Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบบัตรเครดิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

หนี้นอกระบบ
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Sep 12, 2023

หนี้นอกระบบ คืออะไร? ต้องมีสัญญาไหม? ผิดกฎหมายไทยหรือไม่?

ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือช่วงโควิดที่ผ่านมา เชื่อว่าหลาย ๆ ธุรกิจต้องปิดตัวลง หรือบางธุรกิจจต้องกู้ยืมเงินจากที่ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ มีหลายคนยังไม่รู้ว่า การกู้เงินนอกระบบมีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง บางครั้งอาจทำให้เป็นหนี้นอกระบบได้ ดังนั้นก่อนการลงทุนหรือตัดสินใจทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ ควรศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขให้ดีก่อนทุกครั้ง ไม่เช่นนั้นแล้วอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาทีหลังก็เป็นได้ น้องแคร์จะพาทุกคนมารู้จักกับหนี้นอกระบบกันว่ามันคืออะไร มีความเสี่ยงหรือข้อเสียอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!

หนี้นอกระบบ คืออะไร?

หนี้นอกระบบ คือหนึ่งในหนี้เงินกู้ที่กฎหมายไทยได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.25 ต่อเดือน มีทั้งแบบหนี้ระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งทั้งสองประเภทนี้มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปในเรื่องของการคิดและเก็บดอกเบี้ย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

• หนี้ระยะสั้น

เจ้าหนี้จะตามเก็บดอกเบี้ยเป็นรายวัน โดยคุณต้องจ่ายทั้งเงินต้นที่จำเป็นต้องจ่ายในแต่ละวันรวมถึงดอกเบี้ยด้วย

• หนี้ระยะยาว

หนี้นอกระบบประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วเจ้าหนี้จะปล่อยกู้มากกว่า 1 เดือนขึ้นไป โดยเจ้าหนี้จะตามเก็บดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีเงินต้นมาใช้คืน หากคุณกู้เป็นจำนวนเงินที่มาก อาจจะต้องมีหลักค้ำประกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเจ้าหนี้

หนี้นอกระบบ ผิดกฎหมายไหม?

การกู้เงินนอกระบบ คือการกู้เงินโดยไม่ผ่านสถาบันทางการเงินที่ได้รับการตรวจสอบจากรัฐบาลไทย ตามกฎหมายไทยแล้ว หนี้นอกระบบหรือการกู้เงินนอกระบบจะไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมายโดยสิ้นเชิง แต่จะผิดในแง่มุมของการติดตามทวงหนี้ที่ใช้ความรุนแรง ใช้การคุกคามทั้งทางกายและวาจา เจ้าหนี้บางรายอาจมีการปาข้าวของจนทำให้ทรัพย์สินทั้งภายในและภายนอกบ้านเกิดความเสียหาย ในกรณีนี้เจ้าหนี้อาจถูกดำเนินคดีในข้อหา ฝ่าฝืน พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ฯ โดยโทษจะมีตั้งแต่จำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ในทางตรงกันข้าม หากคุณดำเนินการหรือประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินเชื่อโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าผิดกฎหมายไทย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000-500,000 บาท มากไปกว่านั้นหากคุณมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายไทยกำหนด จะมีโทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

หนี้นอกระบบ มีความเสี่ยงอย่างไร?

สำหรับใครที่กำลังหาตัวเลือกทางการเงิน แล้วกำลังจะตัดสินใจกู้นอกระบบ อยากให้เปลี่ยนความคิดและศึกษาข้อมูลในเชิงลึกให้ดีเสียก่อน วันนี้น้องแคร์จะมาเตือนว่าทำไมคุณไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ

  1. ดอกเบี้ยสูง : ดอกเบี้ยรายวันอาจสูงขึ้นไปถึงหลายร้อยบาทต่อวัน บางครั้งเงินต้นอาจจะสูงมากอยู่แล้ว คุณยังต้องหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยที่สูงอีก แถมยังไม่มีการลดต้นลดดอกอีก
  2. สัญญาไม่เป็นธรรม : บางครั้งเจ้าหนี้อาจบีบบังคับให้ลูกหนี้กูเงินมากกว่าจำนวนที่ต้องการกู้
  3. การทวงหนี้ไม่ประนีประนอม : ส่วนใหญ่แล้ว หนี้นอกระบบเป็นที่รู้ ๆ กันอยู่ว่า การทวงหนี้โหดมาก อาจโดนทำร้ายร่างกายทั้งตัวคุณหรือคนที่คุณรัก ทำลายทรัพย์สิน ขมขู่ พูดจาหยาบคายใส่ ประจาน ทำให้คุณรู้สึกอับอายและอึดอัดใจ
  4. โดนยึดทรัพย์ : ในกรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่จ่ายหนี้ตามที่กำหนดไว้ ทำให้เจ้าหนี้ต้องทำการฟ้องศาล

หนี้นอกระบบ มีสัญญา คืออะไร?

สัญญา คือ เอกสารที่ระบุเงื่อนไขและข้อตกลงระหว่างผู้ให้เงินกับผู้รับเงิน หรือ ระหว่างผู้ยืมและผู้ให้ยืมซึ่งสามารถเป็นสัญญาการกู้ยืมเงินหรือสัญญาการชำระหนี้ และเป็นเอกสารที่มีความสำคัญสำหรับการยืนยันสิทธิของผู้เกี่ยวข้องในการชำระหนี้ เมื่อคุณต้องการร่างสัญญาหนี้นอกระบบ สิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาคือความถูกต้อง ความเป็นไปได้ของเงื่อนไข และข้อตกลงทั้งหมด ซึ่งในสัญญาควรมีรายละเอียดที่ครบถ้วน และข้อมูลต้องเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย

รายละเอียดในสัญญา ควรมีดังนี้ จำนวนเงินที่ถูกยืม อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการกู้ยืม วันครบกำหนดการชำระหนี้ การชำระเงินและการปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อเกิดความผิดปกติ เช่น เสียชีวิต เป็นต้น นอกจากหนี้ในสัญญาจำเป็นต้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้เกี่ยวข้องในสัญญา และมีลายเซ็นยืนยันจากผู้รับเงินและผู้ให้เงินเป็นหลักฐานว่าเข้าใจและยอมรับเงื่อนไขทั้งหมดในสัญญานี้

หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญา คืออะไร?

การจะสร้างสัญญาหนี้นอกระบบเองเพื่อยืมหรือให้เงินกับบุคคลอื่น โดยไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ถือเป็นการกระทำที่มีความเสี่ยงมาก ๆ ดังนั้นการทำสัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดการเรื่องการยืมเงินและหนี้สิน

หากเป็นคนสนิท และไม่ต้องการทำสัญญา น้องแคร์ขอใแนะนำให้คุณกำหนดเงื่อนไขการยืมเงินให้ครบถ้วน โดยระบุจำนวนเงินที่ถูกยืม ระยะเวลาการกู้ยืม การชำระเงิน อัตราดอกเบี้ย (ถ้ามี) และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันความขัดแย้งหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง แต่อย่างไรก็ตาม การที่มีสัญญาที่ชัดเจนและถูกต้องจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ยืม และ ผู้ให้ยืม เพราะสัญญาจะเป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน

หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาฟ้องได้ไหม?

บางครั้งผู้ยืมอาจมองว่า การที่ไม่มีสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร จะทำให้หนีการชำระหนี้ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วสัญญาการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องบันทึกลงในกระดาษและเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ เพราะ ข้อความแชท ภาพถ่ายการส่งข้อความการกู้ยืมเงินในแพลตฟอร์มต่าง ๆ หลักฐานการโอนเงิน เหล่านี้ก็สามารถฟ้องร้องลูกหนี้ได้เช่นกัน

หากโดนฟ้องร้อง จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง?

สำหรับลูกหนี้แล้ว คุณเคยคิดไหมว่าหากไม่สามารถจ่ายหนี้นอกระบบได้ จะเกิดอะไรขึ้น หรือส่งผลเสียอะไรตามมาบ้าง อย่างแรกเลยหากเจ้าหนี้ฟ้องคุณ ในกรณีนี้เจ้าหนี้สามารถประนีประนอมยอมความได้ แต่ก็เป็นส่วนน้อยเพราะจุดประสงค์หลัก ๆ ของเจ้าหนี้คืออยากได้เงินคืน หากไม่สามารถประนีประนอมได้ ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ก็จะต้องไปเจรจากันที่ชั้นศาล หากศาลมีคำสั่งพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้ แต่ลูกนี้ไม่ชำระ ก็จะส่งผลเสียมากมาย เช่น โดนยึดทรัพย์ หรือถูกอายัดทรัพย์

ทรัพย์สินที่ถูกยึดไปนั้น จะถูกนำไปขายทอดตามท้องตลาดเพื่อนำเงินที่ขายไปคืนให้กับเจ้าหนี้ แต่หากขายทอดแล้วยังไม่เพียงพอกับหนี้ที่มีอยู่ ลูกหนี้ก็จำเป็นต้องจ่ายส่วนที่เหลืออยู่ดี

ทรัพย์สินที่สามารถถูกยึดได้

  • บ้าน / ที่ดิน (หากติดจำนองอยู่ก็สามารถยึดได้)
  • รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือยานพาหนะต่าง ๆ
  • เพชร พลอย หรือเครื่องประดับต่าง ๆ
  • ของสะสมเก่าที่อาจมีมูลค่าสูง เช่น เหรียญเก่า ธนบัตรเก่า
  • เงินในบัญชีเงินฝากของธนาคาร
  • ทองคำ ตราสารหนี้ หรือกองทุนต่าง ๆ

ทรัพย์สินที่ไม่สามารถยึดได้

  • ของใช้ต่าง ๆ ที่มีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท เช่น เสื้อผ้า เก้าอี้
  • เบี้ยเลี้ยงชีพ เช่น เบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ เบี้ยเลี้ยงคนพิการ

วิธีป้องกันตัวเองจากหนี้นอกระบบ ทำได้อย่างไร?

หลังจากที่ได้รู้แล้วว่า หนี้นอกระบบน่ากลัวอย่างไร มีความเสี่ยงอะไรบ้าง น้องแคร์จะพาทุกคนไปรู้จักกับวิธีป้องกันตนเองจากหนี้นอกระบบกันด้วย 3 วิธีนี้

1. วางแผนการใช้เงิน

ในทุก ๆ วัน น้องแคร์อยากแนะนำให้คุณวางแผนการเงินให้ดี รู้จักบริหารการใช้จ่ายในแต่ละวัน ในแต่ละเดือน ว่าคุณมีรายได้เท่าไหร่ รายจ่ายเท่าไหร่ เพื่อที่จะทำให้รู้ว่าควรใช้ได้เท่าไหร่ นอกจากนี้คุณจำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด เก็บออมเงินและไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อที่จะได้มีเงินไปใช้ในยามจำเป็น

2. กู้เงินกับสถาบันทางการเงิน

หากคุณหมุนเงินไม่ทัน หรือสถานะทางการเงินติดขัดจริง ๆ แล้วจำเป็นที่จะต้องใช้เงินด่วน อยากแนะนำให้คุณกู้กับทางธนาคารโดยตรงเลยจะกว่า เพราะได้เงินแน่ชัด ถูกกฎหมาย มีความปลอดภัย สามารถเจรจาต่อรองได้ดีกว่า แม้เงื่อนไขจะเยอะ แต่ดอกเบี้ยแน่นอน และไม่ได้มีวิธีการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมแบบหนี้นอกระบบ

3. ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับสัญญากู้เงิน

ก่อนกู้เงินทุกครั้ง คุณควรศึกษากฎหมายเกี่ยวกับกาารกู้เงินเสียก่อนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวคุณ เพราะบางครั้งหากคุณไม่รู้กฎหมายอาจถูกหลอกหรือถูกเอารัดเอาเปรียบได้จากเจ้าหนี้ เช่น โดนคิดดอกเบี้ยเงินกู้เกินกว่า 15% ต่อปี หรือ 1.25% ต่อเดือน

สินเชื่อหรือบัตรเครดิตสามารถช่วยจัดการหนี้สินหมุนเวียนได้อย่างไร?

1. ใช้บัตรเครดิตสำหรับซื้อสิ่งของแทนการใช้เงินสด

คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสิ่งของได้หากใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าแทนการใช้เงินสด การใช้บัตรเครดิตจะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายประจำวันได้อย่างง่ายดาย แต่คุณต้องมีการบริหารจัดการการใช้เงินให้ดีเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสูง

2. โอนยอดหนี้ไปยังบัตรเครดิตหรือสินเชื่อ

คุณสามารถโอนยอดหนี้สินอื่นๆ ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงมายังบัตรเครดิตหรือสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเพื่อชำระหนี้สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การผ่อนชำระ

หากคุณมีหนี้สินที่มีดอกเบี้ยสูง เช่น การใช้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล คุณสามารถขอผ่อนชำระหนี้ได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย แต่คุณต้องระมัดระวังในการใช้สิทธิ์นี้เพราะการผ่อนชำระหนี้อาจทำให้คุณต้องชำระดอกเบี้ยสูงขึ้นในระยะยาว

ข้อมูลเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ น้องแคร์รวบรวมมาให้คุณแล้ว อย่างไรก็ตามหากคุณกำลังมองหาตัวเลือกทางการเงิน อย่าลังเลที่จะมาสมัครบัตรเครดิตกับ แรบบิท แคร์ เพราะเรามีข้อเสนอมากมายให้คุณได้เลือกจากธนาคารชั้นนำ เช่น ซิตี้แบงก์ กรุงไทยแบงก์ ทีเอ็มบีธนชาต และธนาคารอื่น ๆ มาพร้อมกับอัตราดอกเบี้ย เงื่อนไข และ สิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน มากไปกกว่านั้นหากสมัครผ่าน แรบบิท แคร์ จะสะดวก ง่าย รวดเร็ว เพราะเราช่วยประสานงานให้คุณตั้งแต่ต้นจนจบ หากสนใจ โทรเลย 1438

บัตรเครดิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

บัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลตินัม วีซ่าบัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลตินัม วีซ่า

เคทีซี / วีซ่า

  • ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี ไม่มีหมดอายุ
  • บริการผู้ช่วยส่วนตัว ให้ข้อมูล-ช่วยเหลือ
  • ผ่อนชำระง่าย 0% นาน 10 เดือนกับ KTC
  • คุ้มครองอุบัติเหตุฟรี สูงสุด 300,000 บาท
  • เบิกถอนเงินสดเต็มวงเงิน ผ่าน ATM/KTC Mobile
  • รับคะแนนง่ายๆ ทุก 25 บาท แลกของได้
บัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลตินัม มาสเตอร์การ์ดบัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลตินัม มาสเตอร์การ์ด

เคทีซี / มาสเตอร์การ์ด

  • ไม่เสียค่าธรรมเนียมรายปี ทุกปี
  • ผู้ช่วยส่วนตัว KTC ให้ข้อมูลทุกวัน
  • เปลี่ยนยอดชำระเป็นผ่อน 0.74% 10 เดือน
  • ถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิต KTC ได้เต็มวงเงิน
  • สมัคร KTC รับประกันอุบัติเหตุ 300,000 บาท
  • สะสม 1 คะแนน KTC ทุก 25 บาทที่ใช้จ่าย
บัตรเครดิต เคทีซี วีซ่า แพลตทินั่มบัตรเครดิต เคทีซี วีซ่า แพลตทินั่ม

เคทีซี / วีซ่า

  • ผ่อนชำระ 0% 10 เดือนผ่านบัตรเครดิต KTC
  • ประกันการเดินทาง คุ้มครอง 8 ล้านบาททั่วโลก
  • สมัคร KTC รับประกันอุบัติเหตุ 300,000 บาท
  • ถอนเงินสด 100% ด้วยบัตรเครดิต KTC
  • สะสมคะแนนง่าย ๆ ทุกการใช้จ่าย 25 บาท
  • บริการผู้ช่วยส่วนตัว KTC ให้คำแนะนำ-ประสานงาน
บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ซิลบัตรเครดิต ทีทีบี โซ ซิล

ธ. ทีทีบี / วีซ่า

  • ไม่มีค่าธรรมเนียมกดเงินสด 3%
  • 5% เงินคืนจากดอกเบี้ยจ่ายตรงเวลา
  • รับดอกเบี้ยพิเศษ 3 รอบแรก พร้อมเงินคืน 5%
  • ประกันอุบัติเหตุเดินทาง ฟรี สูงสุด 6 ล้าน
  • ผ่อน 0% 3 เดือน ทุกรายการ ยอด 1,000 บาท
  • 1 คะแนน ทุก 25 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา