Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบประกันชีวิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

mock up life desktop.png
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Oct 02, 2023

เสียชีวิตแล้ว มรดกตกอยู่ที่ใคร ผู้รับต้องเสียภาษีมรดกหรือไม่ ?

ตอบปัญหายอดฮิต หากเสียชีวิตมรดกจะตกอยู่ที่ใคร จะมีการแบ่งสัดส่วนและแจกจ่ายให้ใครในจำนวนเท่าไหร่ มรดกที่ดิน ไม่มีพินัยกรรม หรือมรดกอื่น ๆ ที่ไม่มีพินัยกรรมจะถูกส่งต่อให้ใคร ผู้รับสืบทอดต้องเสียภาษีใช่ไหม ต้องเสียภาษีเพราะอะไร แรบบิท แคร์ รวมคำตอบมาให้แล้ว!

มรดก คืออะไร ?

สำหรับความหมายของคำว่ามรดก คือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 ได้ระบุไว้ว่า “กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

หรืออาจกล่าวได้ว่า มรดก คือ ทรัพย์สมบัติของผู้ตายไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินทางการเงิน หรือแม้แต่ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมซึ่งส่งต่อจากบุคคลหรือครอบครัวหนึ่งไปยังอีกคนหรือกลุ่มคนในอนาคต โดยส่วนมากเราจะเห็นการส่งต่อทรัพย์สมบัติเหล่านี้ผ่านขั้นตอนหรือรูปแบบของการทำพินัยกรรม หรือสัญญาบันทึกทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นการสืบทอดทรัพย์สินเหล่านั้นให้กับบุคคลที่ได้รับสืบทอดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ไม่เพียงเท่านั้น มรดกยังมีความสำคัญในแง่ของทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้หรือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความมั่งคั่งของครอบครัวหรือชุมชนจากการที่มีทรัพย์สินอยู่มาก ทั้งยังเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาและการลงทุนได้อย่างดีอีกด้วย

วิธีการสืบทอดมรดก

ในส่วนของการสืบทอดนั้นตามกฎหมายมรดกจะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายและการรับรองจากผู้สืบทอดซึ่งมีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์เฉพาะเจาะจงเพื่อปกป้องสิทธิ์ของผู้สืบทอด ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพย์สินเหล่านั้นถูกสืบทอดอย่างเป็นธรรม ซึ่งส่วนใหญ่กฎหมายมรดกและระเบียบการสืบทอดมรดกสินทรัพย์เป็นเรื่องที่ซับซ้อน

โดยจะมีวิธีในการสืบทอดอยู่ 2 แบบหลัก ๆ ด้วยกัน คือ การสืบทอดโดยการใช้พินัยกรรมมรดก และอีกวิธีเมื่อการแบ่งมรดก ไม่มีพินัยกรรม คือ ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิ์รับตามกฎหมาย ซึ่งตามกฎหมายมรดก ทายาทจะมี 6 ลำดับด้วยกัน ซึ่งจะแจกแจงรายละเอียดให้ในหัวข้อถัดไป

ใครคือผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดก ?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าโดยปกติแล้วการสืบทอด จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ การสืบทอดทางพินัยกรรม และการสืบทอดแก่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิ์รับตามกฎหมาย ดังนั้นผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดกก็จะมีดังนี้

  1. ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามที่ผู้ตายกำหนดไว้ในพินัยกรรม

  2. ทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ (กรณีที่ผู้ตายไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม)

  • ผู้สืบสันดาน
  • บิดามารดา
  • พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  • พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
  • ปู่ ย่า ตา ยาย
  • ลุง ป้า น้า อา

*ตามกฎหมายมรดก คู่สมรสมีสิทธิ์ในการรับมรดกอย่างชอบธรรมโดยจะแบ่งสัดส่วนกันไปขึ้นอยู่กับลำดับและจำนวนของทายาทผู้เสียชีวิตซึ่งรับร่วมด้วย

สัดส่วนการแบ่งมรดก กรณีไม่มีพินัยกรรม

ข้อมูลจากสำนักงานกิจการยุติธรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะมีการแบ่งสัดส่วนการแบ่งมรดก ดังนี้

  • กรณีคู่สมรสและลูกยังมีชีวิตอยู่ แต่พ่อแม่เสียชีวิต : คู่สมรสและลูกมีสิทธิ์ได้รับมรดกเท่ากันตามจำนวนคน
  • กรณีคู่สมรสยังมีชีวิตอยู่แต่ลูกเสียชีวิตหรือไม่มีลูก แต่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ : คู่สมรสและพ่อแม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกเท่ากันตามจำนวนคน
  • กรณีคู่สมรส ลูก พ่อแม่ ยังมีชีวิตอยู่ : คู่สมรส ลูก และพ่อแม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกเท่ากันตามจำนวนคน
  • กรณีคู่สมรสยังมีชีวิต แต่ลูกและพ่อแม่เสียชีวิต : คู่สมรสมีสิทธิ์ได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งแบ่งให้พี่น้องแท้ ๆ ตามจำนวนคน
  • กรณีคู่สมรสยังมีชีวิต แต่ลูก พ่อแม่ พี่น้องแท้ ๆ เสียชีวิต : คู่สมรสมีสิทธิ์ได้รับมรดก 2 ส่วน อีกส่วนแบ่งให้พี่น้องคนละพ่อแม่
  • กรณีคู่สมรสยังมีชีวิต แต่ลูก พ่อแม่ พี่น้องแท้ ๆ พี่น้องคนละพ่อแม่เสียชีวิต : คู่สมรสมีสิทธิ์ได้รับมรดก 2 ส่วน อีกส่วนแบ่งให้ปู่ ย่า ตา ยาย
  • กรณีคู่สมรสยังมีชีวิต แต่ลูก พ่อแม่ พี่น้องแท้ ๆ พี่น้องคนละพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยายเสียชีวิต : คู่สมรสมีสิทธิ์ได้รับมรดก 2 ส่วน อีกส่วนแบ่งให้ลุง ป้า น้า อา

ภาษีมรดก คืออะไร ?

ภาษีมรดกเป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ถูกสืบทอดหลังจากผู้ถือสิทธิเสียชีวิต ภาษีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรายได้ให้กับรัฐบาลและเป็นส่วนหนึ่งของระบบภาษีเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐ ซึ่งภาษาีเหล่านี้จะถูกคำนวณตามอัตราภาษีที่กำหนดโดยกฎหมายและขึ้นอยู่กับมูลค่าของทรัพย์สินที่สืบทอด

ภาษีนี้อาจมีการยกเว้นหรือลดหย่อนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น การยกเว้นภาษีสำหรับมรดกที่มีมูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหรือการลดหย่อนภาษีให้แก่ครอบครัวในบางกรณีที่เป็นพิเศษ

โดยการชำระภาษีจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายภาษีที่รัฐบาลกำหนด ผู้สืบทอดต้องรายงานเจ้าพนักงานภาษีและชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษี อาจถูกบังคับให้ชำระเงินเพิ่มหรือเสียค่าปรับ การละเมิดกฎหมายภาษีมรดกอาจมีผลกระทบทางกฎหมายและเงินที่ต้องชำระอาจเพิ่มขึ้นได้ตามกฎหมายที่รัฐบาลกำหนด

จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการสืบทอดมรดกรวมถึงลำดับการสืบทอดนั้นค่อนข้างรัดกุมเลยทีเดียว มั่นใจได้เลยว่าหากเรามีเหตุให้ต้องเสียชีวิตไป น้ำพักน้ำแรงที่เหนื่อยยากตรากตรำทำงานเก็บเงิน หรือสิ่งดี ๆ ที่เหลือไว้จะถูกส่งต่อให้แก่คนที่ห่วงใยได้อย่างแน่นอน ดังนั้นใครที่คิดว่าตนเองยังไม่มีมรดกหรือสิ่งที่จะทำให้หมดห่วงแก่คนข้างหลังหากวันนึงต้องจากไปอย่างปัจจุบันทันด่วน การทำประกันชีวิต กับ แรบบิท แคร์ ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่ดี ที่จะส่งต่อสิ่งดี ๆ และเป็นหลักประกันว่าคนข้างหลังจะอยู่สบายเมื่อถึงคราวต้องจากไป

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Credit Care ไทยประกันชีวิตCredit Care

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ย 3 บาท/วัน คุ้มครอง
  • คุ้มครองอุบัติเหตุ สูงสุด 1 ล้าน
  • ชดเชย 1 แสนบาท เสียชีวิต
  • เสียชีวิต คู่สมรส 1.5 ล้าน
  • 20-60 ปี สมัครได้
  • จยย. ขับขี่ คุ้มครอง สูงสุด 1 แสน
  • เบี้ยคงที่ สมัครง่าย ไม่มีตรวจสุขภาพ
สูงวัยไร้กังวล ไทยประกันชีวิตสูงวัยไร้กังวล

ไทยประกันชีวิต

  • จ่ายเบี้ย 8 บาท/วัน สมัครง่าย
  • มรดกเงินก้อน ส่งต่อให้คนที่รัก
  • เงินก้อนสูงสุด 450,000 บาท สำหรับทุกเหตุการณ์
  • เสียชีวิต รับ 150% ของเงินเอาประกัน
  • คุ้มครองถึง 90 ปี สมัคร 50-75 ปี
  • ง่ายสมัคร ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • เลือกจ่ายเบี้ย รายปี หรือเดือน
GEN Senior So Good GeneraliGEN Senior So Good

Generali

  • ค่าเบี้ยเริ่มต้น 15 บาท/วัน
  • จ่ายค่าเบี้ยคงที่ ทุกปี จนถึง 90 ปี
  • สูงสุด 450,000 บาท คุ้มครอง 150%
  • แบ่งจ่ายรายเดือน นาน 12 เดือน
  • อายุ 55-70 ปี สามารถสมัคร
  • โทรคุยเสร็จ สมัครง่าย ใน 15 นาที
  • เลือกรายปี รับส่วนลด 8%
สูงวัยมีทรัพย์ ไทยประกันชีวิตสูงวัยมีทรัพย์

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ยเริ่มต้น 9 บาท/วัน ราคาประหยัด
  • อายุ 75 ปี รับสองแสน ครบสัญญา รับเพิ่มหกแสน
  • รับผลประโยชน์สูงสุด 800,000 บาท ตลอดสัญญา
  • รับเงินก้อน 2 รอบ ไม่ต้องลำบากลูกหลาน
  • อายุ 50-70 ปี สมัครได้
  • สมัครออนไลน์ ง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • รับคืน 150% เมื่อครบสัญญา

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา