อาหารเป็นพิษ อันตรายที่หลายคนมองข้าม

ใบไม้ร่าเริง
ผู้เขียน: ใบไม้ร่าเริง Published: March 22, 2021
ใบไม้ร่าเริง
ใบไม้ร่าเริง
มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี
Thirakan T
แก้ไขโดย: Thirakan T Last edited: February 7, 2024
Thirakan T
Thirakan T
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology
อาหารเป็นพิษ

ในช่วงที่ต้องอยู่ในสภาวะเร่งรีบ หรืออาจมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารนอกบ้าน ในบางครั้งเราก็ไม่สามารถรับรู้ได้ว่า ร้านค้าต่าง ๆ หรืออาหารเหล่านั้นมีความสะอาดหรือมีสารปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ บวกกับยิ่งอยู่ในช่วงอากาศร้อนอบอ้าว อาจทำให้อาหารบางอย่างนั้นเสียหรือบูดได้ วันนี้ Rabbit Care มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อเป็นการระแวงระวังต่อการเลือกรับประทานอาหารให้ไม่เกิดปัญหาอาหารเป็นพิษอีกต่อไป 

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    อาหารเป็นพิษ

    อาการอาหารเป็นพิษมีลักษณะอย่างไร 

    อาหารเป็นพิษ หรือ โรคท้องร่วง เกิดจากการรับเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสโปรโตซัว ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้มีอาการ ปวดท้อง ถ่ายเหลว หรือบางครั้งอาจเป็นมูลเลือด รวมถึงพะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว คอแห้งกระหายน้ำ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และบางรายอาจมีไข้ หรือชีพจรเต้นเร็วร่วมด้วย ฉะนั้นแล้วเมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เป็นการด่วน เพราะร่างกายจะเกิดอาการขาดน้ำ จึงทำให้หมดเรี่ยวแรง ปากแห้ง ปัสสาวะน้อย และบางรายอาจถึงขั้นรุนแรงมากเมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้ชักหมดสติ หรือถึงขั้นร้ายแรงคือ เสียชีวิตได้

    วิธีการดูแลรักษาอาการอาหารเป็นพิษ 

    • ดื่มน้ำผสมเกลือแร่โออาร์เอส เพื่อทดแทนน้ำและแร่ธาตุที่สูญเสียไปจากการอาเจียนและถ่ายอุจจาระ โดยจิบที่ละนิดบ่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าอุจราระหยุดถ่ายแล้ว หรือรู้สึกว่าเริ่มมีอาการที่ดีขึ้น เริ่มมีแรง แล้วจึงค่อยหยุดจิบ 
    • ควรรับประทานอาหารเหลว อาการอ่อน ย่อยง่ายก่อนเพื่อเป็นการปรับลำไส้ให้กลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้น  เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด หรืออาหารรสชาติจืดที่ไม่มีรสจัดจ้าน เป็นต้น 
    • รักษาความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าเช็ดตัว ควรนำไปตากแดดเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค
    • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่บ่อยๆ เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร รวมถึงจะช่วยลดการแพร่เชื้อท้องเสียระหว่างคนต่อคนได้ 
    • ล้างผักผลไม้ให้สะอาด ด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือแช่ในน้ำเกลือ หรือน้ำผสมเบกิ้งโซดา
    • ล้างภาชนะให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร และควรใช้ช้อนกลางขณะที่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
    • รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ 
    • น้ำดื่มควรต้มให้สุกทุกครั้ง โดยเฉพาะน้ำดื่มตามตู้กดน้ำอาจไม่ได้มาตรฐาน และมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้
    • ไม่ควรรับประทานอาหารที่ปรุงทิ้งไว้ เพราะอาหารเหล่านั้นอาจบูดเน่าได้ง่าย
    • ขับถ่ายในสุขภัณฑ์ที่ถูกสุขลักษณะและล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังการขับถ่าย
    • หากมีอาการผิดปกติควรรีบนำส่งโรงพยาบาล เช่น ถ่ายหรืออาเจียนไม่หยุด หรือหิวน้ำตลอดเวลา หรือปัสสาวะไม่ออก หน้ามืด ช็อก หรือหมดสติ มีไข้ ปวดท้องอย่างรุนแรง เป็นต้น
    อาหารเป็นพิษ

