แคร์สุขภาพ

ตามดู! ความเชื่อ “ตากระตุก” ตามหลักวิทยาศาสตร์และโหราศาสตร์

ผู้เขียน : Tawan
Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต

close
linkedin icon
 
 
Published: October 27,2022
ตากระตุก

อาการคันตา ร่วมกับตาซ้ายหรือตาขวากระตุก หรือกล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตาเคลื่อนไหวผิดปกติ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรงทางประสาทที่ซ่อนตัวอยู่ วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับอาการตากระตุก พร้อมความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับอาการตากระตุกตามความเชื่อโหราศาสตร์ไทยมาฝากกัน

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    อาการ “ตากระตุก” ตามหลักวิทยาศาสตร์

    อาการตากระตุก หรือกล้ามเนื้อหนังตากระตุก หรือลักษณะการเคลื่อนตัวผิดจากปกติของหนังตา อาจเกิดขึ้นได้จากปัญหาการรับส่งกระแสไฟฟ้าประสาทที่ทำงานผิดปกติ จากทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต และปัญหาสุขภาพส่วนตัว ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่นำไปสู่โรคร้ายแรงทางระบบประสาทได้

    ตากระตุก คืออะไร? เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร?

    อาการตากระตุก หรือหนังตากระตุก (Eye Twitching) คือ ลักษณะที่เปลือกตาขยับเคลื่อนไหวรวดเร็วผิดปกติ หรือขยับถี่ จนก่อให้เกิดความรำคาญ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งหนังตาบริเวณเปลือกตาด้านบน และหนังตาบริเวณเปลือกตาด้านล่าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อาการตากระตุกจะเป็นลักษณะอาการที่ไม่รุนแรง ไม่เจ็บปวด เกิดขึ้นและหายได้เอง ยกเว้นในบางกรณีที่อาจมีอาการตากระตุกอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถหยุดกระตุกได้ตามปกติ เนื่องจากอาจเป็นอาการร่วมของโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท

    อาการหนังตากระตุกเกิดขึ้นได้จากปัจจัยกระตุ้นการเกิดอาการหลายสาเหตุ ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน หรือปัญหาสุขภาพประจำตัว มีตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตากระตุก ดังนี้ 

    • พักผ่อนไม่เพียงพอ
    • ความเครียดสะสม
    • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
    • ขาดวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิด
    • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป
    • ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนมากไป
    • โรคภูมิแพ้
    • สภาพแวดล้อมเป็นพิษ
    • สูบบุหรี่
    • ตาแห้ง/ตาล้า
    • ระคายเคืองที่ตาเรื้องรั้ง
    • สัมผัสแสงแดดจ้าต่อเนื่อง

    ตากระตุกบ่อยเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

    ภาวะหนังตากระตุกต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ ร่วมกับอาการชักกระตุกบริเวณอื่นๆ ของร่างกายร่วมด้วย เช่น บริเวณมุมปาก กล้ามเนื้อใบหน้า อาจเป็นสัญญาณสำคัญสู่อาการผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นกับสมองและระบบประสาทได้ ตัวอย่างเช่น โรคกล้ามเนื้อใบหน้าบิดเกร็ง ภาวะคอบิดเกร็ง โรคอัมพาตใบหน้า โรคกล้ามเนื้อช่องปากหรือขากรรไกรบิดเกร็ง และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

    อาการตากระตุกแบบไหนบ้างที่ต้องไปพบแพทย์โดยด่วน?

    หากมีอาการตากระตุกไม่หยุดต่อเนื่องมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ดวงตาบวมแดง มีของเหลวไหลออกมา เปลือกตาไม่สามารถปิดได้ บดบังทัศนวิสัยการมองเห็นตามปกติ หรือเปลือกตาเลื่อนปิดทันทีเมื่อเกิดอาการตากระตุก รวมถึงเกิดการกระตุกเพิ่มเติมขยายวงกว้างไปยังบริเวณอื่นๆ บนใบหน้า ลักษณะอาการเหล่านี้เป็นลักษณะอาการตากระตุกที่รุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาในทันที

    ตากระตุกรักษาหรือแก้ได้อย่างไร?

    ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันอาการหนังตากระตุกอย่างชัดเจน เนื่องการการกระตุกของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกายนับเป็นลักษณะการตอบสนองการทำงานระหว่างเซลล์ในร่างกายที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ รวมถึงอาการตากระตุกสามารถเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือโดยที่ไม่รู้สึกตัว และหายได้เอง ยกเว้นกรณีของผู้ที่มีอาการอื่นแทรกซ้อน

    สามารถเริ่มต้นรักษาอาการตากระตุกด้วยตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการพักผ่อน การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และการลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ รวมถึงฝึกการขยับกล้ามเนื้อบนใบหน้าร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม มีตัวอย่างวิธีการรักษาอาการตากระตุกในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้

    • การให้ยารับประทาน (Lorazepam, Trihexyphenidyl หรือ Clonazepam)
    • การใช้น้ำตาเทียม
    • การรักษาเปลือกตาอักเสบ
    • การใช้แว่นดำ
    • การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ
    • การใช้ยานอนหลับ
    • การฉีด Botulinum Toxin หรือ Botox
    • การผ่าตัด หรือตัดกล้ามเนื้อ
    • การฝังเข็ม
    • การนวด
    • การประคบ

    ตากระตุกขาดวิตามินอะไร?

    การขาดวิตามินหรือเกลือแร่บางชนิดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการหนังตากระตุกได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การขาดวิตามิน B12 แคลเซียม หรือแมกนีเซียม ซึ่งทำหน้าที่ส่งสารสื่อประสาทระหว่างกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เมื่อขาดวิตามินชนิดนี้ จะทำให้สารสื่อประสาทบางตัวในร่างกายทำงานผิดปกติ รวมถึงอาจส่งผลต่อการทำงานตามปกติของกล้ามเนื้อบางชนิดได้ ซึ่งนำไปสู่การเกิดกล้ามเนื้อตากระตุกได้ในท้ายที่สุด

    อาการ “ตากระตุก” ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์

    การแปลความหมายอาการตากระตุกให้ถูกต้องและแม่นยำตามหลักความเชื่อโหราศาสตร์ของไทยนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประโยคที่ใครหลายๆ คนอาจเคยได้ยิน เช่น “ขวาร้าย ซ้ายดี” แต่เพียงอย่างเดียว เพราะหากต้องการทำนายหรือตีความสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น จำเป็นต้องดูข้างของตาที่กระตุก ร่วมกับช่วงเวลาที่เกิดอาการกระตุกร่วมด้วยเสมอ

    ตาเขม่นตอนเช้า (ช่วงตื่นนอน หรือใกล้รุ่ง)

    หากตากระตุกขวา หมายความว่า จะมีญาติมิตรที่มาจากแดนไกล หรือร้างราไม่ได้พบเจอกันมานานมาหา ในขณะที่หากตากระตุกซ้าย หมายความว่า จะมีปากเสียงทะเลาะวิวาท หรือมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจมาสู่ตนเองและครอบครัว

    ตาเขม่นตอนสาย (09.00-12.00 น.)

    หากตากระตุกขวา หมายความว่า เพื่อนหรือญาติสนิทจากต่างแดนหรือต่างจังหวัดจะนำทรัพย์มาให้เป็นของกำนัน ในขณะที่หากตากระตุกซ้าย หมายความว่า จะเกิดเรื่องบัดสี ไม่ดีงามภายในครอบครัว

    ตาเขม่นตอนบ่าย (12.00-16.00 น.)

    หากตากระตุกขวา หมายความว่า แผนการที่คิดหวังเอาไว้หรือกำลังทำอยู่จะประสบผลสำเร็จดั่งใจคิด ในขณะที่หากตากระตุกซ้าย หมายความว่า จะมีเพศตรงข้ามกล่าวถึงหรืออาจแวะเวียนมาหา

    ตาเขม่นตอนเย็น (17.00-19.00 น.)

    หากตากระตุกขวา หมายความว่า จะมีญาติหรือเพื่อนสนิทห่างไกลมาเยี่ยมเยียน ในขณะที่หากตากระตุกซ้าย หมายความว่าจะได้พบญาติหรือเพื่อนที่จากกันไปนานโดยไม่คาดฝัน

    ตาเขม่นตอนกลางคืน (19.00 น. เป็นต้นไป)

    หากตากระตุกขวา หมายความว่า จะมีข่าวดีในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น หรือจะได้ลาภจากการกระทำที่ทำไว้ ในขณะที่หากตากระตุกซ้าย หมายความว่า อาจมีเหตุให้ทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว

    เพิ่มความอุ่นใจเมื่อเกิดอาการเจ็บตา คันตา หรือตากระตุกเรื้อรั้งด้วยประกันสุขภาพจากทุกบริษัทชั้นนำที่ แรบบิท แคร์ รวบรวมไว้ให้เปรียบเทียบประกันออนไลน์ได้ภายใน 30 วินาที เลือกรับได้ครบทุกความคุ้มครอง ตั้งแต่ค่ารักษาพยาบาล ค่าผ่าตัด ค่ายา ค่าพบแพทย์ ค่าห้องพักฟื้น หรือเงินชดเชยเมื่อต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน รับความคุ้มครองสุขภาพก่อนมีประวัติเจ็บป่วยที่อาจทำให้ไม่สามารถทำประกันได้ โทรเลย 1438 หรือ rabbitcare.com

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


    สรุป

    สรุปบทความ

    อาการตากระตุกเป็นสัญญาณของปัญหาทางประสาทหรือสุขภาพที่ซ่อนเร้นได้ โดยสามารถเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น การขาดวิตามิน, ความเครียด, หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต

    การรักษาอาการตากระตุก ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การใช้ยา, หรือการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ต่าง ๆ

    จบสรุปบทความ
     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024