แคร์การเงิน

การเล่นแชร์ คืออะไร? เล่นอย่างไร? และผิดกฎหมายรึเปล่า?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published March 27, 2023

การเล่นแชร์คืออะไร? ท้าวแชร์คือใคร? วงแชร์แบบไหนผิดกฎหมาย?

ต้องรู้ก่อนเล่นแชร์! เปียแชร์คืออะไร? เล่นแชร์ผิดกฎหมายไหม?

เชื่อว่าหลาย ๆ คนหากไม่เคยเล่นแชร์เสียเอง ก็อาจจะเคยได้ยินเรื่องเล่า คำบ่นจากเพื่อนฝูงหรือคนรู้จัก หรืออาจกำลังโดนรุ่นพี่ที่ทำงานชักชวนให้มาเล่นแชร์ร่วมกันกับแก๊งของเขา แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจความหมายของการเล่นแชร์อย่างท่องแท้ เล่นแชร์คืออะไร? เปียแชร์คืออะไร? วิธีเล่นแชร์? และเล่นแชร์ออนไลน์ผิดกฎหมายไหม? คดีแชร์เป็นคดีแพ่งหรืออาญา ? ใครยังไม่รู้ ต้องอ่านต่อให้จบแล้วล่ะ!

เล่นแชร์ คืออะไร ?

การเล่นแชร์ คือการที่หมู่เพื่อน คนรู้จัก คนในครอบครัว หรือที่ทำงาน โดยจะต้องมีสมาชิก 3 บุคคลขึ้นไป ซึ่งจะมีหัวหน้าวง หรือเรียกว่า ‘ท้าวแชร์’ ที่เป็นผู้ริเริ่ม เก็บเงิน ทวงเงิน และสมาชิกคนอื่น ที่เรียกว่า ‘ลูกแชร์’ หรือ ‘ขาแชร์’ มาตั้งวงแชร์ลักษณะคล้ายกองทุน โดยวางเงินไว้เป็นกองกลาง เพื่อให้สมาชิกวงแชร์เวียนกันรับเงินกองกลางในแต่ละงวด โดยวิธีการประมูล หรืออื่น ๆ แล้วแต่การเล่นแชร์กำหนด โดยจะเล่นแชร์เป็นรอบ ๆ ซึ่งจะจบการเล่นแชร์ลงตอนที่สมาชิกทุกคนรับเงินกองกลางครบทุกคน

ซึ่งอยากแรกที่เราจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเล่นแชร์ คือศัพท์การเล่นแชร์ ซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงค่อนข้างมาก ดังนี้

ท้าวแชร์ คือ ? 

ท้าวแชร์ คือ เจ้ามือของวงแชร์นั้น ๆ ทำหน้าที่เก็บรักษาเงิน จดบันทึกว่าแต่ละงวดลูกแชร์ลงเงินเท่าไหร่ ทวงหนี้ในกรณีที่ตกลงระดมทุนแล้วมีคนไม่จ่าย โดยทั่วไปงวดแรกท้าวแชร์จะเป็นคนรับเงิน ฉะนั้นท้าวแชร์จึงจะต้องเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้ มีความรับผิดชอบ เพราะเป็นบุคคลที่มีโอกาสโกงแชร์มากที่สุด

เงินต้นแชร์ คือ ?

เงินขั้นต่ำที่ทุกคนที่เล่นแชร์ต้องจ่าย เช่นสมมุติว่าวงแชร์กำหนดให้เงินต้นคือ 1000 บาท แสดงว่าสมาชิกทุกคนในวงจะต้องลงเงินไปรวมในกองกลาง 1000 บาทนั่นเอง

ความหมายของเปียแชร์ คือ?

การเปียแชร์ คือการที่ลูกแชร์คนใดคนหนึ่งจะต้องได้รับเงินกองกลางที่ทุกคนลงไว้ไปนั่นเอง ซึ่งก็จะมีการกำหนดว่าผู้ใดจะได้มีสิทธิ์เปียแชร์ด้วยวิธีต่าง ๆ กัน หากแต่วิธีที่นิยมใช้ในการเปียแชร์ที่สุดคือการประมูล นั่นคือใครวางดอกเบี้ยสูงที่สุดในงวดนั้น ๆ ผู้นั้นมีสิทธิ์ที่จะเปียแชร์นั่นเอง โดยกฎคือจะต้องมีการเปียแชร์ทุกเดือน และการเล่นแชร์จะจบลงก็ต่อเมื่อสมาชิกเล่นแชร์ เปียได้ครบทุกคน

ความหมายของดอกแชร์ คือ?

ดอกแชร์ คือดอกเบี้ยที่ลูกแชร์จะต้องจ่ายหากต้องการจะเปีย โดยกรรมวิธีเหมือนกับการประมูล ก็คือใครเสนอค่าดอกแชร์สูงที่สุด ก็จะได้เปียเดือนนั้น ๆ ไป ฉะนั้นหากเราร้อนเงิน อยากจะเปีย เราก็จะต้องใส่ดอกเบี้ยให้สูง ๆ เข้าไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้เปีย แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่า หากเราได้เปียมาแล้ว งวดต่อ ๆ ไปเราก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยแชร์สูงเท่าเดิมด้วย

หลบแชร์ คืออะไร

หลบแชร์ คือการที่เราไม่อยากเปียแชร์ ฉะนั้นเราจึงวางดอกเบี้ยต่ำสุด ๆ หรือไม่ใส่ดอกเบี้ยแชร์เลย อาจจะเพราะว่าเดือนนั้น ๆ เรายังไม่อยากได้เงินก่อน หรือรู้แล้วแน่ชัดว่าเดือนข้างหน้า เราต้องการเงินก่อน เดือนนี้จึงยังไม่ออกตัวเอง ลงดอกแชร์เยอะ เป็นต้น

ตัวอย่าง วิธีเล่นแชร์

สมาชิกเล่นแชร์ 6 คน

(1) ท้าวแชร์
(2) ลูกแชร์ A
(3) ลูกแชร์ B
(4) ลูกแชร์ C
(5) ลูกแชร์ D
(6) ลูกแชร์ E

เล่นแชร์เดือนแรก

เงินต้น ฿1,000

(1) ท้าวแชร์ ลงเงิน ฿1,000
(2) ลูกแชร์ A ลงเงิน ฿1,000
(3) ลูกแชร์ B ลงเงิน ฿1,000
(4) ลูกแชร์ C ลงเงิน ฿1,000
(5) ลูกแชร์ D ลงเงิน ฿1,000
(6) ลูกแชร์ E ลงเงิน ฿1,000

เงินกองกลาง ฿6,000

ท้าวแชร์เป็นคนได้เงิน ฿6,000

เดือนที่ 2

เงินต้น ฿1,000

(1) ท้าวแชร์ ลงเงิน ฿1,000
(2) ลูกแชร์ A ลงเงิน ฿1,100 (ดอกแชร์ ฿100)
(3) ลูกแชร์ B ลงเงิน ฿1,000
(4) ลูกแชร์ C ลงเงิน ฿1,500 (ดอกแชร์ ฿500)
(5) ลูกแชร์ D ลงเงิน ฿1,050 (ดอกแชร์ ฿50)
(6) ลูกแชร์ E ลงเงิน ฿1,000

เงินกองกลาง ฿6,650

ลูกแชร์ C เปียแชร์ ฿6,650 เพราะจ่ายดอกแชร์มากที่สุด

เดือนที่ 3

เงินต้น ฿1,000

(1) ท้าวแชร์ ลงเงิน ฿1,000
(2) ลูกแชร์ A ลงเงิน ฿1,300 (ดอกแชร์ ฿300)
(3) ลูกแชร์ B ลงเงิน ฿1,200 (ดอกแชร์ ฿200)
(4) ลูกแชร์ C ลงเงิน ฿1,500 (ต้องจ่ายดอกเท่ากับรอบที่ได้เปียแชร์จนจบรอบ)
(5) ลูกแชร์ D ลงเงิน ฿1,000
(6) ลูกแชร์ E ลงเงิน ฿1,000

เงินกองกลาง ฿7,000

ลูกแชร์ A เปียแชร์ ฿7,000

วิธีเล่นแชร์จะเป็นในรูปแบบนี้จนทุกคนได้เปียครบหมด จึงถือว่าครบรอบการเล่น ซึ่งรอบต่อไปทุกคนสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ใหม่ เช่นเงินต้น และอื่น ๆ ซึ่งวิธีเล่นแชร์ รวมถึงกฎต่าง ๆ ที่ยกตัวอย่างมานี้อาจไม่เหมือนกันในทุกการเล่นแชร์ เพราะแต่ละวงมีวิธีเล่นแชร์ ข้อกำหนดวิธีเล่นแชร์ที่แตกต่างกันออกไป 

เล่นแชร์ผิดกฎหมายไหม ? คดีแชร์เป็นคดีแพ่งหรืออาญา ?

วิธีการเล่นแชร์ที่เน้นสร้างกองทุนเฉพาะกลุ่มในหมู่คนรู้จัก ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่ต้องเป็นไปตามครรลองกฎหมายพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตราที่ 6 ซึ่งหากทำผิดมีโทษทัณฑ์ทางแพ่งและพาณิชย์ มีโทษดังนี้

  • จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • วงแชร์นั้น ๆ จะถือว่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับตั้งแต่ต้น (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150)
  • ท้าวแชร์จะฟ้องเรียกสมาชิกวงแชร์ให้ชำระค่าแชร์ที่ยังไม่ชำระไม่ได้

ห้ามตั้งวงแชร์เกิน 3 วง

ท้าวแชร์จะไม่สามารถตั้งเล่นแชร์เกิน 3 วงได้ เพราะจะเป็นการง่ายที่จะนำเงิน และข้อมูลต่าง ๆ ของแต่ละวงแชร์มาปะปนกัน และเป็นการเสี่ยงต่อการฉ้อโกงแชร์ ถือว่าเป็นวิธีตั้งแชร์ที่ผิดกฎหมาย 

ห้ามมีสมาชิกเล่นแชร์เกิน 30 คนต่อ 1 วงแชร์

เนื่องจากหากเกิน 30 คนจะเข้าข่ายกการกระทำเป็นขบวนการ และยากที่กฎหมายจะควบคุม จึงมีการกำหนดขนาดผู้เล่นให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เกิน 30 คนเพื่อให้กำหนดวิธีเล่นแชร์ได้ง่าย ๆ

ห้ามมีเงินกองกลางต่อหนึ่งงวดเกิน 300,000 บาท

ยิ่งเงินกองกลางมาก เดิมพัน และความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อห้ามข้างต้นกำหนดสมาชิกไม่เกิน 30 คน เพราะยิ่งสมาชิกเยอะ โอกาสลงเงินเกินใน 1 งวดก็จะยิ่งเยอะ

ห้ามท้าวแชร์รับผลประโยชน์อื่น นอกจากเงินกองกลางแชร์เท่านั้น

เพราะท้าวแชร์มีโอกาสเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นที่สุดจึงต้องมีกฎหมายกำหนดให้ท้าวแชร์ไม่สามารถรับดอกเบี้ย หรือรับค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ในการเล่นแต่อย่างใด รับไปได้แค่กองเงินขั้นต่ำเท่านั้น

ห้ามมิให้ ผู้ใดโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ 

การตั้งวงแชร์ควรจะเล่นในหมู่คนรู้จักเท่านั้น หากมีการเชื้อเชิญ หรือการโฆษณาไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตามที่ไม่ใช่การเชิญชวนปากเปล่า จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมายทันที หากผู้ใดฝ่าฝืนต้อง ระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และสามารถมีความผิดฐานฉ้อโกงแชร์ ตามประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย

ห้ามนิติบุคคล เป็นท้าวแชร์ จัดตั้งแชร์ หรือร่วมเล่นแชร์

ห้ามริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมาคม หรือมูลนิธิเป็นตั้งต้นเล่นแชร์ หากฝ่าฝืนสามารถโดนปรับ 1-3 เท่าของกองกลางแต่ละงวด ทุกวงแชร์ ไม่น้อยกว่า 200,000 บาท และสั่งหยุดดำเนินการเล่นแชร์ออนไลน์ ทันที ฉะนั้นบริษัทส่วนใหญ่จึงไม่สนับสนุนให้มีการตั้งแชร์ภายในบริษัท เพราะเป็นการสุ่มเสี่ยง

เล่นแชร์ออนไลน์ ผิดกฎหมายไหม ? คดีแชร์เป็นคดีแพ่งหรืออาญา ?

การเล่นแชร์ออนไลน์มีความผิดทางกฎหมายอย่างแน่นอน อ้างอิงจากกฎหมายข้างต้น ‘ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาชี้ให้เข้ามาเล่นแชร์’ ฉะนั้นการริเริ่ม และเล่นแชร์ออนไลน์ไม่ว่าจะรูปแบบใด เพราะเป็นการเผยแพร่ชักชวนกลุ่มเพื่อน ทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักด้วยสื่อออนไลน์ โดยวิธีทั่วไปของการเล่นแชร์ออนไลน์คือการโฆษณาผ่านทางสื่อเฟสบุ๊คที่เป็นสาธารณะ หาสมาชิก และย้ายมาเล่นแชร์ออนไลน์ในกลุ่มไลน์ (Line) ปิด หากแต่ก็ได้มีการลงโฆษณาเล่นแชร์ออนไลน์ไปแล้วในคราวแรก จึงมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท 

โดนโกงแชร์ ฟ้องได้ไหม ? ฟ้องคดีแชร์เป็นคดีแพ่งหรืออาญาได้ ?

สามารถฟ้องได้เป็นคดีฉ้อโกง และคดีอาญา โดยสิ่งที่ควรจะมีคือหลักฐานการจ่ายเงิน สามารถเป็นทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเป็นสัญญา รวมไปถึงหลักฐานจากแชท หรือสัญญาตั้งต้นก่อนเล่นแชร์ สามารถฟ้องโกงแชร์ได้ทั้งกรณีเป็นสมาชิกเล่นแชร์ โดนท้าวโกงแชร์หนีไปพร้อมกับเงินกองกลาง ไปจนถึงท้าวแชร์เอง ถูกลูกแชร์โกงเงิน แต่ต้องแน่ใจว่าการมีส่วนร่วมในวงแชร์ เป็นการเล่นที่ถูกหลักกฎหมายข้างต้น เพราะหากเป็นการเล่นแชร์ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย การเล่นแชร์นั้น ๆ จะถือว่าเป็นโมฆะ

วิธีเล่นแชร์อย่างไรให้ปลอดภัย

กำหนดข้อตกลงก่อนเล่นให้ชัดเจน

ก่อนเล่นให้ทุกคนเซ็นสัญญาระบุรายละเอียดวิธีเล่นแชร์ทุกอย่างให้ชัดเจน ซึ่งท้าวแชร์ และลูกแชร์ / ขาแชร์ทุกคนจะต้องเก็บสัญญาตัวนั้นไว้ พร้อมลายเซ็นลงนามยินยอมของสมาชิกเล่นแชร์ทุกคน ควรจะต้องมีอยู่ในสัญญาฉบับนั้นทุกคน เพื่อเป็นหลักฐานกรณีมีการโกงแชร์ เพื่อนำไปดำเนินคดีทางกฎหมาย

เลือกท้าวแชร์ดี ๆ

ควรเล่นแชร์กับเพียงแค่กลุ่มคนที่เชื่อใจจริง ๆ ทุกคนเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท้าวแชร์ เพราะเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุด เพราะต้องเป็นผู้ที่แม่นกฎเกณฑ์และวิธีเล่นแชร์ ที่สุด และต้องรับผิดชอบเงินในแต่ละงวด ทำให้ต้องเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้จริง ๆ ไม่โกงแชร์

เก็บหลักฐานการจ่าย การรับ การโอนเงินทุกอย่างในการเล่นแชร์ไว้ให้ดี

นับว่าเป็นข้อที่สำคัญมาก ๆ เพราะทุกอย่างสามารถใช้เป็นหลักฐานมัดตัวกรณีที่มีสมาชิกในวงแชร์ โกงแชร์ นอกจากหลักฐานทางธุรกรรม ยังควรเก็บข้อความการสื่อสารภายในวงแชร์ไว้ให้เป็นกิจลักษณะ เพราะสามารถใช้เป็นหลักฐานคู่กับการโอนเงินด้วยเช่นกัน

เล่นแชร์ในลักษณะกลุ่มปิด

อีกหนึ่งปัญหาของการเล่นแชร์คือสมาชิกวงแชร์ทั้งหลายมักชักชวนคนรู้จักเข้ามาร่วมเล่น ซึ่งอาจเป็นเพื่อนของเพื่อน ไม่ใช่คนที่ทุกคนในวงรู้จัก หรือเชื่อใจทั้งหมด อาจเกิดการโกงแชร์ สร้างความบาดหมางภายในกลุ่มได้ไม่ยาก ยิ่งกว่านั้นกลุ่มจะใหญ่จนเกินที่จะควบคุม

ข้อดี ข้อเสีย การเล่นแชร์

  ข้อดี เล่นแชร์

  ข้อเสีย เล่นแชร์

  สนุกสนาน ได้ลุ้นว่าเดือนนี้ใครจะได้เปียแชร์

  เสี่ยงที่จะเสียสัมพันธ์กับสมาชิกในวงแชร์

  หากเดือนไหนร้อนเงินก้อน สามารถเปียแชร์มาใช้

  เสี่ยงโดนโกงแชร์

-

  ขั้นตอนในการยื่นฟ้องยุ่งยาก

ต้องบอกเลยครับว่าการเล่นแชร์ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว เนื่องจากความเสี่ยง เสียทั้งเงิน เสียทั้งเพื่อน และหากใครอยากได้เงินก้อน เงินลงทุน ไม่ต้องรอลุ้นเงินเปียแชร์อีกต่อไป เพราะการขอสินเชื่อก็ไม่ใช่สิ่งที่ยุ่งยากอีกต่อไปแล้ว อย่างสินเชื่อส่วนบุคคล แรบบิท แคร์ สมัครง่าย ไม่ต้องค้ำประกัน วงเงินกว้าง ไม่ต้องพึ่งการเล่นแชร์ ก็มีวงเงินมาหมุนในเดือนที่ช็อตแล้ว!

  
เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ สมัครเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024