    อาหารที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ

    • อาหารประเภทยำ หรือส้มตำ ที่มีการปรุงโดยไม่ผ่านความร้อน และอาจจะใช้ปลาร้าที่ไม่สุก หรือเครื่องปรุงที่ไม่สะอาด ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการติดเชื้อสารปนเปื้อนได้ จึงเป็นตัวการร้ายของการก่อโรคท้องร่วง หรืออาหารเป็นพิษนั่นเอง  
    • อาหารประเภทกะทิ เกิดการบูดเสียได้ง่าย เนื่องจากมีเชื้อจุลินทรีย์ปะปนอยู่ เพราะฉะนั้นและจะรับประทานอาหาร หรือขนมหวานที่มีกะทิเป็นส่วนผสมควรรับประทานให้หมดภายในมื้อเดียว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษได้
    • อาหารริมทาง หรืออาหารที่ขายอยู่ตามริมฟุตบาท บางร้านอาจจะไม่ได้มีผ้าคลุม หรือที่คลุมอาหาร อาจจะได้รับฝุ่นควันตามท้องถนน หรืออาจมีแมลงวันรุมตอม หากรับประทานเข้าไปอาจะได้รับเชื้อโรคสะสม อาจเสี่ยงทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้
    • อาหารทะเลสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น หอยแครงลวก รวมถึงอาหารทะเลอย่างประเภทอื่น ๆ ด้วย เช่น ปลาหมึก กุ้ง ปลา ควรผ่านความร้อนเพื่อทำให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง นอกจากนี้อาหารประเภทหมักดองก็เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงเช่นกัน ดังนั้นควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ทุกวันจะดีที่สุด
    • อาหารรสเค็ม หากรับประทานในช่วงหน้าร้อน อาจทำให้ต่อมเหงื่อนั้นทำงานหนักกว่าปกติ จึงเป็นตัวการร้ายที่ทำให้ไตทำงานหนักขึ้นด้วย ฉะนั้นแล้วถ้าหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเค็มได้ ก็จะทำให้ไตไม่ต้องทำงานหนัก และไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาด้วย
    • ผลไม้ต่างๆ ประเภทที่มีน้ำตาลฟรุตโตส เช่น ละมุด ขนุน ลำไย ฯลฯ หากรับประทานในช่วงหน้าร้อนที่มีอุณหภูมิสูง อาจส่งผลให้เกิดอาการร้อนใน และท้องเสีย ท้องร่วงได้เช่นกัน ฉะนั้นแล้วจึงควรหลีกเลี่ยงจะเป็นการดีที่สุด 
    • น้ำดื่ม ควรเลือกดื่มน้ำจากขวดที่ปิดฝาสนิท ที่ไม่เคยเปิดมาก่อน จะเป็นการเซฟตัวเองดีที่สุดหรือน้ำแข็ง หรือน้ำแข็งอาจมีการปนเปื้อนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคท้องร่วงได้ง่าย ฉะนั้นแล้วก่อนดื่มน้ำและใส่น้ำแข็งควรเลือกดูให้ดีเสียก่อน 

    อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งเราก็ไม่ได้ระแวดระวังในการรับประทานอาหาร อาจเผลอเรอกินอาหารอันตราย หรือไปร้านอาหารที่ปรุงรสที่ใส่วัสถุไม่มีคุณภาพ โดยที่เราก็ไม่อาจสามารถรับรู้ได้ จึงทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ นั่นเอง การมีประกันสุขภาพไว้ ไม่ว่าจะเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างไรก็สามารถเป็นตัวช่วยเข้ามาดูแลสุขภาพของคุณได้ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาประกันสุขภาพ สามารถซื้อได้ที่เวบไซด์ Rabbit Care

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 44724

    แคร์สุขภาพ

    เรื่องอันตรายที่มักเกิดในหน้าฝน และคุณต้องระวัง!!

    หน้าฝน ฤดูกาลที่มีทั้งคนชอบ และไม่ชอบ แน่นอนว่าสำหรับคนที่ชอบหน้าฝนอาจจะด้วยเหตุผลเพราะหน้าฝนช่วยทำให้รู้สึกชุ่มชื่น ชุ่มฉ่ำ
    กองบรรณาธิการ
    26/03/2025
    Rabbit Care Blog Image 99716

    แคร์สุขภาพ

    Co-payments: Navigate Health Insurance & Thailand’s New Rules

    Navigating the world of health insurance can be complex, filled with terms and conditions that often leave individuals feeling confused. One such term is "co-payment," a crucial aspect of understanding your healthcare costs. This guide provides a detailed explanation of co-payments, exploring their role in health insurance, how they differ from other cost-sharing mechanisms, and their impact on your overall healthcare expenses. Moreover, we'll
    Nok Srihong
    28/02/2025