แคร์สุขภาพ

รู้ก่อนขายไต อันตรายไหม ขายได้จริงไหม?!

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
Published: March 13,2023
  
Last edited: February 5, 2024
ขายไต

หลายคนมักจะมีคำพูดติดตลกว่าถ้าไม่มีเงิน ให้ขายไต แล้วแบบนี้การขายไต อันตรายไหม? ร่างกายจะสามารถมีชีวิตเหลือแค่ไตข้างเดียว? ขายไตแลกเงินได้จริงหรือเปล่า? หรือแค่มุกขำ ๆ ? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะมาหาคำตอบเรื่องนี้กัน

  
เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ ง่ายๆ แค่ 30 วิ คลิกเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

ขายไต ค้าอวัยวะ เรื่องขำ ๆ ที่ไม่ขำ

รู้หรือไม่ ไม่เพียงแต่การซื้อขายไตเท่านั้น แต่อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายก็สามารถค้าขายได้ ไม่ว่าจะเป็น กระจกตา, ปอด, ตับ, เส้นเอ็น และกระดูก เป็นต้น

แต่ใครที่กำลังมองว่า นี่คือแหล่งทำเงิน หรือช่วยให้เรามีเงินตั้งตัวใหม่ได้ บอกได้เลยว่าคิดผิด เนื่องจากการขายไตนั้นถูกนับว่าผิดกฎหมายในไทย และมีการกำหนดไว้ชัดเจนในกฎเกณฑ์และข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพของแพทย์เกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะ และระเบียบของสภากาชาดเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ

หากใครที่ซื้ออวัยวะของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นไต ดวงตา หรือไม่ว่าจะเป็นอวัยวะอื่นใดก็ตาม หรือแม้จะทำการค้าอวัยวะจากศพเอง ทุกอย่างล้วนเข้าข่ายกระทำความผิดทางอาญา ซึ่งจะเข้าข่ายการผิดกฎหมายข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 

  • ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา295 และ มาตรา 297 อนุมาตราสาม 
  • ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 เนื่องจากการค่าอวัยวะในบางส่วนอาจเป็นการกระทำให้ถึงแก่ชีวิต
  • ความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 6 
  • ความผิดฐานทำให้ศพเสียหาย ในกรณีที่นำศพมาผ่าตัดขายอวัยวะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 366/3 
  • ความผิดฐานดูหมิ่นเหยียดหยามศพ ในกรณีที่นำศพมาผ่าตัดขายอวัยวะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 366/4 

แม้ในไทยจะยังไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องการขายไตหรือขายอวัยวะอื่น ๆ อย่างชัดเจน แต่ตามหลักแล้วยังมีสิทธิ์ที่จะผิดกฎหมายข้ออื่น ๆ อยู่ดี นอกจากนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องจะทำผิดกฎหมายแล้ว ทางโรงพยาบาลหรือหมอที่รับซื้ออวัยวะจะถูกลงโทษตามกฎหมายอาญา และเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพด้วย 

ไม่เพียงแต่ผิดกฎหมายเท่านั้น แต่การนำอวัยวะบางส่วนออกจากร่างกาย อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพเจ้าของร่างกายได้ในระยะยาวได้

จะเห็นได้ว่า เหตุผลหลัก ๆ ที่ไม่สามารถค้าขายไตได้จะมาจากเหตุผลในทางจริยธรรม เนื่องจากแต่ละประเทศมองว่าเป็นการเปิดช่องทางให้คนขายอวัยวะแลกกับเงิน ส่งผลให้มีการก่ออาชญากรรมในรูปแบบอื่น ๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็น การบังคับให้ขายไตเพื่อใช้หนี้นอกระบบ, การทำร้ายร่างกายบังคับผู้อื่นให้ขายไตแลกเงินมาให้ตน รวมไปถึงการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ การขายไตแลกเงินไม่เหมือนกับการบริจาคอวัยวะแต่อย่างใด

เบื้องต้นหากเป็นกรณีที่บริจาคไต หรือบริจาคอวัยวะอื่น ๆ จะสามารถทำได้ แต่จะมีเงื่อนไขมากมายเข้ามาเกี่ยวข้องในการบริจาคอยู่ ดังนี้

  • ในกรณีที่มีชีวิตอยู่ การบริจาคจะต้องเกิดขึ้นจากญาติให้ญาติเท่านั้น หรือต้องเป็นคู่แต่งงานที่จดทะเบียนสมรสกันจึงจะสามารถบริจาคให้กันได้
  • ในกรณีที่เสียชีวิต หรือผู้บริจาคสมองตาย ทางการแพทย์จะลงความเห็นว่าเป็นผู้เสียชีวิตแล้ว ญาติสามารถให้ความยินยอมเพื่อนำอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงไตบริจาคต่อได้
  • เงื่อนไขของผู้จะบริจาคเอง ก็ใช่ว่าใครจะสามารถบริจาคก็ได้ เพราะผู้บริจาคจะต้องมีความสมบูรณ์ของร่างกายและอวัยวะ ความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อร่วมด้วย

สรุปแล้ว การขายไตนั้น เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายอย่างมาก และเราจะไม่สามารถขายไตได้เลยในไทย ซ้ำยังอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว นอกจากนี้ การขายไตหรือขายอวัยวะอื่น ๆ ในเหตุผลเชิงสังคมยังเป็นการลดคุณค่า ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถือเป็นการแสวงหาประโยชน์จากร่างกายผู้อื่นโดยมิชอบอีกด้วย ดังนั้น การเลือกขอสินเชื่อจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีว

บริจาคไต

แล้วแบบนี้ในทางทฤษฎี ร่างกายคนเราขาดไตได้ไหมนะ?

