แคร์ไลฟ์สไตล์

เฉาก๊วย ขนมหวานสีดำที่หลายคนยังไม่รู้ว่าทำมาจากอะไร และมีประโยชน์อะไรซ่อนอยู่

ผู้เขียน : ONLYWONDER

นักเขียนบทความด้านประกันยานยนต์ รถยนต์ การเคลมประกันรถยนต์ ที่ Rabbit Care และ Asia Direct ตั้งใจเขียนงานให้ได้เกินครึ่งจากช่วงเวลาที่หาข้อมูล ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: July 25,2023
  
Last edited: June 3, 2024
เกี่ยวกับเฉาก๊วย

“สำหรับท่านที่เดินผ่านไปผ่านมานะครับ” เชื่อว่าประโยคนี้หลายคนที่เดินผ่านร้านเฉาก๊วยจะต้องเคยได้ยินกันมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว ถือเป็นบทพูดระดับตำนานเลยก็ว่าได้ และถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่ชื่นชอบรับประทานเฉาก๊วย เคยนึกสงสัยไหมว่า เจ้าวุ้นสีดำที่เราเห็นมันทำมาจากอะไรกันแน่ มันมีวิธีทำอย่างไร มีประโยชน์ไหม คุณค่าทางโภชนาการเป็นอย่าง ให้พลังงานเราได้กี่แคล เพื่อตอบคำถามทั้งหมดที่หลายคนสงสัย แรบบิท แคร์ ได้เตรียมข้อมูลมาพร้อมนำเสนอกันแล้ว

ต้นเฉาก๊วย

เฉาก๊วย ทำมาจากอะไร

เฉาก๊วย ทำมาจากอะไร คำตอบ คือ ทำมาจากต้นเฉาก๊วยตากแห้ง แล้วนำไปต้นให้ได้น้ำสีดำออกมา โดยมีลักษณะเป็นเมือก หลังจากที่ต้มได้พักหนึ่งต้องนำน้ำที่ได้ไปกรอง เพื่อนำมาผสมรวมกับแป้งเท้ายายม่อม หรือแป้งมันสำปะหลังต่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วทิ้งไว้ให้เย็น ก็จะได้ออกมาเป็นวุ้นสีดำสัมผัสเหนียว นุ่ม เด้ง ในแบบฉบับที่เราชื่นชอบนั่นเอง

ข้อมูลเพิ่มเติม: รู้หรือไม่ว่าต้นเฉาก๊วย ถือเป็นพืชชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ตระกูล Labiatae ประเภทเดียวกันกับสะระแหน่ โหระพา และใบแมงลัก ในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Grass Jelly

ประโยชน์ของเฉาก๊วยมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของเฉาก๊วย คือ ช่วยแก้ร้อนใน, ช่วยดับกระหาย, บรรเทาอาการเป็นหวัด, ช่วยขับเสมหะ, แก้คลื่นไส้, บรรเทาอาการเบื่ออาหาร, แก้ปวดท้อง, แก้มวนท้อง, ลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ, บรรเทาอาการตับอักเสบ, บรรเทาอาการไขข้ออักเสบ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกเหนือจากที่กล่าวมาตามแพทย์แผนจีน จะถูกนำมาต้มเหมือนชา แล้วดื่มเป็นประจำจะช่วยเรื่องความดันสูง หรือให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อคนที่เป็นเบาหวานด้วยเช่นกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม: ประโยชน์ของเฉาก๊วย หรือสรรพคุณที่กล่าวมา จะรวมทั้งในรูปแบบที่เป็นพืชดั้งเดิมและการที่ผลิตออกมาเป็นวุ้นสีดำด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม การรับประทานเฉาก๊วยในปัจจุบันต้องระวังเรื่องการเติมน้ำตาล และนมสดที่เสริมเข้าไป เพราะอาจเป็นส่วนที่ทำให้เสียสุขภาพแทนที่จะได้รับผลดีตามที่เรากล่าวมา

เฉาก๊วยวิธีทำยากไหม

เฉาก๊วยวิธีทำจะมีทั้งหมดประมาณ 7 ขั้นตอน คือ เตรียมต้นเฉาก๊วยให้สะอาด, นำต้นที่ได้ไปต้ม, เคี่ยวพักหนึ่ง, แยกต้นที่ถูกเคี่ยวออกมา, กรองน้ำ, เทผสมกับแป้ง และตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ดูผ่าน ๆ แบบนี้เหมือนแต่ละขั้นตอนจะค่อนข้างง่าย ไม่วุ่นวายเท่าไหร่นัก แต่หากลงลึกถึงวิธีการทำอย่างแท้จริง จะเห็นภาพรวมความยิบย่อย และการใช้เวลาที่มากขึ้น ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการทำมีดังนี้

  • ทำความสะอาดต้นเฉาก๊วยให้สะอาด และทิ้งไว้ให้แห้ง
  • นำต้นเฉาก๊วยของเราไปต้มกับน้ำภายใต้อัตราส่วนประมาณ 1:25 หรือ 1:50 
  • เริ่มต้นเคี่ยวด้วยการใช้เวลาประมาณ 3-5 ชั่วโมง จนเริ่มได้น้ำที่มีลักษณะข้น เป็นเมือกสีดำใส
  • แยกต้นเฉาก๊วยออกมาจากหม้อ พร้อมกับคั้นนำ้สีดำจากต้นไว้ในหม้อให้ได้มากที่สุด
  • เมื่อแยกต้นเฉาก๊วยออกมาได้หมดแล้ว ให้ทำการกรองด้วยผ้าขาวบาง อีก 1-2 ครั้ง เพื่อให้ได้แต่น้ำสีดำเพียงอย่างเดียว
  • เตรียมอ่างผสมเพื่อนำน้ำเฉาก๊วยสีดำที่เราได้จากการกรอง มาผสมเข้ากันกับแป้งเท้ายายม่อม หรือแป้งมันสำปะหลังของเรา แล้วคนให้เข้ากัน
  • ผ่านการผสมในขั้นตอนก่อนหน้าเรียบร้อยแล้ว ให้เราเทใส่พิมพ์เพื่อทิ้งไว้ให้เย็น รอให้เฉาก๊วยของเราเซตตัว จนมีสัมผัสนุ่มเด้งพร้อมรับประทาน

