จำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม เสี่ยงหรือไม่ และเป็นอย่างไร
ในช่วงที่เศรษฐกิจฝืดเคืองสำหรับใครหลาย ๆ คน อาจต้องการแหล่งเงินก้อนเพื่อนำมาหมุนเวียนใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง หรือแม้แต่ใช้เพื่อประกอบธุรกิจของตัวเองก็ตาม โดยทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำเงินก้อนเหล่านี้มาได้นั่นคือการจำนำรถยนต์นั่นเอง ซึ่งการจำนำรถยนต์ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทของการจำนำรถยนต์ ซึ่งการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม มีการพูดถึงในสังคมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังรวมไปถึงมีข้อดีและข้อเสียของแต่ละประเภทที่ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะพูดถึงว่าการจำนำรถยนต์คืออย่างไร จำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม เป็นอย่างไร หากรถหลุดจำนำ ไม่มีเล่ม ควรทำอย่างไร แล้วหากรถหลุดจำนำ ไม่ติดไฟแนนซ์ มีจริงหรือไม่ สถานการณ์การผ่อนรถกี่งวดถึงจะรีไฟแนนซ์ได้ รีไฟแนนซ์รถยังผ่อนไม่หมด และเอารถเข้าไฟแนนซ์ได้หรือไม่
การจำนำรถยนต์ คืออะไร
โดยปกติแล้ว การจำนำ คือ การนำทรัพย์สินของเราเพื่อไปฝากจำนำไว้กับสถาบันทางการเงิน เช่น โรงรับจำนำ โรงรับจำนำรัฐบาล สถานธนานุบาล เป็นต้น โดยที่เราจะได้เงินมาใช้ การจำนำรถก็เช่นเดียวกัน การจำนำรถเป็นการนำรถยนต์ของเราใช้เป็นหลักประกันกับสถานที่ที่เรานำรถเข้าไปจำนำ เช่น เต็นท์รถ บุคคลที่รับจำนำรถ ซึ่งเป็นธุรกรรมที่ใช้รถยนต์เป็นหลักประกันนั่นเอง โดยรถยนต์เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงกว่าทรัพย์สินประเภทอื่น ดังนั้น ผู้ขอสินเชื่อจึงมักได้รับวงเงินที่สูงกว่าการนำทรัพย์สินประเภทอื่นไปจำนำ
ส่วนมากแล้ว การจำนำรถยนต์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือการจำนำรถแบบไม่จอด และการจำนำรถแบบไม่มีเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม
1. การจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์
การจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือการจำนำรถยนต์แบบไม่จอด คือการจำนำรถยนต์โดยที่ผู้ที่นำรถไปจำนำผ่อนรถหมดแล้ว และได้รับเล่มทะเบียนรถยนต์มา โดยการจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์เป็นการจำนำที่ผู้จำนำหรือผู้ขอสินเชื่อยังมีรถยนต์ขับอยู่ ไม่จำเป็นต้องนำรถยนต์เข้าไปจอดไว้ในเต็นท์รถ ซึ่งต่างจากการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม
ส่วนใหญ่แล้ว การจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์มักทำธุรกรรมผ่านสถาบันทางการเงินหรือบริษัทไฟแนนซ์ ทำให้การจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์มีความน่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ อีกทั้ง การจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์ไม่จำเป็นต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้กับสถาบันทางการเงินหรือบริษัทไฟแนนซ์ที่ต้องการขอสินเชื่อ ทำให้ไม่มีประวัติบันทึกในการโอนเล่มทะเบียนรถยนต์
มากไปกว่านั้น การจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์มีอัตราการผ่อนชำระที่เท่ากันทุกเดือน สามารถนำเงินก้อนมาโปะจ่ายได้ และสถาบันทางการเงินหรือบริษัทไฟแนนซ์หลายแห่งให้อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ทำให้การจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์ประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถนำเงินมาโปะจ่ายเพื่อปิดหนี้ได้เร็ว ซึ่งจะต่างจากการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่มโดยสิ้นเชิง
2. การจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม
การจำนำรถยนต์แบบไม่มีเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม เป็นการจำนำรถยนต์โดยที่ผู้ที่นำรถยนต์ไปจำนำยังผ่อนรถไม่หมด จึงยังไม่ได้รับเล่มทะเบียนรถยนต์ ซึ่งการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม เป็นการจำนำรถยนต์โดยการนำรถยนต์ไปขอสินเชื่อกับสถานที่ที่รับจำนำรถยนต์ในลักษณะของสินเชื่อรถแลกเงิน ไม่ต้องโอนเล่ม โดยการนำรถยนต์ไปจอดทิ้งไว้ที่สถานที่ที่รับจำนำรถยนต์ ส่วนใหญ่แล้วสถานที่ที่รับจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม คือเต็นท์รถ การจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม ไม่ต้องโอนเล่มทะเบียนรถยนต์ และไม่จำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน เพราะถือว่ารถยนต์เป็นทรัพย์สินที่ใช้ค้ำประกันอยู่แล้ว ทำให้การจำนำรถยนต์แบบไม่มีเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม มีขั้นตอนที่น้อยกว่าการจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์
อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่จำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม ต้องนำรถยนต์เข้าไปจอดที่เต็นท์รถ ทำให้ผู้นำรถไปจำนำไม่มีรถไว้เพื่อใช้งาน ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่จำเป็นต้องใช้รถเพื่อประกอบอาชีพ เช่น ผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขาย เจ้าของกิจการ เป็นต้น อีกทั้ง หากต้องนำรถยนต์ไปจอดทิ้งไว้เพื่อจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม อาจมีความเสี่ยงที่รถยนต์ของเราเกิดการเสื่อมสภาพที่เร็วกว่าปกติ เพราะไม่ได้รับการดูแลตามที่ควรจะเป็น อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่เต็นท์รถที่รับจำนำเอารถของเราที่ทำการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม ปล่อยให้ผู้อื่นเช่ารถ รวมไปถึงการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม มักมีดอกเบี้ยในการชำระที่ไม่ตายตัว เพราะเป็นวิธีที่จำนำโดยไม่ผ่านสถาบันการเงินหรือบริษัทไฟแนนซ์ จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าโดยปริยาย
และที่สำคัญที่สุด การจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม มีความเสี่ยงที่รถยนต์อาจหลุดจำนำ เพราะผู้จำนำผ่อนชำระไม่ไหว ทำให้ผู้จำนำถูกยึดรถยนต์ของตัวเองไปในที่สุด ดังนั้น การจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม ถึงจะเป็นวิธีการนำรถไปจำนำที่ได้เงินมารวดเร็วกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงมากกว่าเช่นเดียวกัน และรถที่หลุดจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่มอาจเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน
หากรถหลุดจำนำ ไม่มีเล่ม ควรทำอย่างไร
หากนำรถยนต์ไปจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม แล้วไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามที่กำหนด จะทำให้รถของเราหลุดจำนำทันที และส่วนใหญ่แล้ว สถานที่ที่รับจำนำรถยนต์มักทำสัญญาแบบลอย ๆ เท่านั้น ทำให้ไม่มีเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ที่นำไปจำนำ ดังนั้น กรรมสิทธิ์ของรถยนต์ที่นำไปจำนำยังคงเป็นของสถาบันทางการเงินหรือไฟแนนซ์ที่ทำการซื้อรถตั้งแต่แรกอยู่
โดยในปัจจุบัน มีหลายกรณีที่มีเต็นท์รถหรือบุคคลที่นำรถหลุดจำนำจากการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม ไปขายต่อให้กับบุคคลอื่น โดยหากบุคคลนั้นไม่ทราบถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ อาจทำให้บุคคลนั้นกระทำการผิดกฎหมาย โดยเข้าข่ายการรับซื้อของโจร อีกทั้งรถหลุดจำนำที่อาจมีเอกสารที่ถูกปลอมแปลงก็ไม่สามารถนำไปต่อพ.ร.บ. ได้อีกด้วย ดังนั้น รถยนต์ที่หลุดจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม ถือเป็นรถยนต์ที่มีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก
รถหลุดจำนำ ไม่ติดไฟแนนซ์ มีจริงหรือไม่
หากให้บอกว่ารถหลุดจำนำ ไม่ติดไฟแนนซ์ มีจริงหรือไม่ จากการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม ที่มีบางคนไม่สามารถผ่อนชำระกับเต็นท์รถหรือบุคคลที่รับจำนำรถได้ ซึ่งไม่มีการโอนเล่มทะเบียนรถยนต์ ทำให้สรุปได้ว่า ไม่มีรถหลุดจำนำคันไหนที่ไม่ติดไฟแนนซ์ เพราะกรรมสิทธิ์ของรถยนต์คันนั้น ๆ จะยังคงเป็นของสถาบันทางการเงินหรือบริษัทไฟแนนซ์ที่เราทำการซื้อรถอยู่นั่นเอง ดังนั้น การเลือกซื้อรถที่หลุดจำนำโดยที่มีคำโฆษณาว่า รถหลุดจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม รถหลุดจำนำ ไม่ติดไฟแนนซ์ ถือว่าไม่เป็นความจริง ถึงแม้ว่าจะปล่อยรถหลุดจำนำจะมีราคาถูกกว่าราคาตลาด หรือรถมือสองเป็นอย่างมาก รวมถึงสภาพรถอาจจะเทียบเท่ากับรถมือสองสภาพดีก็ตาม แต่ไม่แนะนำให้เลือกซื้อรถหลุดจำนำ ทั้งรถหลุดจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม และรถหลุดจำนำ ไม่ติดไฟแนนซ์ เด็ดขาด เพราะรถที่หลุดจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่มส่วนใหญ่แล้วมักเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย
ผ่อนรถกี่งวดถึงจะรีไฟแนนซ์ได้ รีไฟแนนซ์รถยังผ่อนไม่หมดได้ไหม
สำหรับคำถามการรีไฟแนนซ์ เช่น ผ่อนรถกี่งวดถึงจะรีไฟแนนซ์ได้ รีไฟแนนซ์รถยังผ่อนไม่หมดได้ไหม หรือเอารถเข้าไฟแนนซ์ได้หรือไม่ ก่อนอื่น การรีไฟแนนซ์รถ หรือการเอารถเข้าไฟแนนซ์ หมายถึงการขอสินเชื่อใหม่เพื่อชำระหนี้ที่ยังคงมีอยู่ โดยการขอรีไฟแนนซ์มักจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า หรืออัตราดอกเบี้ยที่เท่าเดิม แต่จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการขอสินเชื่อ การรีไฟแนนซ์สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเดิมที่มีการขอสินเชื่อครั้งแรก หรือสามารถขอรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินที่ใหม่ได้
ถึงแม้ว่าสถาบันทางการเงินหลายแห่งจะไม่ได้ระบุว่าต้องผ่อนรถกี่งวดถึงจะรีไฟแนนซ์ได้ แต่โดยหลักปฏิบัติแล้ว สถาบันทางการเงินจะรับพิจารณาการรีไฟแนนซ์หากมีการผ่อนรถยนต์มาแล้วกึ่งหนึ่งของระยะเวลาสัญญา หรือทำการผ่อนรถยนต์แล้วเป็นจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของยอดหนี้ เช่น หากสัญญาสินเชื่อระบุไว้ว่ามีระยะเวลาผ่อนรถ 7 ปี จะสามารถยื่นขอรีไฟแนนซ์ได้เมื่อทำการผ่อนไปแล้ว 3 ปี 6 เดือน หรือหากยอดหนี้ของรถยนต์อยู่ที่ 1 ล้านบาท หากผ่อนจ่ายไปแล้วมากกว่าหรือเท่ากับ 5 แสนบาท ก็จะสามารถเอารถเข้าไฟแนนซ์ได้เช่นกัน
จากความรู้ของการจำนำรถยนต์ โดยเฉพาะการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม ทำให้เราทราบถึงวิธีการนำรถยนต์ไปจำนำ ทั้งการจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์ และการจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่ม รวมไปถึงสถานการณ์ของรถที่หลุดจำนำ การนำรถเข้าไฟแนนซ์หรือการขอรีไฟแนนซ์ ดังนั้น เราจึงควรเลือกสถาบันการเงินหรือบริษัทไฟแนนซ์ที่น่าเชื่อถือที่สามารถให้สินเชื่อรถยนต์ที่ตรงตามความต้องการของเรามากที่สุด เช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำ วงเงินสูง และโดยเฉพาะการที่เรายังมีรถขับเพื่อใช้งานอยู่ เพื่อให้เราสามารถนำทั้งเงินก้อนและรถนำไปใช้เพื่อใช้จ่ายตามความต้องการของเราในชีวิตประจำวันได้ สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกคนมีสติในการใช้จ่าย และไม่แนะนำให้ยุ่งเกี่ยวกับรถที่หลุดจำนำรถยนต์ ไม่มีเล่มนะ
เทียบกันชัด ๆ สินเชื่อเจ้าไหน
ผู้อนุมัติสินเชื่อรถยนต์ | วงเงินอนุมัติสูงสุด | ระยะเวลา | ดอกเบี้ยเริ่มต้น | ผ่อนเริ่มต้น | รถผ่อนอยู่ | ไม่ต้องมีคนค้ำ |
สินเชื่อรถช่วยได้ ลีสซิ่งกสิกรไทย | 100% ของราคาประเมิน | 72 เดือน | - | 1,710 บาท/เดือน* | ✔️ | ✔️ |
คาร์ฟอร์แคช สินเชื่อเพื่อคนมีรถ | 100% ของราคาประเมิน | 84 เดือน | เริ่มต้น | 1,647 บาท /เดือน* | ✔️ | ✔️ |
สินเชื่อรถกู้เงินด่วน คาร์ควิกแคช ธนาคารเกียรตินาคินภัทร | 150% ของราคาประเมิน | 72 เดือน | เริ่มต้น | 1,792 บาท/เดือน* | ✔️ | ✔️ |
สินเชื่อรถคือเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ | วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท | 84 เดือน | เริ่มต้น | 58 บาท/วัน* | ✔️ | ✔️ |
หมายเหตุ: *เงื่อนไขเป็นไปตามบริษัทฯ ผู้ให้อนุมัติกำหนด
สินเชื่อรถยนต์ที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