นอกจากตามบทกฎหมายที่ห้ามขายไตแล้ว ในเชิงสุขภาพร่างกาย กับคำถามที่ว่า ขายไต อันตรายไหม หรืออวัยวะอื่น ๆ นั้น เบื้องต้นแล้วเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มจะเสี่ยง เนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้ไตมีสองข้างเพื่อช่วยเหลือและเป็นอะไหล่ซึ่งกัน ทำให้การทำงานของไตไม่เป็นการทำงานหนักจนเกินไป และหากร่างกายมนุษย์เหลือเพียงไต 1 ข้าง แม้จะยังสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ แต่ก็เสี่ยงที่ไตที่เหลือจะทำงานหนัก  เนื่องจากไตมีหน้าที่ต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนี้

  • ผลิตเม็ดเลือดแดงให้ร่างกาย และหากไตทำงานผิดปกติ ผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง อาจส่งผลให้มีผิวสีซีดหรือคล้ำขึ้นได้
  • ไตช่วยผลิตฮอร์โมนควบคุมความดันในร่างกาย ซึ่งหากไตเสื่อม หรือทำงานได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้ไตผลิตฮอร์โมนควบคุมความดันได้ไม่ดีเท่าเดิม
  • ไตช่วยขับถ่ายของเสีย น้ำ และสารอาหารส่วนเกินออกจากร่างกาย เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ ซึ่งในกลุ่มคนที่มีปัญหาไตเสื่อมมักมีระดับไขมันในเลือดสูง

ในกรณีผู้มีไตไม่แข็งแรงเป็นทุนเดิม การเหลือไตเพียงข้างเดียวจากการขายไต  และอาจส่งผลให้ทำงานหนัก ต้องฟอกไต หรือระบบร่างกายมีปัญหา และอาจจะเสี่ยงต่อสภาวะต่าง ๆ ที่มีต่อไตได้ เช่น โรคไต, ไตเสื่อม เป็นต้น

นอกจากนี้การเหลือไตเพียงข้างเดียวจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลง เหนื่อยง่าย ไม่แข็งแรงเหมือนเดิมได้ รวมถึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการดูแลตนเอง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน เนื่องจากร่างกายเหลือไตเพียงข้างเดียวทำงาน โดยทางสภากาชาดได้ออกให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลไตที่เหลือข้างเดียวไว้ ดังนี้ 

  • ดื่มน้ำมาก ๆ (ประมาณ 8 แก้ว) เพื่อเจือจางน้ำปัสสาวะ ป้องกันไม่ให้เกิดการตกผลึกตะกอน ซึ่งก่อระดับของสารก่อนิ่วในปัสสาวะสูงเกินไป หรือถ้าเป็นก้อนเล็ก ๆ ก็จะหลุดออกมาเองได้ 
  • อย่ากลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน  ระวังอย่าให้ท้องผูก
  • ไม่ควรกินอาหารเค็มเกินไป เพราะจะทำให้เกิดน้ำคั่ง แล้วทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ทำให้ไตทำงานหนัก เช่น อาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมสูง, อาหารที่มีรสเค็ม มีผงชูรส 
  • ถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว ต้องควบคุมมิให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไปร่วมด้วย
  • รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดนิ่ว
  • งดสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ชา, กาแฟ ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของไตได้
  • ดูแลทำความสะอาดหลังการปัสสาวะ และอุจจาระทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงการรักษาความสะอาดของร่างกายทั่วไป เช่น ผม, เล็บ, ปาก, ฟัน และผิวหนัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายอีกทาง

ขายไต อันตรายไหม

โดยสรุปแล้ว ขายไต อันตรายไหม บอกได้เลยว่า การเหลือไตข้างเดียวนั้น ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่จะต้องมีการดูแลร่างกายที่ดีขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะตามมา และหากคนเราไม่มีไตหรือไตหยุดทำงาน ของเสียเหล่านี้จะคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือดและอวัยวะในร่างกาย ทำให้เลือดและอวัยวะในร่างกายสกปรก ในที่สุดอวัยวะต่าง ๆ จะหยุดทำงาน และอาจเสียชีวิตได้

จะเห็นได้ว่าการขายไตนั้น แม้จะสามารถขายได้จริง แต่ก็ขายได้แค่ในบางประเทศเท่านั้น เพราะในไทยยังถูกนับว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ยังเสี่ยงทั้งเรื่องโดนหักค่านายหน้าอย่างไม่เป็นธรรม จากเงินหลักล้านอาจเหลือไม่กี่แสน รวมถึงความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพที่ขาดไตไปหนึ่งข้างอีกด้วย

การขายไตล้วนไม่เวิร์ค ไม่คุ้มค่าอย่างที่คิด เพราะอย่างงั้นต้องนี่เลย สินเชื่อส่วนบุคคล จาก แรบบิท แคร์ ที่สมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้เอกสารเยอะ ช่วยแบ่งเบาภาระด้านการเงินให้กับคุณได้ นอกจากนี้ยังมีสินเชื่ออื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อรถแลกเงิน ที่ทำให้คุณยังมีรถขับ หรือ บัตรกดเงินสด สำหรับใครที่ต้องการเงินก้อนฉุกเฉิน พร้อมคำแนะนำโดยที่ไม่จำเป็นต้องไปกังวลว่า ขายไต อันตรายไหม? ขายได้จริงหรือเปล่าอีกต่อไป คลิกเลย!


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024