เห็นไหมว่าหากดูภาพรวมจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป ซึ่งเอาตามตรงก็ต้องบอกกันเลยว่ายากตั้งแต่หากต้นมาทำแล้ว พอหามาได้ก็ต้องเจอกับขั้นตอนสุดหินที่ต้องใช้ทั้งความเข้าใจ ใช้แรงประมาณหนึ่ง และใช้เวลาที่ยาวนานด้วย

เฉาก๊วย กี่แคล 

เฉาก๊วย กี่แคล โดยเฉพาะปัจจุบันที่ใช้การถนอมอาหารด้วยใส่รวมกันกับน้ำตาล ซึ่งจะมีปริมาณที่ 250 กรัม ทำให้เราได้พลังงานประมาณ 80-100 กิโลแคลอรี แต่ถ้ามีการเติมน้ำตาลทรายแดง เติมนมสด ก็จะมีค่าพลังงานกิโลแคลอรีเพิ่มขึ้นไปอีกตามอัตราส่วนที่เราใส่

เฉาก๊วย มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างไรบ้าง

โภชนาการของเฉาก๊วยจะอ้างอิงจากต้นแบบแห้ง ทำให้ได้ค่าโภชนาการออกมา 5 ส่วนดังนี้

  • คาร์โบไฮเดรต 44.95%
  • โปรตีน 8.33%
  • ไขมัน 0.39%
  • เถ้า 37.34%
  • ใยอาหาร 24.06%

เมนูจากเฉาก๊วย

แบ่งปัน 5 สูตรเฉาก๊วยแสนอร่อย

  • เฉาก๊วยนมสด เติมน้ำแข็งผสมนมสด และไซรัปคาราเมล คนให้เข้ากัน ผสมในรสที่ชื่นชอบ เทเฉาก๊วยและน้ำเชื่อมด้านบน โรยน้ำตาลทรายแดงตามชอบ
  • เฉาก๊วยกะทิสด นำน้ำเปล่าผสมกะทิ ในอัตราส่วน 1:2.5 จากนั้นเติมน้ำแข็ง เติมเฉาก๊วย โรยน้ำตาลทรายแดงตามชอบ
  • เฉาก๊วยกาแฟนม ผสมนมกับกาแฟให้ลงตัวตามชอบก่อน จากนั้นเติมเฉาก๊วยลงไป พร้อมน้ำตาลทรายแดงอีกเล็กน้อย
  • น้ำแข็งไสเฉาก๊วย เติมเฉาก๊วยลงในถ้วย ผสมนมสดนิดหน่อย โปะด้วยน้ำแข็งป่นละเอียด ราดนมข้น น้ำเชื่อม เป็นอันเสร็จ
  • เฉาก๊วยโบราณ ใส่เฉาก๊วยพร้อมนำ้เชื่อม ผสมน้ำเปล่าเล็กน้อย เติมน้ำแข็งเกล็ดเล็ก และโรยน้ำตาลทรายแดงปิดท้าย

และทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของเฉาก๊วยตั้งแต่แรกว่าทำมาจากอะไร จนถึงการแนะนำเมนูที่ทำให้คุณสดชื่น หวานเย็นได้ทุกครั้งที่รู้สึกถึงอากาศร้อน แน่นอนว่าต่อให้คุณชื่นชอบการรับประทานของหวานนี้มากขนาดไหน สิ่งที่ไม่ควรทำคือการทานเป็นประจำ รวมถึงการเติมความหวานลงไปจนมากเกิน ไม่งั้นอาจทำให้เกิดโรคตามมาได้

หากใครที่ชื่นชอบรับประทานของหวาน ทานรสจัดบ่อย ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพให้ดี พยายามลดการทานอาหารรสจัดให้น้อยลง ออกกำลังกายให้มากขึ้น ทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มอีกนิด หรือเลือกทำประกันสุขภาพเสริมอีกหน่อย เพื่อที่เราจะได้ดูแลตัวเองให้ครอบคลุมที่สุด และแน่นอนว่า แรบบิท แคร์ ของเราก็มีตัวเลือกดี ๆ จากบริษัทประกันชั้นนำระดับประเทศมานำเสนอเพียบ เพียงคลิกลิงก์ประกันสุขภาพ ลองเล่นวิดเจ็ตด้านล่าง หรือโทรสอบถามทันใจได้ที่เบอร์ 1438 ติดต่อได้ 24 ชั่วโมง

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์


     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    Rabbit Care Blog Image 96153

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

    การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
    Thirakan T
    27/08/2024
    Rabbit Care Blog Image 89764

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    แมวอ้วก แมวอาเจียน อันตรายไหม ? เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร ?

    ‘แมวอ้วก’ สถานการณ์ที่สำหรับเหล่าทาสแล้วคงถือเป็นเรื่องหนักอกหนักใจ ว่านายท่านแมวของเราเกิดความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติในร่างกายอย่างไรหรือไม่
    คะน้าใบเขียว
    31/05/2024