แคร์ไลฟ์สไตล์

สถานี BTS มีทั้งหมดกี่สถานี ค่าโดยสาร BTS และเรื่องที่ควรรู้ก่อนใช้บริการ

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: August 29,2023
  
Last edited: May 24, 2024
สถานี bts

รวมเรื่องน่ารู้ก่อนใช้บริการสถานี BTS เพื่อการโดยสาร BTS คืออะไร ? มีกี่สาย สถานี BTS มีทั้งหมดกี่สถานี ราคาบัตรโดยสาร กฎระเบียบ ข้อปฏิบัติและข้อห้าม จะได้ทำความเข้าใจกันไว้ก่อนเข้าใช้บริการ ป้องกันเหตุสุดวิสัย ปลอดภัย ไม่หลงทางแน่นอน!

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    BTS คืออะไร ?

    รถไฟฟ้า BTS (Bangkok Mass Transit System) เป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีความสำคัญและเป็นที่นิยมอย่างมากในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย มีการเริ่มการให้บริการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2534 และได้รับการพัฒนาและขยายเส้นทางเพิ่มสถานี BTS ในภายหลังเพื่อตอบสนองความต้องการในการขนส่งมวลชนที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียง 

    การเลือกใช้งานสถานี BTS นับเป็นทางเลือกที่สะดวกสบายและประหยัดเวลาในการเดินทางของประชาชน เนื่องจากความเร็วในการเดินทางและการเชื่อมโยงเส้นทางกับสายรถไฟฟ้าอื่น ๆ ทำให้สามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองได้อย่างมีความสะดวกสบายและสามารถมุ่งหน้าเข้าสู่จุดศูนย์กลางของกรุงเทพฯ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น 

    นอกจากนี้ระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า BTS ยังมีบทบาทที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาการขนส่งที่แออัดในเขตใจกลางเมือง ทั้งยังช่วยลดอัตราการใช้รถส่วนตัวและมลพิษที่เกิดขึ้นจากการจราจรในพื้นที่แออัดเป็นอย่างมาก

    เส้นทาง BTS ประกอบด้วยสามสายหลัก ๆ คือ สายสีเขียว สายสีเขียวเข้ม สายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละสายจะมีป้ายแสดงสถานี BTS ปลายทางและสถานี BTS ตั้งต้น โดยปัจจุบันแต่ละสายนั้นได้รับการขยายเส้นทางเพื่อให้บริการในพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    อาจกล่าวได้ว่า BTS ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างรวดเร็วและสะดวกสบายในเมืองกรุงเทพฯ เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่สำคัญของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่และถือเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงเทพมหานครอีกด้วย

    ผู้หญิงอยู่ในรถไฟฟ้า bts

    สถานี BTS (BTS Station)

    ในส่วนของสถานี BTS นั้น ปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ให้บริการทั้งหมดกว่า 70 สถานีด้วยกัน โดยจะมีการแบ่งเส้นทางการเดินทางตามสายต่าง ๆ เพื่อมุ่งหน้าไปยังทิศทางที่แตกต่างกัน ซึ่งสถานี BTS จะแบ่งเป็นสายหลัก ๆ ดังนี้

    • สถานี BTS สายสีเขียวอ่อน (Light Green Line) – สายสุขุมวิท
    • สถานี BTS สายสีเขียวเข้ม (Dark Green Line) – สายสีลม
    • สถานี BTS สายสีม่วง (Purple Line) – สายฉลองรัชธรรม
    • สถานี BTS สายท่าอากาศยาน (Airport rail Link)
    • สถานี BTS สายสีน้ำเงิน (Blue Line) – สายเฉลิมรัชมงคล
    • สถานี BTS สายสีแดงเข้ม (Dark Red Line) 
    • สถานี BTS สายสีแดงอ่อน (Light Red Line)
    • สถานี BTS สายสีทอง (Gold Line)
    • สถานี BTS สายสีเหลือง (Yellow Line)

    นอกจากนี้ทาง BTS ยังมีการพัฒนาและขยายพื้นที่และเส้นทางการเดินรถออกไปอย่างต่อเนื่องและอยู่ระหว่างดำเนินการอีกหลายสายด้วยกัน ซึ่งเร็ว ๆ นี้ก็จะมีสถานี BTS สายใหม่เปิดให้บริการ เช่น สายสีชมพูนั่นเอง

    ค่าโดยสาร BTS

    สำหรับอัตราค่าโดยสาร BTS นั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ที่ผ่านมาทางบริษัทฯ BTS ได้ปรับราคาค่าโดยสารที่เรียกเก็บสำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสในเส้นทางสัมปทานระยะทาง 23.5 กิโลเมตร 24 สถานี ให้อยู่ในเรท 17 – 47 บาท ซึ่งโดยส่วนมากหากเดินทางเป็นระยะทางที่ไม่ไกลมากและไม่ได้มีการเดินทางโดยการเปลี่ยนสายไปมาหลายต่อค่าโดยสารก็จะอยู่ในเรทดังกล่าว 

    สำหรับใครที่ต้องการตรวจสอบค่าโดยสารเพื่อวางแผนการเดินทาง สามารถกรอกสถานี BTS ตั้งต้น และสถานี BTS ปลายทาง ได้ที่นี่ เพื่อตรวจสอบค่าโดยสารได้เลย

    วิธีชำระค่าโดยสาร สถานี BTS/บัตร BTS

    ในส่วนของการชำระค่าโดยสาร BTS นั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 วิธี 

    • ซื้อบัตรโดยสารกับเจ้าหน้าที่ : ติดต่อซื้อบัตรโดยสารกับเจ้าหน้าที่ที่ตู้ให้บริการ โดยแจ้งสถานีปลายทางที่ต้องการและชำระเงินตามอัตราค่าโดยสาร (รับเฉพาะเงินสด)
    • ซื้อบัตรโดยสารที่ตู้กดอัตโนมัติ : กดเลือกสถานีปลายทางที่ต้องการเดินทางไปที่ตู้กดอัตโนมัติซึ่งมีให้บริการอยู่ทุกสถานี จากนั้นเลือกวิธีชำระเงินที่ต้องการ และรอรับบัตรโดยสารที่เครื่องจ่ายออกมา (สามารถชำระได้ทั้งรูปแบบเงินสดและ QR Code)
    • ซื้อบัตรโดยสารแบบรายวัน One-Day Pass : สามารถติดต่อขอซื้อบัตร BTS แบบรายวันได้กับเจ้าหน้าที่ที่ตู้ให้บริการ ซึ่งการเลือกซื้อแบบนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปหลายที่ตามแนว BTS หลายสถานีใน 1 วัน จะช่วยให้ประหยัดค่า BTS เป็นอย่างดี
    • ซื้อบัตรโดยสารแบบรายเดือน : ติดต่อซื้อบัตรรายเดือนได้กับเจ้าหน้าที่ที่ตู้ให้บริการ โดยการซื้อบัตรชนิดดังกล่าวจะทำให้สามารถใช้เดินทางได้เป็นระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่ที่ได้ใช้บริการเที่ยวแรก (จำกัดเที่ยว) ซึ่งราคาบัตรโดยสารก็จะแตกต่างกันไปตามจำนวนเที่ยวที่เลือกซื้อ รวมถึง เด็ก-ผู้ใหญ่-ผู้สูงอายุ ก็จะมีราคาบัตรที่แตกต่างกัน
    • ชำระค่า BTS ด้วยบัตร Rabbit : การใช้บัตรแรบบิทในการชำระค่าโดยสาร BTS นั้นจะเป็นลักษณะของการเติมเงินเข้าไปในบัตรและใช้แตะเข้าออกยังประตูสถานี BTS แต่ละสถานี ซึ่งสามารถติดต่อขอซื้อบัตรครั้งแรกได้กับเจ้าหน้าที่ที่ตู้บริการ (ครั้งแรกมีค่าบริการซื้อบัตรแรบบิท) แต่ในการเติมเงินครั้งต่อ ๆ ไปนั้นสามารถเลือกเติมได้ทั้งกับเจ้าหน้าที่ประจำสถานี BTS หรือจะเติมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันก็ได้เช่นกัน ซึ่งบัตรแรบบิทนี้นั้นสามารถเติมเงินและนำไปใช้ซื้อสินค้า/บริการยังร้านค้าหรือตู้ให้บริการที่เข้าร่วมอื่น ๆ ได้อีกด้วย
    BTS สถานีสะพานตากสิน

    ข้อปฏิบัติ-ข้อห้ามในการขึ้นรถไฟฟ้า BTS

    • ควรอ่าน-ฟังประกาศและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
    • รักษาความสะอาดอยู่เสมอ และทิ้งขยะลงในถังที่จัดเตรียมไว้
    • หากรู้สึกไม่สบาย/ต้องการความช่วยเหลือ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ทันที
    • เมื่อพบเห็นการกระทำของบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจหรือวัตถุต้องสงสัยต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
    • ห้ามสูบบุหรี่ และนำวัตถุไวไฟ/วัตถุอันตรายเข้ามาในพื้นที่สถานี
    • ห้ามนำสัตว์ทุกประเภทเข้ามาในสถานี
    • ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในสถานี
    • ห้ามสวมรองเท้าสเกต หรือรองเท้าที่มีล้อในสถานี
    • ห้ามเล่นสเกตบอร์ดหรือขี่จักรยานในสถานี
    • ห้ามส่งเสียงดัง หรือแสดงพฤติกรรมที่ก่อความรำคาญ
    • ห้ามก่อความไม่สะดวกในการใช้บริการของผู้โดยสารท่านอื่น

    แม้ว่าการเดินทางด้วยการโดยขนส่งสาธารณะ BTS จะถือว่าเป็นการเดินทางที่มีความปลอดภัยสูง ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่คอยดูอยู่ทุกสถานี BTS อย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัยแต่เนื่องจากจำนวนผู้ใช้งานหรือผู้โดยสารซึ่งใช้บริการ BTS สถานีต่าง ๆ มีจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยงและโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ-เหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้

    ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและความอุ่นใจ ใครที่ต้องเดินทางอยู่ทุกวันจึงควรที่จะทำประกันอุบัติเหตุ กับ แรบบิท แคร์ ไว้ ไม่ว่าสถานการณ์ไหนก็สามารถคุ้มครองเพิ่มความอุ่นใจ พร้อมดูแลให้ตลอด 24 ชม.


     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    Rabbit Care Blog Image 96153

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

    การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
    Thirakan T
    27/08/2024
    Rabbit Care Blog Image 89764

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    แมวอ้วก แมวอาเจียน อันตรายไหม ? เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร ?

    ‘แมวอ้วก’ สถานการณ์ที่สำหรับเหล่าทาสแล้วคงถือเป็นเรื่องหนักอกหนักใจ ว่านายท่านแมวของเราเกิดความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติในร่างกายอย่างไรหรือไม่
    คะน้าใบเขียว
    31/05/2024