สัญญาณร้ายที่บอกว่าร่างกายกำลังแย่จาก Work From Home!
หลังจากการปลดเคอร์ฟิวในบางจังหวัด ทำให้หลายคนได้กลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศเช่นเดิมกันบ้างแล้ว แต่การ Work From Home นาน ๆ น่าจะทำให้หลายคนต้องเจอกับปัญหาสุขภาพอีกมากมาย ทั้งสุขภาพจิต และสุขภาพทางกาย แล้วสัญญาร้ายอะไรกันที่บ่งบอกว่าอาการเหล่านั้นหนักมาก และร่างกายคุณกำลังมีปัญหาจากการ Work From Home ที่นานเกินไป น้องแคร์จะมาบอกต่อกัน!
เครียดอย่างไม่มีสาเหตุ
เป็นเรื่องธรรมดาที่ใคร ๆ ก็ต่างมีเรื่องให้เครียด แต่คงไม่ดีแน่ หากความเครียดนั่นไม่ได้นอนหลับหนึ่งตื่นแล้วหายไป แต่ยังคงอยู่และส่งผลต่อสุขภาพทางกาย และสุขภาพจิต!
ความเครียดจากการ WFH เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะนอกเหนือจากความเครียดเรื่องงาน เรื่องการเงิน หรือเรื่องอื่น ๆ ในแต่ละวันแล้ว การไม่ได้พบปะสังคมเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือการอยู่ในสถานที่เดิม ๆ อาจทำให้หลายคนเครียดได้โดยไม่รู้ตัว บางคนเครียดจนเกิดเป็นภาวะหมดไฟในการทำงานซึ่งส่งผลกระทบหลักต่องาน และสุขภาพกายใจ
อย่างไรก็ดี ในวันที่ 1 พ.ย. 2564 ที่ผ่านมาได้มีการปลดเคอร์ฟิว และเปิดให้ใช้บริการในร้านค้าหลายๆ ส่วน คุณอาจจะใช้โอกาสนี้เปลี่ยนบรรยากาศบ้างเป็นครั้งคราว จะช่วยลดความเครียดต่าง ๆ จากการกักตัว และการ WFH ได้
แต่ถ้าใครที่ยังกังวลเรื่องโรคโควิด-19 อยู่ อาจลองใช้วิธีอื่น ๆ แทน เช่น ค้นหางานอดิเรก หรือสิ่งที่สนใจอยากจะทำอะไรใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเข้าครัว, การศึกษาภาษาที่สาม หรือแม้แต่การดูหนังฟังเพลงโปรดก็จะช่วยลดความเครียด ช่วยเติมไฟ เพิ่มพลังในการทำงานได้เป็นอย่างดี
หรือหากใครที่เป็นมากกว่าแค่ความเครียด ภาวะหมดไฟในการทำงาน และเริ่มรู้สึกว่าเครียดมากกว่าปกติ คุณอาจจะลองติดต่อเพื่อพบจิตแพทย์ เพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขต่อไปก็ได้!
พักผ่อนน้อย เหนื่อย ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ออกไปไหน
หลายคนแม้จะบอกว่าไม่ได้เครียด แต่การลุกขึ้นมาทำงานในแต่ละวันช่างยากลำบาก บางคนเกิดปัญหาพักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องมาจากปัญหาเวลาทำงานเบียดเบียนเวลาพักผ่อน อาการแบบนี้ไม่ดีแน่ เพราะนอกจากจะส่งผลให้เครียด หรือบางคนอาจส่งผลต่อสุขภาพกายต่อไปได้
กรณีนี้เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ อาจเป็นเพราะการที่ไม่สามารถแยก “เวลาทำงาน” กับ “เวลาส่วนตัว” ได้ หรือเพราะรูปแบบการทำงานที่ทำให้ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาจนเหมือนไม่ได้พักผ่อน ส่งผลต่อสุขภาพทางกายอย่างเห็นได้ชัด บางคนกินข้าวไม่ตรงเวลา บางคนต้องอยู่ดึกดื่นเพราะคอยจัดการปัญหางาน วิธีการเหล่านี้บอกเลยว่าแก้ไขไม่ยาก!
สำหรับคนที่ประสบปัญหานี้ น้องแคร์ขอแนะนำให้รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆโดยด่วน! เริ่มจาก
- พยายามสร้างกรอบเวลาในการทำงานที่ชัดเจน เช่น พยายามตื่นมาอาบน้ำแต่งตัวให้เหมือนไปทำงานที่บริษัท, พยายามพักเที่ยงตามเวลาเดิมที่บริษัทกำหนดไว้ รวมถึงการเลิกงาน และพยายามแจ้งกับทีมตัวเองเสมอว่าไม่ตอบนอกเวลาทำงาน เพื่อให้เรามีเวลาในการพักผ่อน
- แยกพื้นที่ทำงานออกจากพื้นที่พักผ่อน เช่น มีโต๊ะทำงานที่แน่นอน, จัดมุมพักผ่อนเล็กๆ ให้กับตัวเอง
- หาทางออกในการวางแผนการทำงานให้ชัดเจนกับที่ทำงาน เพื่อสร้างบาลานซ์ชีวิตและงานให้ลงตัว โดยเสนอว่านี่เป็นวิธีที่ทำให้ทำงานได้ดีมากขึ้นกว่าการทำงานตลอดเวลา
ปวด คอ บ่า ไหล่ หลัง หรือข้อมือ
หลายคนเมื่อต้องนำงานกลับมาทำที่บ้านนั้น แม้จะมีอุปกรณ์ที่ดี ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทมาอย่างครบถ้วน แต่พื้นที่การทำงานหลายคนอาจจะไม่ช่วยเท่าไหร่เมื่อเราต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ เหมือนตอนอยู่ออฟฟิศ และด้วยเหตุนี้เอง เมื่อเรานั่งท่าเดิมเป้นระยะเวลานาน นั่งไม่ถูกท่า ถูกวิธี หลายคนอาจทำงานบนเตียงเสียด้วยซ้ำ นี่เองที่ส่งผลให้ร่างกายของเราเริ่มประท้วง เกิดเป็นอาการปวดพวกคอบ่าไหล่ หรือมีอาการทุกอย่างไม่ต่างจากโรคออฟฟิศซินโดรมนั่นเอง
โดยการแก้ปัญหาด้านสุขภาพเหล่านี้ นอกจากคุณควรลุกขึ้นมาขยับร่างกายให้มากขึ้นแล้ว สภาพแวดล้อมในการทำงานก็สำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การเลือกซื้อโต๊ะและเก้าอี้ทำงานให้ถูกกับสรีระ, นั่งทำงานให้ถูกท่า พยายามปรับแสงหน้าจอ หรือจัดแสงในบ้านให้เพียงพอจะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ลงได้
หรือคุณจะเลือกรักษาอาการปวดจากโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีการจัดกระดูก หรือแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ เช่น การฝังเข็ม การนวดประคบ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะโรงพยาบาลบางแห่ง และประกันสุขภาพบางพื้นที่เปิดให้เคลมได้
สำหรับใครที่มองหาว่าประกันออฟฟิศซินโดรม ที่ไหนดี ลองคลิกปรึกษาเรา แรบบิท แคร์ สิ ที่นี้มีคำแนะนำในการทำประกันสุขภาพเจ๋ง ๆ ที่ครอบคลุมได้อย่างแน่นอน!
ร่างกายเริ่มมีปัญหาโรคอื่น ๆ ตามมา
ปัญหาอื่น ๆ ของการ Work From Home นอกเหนือจากสุขภาพจิตจะย่ำแย่แล้ว การนั่งอยู่กับที่นิ่ง ๆ ไม่ขยับไปไหน อาจเสี่ยงก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกินแล้วไม่ได้ขยับ เพราะไม่ได้เดินทางไปไหน หรือไม่ได้ออกกำลังกายเป็นระยะเวลานาน ๆ ยิ่งเสี่ยงต่อโรคทางเดินอาหารได้ โดยเฉพาะ 4 โรค ดังต่อไปนี้
- อาหารไม่ย่อย คือ ภาวะความไม่สบายที่เกิดบริเวณหน้าอกหรือใต้ลิ้นปี่ ความรู้สึกอิ่มแน่นเกินไป เกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังการรับประทานอาหาร อาจมีเพียงอาการเดียวหรือหลายอาการร่วมได้ เช่น ท้องอืด, แน่นท้อง หรือมีลมในท้อง มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การรับประทานอาหารมากเกินไปหรือเร็วเกินไปเพราะเร่งรีบไปทำงานต่อ, การทานอาหารรสจัดและไขมันสูง, ดื่มแอลกอฮอล์ กินช็อกโกแลต ดื่มชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมมากเกินไป นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสูบบุหรี่ และความวิตกกังวลหรือความเครียด ที่เกิดจากการกักตัวเป็นระยะเวลานาน ๆ ไม่ได้พบปะสังคม
- ท้องผูก มีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ คือ เกิดจากสรีระวิทยาของการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป และสาเหตุจากปัจจัยบางอย่าง เช่น ยาหรืออาหารเสริมบางชนิด โรคทางต่อมไร้ท่อ และโรคทางระบบทางเดินอาหาร
- ลำไส้แปรปรวน เป็นโรคที่มีภาวะการทำงานของลำไส้ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด มีแก๊ส และปวดท้อง ร่วมกับการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูก, ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกับท้องเสีย อีกทั้งยังเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในเพศหญิง รวมถึงผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น มีอายุต่ำกว่า 45 ปี, มีประวัติครอบครัวเป็นโรค, เป็นผู้ที่มีความเครียดสะสมและมีความวิตกกังวลสูง
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ในลำไส้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจนควบคุมไม่ได้ และไม่ได้รับการรักษา มักพบอาการท้องอืด ท้องเสียสลับกับท้องผูก มีเลือดปนมาในอุจจาระ ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดคล้ายปวดอุจจาระตลอดเวลา อาจคลำได้ก้อนในช่องท้อง ปัจจัยเสี่ยงมักมาจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง, ทานอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ๆ อาหารประเภทปิ้งย่าง หรืออาหารหมักดองเป็นประจำ, สารเคมีจากผักที่ล้างไม่สะอาด ทำให้ร่างกายได้รับสารพิษและมีการตกค้างที่บริเวณลำไส้ รวมไปถึงอาจมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย
ซึ่งโรคเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อ Work From Home เป็นระยะเวลานาน ๆ แล้วไม่มีการขยับร่างกาย หรือทานอาหารสำเร็จรูปที่เน้นง่าย รวดเร็ว เพื่อให้กลับไปทำงานต่อได้ในทันทีนั่นเอง
เพราะเรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสนใจ การพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ นอกจากจะช่วยให้รักษาอาการต่าง ๆ ได้ไว และรวดเร็วขึ้นแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย!
ไม่มีใครอยากมีภาระด้านการเงินจากเรื่องสุขภาพแน่ เพราะงั้นต้องนี่เลย ประกันสุขภาพ จาก แรบบิท แคร์ ที่นี้นอกจากประกันสุขภาพทั่วไปแล้ว ยังมีประกันสุขภาพอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ประกันรถ ประกันบ้าน ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือแม้แต่ประกันโรคร้ายแรง คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct