แคร์สุขภาพ

โยคะ (Yoga) มีประโยชน์อย่างไร สามารถบำบัดทั้งร่างกายและจิตใจได้จริงหรือไม่ ?

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published April 11, 2024

โยคะ หนึ่งในศาสตร์การออกกำลังกายที่แน่นอนว่าหลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีและทราบกันถึงประโยชน์หลาย ๆ อย่างที่โยคะมีต่อร่างกายของคนเรา แต่น่าเสียดายที่มีเพียงคนกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ตัดสินใจเรียนหรือเล่นโยคะ ซึ่งคาดว่าอาจจะเป็นเพราะเหตุผลหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดทางด้านเวลา การไม่ทราบว่าโยคะนั้นมีข้อดีและมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพมากกว่าที่คิด หรือแม้กระทั่งบางคนมีความสนใจที่จะเรียนแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร

วันนี้ แรบบิท แคร์ เลยรวมรวมเรื่องราวน่ารู้มี่เกี่ยวกับ Yoga มาให้ เผื่อจะเป็นตัวช่วยในการสร้างแรงบันดาลใจและช่วยประกอบการตัดสินใจรวมถึงผลักดันให้หลาย ๆ คนหันมาดูแลสุขภาพร่างกายด้วยการเล่น Yoga เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    โยคะ คืออะไร ?

    โยคะ (Yoga) คือ การรวมกาย จิต และวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียว อาจกล่าวได้ว่าการฝึก Yoga นั้นเป็นกระบวนการสำหรับผึกกาย ฝึกการหายใจ และฝึกจิตให้มีความจดจ่อกับเรื่องลมหายใจเข้าออก เพื่อที่จะนำไปสู่การมีสมาธิที่ดีขึ้น โดยในแง่ปฏิบัตินั้นจะต้องรวมทั้ง 3 ปัจจัยข้างต้นเข้าด้วยกัน คือจะต้องทำการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ประสานลมหายใจเข้าออกกับการเคลื่อนไหว และทำจิตใจให้สงบนิ่งในระหว่างการเคลื่อนไหวนั่นเอง

    ความหมายของโยคะ

    สำหรับความหมายของโยคะนั้น คำว่า ‘โยคะ’ มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต “ยุช” แปลว่า เกาะเกี่ยว, ประสาน, ยึดและผูก, กำกับ และจดจ่อกับความตั้งใจ ใช้ประยุกต์ นอกจากนี้ ยังหมายถึงการรวมหรือร่วมกัน บางความเชื่อกล่าวว่า โยคะคือการรวมกันอย่างแท้จริงระหว่างเจตจำจงของมนุษย์กับเจตนำนงของพระเจ้า

    มหาเทว เทไส กล่าวไว้ในบทนำของหนังสือ Gita according to Gandhi (คีตาในทัศนะของคานธี) ว่า ‘โยคะจึงหมายถึงการรวมกันของพลังทั้งหมดของร่างกาย จิตใจ และ จิตวิญญาณเข้ากับพระเจ้า โยคะ หมายถึงการมีวินัยทางปัญญา จิตใจ อารมณ์ เจตจำนง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นนัยแฝงของโยคะ โยคะยังหมายถึงความสมดุขของจิตวิญญาณซึ่งช่วยให้เรามองเห็นทุกแง่มุมของชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน’ 

    ทั้งนี้ Yoga เป็นหนึ่งในระบบความเชื่อดั้งเดิมทั้งหกของปรัญชาอินเดีย ซึ่งปตัญชลี ได้รวบรวม ผสาน จัดระบบ และเรียบเรียงในรูปแบบของโศลกสั้นๆ รวม 185 โศลก เรียกว่า โยคสูตร นั่นเอง

    ประวัติความเป็นมาของโยคะ

    กองแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธาระสุขได้ให้ข้อมูลประวัติความเป็นมาของโยคะว่า โยคะ คือ ภูมิปัญญาอันเป็นนิรันดร์ของอินเดีย กำเนิดจากประเทศอินเดีย มีความผูกพันอยู่กับปรัชญาและศาสนาของฮินดู โดยมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับโยคะตั้งแต่อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุเมื่อราว 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล อีกทั้งนักประวัติศาสตร์บางคนยังเชื่อว่าโยคะนั้นมีมานานกว่า 5,000 ปีเลยทีเดียว

    โยคะ มีกี่ประเภท ?

    เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน และเป็นศาสตร์ที่มีการคิดค้นมาตั้งแต่โบราณกาล Yoga จึงมีรายละเอียดและมีการแบ่งประเภทเป็นประเภทต่าง ๆ มากมาย ดังนี้

    • หฐโยคะ (Hatha Yog ) หฐ มากจากคำ 2 คำ หะ หมายถึงพลังเย็น ส่วน ฐะ หมายถึงพลังร้อน โยคะ หมายถึง การรวมตัวกัน ดังนั้น หฐโยคะ คือ การใช้ศิลปะในการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
    • วินยาสะ (Vinyasa Yoga) ภาษาสันสกฤต แปลว่า ลมหายใจประกอบกับการเคลื่อนไหว ซึ่งการฝึกแบบวินยาสะจะมีการเคลื่อนไหวช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการกำหนดลมหายใจอย่างเป็นระบบ ทุกการเคลื่อนไหวจากท่าหนึ่ง ไปสู่อีกท่าหนึ่งจะสอดประสานด้วยลมหายใจ ช่วยเสริมสร้างทั้งความแข็งแรง และความนุ่มนวลของร่างกายและจิตใจไปในตัว
    • อัษฎางค์ โยคะ (Ashtanga Yoga) เหมาะสำหรับคนชอบเล่นท่ายาก เนื่องจากเป็นการฝึกกระบวนท่าที่ใช้ร่างกาย ลมหายใจ  และการกำหนดจุดมองของสายตา มารวมกันให้เกิดการเชื่อมต่อภายในจนเกิดการเปลี่ยนแปลง
    • อนุสรา โยคะ (Anusara Yoga) คือ การเรียนหฐโยค ให้ลึกซึ้งขึ้นในรูปแบบที่แตกต่าง ในวิธีการสอนของแก่นสารเนื้อหาความสำคัญ เป็นการฝึกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ ความสามารถในการบำบัดรักษาโรค จากจิตใจออกสู่ร่างกาย โดยการแนะนำให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ช่วยตัวเองอย่างเต็มความสามารถ  และได้ใช้ทุกส่วนของร่างกาย ทั้งจิตใจ หัวใจ ในการฝึกปฏิบัติทุกท่วงท่า
    • โยคะร้อน (Bikram Yoga) เป็นการฝึกในห้องที่มีอุณหภูมิสูง ใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกาย (ประมาณ 36-37 องศาเซลเซียส) ทำให้กล้ามเนื้อของเราสามารถยืดหยุ่นได้มากกว่าเดิม และท่าต่าง ๆ ของโยคะร้อนยังสามารถช่วยกระชับกล้ามเนื้อทุกส่วนสัดของร่างกายได้มากขึ้น 
    • ไอเยนคาร์โยคะ (Iyengar Yoga) เน้นในเรื่องการจัดท่า การจัดแนวการกระจายนํ้าหนักผ่านแขน ขา และกระดูกสันหลังอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้giupoได้ประโยชน์จากท่าต่าง ๆ โดยมีอุปกรณ์ช่วยในการฝึก เช่น เข็มขัด ผนังห้อง เก้าอี้ หมอนรอง เป็นต้น ถือเป็นโยคะพื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยความอ่อนตัวมากนัก
    • กฤปาลูโยคะ (kripalu Yoga) เน้นสมาธิมากพอ ๆ กับการปฏิบัติอาสนะ เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาด้านร่างกาย หรือผู้ที่สนใจการทำสมาธิ เรียนรู้ และทำสมาธิจากร่างกายของตัวเอง
    • พรีเนทัลโยคะ (Prenatal Yoga) เป็นโยคะที่มีการปรับท่าทางให้เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์ เป็นท่าก่อนคลอด ที่จะทำให้คุณแม่แข็งแรงทั้งตอนก่อนคลอด และหลังคลอดคุณแม่ได้ผ่อนคลายทั้งร่างกาย และจิตใจ ลดความปวดเมื่อย และจัดระเบียบสรีระที่ถูกต้องในระหว่างที่ท้องเริ่มใหญ่ขึ้น
    • เรสโตเรทีฟ โยคะ (Restorative Yoga) โยคะฟื้นฟู ผู้ฝึกไม่จำเป็นต้องป่วย หรือบาดเจ็บแต่อาจต้องการฟื้นฟูร่างกาย และจิตใจหลัง จากทำงานหนัก หรือเครียดจัด
    • หยินโยคะ (Yin Yoga) เน้นที่ความนิ่งและการค้างท่า การยืดเหยียดระดับลึกของร่างกายจนถึงเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ ไปที่ข้อต่อ และเส้นเอ็นต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างให้มีการยืดหยุ่นที่ดีขึ้น ร่วมกับการรักษาสมาธิขณะเล่น เพราะท่าการฝึกแบบหยินนั้น จะมีการค้างท่าเป็นเวลา 3-5 นาที

    ประโยชน์ของโยคะ

    • ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีมากยิ่งขึ้น
    • ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับร่างกายและข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย
    • ช่วยปรับแก้สมดุลของร่างกาย ทำให้รูปร่างและทรวดทรงดูดีขึ้น บุคลิกดีขึ้น
    • ช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัว สามารถบาลานซ์ร่างกายได้ดีขึ้น
    • ช่วยลดอาการปวดเมื่อยอันเนื่องมากจากการทำงานในชีวิตประจำวัน
    • ช่วยลดอาการปวดเมื่อยอันเนื่องมากจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
    • ช่วยผ่อนคลายความเครียดสะสมและความเครียดที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน
    • ช่วยทำให้มีสมาธิมากยิ่งขึ้น สามารถจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ดีมากยิ่งขึ้น
    • ช่วยลดการอารมณ์ร้อน ทำให้เป็นคนใจเย็นมากยิ่งขึ้น ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น
    • ช่วยให้มีสติในการทำสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เรียนรู้ที่จะคิดก่อนทำ ไม่ใจร้อนวู่วาม
    • ช่วยบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ที่มีสาเหตุมากจากความเครียดได้เป็นอย่างดี
    • ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้เป็นอย่างดี

    เรียนโยคะ ดีหรือไม่ ?

    สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยว่าการเรียนโยคะนั้นดีหรือไม่ คำตอบคือ ดี และดีมาก ๆ สำหรับการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ มั่นใจได้เลยว่าเมื่อเรียนแล้วจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของตนเองจนเหมือนเปลี่ยนเป็นคนใหม่ กล่าวได้ว่าหากเลือกเรียนโยคะแล้วจะไม่เสียใจทีหลังอย่างแน่นอน

    ไม่มีพื้นฐานมาก่อน เรียนโยคะได้ไหม ?

    ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการออกกำลังกายใด ๆ มาก่อนก็สามารถเริ่มเรียนโยคะได้ เพียงแต่หากเคยฝึกในเรื่องความยืดหยุ่นของร่างกาย การสร้างสมดุลให้กับร่างกาย มีการฝึกสมาธิอยู่แล้วเป็นประจำก็อาจทำให้การเรียนรู้นั่นง่ายขึ้นได้ แต่ถึงจะไม่มีพื้นฐานมาก่อนก็สามารถเรียนได้อย่างแน่นอน

    ใครบ้างที่เหมาะกับการเล่นโยคะ

    ความจริงแล้วการเล่น Yoga นั้นเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย แต่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการให้กับกลุ่มคนบางกลุ่มเป็นพิเศษได้ คือ

    • ผู้ที่ชอบออกกำลังกายแบบสบาย ๆ ไม่รุนแรง
    • ผู้ที่ต้องการสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
    • ผู้ที่ต้องการสร้างความยืดหยุ่นให้กับร่างกาย
    • ผู้ที่ต้องการปรับสมดุลต่าง ๆ ให้กับร่างกาย
    • ผู้ที่ชื่นชอบความสงบ เรียบง่าย
    • ผู้ที่ต้องการฝึกสมาธิไปพร้อมกับการออกกำลังกาย
    • ผู้ที่ต้องการบำบัดจิตใจและร่างกายไปพร้อม ๆ กัน

    โยคะบำบัดร่างกายและจิตใจได้จริงหรือไม่ ?

    สำหรับผู้ที่สงสัยว่าการเล่น Yoga นั้นสามารถช่วยบำบัดร่างกายและจิตใจได้จริงหรือไม่ คำตอบคือสามารถทำได้เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า Yoga คือการฝึกฝนร่างกาย และจิตใจ ทำให้ Yoga นั้นสามารถดูแลทั้งใจส่วนความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่น สร้างความผ่อนคลายให้กับร่างกาย อีกทั้งยังช่วยบำบัดจิตใจได้เป็นอย่างดี

    สรุป

    อาจกล่าวได้ว่า Yoga เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุดในการเริ่มดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป ที่ไม่ว่าใคร เพศไหน อายุเท่าไหร่ ก็สามารถเรียนโยคะได้ เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ในการดูแลสุขภาพร่างกาย และที่สำคัญต้องไม่ลืมทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ ไว้ เพื่อเป็นการวางแผนการดูแลสุขภาพในระยะยาวนั่นเอง


    สรุป

    สรุปบทความ

    โยคะนั้นเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ชอบออกกำลังกายแบบสบาย ๆ ไม่รุนแรง และไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการออกกำลังกายใด ๆ มาก่อนก็สามารถเริ่มเรียนโยคะได้ นอกจากนี้โยคะยังมีประโยชน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น, เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับร่างกาย, ลดอาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรมได้, ช่วยทำให้มีสมาธิมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้เป็นอย่างดี

    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

    โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
    Nok Srihong
    25/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

    ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
    Nok Srihong
    22/04/2024