เจาะลึกเรื่องภาษีมรดก มรดกมีกี่ประเภท ต้องจ่ายเท่าไร?
มรดก คือทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตที่ถูกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ทำให้มรดก เป็นเรื่องที่เรา ๆ ควรจะรู้ไว้ เพื่อจัดการทรัพย์สินที่อาจตกทอดมาสู่มือคุณ โดยเฉพาะเมื่อมรดก มีค่าภาษีมรดกแอบซ่อนอยู่ในนั้น ซึ่งยิ่งเป็นเรื่องที่น้อยคนนักที่จะเข้าใจเข้าไปใหญ่ ฉะนั้นวันนี้ แรบบิท แคร์ จึงอยากพาทุกท่านมารู้จักเรื่องราวของ ภาษีมรดก และทำไมพวกเราทุกคนจึงควรรู้เท่าทันเรื่องพวกนี้!
ภาษีมรดก คืออะไร ?
ภาษีมรดก (Inheritance Tax) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดกแต่ละราย โดยมูลค่าของมรดกจะต้องเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป โดยผู้รับมรดกจะต้องเป็นคนเสียภาษี ซึ่งจะมีการจัดเก็บในอัตรา 5% – 10% ซึ่งจะถูกเรียกเก็บโดยกรมสรรพากร
สินทรัพย์ประเภทไหนบ้างที่ต้องเสียภาษีมรดก ?
สินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ หรือภาษีมรดกที่ดิน
มักเป็นสินทรัพย์มรดกที่มีมูลค่ามากที่สุด เพราะที่ดินหากประเมินราคาปัจจุบัน มักจะราคาขึ้น โดยมรดกอสังหาริมทรัพย์จะรวมถึงที่ดินที่บุคคลเสียชีวิตครอบครองทั้งใน และนอกประเทศ รวมถึง อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย จึงเป็นมรดกที่มีมูลค่าสูง ต้องคำนึงถึงภาษีมรดกที่ดินด้วย
การตีมูลค่าทรัพย์มรดกอสังหาริมทรัพย์ : ราคาประเมินกรมที่ดินหักด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
สินทรัพย์หลักทรัพย์
มรดกหลักทรัพย์นี้รวมถึง ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารอนุพันธ์ มักจะเป็นกรณีผู้บริหาร หรือเจ้าของธุรกิจที่ถือหุ้นของธุรกิจ เมื่อเสียชีวิตหุ้นเหล่านั้นสามารถถูกส่งต่อมาสู่ทายาท
การตีมูลค่าทรัพย์มรดกหลักทรัพย์ : หากเป็นพันธบัตร หรือหุ้นของบริษัทส่วนตัว หรือบริษัทที่เป็นผู้บริหาร จะประเมินราคาที่จำหน่ายครั้งแรก หรือราคาไถ่ถอนแล้วแต่กรณี และหากเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลัก
สินทรัพย์ยานพาหนะ
ต้องเป็นรถที่มีหลักฐานการจดทะเบียนโดยผู้เสียชีวิต และยังคงมีสมุดทะเบียน โดยนับรวมยานพาหนะที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย
การตีมูลค่าทรัพย์มรดกยานพาหนะ : ราคาประเมินสำหรับปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรษัฎากรในการโอนกรรมสิทธิ์ซื้อขายรถ
ทรัพย์สินทางการเงิน
เป็นเงินสดที่ฝากไว้อยู่ในบัญชี หรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะแบบเดียวกัน สำหรับหลาย ๆ คนอาจมีทรัพย์สินในบัญชีต่างประเทศ เป็นสกุลเงินอื่น ก็จะต้องตรวจสอบให้ละเอียดในการคิดคำนวณมรดกอื่น ๆ ด้วย
การตีมูลค่าทรัพย์มรดกทรัพย์สินทางการเงิน : มูลค่าของเงินฝาก และดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นใดที่จะได้รับในวันรับมรดก
ผู้ใดบ้างที่จะต้องเสียภาษีมรดกบ้าง ?
ผู้ที่ได้รับมรดก ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเสียภาษีมรดกเท่ากันทั้งหมด โดยกฎหมายให้สิทธิ์เอื้อไปให้ทายาทที่เป็นผู้รับมรดก จะเสียภาษีมรดกต่ำกว่าบุคคลทั่วไป นอกจากนั้นก็จะมีเรื่องของการแบ่งมรดกตามลำดับขั้นตอนความสนิทชิดเชื้อกับเจ้าของมรดก ดังนี้
ผู้ได้รับการแบ่งมรดก | ลำดับการแบ่งมรดก | อัตราดอกเบี้ยมรดกที่ต้องจ่าย |
คู่ชีวิต | ผู้รับมรดกโดยชอบธรรม | ไม่ต้องจ่ายภาษีมรดก |
ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน) | ผู้รับมรดกอันดับ 1 | 5% |
บิดา มารดา | ผู้รับมรดกอันดับ 2 | 5% |
พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน | ผู้รับมรดกอันดับ 3 | 5% |
ย่า ตา ยาย | ผู้รับมรดกอันดับ 4 | 5% |
ลุง ป้า น้า อา | ผู้รับมรดกอันดับ 5 | 5% |
บุคคลอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือด (เพื่อน คนดูแล) | ผู้รับมรดกอันดับ 6 | 10% |
*กรณีที่เจ้าของมรดกเสียชีวิตโดยไม่ได้ทิ้งพินัยกรรม ระบุรายชื่อผู้ได้รับแบ่งมรดกไว้อย่างชัดเจน พร้อมมีพยานบุคคลยืนยัน
โดยในกรณีของคู่ชีวิต สามี ภรรยา ที่ยังมีชีวิตอยู่ และยังไม่ได้หย่าร้างจะถือว่าเป็นผู้ได้รับมรดกโดยธรรม จะได้รับแบ่งมรดก 50% ของมูลค่ามรดกของคู่ชีวิต นอกเหนือจากคู่สมรสจะมีการเซ็นสัญญาก่อนสมรส (Prenuptial) ใด ๆ แต่คู่สมรสจะไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจมอบมรดกให้กับผู้อื่น จะมีสิทธิ์เพียงแค่การจัดการมรดกที่ตนได้รับมาเท่านั้น
วิธีการคำนวณภาษีมรดกเบื้องต้น
ขั้นตอนที่ 1 : ประเมินมูลค่ามรดกสุทธิ
หลังจากบุคคลหนึ่งเสียชีวิต กระบวนการนี้จะต้องเกิดขึ้น โดยทรัพย์สินที่บุคคลผู้เสียชีวิตทิ้งไว้จะต้องถูกประเมินราคาทั้งหมด เริ่มจากทรัพย์สินที่ตรวจสอบง่าย ๆ เช่นเงินในบัญชี หลักทรัพย์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ไปจนถึงทรัพย์สินที่ต้องประเมินราคา เช่นที่ดินทั้งในและนอกประเทศ สินทรัพย์ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หากมีมูลค่ารวมเกิน 100 ล้านบาท ก็จะต้องเสียภาษีมรดก
ขั้นตอนที่ 2 : คำนวณค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี
สมมุติว่าค่ามรดกสุทธิคิดออกมาได้ 200,000,000 ล้านบาทถ้วน
ต้องนำ 200,000,000 – 100,000,000 = มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี
ฉะนั้นมูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี = 100,000,000 ล้านบาท
ขั้นตอนที่ 3 : คำนวณหาภาษีมรดก
นำภาษีในส่วนที่ต้องเสียภาษีมรดก มาคิดคำนวณภาษี ไม่ใช่คำนวณจากภาษีมรดกสุทธิ
สูตร : มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีคงที่ 5% = ภาษีมรดก
100,000,000 X 5% =5,000,000 ล้านบาท
การผ่อนชำระภาษีมรดก
เมื่อคำนวณออกมาแล้วจะเห็นได้ว่าภาษีมรดก เป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นมรดกที่แปรเป็นเงินยาก เช่นอสังหาริมทรัพย์ ฉะนั้นจึงได้มีการอนุญาตให้ผ่อนจ่ายภาษีมรดกได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- สามารถผ่อนชำระภาษีมรดกได้สูงสุด 5 ปี โดยหากผ่อนชำระค่าภาษีมรดกได้ภายใน 2 ปี จะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติม แต่หากเกินกว่า 2 ปี ขึ้นปีที่ 3 – 5 จะต้องจ่ายภาษีมรดกเพิ่มขึ้น 0.5% ต่อเดือน ฉะนั้นคิดคำนวณได้ว่าในปีที่ 3-5 จะต้องเสียภาษี 5.5% ในกรณีที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไข และในกรณีบุคคลทั่วไป ต้องเสียภาษี 10.5%
- กรณีจ่ายไม่ครบงวดโดยไม่ได้ชี้แจง หรือยื่นเรื่อง จะไม่สามารถผ่อนชำระต่อได้ และจะต้องจ่ายค่าภาษีมรดกที่ยังค้างชำระทั้งหมดในงวดต่อไป
การคืนภาษีมรดก ทำอย่างไร ?
สามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่จ่ายเกินจำนวน ผ่อนจ่ายเกินงวด ซึ่งกฎหมายได้มีมาตรการดูแลความผิดพลาดตรงจุดนี้ ในรูปแบบของการขอคืนภาษีมรดก (ค.10) โดยกรมสรรพากร โดยจะต้องยื่นหลักฐานให้กับพนักงานดังนี้
- ใบเสร็จรับเงินภาษีการรับมรดก
- หลักฐานแสดงการเสียภาษีการรับมรดกไว้เกิน
- หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ขอคืน
เสี่ยงภาษีมรดก มีความผิดอะไร ?
การเลี่ยงภาษีมรดก มีความผิดทางกฎหมาย อ้างอิงจากพระราชบัญญัติภาษีมรดก พ.ศ. 2475 ที่ระบุว่า หากผู้ได้รับมรดกไม่ยื่นภาษีโดยเหตุสมควร มีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าจากภาษีที่ต้องจ่าย และผู้ได้รับมรดกยื่นภาษีแต่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องเสียเบี้ยปรับอีก 5 เท่าของภาษีที่ต้องจ่าย
จัดการมรดกอย่างไรดี ?
สุดท้ายหากมรดกมีจำนวนที่เยอะ แบ่งมรดก และไกล่เกลี่ยยาก จนอาจจะทำให้เกิดปัญหาบาดหมางได้ในการต่อไป เราก็อาจจะมีวิธีการจัดการมรดกที่เป็นกลาง และไม่สร้างความร้าวฉานในครอบครัวอื่น ๆ มาให้ทุกคนได้เลือกใช้ได้
- การเขียนพินัยกรรม เป็นการที่ให้เจตนารมตณ์ของเจ้าของมรดก เป็นสิ่งที่ตัดสินว่าผู้ใดควรจะได้มรดกในส่วนใดบ้าง แต่ใจความสำคัญก็คือจะต้องทำพินัยกรรมขึ้นมาให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีการยืนยัน เซ็นชื่อ หรือมีพยานบุคคลยืนยันด้วยว่าเป็นพินัยกรรมแท้จริง เพราะอาจเป็นเอกสารเขียนขึ้นมาเอง ไม่ตรงตามหลัก พินัยกรรมนั้นก็อาจจะถือว่าการแบ่งมรดกตามพินัยกรรมเป็นโมฆะได้ อ่านเรื่องพินัยกรรมแบบเต็ม ๆ ได้ คลิกเลย
- การแต่งตั้งผู้จัดการพินัยกรรม ในกรณีที่ภายในครอบครัวจัดการการแบ่งมรดกไม่ได้ หรือเจ้าของมรดกกลัวว่าจะมีบุคคลทั้งนอก หรือใน ต้องการรวบรัดผลประโยชน์ของมรดกไปไว้แก่เพียงผู้เดียวโดยไม่ชอบธรรม สามารถยื่นเรื่องกับศาลได้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เป็นคนกลาง และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในมรดก ใช้หลักกฎหมายมาตัดสินว่ามรดกทั้งหมดควรตกไปอยู่ในครอบครองของใคร ทำให้การแบ่งมรดกเป็นไปโดยชอบธรรมที่สุด
เรียกได้ว่าเรื่องของมรดก การแบ่งมรดก มีความซับซ้อน และละเอียดอ่อนอย่างมาก เพราะ แรบบิท แคร์ เชื่อว่าทุกคนย่อมต้องอยากจากโลกนี้ไปด้วยความสบายใจว่าคนที่เรารักจะมีชีวิตที่สุขสบาย ผาสุก ฉะนั้นแรบบิท แคร์ จึงอยากแนะนำประกันชีวิตจากบริษัทประกันชั้นนำในประเทศไทย พร้อมสิทธิพิเศษส่งตรงไปถึงคนรุ่นหลัง เพิ่มความมั่นคงในชีวิตของพวกเราทุกคนได้เลย !
Health Insurance Widget
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct