โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคร้ายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 16 กันยายน 2561 ระบุว่า โรคหลอดเลือดหัวใจมีอัตราการเสียชีวิตถึง 20,855 คนต่อปี หรือชั่วโมงละ 2 คน ซึ่งข้อมูลตัวเลขจำนวนคนไทยที่ป่วยด้วยโรคนี้ถือเป็นโรคร้ายแรงเพราะเป็นอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตคนมากที่สุด และรองลงมาเป็นอันดับ 2 เมื่อนำไปเทียบกับโรคมะเร็ง
และจากตัวเลขจากกระทรวงสาธารณสุข ยังบ่งชี้ด้วยว่าในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจกว่า 30,000 คน และมีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี่จึงถือเป็นอีกโรคหนึ่งที่ต้องระวัง วันนี้ Rabbit Care จะพาไปทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น
โรคหลอดเลือดหัวใจ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม
สาเหตุและอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่พบมากในกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเริ่มมีอายุน้อยลง เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มีมากขึ้น อย่างเช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง รวมถึงการสูบบุหรี่ก็อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในคนที่มีอายุน้อยได้ด้วยเช่นกัน
การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโดยทั่วไปจะเกิดจากการที่มีภาวะตีบหรือตันของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมันที่พอกพูนรอบ ๆ ของหลอดเลือดหัวใจ และเมื่อเกิดการตีบตันก็จะทำให้หัวใจขาดสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงผู้ป่วย ก็จะเกิดอาการต่าง ๆ ตามมา เช่นอาการเจ็บแน่นหน้าอก เจ็บบริเวณกลางหน้าอก ในผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันค่อนข้างมากที่พบมากสุด คือ อาการเจ็บหน้าอกอย่างมาก จนทนไม่ได้ เหมือนมีอะไรหนัก ๆ กดทับตรงกลางหน้าอก หรือเจ็บลงไปถึงแขนซ้าย
แต่ในขณะเดียวกันผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปถึงกรามหรือต้นแขนได้ และมักจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ใจสั่น หน้ามืด หรือมีอาการเหนื่อยง่ายมากขึ้น เมื่อสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของหัวใจได้น้อยลง ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวได้ไม่ดีเท่าที่ควร ก็อาจจะทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบ เหนื่อยง่ายมากขึ้น จนหมดสติ และเสียชีวิตเฉียบพลันได้
4 วิธีของการตรวจพื้นฐานหาโรคหลอดเลือดหัวใจ
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ระบุว่า การตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นสามารถทำได้ด้วย 4 วิธีด้วยกันที่จะพบว่าเราเป็นโรคดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจได้ดังนี้
1.การตรวจร่างกาย เพื่อดูน้ำหนัก ส่วนสูง รวมถึงการจับชีพจรเพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจว่ามีความสม่ำเสมอหรือไม่ ฟังเสียงหัวใจว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ด้วย และตรวจภาวะโรคอื่น ๆ รวมด้วย เช่น โรคความดันโลหิต เป็นต้น
2.การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อบอกจังหวะการเต้นของหัวใจ บอกขนาดห้องหัวใจ บอกโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ บางชนิดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย อย่างไรก็ตามแม้ว่า เมื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ปกติก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นโรคหัวใจ
3.การตรวจด้วยเอกซเรย์ทรวงอก หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเอกซเรย์ปอด ซึ่งจะมีทั้งปอด หลอดเลือดแดงใหญ่ การกระจายของเลือดในปอด ภาวะน้ำท่วมปอด หรือหัวใจล้มเหลว เงาของหัวใจ ซึ่งบอกขนาดหัวใจได้ดีพอสมควร
4.การตรวจเลือด การตรวจหาระดับสารต่าง ๆ ในเลือด ส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวใจโดยตรง แต่เป็นการดูเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค และการใช้ยาต่าง ๆ เพื่อเป็นการลดอาการแทรกซ้อนในยาได้
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
หลังจากที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะทราบถึงความรุนแรงของโรคดังกล่าวว่าเราอยู่ในขั้นไหน เพื่อทำการรักษาต่อไปให้ถูกทาง แพทย์จะได้ควบคุมอาการและเพื่อไม่ประมาทต่อการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน โดยนายแพทย์กุลวรรธน์ พรหมชัยวัฒนา อายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน จะทำการรักษาแบบ 2 วิธีดังนี้
1.ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเริ่มต้น แพทย์จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดการดําเนินโรคและควบคุมปัจจัยเสี่ยงข้างต้น
2.เมื่อแพทย์ประเมินแล้วพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจชนิดรุนแรง แพทย์จะเข้าไปแก้ไขจุดที่หลอดเลือดหัวใจอุดตัน โดยแพทย์สามารถแก้ไขหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ 2 วิธี คือ 1) การทําบอลลูนร่วมไปกับการวางขดลวดค้ำยันหลอดเลือดเอาไว้ และ 2) ผ่าตัดช่องอกเพื่อทํา Bypass หลอดเลือดหัวใจ
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากโรคร้ายแรงและห่างไกลจากการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ คุณสามารถทำประกันโรคร้ายผ่านทาง Rabbit Care เพื่อรับความคุ้มครองทั้งการรักษาพยาบาล ค่ายา รวมทั้งกรณีที่ต้องพักฟื้น เป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย และยังช่วยให้คุณอุ่นใจขึ้นอีกด้วย
มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี