แคร์สุขภาพ

รู้จักโรคฮีโมฟีเลีย ภัยอันตรายหากเลือดไหลไม่หยุด!

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: June 9,2023
  
Last edited: April 17, 2024
Hemophilia

หากคนเราเลือดไหลไม่หยุดจะมีเป็นอันตรายแค่ไหน วันนี้แรบบิท แคร์ จะมาแชร์ข้อมูลของโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือโรคเลือดไหลไม่หยุด มาให้ทุกคนได้ทราบ โรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไร อันตรายแค่ไหน และผู้ที่เป็นโรคนี้ต้องดูแลตัวเองอย่างไร ว่าแล้วก็ไปอ่านกันเลย

Hemophilia คืออะไร?

โรคเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) เป็นภาวะที่เกิดจากข้อบกพร่องในระบบการแข็งตัวของเลือด โดยเลือดไม่สามารถแข็งตัวเพียงพอเมื่อเกิดบาดแผลหรือบาดเจ็บใด ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการเลือดไหลนานกว่าคนปกติทั่วไป โดยเฉพาะเลือดที่ไหลออกจากแผลตามข้อศอก ข้อเท่า หรือหัวเข่า เป็นต้น หากเลือดไหลไม่หยุดต่อไปก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แม้ว่าโรคฮีโมฟีเลียจะไม่รักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองจนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

โรคฮีโมฟีเลีย สาเหตุมาจากอะไร?

โรคฮีโมฟีเลีย เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม X จากทางพันธุกรรม ต้องอธิบายก่อนว่าตามหลักปกติแล้วเมื่อเลือดออก ร่างกายจะมีกลไกห้ามเลือดโดยจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างการหดตัวของหลอดเลือด การเกาะกลุ่มกันของเม็ดเลือด และการเกิดลิ่มเลือด โดยการทำงานร่วมกันนี้เกิดขึ้นจากการของโปรตีนหลายชนิด ผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียจะขาดแคลนโปรตีนเหล่านี้ ทำให้กลไกหยุดเลือกทำงานบกพร่องนั่นเอง

โรคฮีโมฟีเลียนับเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานได้ มักพบในเพศชาย ส่วนผู้หญิงแม้จะไม่แสดงอาการแต่สามารถสืบทอดความผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้เช่นกัน นอกจากนี้มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้โดยที่ครอบครัวไม่เคยเป็นมาก่อนอีกด้วย

โรคเลือดไหลไม่หยุด

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลียหรือโรคเลือดไหลไม่หยุดจะมีการจำแนกประเภทดังนี้คือ

  • Hemophilia A เกิดจากร่างกายขาดโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัวประเภท Factor 8 ซึ่งพบมากที่สุดในบรรดาผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้
  • Hemophilia B เกิดจากร่างกายขาดโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัวประเภท Factor 9 ซึ่งพบน้อยลงมาจากประเภท A หลายเท่า
  • Hemophilia C เกิดจากร่างกายขาดโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัวประเภท Factor 11 ซึ่งมีอาการไม่รุนแรงและพบได้น้อย


โรคฮีโมฟีเลีย อาการเป็นอย่างไร?

โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) ปรากฏอาการหลากหลายรูปแบบได้แก่

1. มีเลือดออกจากบาดแผลหรือบาดเจ็บจำนวนมาก ห้ามเลือดยาก เลือดไหลนาน เนื่องจากกลไกทำให้เลือดแข็งตัวทำงานผิดปกติ
2. มีเลือดออกตามเหงือกและไรฟัน โดยการแปรงฟันหรือทำความสะอาดเหงือกอาจทำให้เลือดออกได้ง่าย
3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียมักพบรอยฟกช้ำเป็นจ้ำตามร่างกาย
4. มีเลือดออกภายในร่างกาย โดยเกิดเลือดออกในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการบวมหรือปวดในส่วนนั้น ๆ
5. มีเลือดออกในข้อต่อตามร่างกาย เช่น ข้อศอกหรือข้อเข่า ทำให้เกิดอาการบวมและปวดในข้อ เป็นต้น
6. มีอาการเลือดกำเดาไหลไม่หยุด หรือไหลโดยไม่มีสาเหตุ
7. เลือดออกในปริมาณมากหลังจากมีการผ่าตัด
8. ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียบางรายอาจมีอาการ ปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด

นอกจากนี้ผู้ป่วยเป็น Hemophilia อาจมีอาการอื่น ๆ ที่เป็นสัญญาณแจ้งเบื้องต้นแม้ว่าเลือดจะไม่ออกให้เห็นชัด ๆ ก็ตาม เช่น มีอาการปวดและบวมตามข้อต่ออย่างเฉียบพลัน มีการปวดหัวรุนแรง เห็นภาพซ้อน คลื่นไส้อาเจียนบ่อย ๆ ร่างกายอ่อนเพลียเหนื่อยล้าง่าย เป็นต้น หากพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าวควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที

โรคเลือดไหลไม่หยุด

ระดับอาการความรุนแรงของโรคฮีโมฟีเลีย

โรคฮีโมฟีเลียสามารถแบ่งความรุนแรงของผู้ป่วยได้ 3 ระดับคือ

1. โรคฮีโมฟีเลียระดับความรุนแรงน้อย ซึ่งมักจะไม่แสดงอาการหากไม่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด หรือการถอนฟัน โดยผู้ที่ป่วยจะมีระดับ Factor ประมาณ 5 -40 เปอร์เซ็นต์ของคนปกติ
2. โรคฮีโมฟีเลียระดับความรุนแรงปานกลาง จะมีเลือดออกในข้อและกล้ามเนื้อเมื่อได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยผู้ป่วยประเภทนี้จะมีระดับ Factor ประมาณ 1 – 5 เปอร์เซ็นต์ของคนปกติ
3. โรคฮีโมฟีเลียระดับความรุนแรงมาก ผู้ป่วยจะมีเลือดออกในข้อและตามกล้ามเนื้อเองแม้จะไม่ได้รับอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตาม และมักพบว่าผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ก็จะมีรอยจ้ำเขียวตามร่างกายอย่างเห็นได้ชัด ผู้ที่ป่วยประเภทนี้จะมีระดับ Factor ต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของคนปกติ

โรคฮีโมฟีเลียรักษาอย่างไร สามารถหายขาดได้หรือไม่?

อย่างที่กล่าวไปว่าโรคเลือดไหลไม่หยุดหรือ Hemophilia เป็นโรคทางพันธุกรรม จึงไม่สามารถป้องกันได้ และผู้ป่วยก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เมื่อเป็นแล้วย่อมเป็นตลอดชีวิต แต่ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียสามารถรักษาบรรเทาอาการได้ในยุคปัจจุบันให้สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ โดยแพทย์จะใช้ยา Factor ตามประเภท เช่น Factor 8, Factor 9 ฉีดเข้าเส้นเลือด ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด ซึ่งยาดังกล่าวจะเป็นการเพิ่ม Factor ในเลือด ทำให้เลือดสามารถแข็งตัวได้ตามปกติเมื่อมีบาดแผล แต่ถ้าใครไม่สะดวกที่ไปพบแพทย์เผื่อฉีดยาบ่อย ๆ ผู้ป่วยก็สามารถฝึกฉีดยาเองที่บ้านได้โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย จะมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

ผู้ป่วยที่เป็นโรค Hemophilia สามารถดูแลตัวเองได้โดยดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • ดูแลรักษาตนเองให้ปลอดภัย ป้องกันไม่ให้มีบาดแผล ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเมื่อทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง
  • ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบเลือด เช่น ผักเขียวหรือผลไม้ที่มีวิตามิน K และธาตุเหล็กสูง
  • หมั่นออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย
  • ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียตรวจร่างกายตามที่แพทย์นัดอย่างเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เลือดออกง่าย เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาละลายลิ่มเลือด เป็นต้น
  • รักษาสุขภาพช่องฟันให้สะอาด เพื่อป้องกันการเลือดออกตามไรฟัน และการถอนฟัน
  • จัดข้าวของในบ้านให้เรียบร้อย เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่มีความคม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

จะเห็นได้ว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลียต้องระวังไม่ให้ตนเองเกิดอุบัติเหตุเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีความเสี่ยงอันตรายมากกว่าคนปกติทั่วไป แต่ทั้งนี้แม้ว่าคุณจะระวังแค่ไหน อุบัติเหตุก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ แรบบิท แคร์ จึงขอแนะนำให้ทำประกันอุบัติเหตุไว้ก่อน เพราะอาจบาดเจ็บขึ้นมา อย่างน้อยก็ไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาพยาบาลนั่นเอง

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024