แคร์สุขภาพ

เจาะลึกค่าใช้จ่ายเรื่องฟอกไต ราคาแพงไหม? ใช้ประกันได้รึเปล่า?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: March 16,2023
  
Last edited: April 3, 2024
ฟอกไต

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่าฟอกไตกันมา ไม่มากก็น้อย แต่เคยสงสัยกันไหมว่า เวลาไหนที่เราต้องฟอกไตกันนะ? แล้วฟอกไต ราคาแพงมากไหม? ฟอกไตที่ไหนดี? ฟอกไต บัตรทอง ประกันสังคม หรือประกันสุขภาพจ่ายหรือเปล่า? วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบมาฝาก!

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    รู้จักกับให้มากขึ้นกับการฟอกไต

    การฟอกไต คือ หนึ่งในวิธีรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือ ไตวายเฉียบพลัน ตั้งแต่ระยะที่ 4 จนถึงระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้ ไตทำงานได้น้อยกว่า 30% และจะไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ ทำให้การฟอกไตช่วยให้ระบบการขับของเสีย สารพิษต่าง ๆ มีการทำงานใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด และเพื่อช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยมีความสมดุล ในขณะที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ในการกรองของเสียได้ตามปกติ 

    การฟอกไตมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคไต เพราะระบบขับของเสียของผู้ป่วยระยะไตวายเฉียบพลัน และไตวายเรื้อรัง จะไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ หากไม่มีการฟอกไตเข้ามาช่วย จะทำให้ของเสียและสารพิษต่าง ๆ สะสมอยู่ในร่างกายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้

    จะเห็นได้ว่าการฟอกไตมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคไต โดยอาการที่ทำให้รู้ว่าจำเป็นจะต้องฟอกไตนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

    • กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคไตมาก่อน

    อาการเบื้องต้นคือ มักจะตื่นปัสสาวะกลางดึกบ่อย ๆ และปัสสาวะเป็นฟองมาก ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน บางรายมีอาการหอบ เหนื่อย เพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วยมาเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นสัญญาณว่าไตเสื่อมจนต้องเข้ารับการฟอกไต

    • กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยโรคไต

    ผู้ป่วยสูงวัยมักจะพบปัญหาไตที่จะเสื่อมลงเรื่อย ๆ โดยอาการส่วนใหญ่ของคนไข้โรคไตที่บ่งบอกว่าควรได้รับการฟอกไตนั้น มักจะมีอาการบวม เหนื่อย และมีภาวะน้ำท่วมปอด เนื่องจากในร่างกายมีภาวะของเสียคั่งที่สูง ส่งผลให้ค่าของเสียในเลือดจะค่อยๆ สูงขึ้น จนถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้สูงต่อไปโดยไม่ฟอกไต คนไข้จะมีอาการอาเจียน คลื่นไส้ ซึม ง่วง อ่อนเพลีย พะอืดพะอม และอาจถึงขั้นเกิดอาการชัก 

    ให้เฝ้าระวังอาการบวม หัวใจเต้นผิดจังหวะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน และความดันโลหิตสูงมากผิดปกติ เช่น ปกติความดันของเราอาจอยู่ที่ระดับ 140-160 แต่หากมีความดันขึ้นสูงไปถึง 200 รวมกับอาการบวม เหนื่อย ร่วมด้วยควรเข้ารับการฟอกไตโดยเร็วที่สุด

    ส่วนความถี่ในการฟอกไตในแต่ละครั้งนั้น จะขึ้นอยู่กับประเภทด้วย และผู้ที่มีอาการไตวายเฉียบพลันไม่จำเป็นต้องฟอกไตตลอดชีวิต สามารถหยุดฟอกไตได้เมื่อไตกลับมาทำงานตามปกติ ซึ่งจะใช้เวลาเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของไตของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น บางรายอาจใช้เวลาแค่ 1-2 สัปดาห์ แต่บางรายอาจนานถึง 6 เดือน แต่หากเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จำเป็นต้องได้รับการฟอกไตตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไตใหม่นั่นเอง

    ฟอกไต ราคา

    เปิดโพยค่าฟอกไต ราคา เท่าไหร่ มีกี่แบบ?

    ก่อนที่จะเปิดโพยฟอกไต ราคา เท่าไหร่ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำประเภทของการฟอกไตกันก่อน โดยมี 2 วิธีหลัก ๆ ดังนี้

    • การฟอกไตทางหลอดเลือด หรือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 

    เป็นกระบวนการกำจัดของเสีย ด้วยการปรับระดับเกลือแร่ในเลือดและปรับสมดุลของน้ำในร่างกายของผู้ป่วยไตวายให้เป็นปกติ ด้วยการเลือดออกจากร่างกายมาทำให้สะอาดขึ้น โดยการใช้เครื่องไตเทียม ซึ่งการฟอกเลือดผ่านเครื่องนี้จะใส่สายฟอกเลือดชั่วคราว เจาะเข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้หลอดเลือดดำมีเลือดไหลเวียนได้มากขึ้น และเมื่อทำการฟอกเลือด ขจัดของเสีย  เมื่อสะอาดแล้ว จะเป็นการนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายเหมือนเดิม 

    โดยวิธีนี้จะต้องไปทำที่โรงพยาบาล ความถี่ในการฟอกเลือดด้วยวิธีนี้ จำเป็นจะต้องทำสัปดาห์ละ 2-3 วัน ใช้เวลาครั้งละ 3-5 ชั่วโมง แต่จะไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เส้นฟอกเลือดไม่พร้อม หรือมีอาการแพ้ไตเทียม ร่วมถึงผู้ป่วยจะต้องเสียเวลามาฟอกไตบ่อยครั้งด้วย

    ส่วนฟอกไต ราคา จะอยู่ที่ครั้งละ 1,500 – 1,700 บาท และในหนึ่งสัปดาห์จำเป็นจะต้องฟอกเลือด 2 – 3 ครั้ง จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสัปดาห์ละ 3,000 – 5,100 บาท หรือเฉลี่ยรายเดือนอยู่ที่ 12,000 – 20,400 บาท

    • การฟอกไตทางช่องท้อง

    เป็นวิธีที่แพทย์หลายแห่งแนะนำหากผู้ป่วยมีทุนทรัพย์ เพราะผู้ป่วยสามารถทำเองที่บ้านหรือที่ทำงานได้ทุกวัน โดยการใช้น้ำยาเฉพาะเพื่อช่วยกรองของเสีย และสารพิษที่อาจปะปนเข้าไปในร่างกายผ่านทางช่องท้อง ซึ่งแพทย์จะฝังอุปกรณ์ท่อล้างไว้ในช่องท้องของผู้ป่วย 

    เมื่อถึงเวลาฟอกไต ผู้ป่วยจะใส่น้ำยาเข้าไปในท่อล้าง ทิ้งไว้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง น้ำยาจะพักอยู่ในท้องทำการกรองของเสียและน้ำส่วนเกิน เมื่อครบกำหนดเวลา ผู้ป่วยจะปล่อยน้ำยาที่ดูดซึมของเสียและน้ำส่วนเกินออกมาทางช่องท้อง 

    โดยการฟอกไตทางช่องท้อง แม้ว่าจะต้องทำทุกวัน วันละ 3-4 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะใช้เวลา 4-6 ชั่วโมง แต่ผู้ป่วยสามารถทำก่อนนอนเพื่อให้กระบวนการฟอกไตทำงานในขณะนอนหลับได้ แต่การฟอกไตด้วยวิธีนี้ จะไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีผนังช่องท้องอ่อนแอ หรือมีความผิดปกติที่ผนังช่องท้อง, เคยผ่าตัดช่องท้องมาก่อน, มีปัญหาระบบปอด, ปัญหาระบบลำไส้ หรือมีปัญหาถุงน้ำในไต

    ส่วนค่าใช้จ่าย ฟอกไต ราคา จะมีการจ่ายค่าวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกทางช่องท้องพร้อมอุปกรณ์  ไม่เกิน 20,000 บาท/ราย 2 ปี หากใน 2 ปีนี้จำเป็นต้องวางท่อรับส่งน้ำยาทางช่องท้อง จ่ายเพิ่มให้อีกไม่เกิน 10,000 บาท แต่หากเป็นการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร ค่าใช้จ่ายจะเฉลี่ยไม่เกิน 20,000 บาท

    สรุปแล้ว ค่าฟอกไตนั้น สามารถแบ่งได้ตามวิธีดังนี้

    • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เฉลี่ยรายเดือนอยู่ที่ 12,000 – 20,400 บาทค่าตรวจรักษาและค่าน้ำยาล้างช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ในอัตราไม่เกิน 20,000 บาท/เดือน 
    • ส่วนการฟอกไตทางช่องท้องจะเสียอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มต้นในราคาไม่เกิน 20,000 บาท/รายต่อ 2 ปี นอกจากนี้อาจะมีค่าจุกจิกอย่างอุปกรณ์ในการใช้งานเพิ่มเติมด้วย

    ทั้งนี้ ระยะเวลาและความถี่อาจมากหรือน้อยกว่านี้ได้ ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน ซึ่งจะส่งผลต่อค่าฟอกไตด้วย ส่วนการเลือกว่าจะต้องฟอกไตด้วยวิธีใดนั้น แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและให้คำแนะนำอีกครั้ง โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เพราะทั้งสองวิธีมีข้อดีข้อเสียต่างกัน และเหมาะกับผู้ป่วยแตกต่างกันออกไป  เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำการตัดสินใจเลือกได้ภายใต้ความปลอดภัยนั่นเอง

    โดยค่าฟอกไต ราคานี้ จะสามารถเบิกผ่านประกันสังคม และประกันสุขภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ฟอกไต บัตรทอง! โดยทาง สปสช. กล่าวว่า โทรสายด่วน 1330 เพื่อตรวจสอบหน่วยบริการฟอกไตที่สามารถเข้าไปรับบริการได้

    แต่หากพิจารณาจากค่าฟอกไต ราคาที่ต้องจ่าย ประกันสังคมจะมีวงเงินในการเบิกเคลมที่จำกัด ดังนั้นการเลือกทำประกันสุขภาพไว้ นอกเหนือจากการฟอกไต บัตรทองจะช่วยเหลือในค่าใช้จ่ายแฝงเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

    ฟอกไต ใกล้ฉัน

    ดูแลตัวเองอย่างไรหลังการฟอกไต

    เบื้องต้นนั้น การดูแลหลังฟอกไตจะขึ้นอยู่กับประเภทที่เลือกด้วย ไม่ว่าคุณจะฟอกไตด้วยการเคลมประกันสุขภาพ หรือ ฟอก ไต บัตรทอง แต่หลัก ๆ จะมี ดังนี้ 

    • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
    • รักษาสุขอนามัยของร่างกายเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
    • ลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ และหลีกเลี่ยงการรับประทานผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ทุเรียน กล้วย ลำไย ขนุน ผลไม้อบแห้ง น้ำผลไม้ ผักใบเขียว แครอท เป็นต้น
    • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรือมีผงชูรสเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำพริก น้ำจิ้ม ซอสปรุงรส และอาหารหมักดอง
    • ลดปริมาณเครื่องดื่ม และงดเครื่องดื่มที่มีฟอสเฟตสูง เช่น ชา, กาแฟ, โกโก้ เป็นต้น
    • ในกรณีที่ฟอกเลือด แขนข้างที่ทำเส้นฟอกไตสามารถใช้งานได้ปกติ แต่ควรนอนยกแขนสูงกว่าหัวใจเพื่อลดอาการบวม และหากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดไหลซึมจากแผลมากผิดปกติ แขนที่ทำเส้นฟอกไตมีอาการบวมแดง ปวด ชา มือซีดและเย็นลง ปลายนิ้วสีเข้ม มีไข้ ลองคลำชีพจรไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
    • ในกรณีที่ฟอกไตทางช่องท้อง ไม่ควรยกของหนัก เพราะจะมีน้ำในท้องและกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรงเป็นพิเศษ ทำให้ปวดหลังได้ง่ายกว่าปกติ

    บริจาคไต

    ถ้าอยากปลูกถ่ายไตทำได้ไหม? ราคาค่าผ่าตัดเท่าไหร่?

    แม้การฟอกไตจะถูกนับว่าเป็นหนึ่งในกระบวนการรักษาโรคไตก็ตาม แต่ในทางการแพทย์แนะนำว่า การผ่าตัดเปลี่ยนไต หรือการปลูกถ่ายไต เป็นวิธีการรักษาโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้ผลและเป็นการรักษาที่ดีที่สุด เพราะมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่า 80- 90% ช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตนั้นจะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและโรคแทรกซ้อนจากการฟอกไต นอกจากนี้ยังมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือดหรือล้างไตไปตลอดชีวิตอีกด้วย

    โดยข้อมูลทางสถิติโดยสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 พบว่าผู้ป่วยที่สามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี หลังจากการปลูกถ่ายไตนั้นมีจำนวนมากถึง 78.2 % 

    เบื้องต้น การปลูกถ่ายไตจะนำเอาไตที่ยังทำงานดีมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย ซึ่งการปลูกถ่ายไตนั้น จะสามารถหาได้จาก

    • คนในครอบครัวเดียว เช่น พ่อ, แม่, ลูก หรือญาติพี่น้องที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด เป็นผู้บริจาคให้
    • ในกรณีที่ผู้บริจาคเป็นคู่สมรส จะต้องมีหลักฐานการจดทะเบียนสมรส หรืออยู่ด้วยกินกันฉันสามีภรรยาโดยเปิดเผยมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ก่อนวันที่จะผ่าตัดปลูกถ่ายไต แต่กรณีมีบุตรร่วมกัน จะมีข้อยกเว้น ไม่จำเป็นต้องใช่ระยะเวลา 3 ปี ก็สามารถบริจาคไตให้กันได้
    • ได้ไตจากผู้ที่มีภาวะสมองตายผ่านทางศูนย์บริจาคอวัยวะซึ่งจะมีสภากาชาดเป็นผู้ประสานงานให้

    ซึ่งการรับบริจาคไตนั้น จะพิจารณาจากความเข้ากันของเนื้อเยื่อ กรุ๊ปเลือด เสียก่อน จึงจะอนุญาตให้ผ่าตัดเปลี่ยนไตได้ ทั้งนี้การเปลี่ยนไตโดยการซื้อขายไตจากบุคคลอื่นที่มีชีวิตอยู่ ซึ่งไม่ใช่ญาติพี่น้องของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผิดกฎหมาย

    โดยการปลูกถ่ายไตใหม่นั้น  จะมีค่าใช้จ่ายในช่วงอยู่โรงพยาบาลในการผ่าตัดปลูกถ่ายไตชนิดผู้บริจาคไตยังมีชีวิตอยู่ ประมาณ 100,000-150,000 บาท ในโรงพยาบาลรัฐบาล

    เพราะการฟอกไตหรือเรื่องโรคไต เป็นเรื่องใหญ่ นอกจาก ฟอกไต บัตรทอง หรือประกันสังคมแล้ว แรบบิท แคร์ ขอแนะนำ ประกันสุขภาพ จาก แรบบิท แคร์ ที่นี้นอกจากจะมีหลากหลายแผนประกันให้เลือกแล้ว ยังมี แคร์เอเจ้นท์ ที่พร้อมให้คำปรึกษา ตอบทุกคำถาม และดูแลคุณตลอดจบและหลังการทำประกัน คลิกเลย!


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024