แคร์สุขภาพ

ตอบคำถามยอดฮิต ออฟฟิศซินโดรม รักษาให้หายขาดได้ไหม

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
Published: January 26,2023
  
Last edited: March 5, 2024
ยืดเส้นป้องกันการเป็นออฟฟิศซินโดรม

ปัจจุบันออฟฟิศซินโดรมไม่ใช่อาการที่เกิดขึ้นกับคนในช่วงวัยทำงานหรือนั่งทำงานภายในออฟฟิศเพียงเท่านั้น แต่เป็นอาการอันเกิดจากพฤติกรรม ที่สร้างความทรมานและความรำคาญใจให้กับคนทุกวัยในทุกสายอาชีพซึ่งต้องทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันโดยใช้อิริยาบถเดิม ๆ ได้เลยทีเดียว แล้วเจ้าอาการนี้เมื่อเป็นแล้วจะสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ เรามาทำความเข้าใจและรู้จักออฟฟิศซินโดรมให้มากขึ้นไปพร้อม ๆ กัน

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    หากเป็นออฟฟิศซินโดรมแล้วสามารถรักษาด้วยวิธีไหน หายขาดได้หรือไม่ ?

    คำถามที่หลายคนคาใจ ถ้าหากเป็นออฟฟิศซินโดรมแล้วจะต้องทำการรักษาด้วยวิธีไหน และสามารถหายขาดได้หรือไม่ คำตอบคือสามารถรักษาได้ แต่จะหายขาดหรือมีอาการกลับมาอีกไหมนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งในส่วนของแนวทางการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมนั้น แรบบิท แคร์ จะอธิบายให้อ่านกันโดยขอแบ่งเป็นการรักษาแบบให้ผลระยะสั้น และการรักษาแบบให้ผลยั่งยืน

    วิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมที่ให้ผลระยะสั้น (บรรเทาอาการ)

    วิธีการกลุ่มนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะสามารถทำได้ง่าย ทำเองก็ได้ เช่น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยตัวเอง ทาครีมแก้ปวด แปะแผ่นลดปวด รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ หรือหากต้องการออกไปใช้บริการยังสถานบริการก็มีตัวเลือกหลากหลาย ราคาไม่แพง เช่น การนวดผ่อนคลาย เพียงแต่ส่วนมากผลที่ได้จะช่วยให้อาการทุเลาลงเท่านั้น หรือใครเป็นไม่มากอาจรู้สึกว่าอาการหายไป แต่หากกลับไปทำพฤติกรรมเหมือนเดิมอาการออฟฟิศซินโดรมก็จะกลับมาให้รำคาญใจในเวลาไม่นาน

    วิธีการรักษาแบบให้ผลยั่งยืน

    วิธีการกลุ่มนี้เป็นวิธีการที่ได้ผลดีและเป็นประตูสู่การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมให้หายขาด สิ่งสำคัญอยู่ที่การปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตและการทำงาน เริ่มต้นได้จากสำรวจสาเหตุของการเกิดอาการ ให้ความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและมีวินัยในการปรับปรุงแก้ไข หมั่นออกกำลังกาย รวมถึงอาจใช้วิทยาการการรักษาทางการแพทย์เข้ามาร่วมรักษาออฟฟิศซินโดรม

    รักษาออฟฟิศซินโดรม

    การรักษาออฟฟิศซินโดรมโดยใช้วิทยาการทางการแพทย์

    นอกจากจะทำการปรับพฤติกรรมแล้ว ปัจจุบันมีวิทยาการทางแพทย์มากมายให้เราได้เลือกสรร ทั้งแพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน และแพทย์แผนปัจจุบันอยากลองแบบไหนมีให้เลือกตั้งแต่ราคาสบาย ๆ ไปถึงราคาที่ต้องรูดบัตรเครดิตกันเลยทีเดียว และแอบกระซิบบอกก่อนว่าบางบริษัทประกัน มีประกันที่คุ้มครองเฉพาะด้าน ครอบคลุมการรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วย ใครคิดว่าตัวเองสุ่มเสี่ยงการเป็นออฟฟิศซินโดรม ในอนาคตต้องทำการรักษา ลองหาข้อมูลแล้วซื้อประกันที่ครอบคลุมกันดู 

    รักษาด้วยวิธีการฝังเข็ม

    วิธีการรักษาแบบแพทย์แผนจีนโบราณ เป็นการปรับการไหลเวียนของเลือด ลมปราณ และพลังงานในร่างกายให้เกิดความสมดุล ช่วยกระตุ้นให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น โดยแพทย์แผนจีนผู้มีความเชี่ยวชาญจะมีความรู้และสามารถฝังเข็มได้ตรงจุด รักษาความปวดเมื่อย ความอ่อนล้าของร่างกายได้เป็นอย่างดี 

    รักษาด้วยวิธีการครอบแก้ว

    อีกหนึ่งวิธีการรักษาบำบัดตามตำราแพทย์แผนจีนโบราณ ช่วยขจัดเลือดคั่ง ลดความปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อ กระตุ้นเลือดลมให้ไหลเวียนดีขึ้น กำจัดของเสีย ระบายความชื้นออกจากร่างกาย โดยใช้อุปกรณ์แก้วทรงกลมไล่อากาศออกด้วยความร้อน และนำมาวางครอบลงบนบริเวณเส้นลมปาน 

    รักษาด้วยวิธีการจัดกระดูก

    วิธีการที่ฮิตมากในปัจจุบันและมักเห็นตามโซเชี่ยลแพลตฟอร์มต่าง ๆ กันอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดกระดูกนี้จะมีทั้งการจัดกระดูกแบบแพทย์แผนไทย และการจัดกระดูกแบบแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งเป็นแพทย์ทางเลือกเพื่อบรรเทาอาการปวดเฉพาะด้านที่เรียกว่า ไคโรแพรคติก (Chiropractic) ซึ่งความจริงแล้วการรักษาทั้ง 2 แบบนี้มีหลักการรักษาเหมือนกัน คือการจัดกระดูกในร่างกายของคนไข้ที่อยู่ผิดตำแหน่งเพื่อให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ช่วยปรับสรีระร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกที่ควร ลดโอกาสการใช้ชีวิตผิดอิริยาบถซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาความปวดเมื่อย 

    รักษาด้วยวิธีการทำกายภาพบำบัด

    อีกวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน และยืนยันแล้วว่าได้ผลจริงอย่างการกายภาพบำบัดนั้น ก่อนเริ่มทำจะมีการวินิจฉัยสาเหตุจากนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ประเมินอาการ และหาวิธีการรักษาที่ตรงจุด ซึ่งจะมีวิธีการรักษาหลายแบบด้วยกัน ตั้งแต่การใช้ยา ใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดร่วมกับการกดจุด ดัด ดึง นวด บริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อลดอาการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ ไปจนถึงการรักษาโดยการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (electrical stimulation) คลื่นเหนือเสียง (ultrsound) คลื่นกระเเทก (shockwave) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (shotwave diathermy) เป็นต้น

    ทั้งนี้ก่อนตัดสินใจทำการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยวิทยาการทางการแพทย์ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำว่าให้ทุกคนลองศึกษา หาข้อมูลเพิ่มเติม และเลือกสถานบริการหรือโรงพยาบาลที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีความน่าเชื่อถือ เพราะการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้หากทำโดยผู้ที่ไม่มีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญ อาจเกิดข้อผิดพลาดและผลเสียต่อร่างกายของเราอย่างร้ายแรง

    ทราบสาเหตุ อาการ วิธีการป้องกันรวมถึงวิธีการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมกันไปแล้ว หวังว่าทุกคนจะมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่แข็งแรง ใครที่ทำการรักษาออฟฟิศซินโดรมเรียบร้อยแล้วก็อย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และไม่ทำพฤติกรรมที่จะทำให้อาการออฟฟิศซินโดรมกลับมารบกวนสุขภาพและชีวิตประจำวันอีกครั้ง

    ออฟฟิศซินโดรม รักษาให้หายขาดได้!

    สาเหตุของการเป็นออฟฟิศซินโดรม เกิดจากอะไร

    ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากพฤติกรรมในการทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันแบบผิดวิธีจนทำให้ร่างกายต้องรับภาระหนักจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน นอน เล่นโทรศัพท์มือถือ ก็ล้วนทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ และยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม สภาวะร่างกายหรือสภาวะอารมณ์ด้านลบอย่างความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาซึ่งถือปัจจัยเสริมที่ก่อให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้านิ่งนอนใจและปล่อยไปในระยะยาวจากที่เป็นออฟฟิศซินโดรมเพียงอย่างเดียวก็จะพัฒนาไปสู่อาการไมเกรนในอนาคตได้อีกด้วย

    รู้จักออฟฟิศซินโดรมทั้ง 3 ประเภท

    หากพูดถึงอาการออฟฟิศซินโดรม แน่นอนว่าสิ่งแรกที่เราจะนึกถึงคงเป็นเรื่องของการปวดเมื่อยบริเวณ คอ บ่า ไหล่ แต่รู้หรือไม่ว่าออฟฟิศซินโดรมมีการจำแนกกลุ่มตามลักษณะอาการด้วย โดย ร.พ.ศิริราชได้แบ่งอาการออฟฟิศซินโดรมเป็น 3 ประเภท

    อาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนบนร่างกาย

    ถือเป็นอาการที่ใกล้ตัวและทุกคนต่างคุ้นเคยมากที่สุด นั่นก็คือการรู้สึกปวดบริเวณ คอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือเอว โดยมักมีอาการปวดเป็นวงกว้าง ระบุตำแหน่งที่ปวดอย่างชัดเจนได้ยาก รวมถึงอาจมีอาการปวดลุกลามหรือรู้สึกปวดแบบร้าว ๆ ไปยังบริเวณข้างเคียงได้ ซึ่งการปวดลักษณะนี้ จะมีระดับความรุนแรงในการปวดเริ่มตั้งแต่รู้สึกล้า ๆ รู้สึกปวดไม่มากพอให้รู้สึกรำคาญ ไล่ระดับไปจนถึงปวดมากจนทรมานได้เลยทีเดียว

    อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ

    เป็นอาการที่มีโอกาสพบร่วมได้ในบางบุคคล ซึ่งจะรู้สึกเหมือนเป็นเหน็บ ชา ซ่า ๆ วูบ เย็น ขนลุก หรือมีเหงื่อซึมบริเวณที่ปวด และหากบริเวณที่ปวดอยู่ที่คอ อาจส่งผลให้รู้สึกมึนงง ตาลาย ตาพร่า หูอื้อ ได้อีกด้วย

    ผู้หญิงมีอาการออฟฟิศซินโดรม

    อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ

    อาการนี้มักพบมากในหมู่คนวัยทำงาน ซึ่งมักทำงานอยู่ในอิริยาบถที่มีการกดทับบริเวณเส้นประสาทนานจนเกินไป ส่งผลให้มีอาการอ่อนแรง มักมีอาการชาบริเวณแขนและมือ

    สัญญาณเตือนการเป็นออฟฟิศซินโดรม

    สำหรับใครที่ยังโชคดีไม่เป็นออฟฟิศซินโดรมแล้วอยากเช็กตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดอาการดังกล่าวต้องหมั่นสำรวจตัวเองให้ดี หากร่างกายเริ่มส่งสัญญาณเตือนแบบนี้ ต้องรีบปรับพฤติกรรม

    • เริ่มรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ เป็นวงกว้างทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ
    • มีอาการปวดบริเวณต่าง ๆ บ่อยขึ้นกว่าปกติ แม้จะหายได้ในเวลาไม่นาน
    • เริ่มนั่งหรือยืนไม่สบายตัว รู้สึกว่าต้องขยับตัวคลายความเมื่อยล้าตลอดเวลา
    • เริ่มมีอาการปวดตึงที่ขา หรือมีอาการเหน็บชาทั้งที่ไม่เคยเป็น
    • เริ่มมีอาการมือชา นิ้วล็อก หรือเจ็บบริเวณข้อมือ
    • รู้สึกปวดตา ตาพร่า หรือมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย

    อาการเหล่านี้เป็นอาการเริ่มต้นก่อนเข้าสู่การเป็นออฟฟิศซินโดรมเต็มขั้น หากใครมีอาการเหล่านี้ต้องรีบสังเกตวิธีการใช้ชีวิตประจำวันและเร่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนอาการจะลุกลามจนต้องทำการรักษาใหญ่โต

    พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรม

    พฤติกรรมห้ามทำ หากไม่อยากเป็นออฟฟิศซินโดรม

    หลังจากทราบกันไปแล้วว่าสาเหตุของออฟฟิศซินโดรมมาจากอะไร สัญญาณเตือนก่อนเป็นมีอาการแบบไหน ก็ต้องใส่ใจกับพฤติกรรมที่ห้ามทำหากไม่อยากเผชิญกับความทรมานระยะยาว

    • ไม่นั่งทำงานหรืออยู่ในอิริยาบถเดิมนานเกินไป ควรขยับตัวยืดเส้นยืดสายทุก 30 นาที
    • ไม่นั่งหลังค่อม คอยื่น หรือนั่งเอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง ควรนั่งในท่าที่หลังและคอตั้งตรง
    • ไม่ใส่ส้นสูงหากต้องยืนนาน ๆ หรือเดินเป็นระยะทางไกล ควรเลือกรองเท้าที่ใส่สบายซัพพอร์ทการเดิน
    • ไม่จ้องหน้าจอเป็นระยะเวลาติดต่อกันนานเกินไป ควรหยุดพักสายตาทุก 30 นาที
    • ไม่ปล่อยให้ตัวเองเคร่งเครียดกับงานมากจนเกินไป ต้องรู้จักผ่อนคลายและรู้จักปล่อยวางกับงานที่ทำ
    • ไม่ก้มหน้าเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน ๆ ควรเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง เช่น ออกกำลังกาย
    DoDon’t
    ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายทุก 30 นาทีนั่งทำงานอยู่ในอิริยาบถเดิมนานเกินไป
    นั่งในท่าที่ถูกต้อง หลังตรง คอตั้งตรงนั่งหลังค่อม คอยื่น นั่งเอียงตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง
    สวมใส่รองเท้าที่ใส่สบาย ซัพพอร์ทการเดินใส่ส้นสูงเมื่อต้องยืนนาน ๆ หรือเดินเป็นระยะทางไกล
    หยุดพักสายตาจากการจ้องหน้าจอทุก 30 นาทีจ้องหน้าจอเป็นเวลาติดต่อกันนานเกินไป
    โฟกัสกับงานแต่พอดี รู้จักผ่อนคลายและปล่อยวางเคร่งเครียดกับงานมากจนเกินไป ไม่ยืดหยุ่น
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก้มหน้าเล่นแต่โทรศัพท์เป็นเวลานาน ๆ
    เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ สมัครเลย!
    icon angle up or down

    สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

    เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
      

     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024