล่านี้ด้วยการรับประทานพรีไบโอติกเสริมเองก็ถือเป็นอีกวิธีการที่สามารถช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ประจำถิ่นภายในร่างกายของเราได้เป็นอย่างดี เพราะจะสามารถเสริมจุลินทรีย์ที่ถูกทำลายไปและปรับสมดุลให้ไปพร้อม ๆ กันนั่นเอง

    พรีไบโอติก และโพรไบโอติก ต่างกันอย่างไร ?

    แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงพรีไบโอติกแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้นั้นก็คือโพรไบโอติกเพราะทั้ง 2 สิ่งนี้ คือชื่อที่หลายคนที่เคยได้ยินคงจะได้ยินควบคู่กันอยู่เสมอและมักจะสับสนกันว่าแล้วเจ้าพรีไบโอติกและโพรไบโอติกนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร 

    อย่างที่ได้เกริ่นไปในหัวข้อก่อนหน้าแล้วว่า พรีไบโอติกเปรียบเสมือนดั่งอาหารของโพรไบโอติกซึ่งถือเป็นแหล่งพลังงานและเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้โพรไบโอติกแข็งแรงส่งผลให้โพรไบโอติกมีปริมาณที่มากพอต่อการดูแลสุขภาพ ขณะเดียวกันนั้นโพรไบโอติกนั้นก็เปรียบเสมือนทหารที่คอยป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคที่อาจเข้ามาภายในลำไส้ของเราและทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น อาการท้องอืด แน่นท้อง การเกิดท้องเสีย 

    การอักเสบของลำไส้ ช่วยในการป้องกันมะเร็งลำไส้ ช่วยดูแลระบบทางเดินอาหาร เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยในด้านการดูดซึมอาหารให้มากยิ่งขึ้น

    กล่าวคือหากจะพูดถึงความแตกต่างของพรีไบโอติกและโพรไบโอติกนั้น พรีไบโอติกก็คืออาหารของโพรไบโอติก และโพรไบโอติกคือจุลินทรีย์ที่มีหน้าที่ดูแลระบบทางเดินอาหาร เป็นสิ่งที่แตกต่างแต่ทำงานร่วมกันและจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้นั่นเอง

    พรีไบโอติก ช่วยอะไร ?

    มาถึงตรงนี้แม้จะกล่าวได้ว่าทุกคนคงทราบกันคร่าว ๆ แล้วว่าพรีไบโอติกนั้น คืออะไร แต่อาจยังมองเห็นภาพไม่ชัดเจนเท่าไหร่ว่าพรีไบโอติกนั้น ช่วยอะไร หรือมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่ง แรบบิท แคร์ ได้สรุปประโยชน์หรือข้อดีต่าง ๆ ของพรีไบโอติกมาให้ คือ

    • ช่วยสร้างเกราะป้องกันให้แก่บริเวณเยื่อบุลำไส้
    • มีส่วนช่วยสำคัญในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค
    • ช่วยในการกระตุ้นระบบย่อยอาหารโดยการช่วยสร้างเอนไซม์หลายชนิด
    • มีส่วนช่วยในการรักษาจุลินทรีย์ในร่างกายที่ที่เสียไป
    • มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

    และนี่ก็คือประโยชน์ของพรีไบโอติกที่มีต่อร่างกายของเรา จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าพรีไบโอติกนั้นมีประโยชน์และความจำเป็นต่อการดูแลระบบทางเดินอาหารของเราเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรดูแลและช่วยร่างกายเสริมสร้างพรีไบโอติกไม่ให้ขาด เพื่อที่จะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง

    พรีไบโอติกพบได้ในอาหารประเภทใดบ้าง ?

    เมื่อทราบถึงประโยชน์และความสำคัญของพรีไบโอติกกันแล้ว แรบบิท แคร์ เชื่อว่าหลายคนคงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการช่วยดูแลและเสริมสร้างอาหารของจุลินทรีย์ชนิดนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของเราจะสามารถรับพรีไบโอติกได้จากการรับประทานอาหารชนิดต่าง ๆ ดังนี้

    • ในผัก : กระเทียม หอมแดง หน่อไม้ฝรั่ง แก่นตะวัน
    • ในแป้ง และธัญพืช : ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ขนมปังโฮลวีต
    • ในถั่วเมล็ดแห้ง : ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วชิกพี
    • ในถั่วเปลือกแข็ง : เม็ดมะม่วงหิมะพานต์ พิสตาชิโอ
    • ในผลไม้ : แอปเปิ้ล กล้วย

    ทราบเช่นนี้แล้วบางคนอาจสงสัยว่าแล้ว โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวล่ะ ไม่มีส่วนช่วยในการเพิ่มพรีไบโอติกให้กับร่างกายหรือไม่ ความจริงแล้วโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวนั้น เมื่อรับประทานเข้าไปจะช่วยให้ร่างกายได้รับโพรไบโอติกเพิ่มขึ้นไม่ใช่พรีไบโอติกที่หลายคนอาจเข้าใจผิดกัน เพราะฉะนั้นหากเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมพรีไบโอติกให้กับร่างกายควบคู่ไปกับการรับประทานนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตก็จะช่วยให้สามารถเสริมสร้างจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่จะช่วยดูแลสุขภาพร่างกายของเราได้อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว

    จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมพรีไบโอติกหรือไม่ ?

    สำหรับผู้ที่อาจเกิดความสงสัยว่าในเมื่อเราสามารถเพิ่มพรีไบโอติกให้กับร่างกายด้วยการรับประทานอาหารจากธรรมชาติได้แล้ว เรายังจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเสริมช่วยเพิ่มพรีไบโอติกอีกหรือไม้ คำตอบก็คือการเลือกรับประทานอาหารเสริมเพื่อช่วยเพิ่มพรีไบโอติกนั้นจำเป็นสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารจากธรรมชาติที่จะช่วยเสริมพรีไบโอติกให้กับร่างกายอย่างเพียงพอได้ อีกทั้งยังเหมาะสำหรับผู้บางคนที่ต้องการเสริมพรีและโพรไบโอติกไปพร้อมกันแบบที่ไม่ต้องมีวินัยในการเลือกรับประทานอาหารมากมาย เพราะในปัจจุบันนั้นในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมากมายที่จะช่วยเสริมทั้งพรีและโพรไบโอติกไปพร้อมกันได้ จึงถือว่าเป็นทางเลือกที่สะดวกสบายในยุคสมัยที่มีแต่ความเร่งรีบและผู้คนมีเวลาในการดูแลตัวเองน้อยลง

    พรีไบโอติกที่วางขายในท้องตลาดเชื่อถือได้หรือไม่ ?

    ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่วางขายในท้องตลาดนั้นสามารถเชื่อถือได้ไหม เมื่อรับประทานไปแล้วจะส่งผลดีต่อร่างกายจริง ๆ หรือไม่ ? คำถามเหล่านี้ถือเป็นคำถามยอดฮิตที่หลายคนมักสงสัยก่อนตัดสินใจที่จะรับประทานอาหารเสริม โดยคำตอบของข้อสงสัยดังกล่าวก็คือ แน่นอนว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพรี ไบโอติกที่วางขายอยู่ในท้องตลาดนั้นย่อมมีความน่าเชื่อถือและส่งผลดีต่อร่างกาย เพียงแต่ว่าจะต้องเลือกดูให้แน่ใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากผู้จัดจำหน่ายที่น่าเชื่อถือได้ มีการรับรอง อย.อย่างถูกต้อง อีกทั้งการให้ความสำคัญเกี่ยวกับส่วนผสมต่าง ๆ ก็ถือเป็นตัวแปรที่สำคัญในการส่งผลต่อประสิทธิภาพและคุณประโยชน์เสริมต่าง ๆ ดังนั้นก่อนตัดสินใจที่จะเลือกซื้อมารับประทาน ควรที่จะศึกษารายละเอียดเหล่านี้ให้ดีนั่นเอง

    ข้อมูลเหล่านี้คือข้อมูลพื้นฐานที่ควรรู้เกี่ยวกับพรีไบโอติกและการดูแลสุขภาพร่างกายของเราด้วยการดูแลจุลินทรีย์ประจำถิ่น สำหรับใครที่ชื่นชอบและให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ ขอแนะนำว่านอกจากจะหมั่นรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยพรีไบโอติกและโพรไบโอติกแล้ว ยังควรทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ ไว้ เพื่อความอุ่นใจและสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างครบครัน


    สรุป

    สรุปบทความ

    พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งให้ประโยชน์แก่ร่างกาย โดยพรีไบโอติกจะเป็นอาหารให้โพรไบโอติก และโพรไบโอติกคือจุลินทรีย์ที่มีหน้าที่ดูแลระบบทางเดินอาหารส่วนมากนั้นจะพบได้ในกระเทียม หัวหอม ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ โดยประโยชน์ของพรีไบโอติกที่มีต่อร่างกายของเรา จะมีดังนี้

    • ช่วยสร้างเกราะป้องกันให้แก่บริเวณเยื่อบุลำไส้
    • ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค
    • กระตุ้นระบบย่อยอาหารโดยการช่วยสร้างเอนไซม์หลายชนิด
    • รักษาจุลินทรีย์ในร่างกายที่ที่เสียไป
    • กระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

     

    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

    โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
    Nok Srihong
    25/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

    ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
    Nok Srihong
    22/04/2024