แคร์การเงิน

อัตราเงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยขึ้น จะบริหารการเงินอย่างไรดี?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: February 23,2023
  
 
อัตราเงินเฟ้อ 2566

หนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่มาขัดขวางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากธุรกิจฝืดเคืองก็คือ อัตราเงินเฟ้อ ที่ไม่ใช่เพียงแค่ในไทย หากแต่ทั่วไปประเทศก็ปรับตัวขึ้นกันอย่างดุดัน ไม่เกรงใจใคร วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงอยากมาวิเคราะห์สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อ 2566 และแนวโน้มในปีต่อ ๆ ไป ว่าพุ่งขึ้นสูงขนาดไหน? ส่งผลให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง? และสำหรับผู้บริโภค เราควรบริหารการเงินอย่างไรดี? มาดูกันเลย!!

อัตราเงินเฟ้อ 2566

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2565 พุ่ง 6.08% สูงสุดในรอบ 24 ปี

มีการประเมินอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งหากเทียบกับปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 5.89% ตามราคาสินค้าจำพวกอาหาร และน้ำมันที่สูงขึ้นทั่วโลก ซึ่งก็จัดเป็นตัวเลขที่สูงมาก ๆ แต่เมื่อคำนวณทั้งปีแล้ว ก็เผยตัวเลขที่ค่อนข้างน่าตกใจ นั่นก็คืออัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยสูงถึง 6.08% ซึ่งสำหรับประเทศไทย สูงที่สุดในรอบ 24 ปี ตั้งแต่ปี 2541

แต่ทุกคนอย่าเพิ่งตกใจ! เพราะตัวเลขอัตราเงินเฟ้อนี้สะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจระดับโลก ซึ่งได้รับผลกระทบจากกำลังการผลิตที่ลดลงในช่วงโควิด และสภาวะสงครามในประเทศที่เป็นกำลังผลิตสำคัญอย่างยูเครน และรัสเซีย ทำให้เงินเฟ้อในแต่ละประเทศก็พุ่งขึ้นสูงเช่นกัน หากนำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศอื่นเช่น อเมริกา อังกฤษ เม็กซิโก อินเดีย หรือจะเป็นประเทศในอาเซียนทั้งหลาย ก็ถือว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่แย่ โดยกระทรวงพาณิชย์ระบุ อัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ที่อันดับที่ 32 จาก 129 ประเทศที่มีการรายงานเงินเฟ้อในปลายปี 2565

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูด้วยว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ค่าแรง หรือเงินเดือนเริ่มต้นสูง ฉะนั้นอัตราเงินเฟ้อขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็อาจสร้างปัญหาให้ประชนชนกลุ่มใหญ่ได้ ฉะนั้นภายในต้นปี 2566 ไปจนถึงปีข้างหน้าต่อ ๆ ไปการคุมบังเหียนการเงินผ่านสภาวะวิกฤติต่อ ๆ ไปของรัฐบาล อัตราเงินเฟ้อ 2566 จึงเป็นสิ่งที่น่าจับตามองมาก ๆ 

ผลของอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไปทำให้เกิดอะไรขึ้น?

ขอแบ่งผลกระทบอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นออกเป็น 1. ผลกระทบเชิงการตลาด และ 2. ผลกระทบเชิงนโยบาย ซึ่งตามลำดับแล้วเมื่อเงินเฟ้อ กลไกตลาดทั้งราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ก็จะสูงขึ้น จนทำให้รัฐบาล ธนาคารกลางต้องออกนโยบายต่าง ๆ เพื่อมาควบคุมเงินเฟ้อ ให้กลับมาอยู่ในระดับที่ปกติเหมือนเดิม

1.ผลกระทบเชิงการตลาด

ราคาสินค้าทั่วไปจะแพงขึ้น ค่าใช้จ่าย และค่าครองชีพสูงขึ้น ยกตัวอย่างอัตราเงินเฟ้อ 2565 ทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนของอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์แพงขึ้น 8.87% อาหารสำเร็จรูปแพงขึ้น 9.66% หากสังเกตดี ๆ อาหารพื้นฐานต่าง ๆ เช่นข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว ก็จะแพงขึ้น หรือหากราคาเท่าเดิมก็จะได้ปริมาณที่น้อยลง 

2.ผลกระทบเชิงนโยบาย

การที่รัฐบาล หรือธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) สั่งให้มีการขึ้นดอกเบี้ย หรือภาษีอากร ทำเพื่อชะลอการใช้จ่ายของคนในประเทศ โดยเฉพาะการกู้ยืมเงินในรูปแบบสินเชื่อ โดยจะส่งผลให้ผู้กู้ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น แต่สำหรับผู้ฝากเงิน ก็จะได้ดอกเบี้ยมากยิ่งขึ้น เป็นการผลักดันให้คนเก็บเงินมากขึ้น พร้อมทั้งจับจ่ายบริโภคน้อยลง ซึ่งจะเป็นผลทำให้ราคาสินค้า หรือบริการ มีแนวโน้มที่จะลดลงตาม ซึ่งก็จะช่วยเยียวยาอัตราเงินเฟ้อได้ไม่มากก็น้อย

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ 2566

หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 2565 พุ่งขึ้นสูง อัตราเงินเฟ้อ 2566 เดือนมกราคม มีแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยชะลอตัวต่ำลง ซึ่งหากเทียบกับเดือน ธันวาคม 2565 ที่เงินเฟ้ออยู่ที่ 5.89 อัตราเงินเฟ้อภายในเดือนมกราคม 2566 ลดลงอยู่ที่ 5.09 ซึ่งถึงแม้ว่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถึงจะมีแนวโน้มที่ลดลง แต่ก็ยังห่างไกลกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ  

กรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2566

กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ คือหนึ่งในเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ที่จะต้องดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่ผันผวน โดยกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ 2566 ของ BOT จะอยู่ที่ 1-3% ซึ่งล่าสุดอัตราเงินเฟ้อ 2566 ของเดือนมกราคม จะอยู่ที่ 5.02% ซึ่งถือว่ายังสูงกว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งไว้ค่อนข้างเยอะ ฉะนั้นนโยบายการเงินในช่วงต้นปีที่ผ่านมาหลาย ๆ อย่าง จึงเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นในการรักษาดุลอัตราเงินเฟ้อให้กลับเข้ามาอยู่ในกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2566 

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ม.ค. 66 

5.02%

กรอบเป้าหมาย 1-3%

กลไกการลดอัตราเงินเฟ้อ

หลักจากทราบกรอบอัตราเงินเฟ้อ 2566 แล้วขั้นตอนต่อไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) สามารถทำได้ง่าย และทันที คือการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะเริ่มเห็นแล้วทันทีที่เข้าสู่ปีใหม่ มกราคม 2566 ที่ค่าดอกเบี้ยแทบทุกอย่างมีอัตราที่เพิ่มมากขึ้น ที่เป็นพื้นฐานที่สุดคือการเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมา 0.25% จาก 1.25% เป็น 1.5%

ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ดอกเบี้ยในส่วนอื่นๆ ทะยอยขึ้นด้วยเช่นกัน เช่นดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ปรับดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านกันอย่างมีนัยยะสำคัญแทบจะทุกธนาคาร ทำให้หลาย ๆ คนหากคิดจะกู้เงินซื้อบ้าน ก็ขอให้คิดหน้าคิดหลังเยอะ ๆ หน่อย นี่ก็นับเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีการลดอัตราเงินเฟ้อ

บริหารการเงินของคุณ ในช่วงอัตราเงินเฟ้อพุ่ง

จะเอาชนะสภาวะอัตราเงินเฟ้อสูง คุณไม่จำเป็นต้องเก็บเงินลงตุ่ม ปิดผนึกเงินในธนาคารอย่างเดียวเท่านั้น เพราะนี้อาจเป็นโอกาสดีที่คุณสามารถนำเงินของคุณไปลงกับการลงทุนรูปแบบใหม่ ในเมื่ออัตราเงินเฟ้อทำให้สกุลเงินทั่วโลกกำลังลดคุณค่ากันอย่างต่อเนื่อง เราลองวางแผนการใช้เงิน และการลงทุนให้ครอบคลุมมากขึ้น นี่คือทางเลือกที่จะทำให้คุณสามารถก้าวข้ามอัตราเงินเฟ้อไปได้ในฐานะนักลงทุนผู้ชาญฉลาด

อัตราเงินเฟ้อ 2566

1. วางแผนการลงทุน 

หัวใจสำคัญของการลงทุนในช่วงอัตราเงินเฟ้อ 2566 พุ่งก็คือให้ลงทุนกับสินทรัพย์ที่มีคุณค่าอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นทอง หลักทรัพย์ หรือหุ้น อสังหาริมทรัพย์ บ้านหรือคอนโด ไปจนถึงสินทรัพย์ดิจิทัล เช่นคริปโต NFT เป็นต้น

หากแต่ยิ่งสินทรัพย์ที่ได้ค่าตอบแทนสูง ก็จะมีความเสียงที่มากยิ่งขึ้น ฉะนั้นทุกคนที่ก้าวเข้าสู่โลกแห่งการลงทุนก็จะต้องศึกษาอย่างดีก่อนที่ตจะตัดสินใจซื้ออะไร เช่นหากมีสภาวะวิกฤติ ทองคำอาจเป็นทางเลือกที่น่าลงทุนเพราะมูลค่าจะพุ่งมาก ๆ ในช่วงวิกฤติ หรือหลักทรัพย์หากในช่วงเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ให้เลือกหลักทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สูง

2. หลีกเลี้ยงการก่อหนี้เสีย

ในช่วงอัตราเงินเฟ้อ 2566 พุ่ง สิ่งแรกที่ควรทำเลยคือการคาดเข็มขัดทางการเงิน โดยเฉพาะของฟุ่มเฟือย หรืออะไรที่ใช้ไปแล้วเสียเปล่า ไม่สามารถต่อยอดเป็นรายได้เสริมเพิ่มเติมได้ เช่นสินค้าแบรนด์เนม หรืองานศิลปะ ของเล่นต่าง ๆ แต่หากจะคิดริเริ่มกู้ยื้มเพื่อซื้อสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ ให้คำนึงไว้เลยว่าอย่าปล่อยให้หนี้ที่เราสร้าง มีมูลค่าเกิน 30-40% ของรายได้ทั้งหมด จะได้ไม่เกิดภาวะอึดอัดทางการเงิน

3. ลงทุนกับสินค้า หรือบริการที่เป็นปัจจัย 4

อัตราเงินเฟ้อที่มากขึ้น ทำให้คนเลือกใช้เงินกับของฟุ่งเฟือยมากขึ้น ฉะนั้นหากคุณคิดจะลงทุนสร้างธุรกิจในช่วงนี้อาจพุุ่งเน้นการลงทุนไปกับของที่จำเป็นที่จะต้องใช้จริง ๆ เช่น อาหาร เครื่องแต่งกาย หรือที่อยู่อาศัย หากแต่ก็ต้องใส่ใจด้วยว่าหากตลาดนั้น ๆ มีความอิ่มตัว เช่นในช่วงหนึ่งที่อสังหาริมทรัพย์มีคนลงทุนเยอะมาก ๆ จนเกินความต้องการของผู้บริโภค ก็อาจจะเป็นการลงทุนที่ไม่เหมาะสม ฉะนั้นการลงทุนอะไรในช่วงสภาวะเงินเฟ้อ จึงควรที่จะต้องคิดหน้าคิดหลังเยอะ ๆ เลย

และสำหรับใครที่กำลังตามหาเงินทุนในการลงทุนในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อไม่อ่อนโยนกับเรา แรบบิท แคร์ ก็มีสินเชื่อเงินด่วน วงเงินเยอะ อนุมัติไว มาแนะนำ สนใจคลิกได้เลย

  
บัตรไหนคุ้ม เปรียบเทียบเลย แค่ 30 วิ เช็คเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 98912

แคร์การเงิน

บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พร้อมจะเพิ่มให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมาย บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card)
Natthamon
30/12/2024
Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024