โรคประจำตัวอะไรบ้าง ที่ติดต่อทางพันธุกรรม
โรคประจำตัวอะไรบ้าง ที่ติดต่อทางพันธุกรรม
รู้จักกับโรคร้าย ที่ถ่ายทอดผ่านพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรม (Genetic Disorders) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติในพันธุกรรม หรือเกิดขึ้นในโครโมโซม ซึ่งสามารถถ่ายทอดภายในครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นได้ ซึ่งบางครั้งความผิดปกตินี้ ก็ส่งผ่านข้ามรุ่น หรือรุ่นพ่อแม่ อาจจะกลายเป็นพาหะ และส่งต่อสู่รุ่นลูกได้
ที่สำคัญคือ โรคทางพันธุกรรมนี้ส่วนใหญ่แล้ว จะตรวจพบ รวมทั้งหาทางรักษาได้ก็ต่อเมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ไม่สามารถตรวจโรคต่างๆ ได้ ในขณะที่ตั้งครรภ์ เพราะส่วนมากจะทำได้แค่คาดการณ์ตามความเป็นไปได้เท่านั้น
ในปัจจุบัน โรคทางพันธุกรรมหลายโรคมักเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะเกิดจากความผิดปกติของยีนในร่างกาย เช่น โรคพราเดอร์วิลลี่ซินโดรม ฯลฯ ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานเพื่อให้ทราบว่าตนเองมียีนแฝง หรือเป็นพาหะนำโรคหรือไม่ เพื่อการวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับลูกน้อยในอนาคต
โรคติดต่อทางพันธุกรรมอะไรบ้าง ที่เราต้องระวัง ?
โรคที่ส่งต่อทางพันธุกรรมนั้น มีมากมาย หลากหลายโรค บางโรคนั้น หากดูแลสุขภาพ รักษาอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่หายขาด แต่ก็สามารถใช้ชีวิตร่วมกันกับโรคทางพันธุกรรมเหล่านั้นได้แบบไม่มีปัญหา แต่ในบางโรคนั้น ก็นับได้ว่าเป็นโรคร้ายที่เเราควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังนี้
โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)
เป็นโรคเลือดไหลไม่หยุด หรือเลือดออกง่าย เพราะขาดสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากความผิดของโครโมโซม x พบมากในเพศชาย อาการของโรคนี้คือ เลือดออกมาผิดปกติ ข้อบวม มักเกิดแผลฟกช้ำขึ้นเอง
ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ จำเป็นต้องระวังระมัดในการใช้ชีวิตห้ามให้เกิดบาดแผล เพราะการเกิดบาดแผลสักครั้ง อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต หรือแม้แต่การไปทำฟันธรรมดาๆ ก็ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอีกด้วย
โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
หรือที่รู้จักกันในชื่อ โลหิตจาง เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนทำให้ไม่สามารถควบคุมการผลิตฮีโมโกลบินให้เป็นปกติได้ อาการเริ่มแรกจะคล้ายกับเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง เช่น ผิวซีด ผิวเหลือง เหนื่อยง่าย การเจริญเติบโตช้า ปัสสาวะสีเข้ม เป็นต้น สำหรับโรคธาลัสซีเมียจะมีระดับความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งได้ ดังนี้
- ชนิดรุนแรงที่สุด ทารกสามารถเสียชีวิตได้ตั้งแต่ในครรภ์หรือหลังคลอดออกมาได้ไม่นาน มีลักษณะบวมน้ำ ซีด และหัวใจวาย
- ชนิดที่รุนแรงปานกลางถึงมาก โดยเริ่มมีอาการในขวบปีแรก และอาการจะมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเด็กจะอ่อนเพลีย ผิวซีดเหลืองคล้ายดีซ่าน ตับ และม้ามโต กระดูกใบหน้าผิดปกติโดยมีจมูกแบน โหนกแก้มสูง คางและขากรรไกรกว้าง หายใจลำบากหรือเหนื่อยง่าย เป็นต้น
- ชนิดที่รุนแรงน้อยถึงปานกลาง ส่วนใหญ่มีอาการซีดเหลืองเล็กน้อย และอาจต้องได้รับการให้เลือดเป็นครั้งคราว
การรักษาให้หายขาดทำได้ด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากผู้อื่นซึ่งมีลักษณะของเม็ดเลือดขาวเหมือนกับผู้ป่วย ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาและเสี่ยงเสียชีวิตได้
โรคซีสติกไฟโบรซีส (Cystic fibrosis)
คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนส์ ส่งผลให้สารคัดหลั่งของอวัยวะต่างๆ เหนียวข้นกว่าปกติ เช่น ปอด ตับ ตับอ่อน และลำไส้ รวมไปถึงอาจทำให้เกิดอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ เช่น การเป็นโรคหอบหืด หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด หรือมีโอกาสเป็นโรคปอดบวมบ่อยๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร การย่อยอาหาร ลำไส้เล็กไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ท้องอืด ปวดท้อง ลำไส้อุดตันในทารกแรกเกิด ท้องผูกอย่างรุนแรง เป็นต้น และยังส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์
ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาทำได้เพียงบรรเทาอาการ และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน
โรคมะเร็ง
นอกจากจะเป็นโรคร้ายยอดฮิตในไทยแล้ว โรคมะเร็ง ยังนับว่าเป็นอีกโรคที่มาจากพันธุกรรม เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งรังไข่, มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น หากมีพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยง ก็อาจจะเพิ่มโอกาสเป็นโรคมะเร็งได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้น ถ้าคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง มีประวัติการเป็นโรคมะเร็ง ก็ควรหมั่นไปตรวจเช็กสุขภาพบ่อยๆ เพื่อให้เราสามารถรับมือได้ทันท่วงทีนั้นเอง
โรคเบาหวาน
อีกหนึ่งโรคร้ายที่หลายคนมองว่า เกิดจากพฤติกรรมในการกินอาหาร นั่นเป็นเพียงแค่หนึ่งในปัจจัยเท่านั้น แท้จริงแล้ว โรคเบาหวานจะแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ในที่นี้ ชนิดที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีโอกาสเกิดมากกว่า โดยมีความเสี่ยงประมาณ 10 %
ซึ่งโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ประมาณ 95 % ของผู้ที่ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้ออินซูลินร่วมกับการที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอ
โรคหัวใจ
โรคหัวใจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคลิ้นหัวใจ, โรคเบาหวาน หรือ มีพฤติกรรม สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์, ใช้สารเสพติด, เครียด แล้ว ยังรวมไปถึงการปัจจัยที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอีกด้วย!
ซึ่งจากสถิติพบว่า 1 ใน 200 คน ที่เป็นโรคหัวใจ มักมีสาเหตุจากพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีผลวิจัยระบุว่า ผู้ที่มีพี่น้องเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจก่อนวัยอันควร จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่าขึ้นไป
ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายหากครอบครัวมีประวัติป่วยโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์และหมั่นเช็กสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคอย่างสม่ำเสมอ
โรคอัลไซเมอร์
หลายคนอาจจะเข้าใจว่า โรคอัลไซเมอร์นั้น เป้นโรคที่เกิดขึ้นตามวัย ตามอายุ แต่รู้หรือไม่ว่า คนที่อายุยังน้อยได้เหมือนกัน แต่อาจแตกต่างกันตรงที่สาเหตุ
ผู้สูงอายุจะเป็นอัลไซเมอร์ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพหรือมีส่วนเสียหายของสมอง แต่อัลไซเมอร์ในวัยรุ่นหรือวัยกลางคนจะเกิดจากพันธุกรรมเป็นหลักนั่นเอง ซึ่งจะมีค่าความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ชนิดเกิดก่อนวัย สูงถึง 50% เลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่า บางครั้งโรคร้ายนั้นอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา แต่บางครั้งก็อาจแฝงมาในพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกหลาน และการดูแลสุขภาพตัวเองนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเหล่านี้ได้
แต่ที่พลาดไม่ได้เลย ก็คือ การทำประกันสุขภาพเผื่อเอาไว้นั้นเอง โดยเฉพาะ ประกันสุขภาพโรคร้าย ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระด้านการเงินสำหรับการรักษาได้อีกด้วย คลิกเลย กับ ประกันสุขภาพโรคร้าย จาก Rabbit Care