แคร์การเงิน

MOU คืออะไร ? ในหลากหลายแง่มุม การเงิน การเมือง และอื่น ๆ

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published June 01, 2023

ด้วยกระแสการเมือง และการร่างรัฐบาลใหญ่ จึงทำให้มีคำว่า MOU ถูกกล่าวขึ้นมาอย่างมากขึ้นในสังคมไทย แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจความหมายที่แท้จริงขอว่า MOU คืออะไร ? วันนี้แรบบิท แคร์ จึงอยากพูดถึงในหลากหลายบริบทไม่ใช่แค่การเมือง หากแต่ในรูปแบบของธุรกิจ การเงิน และอื่น ๆ อีกมากมาย บอกเลยว่าไม่รู้ไม่ได้แล้ว!

MOU คืออะไร ?

MOU ย่อมาจาก Moment of Understanding คือ บันทึกความเข้าใจร่วมกันของบุคคล หรือนิติบุคคล 2 ฝ่าย หรือมากกว่านั้น หรือคือช่วงเวลาที่ผู้คนเข้าใจ สร้างข้อตกลงร่วมในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือประเด็นใดประเด็นหนึ่ง โดยสามารถใช้ได้หลากหลายบริบท ตั้งแต่การเรียนการสอน การสื่อสาร การเมืองการปกครอง ไปจนถึงธุรกิจ การเงิน

MOU จึงเป็นลักษณะข้อตกลง แสดงเจตจำนง ความเข้าใจร่วมกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นข้อตกลงที่ถูกบังคับให้ปฎิบัติตาม หรือมีข้อผูกมัดตามกฎหมาย ฉะนั้นจึงสามารถตกลงให้ หรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงที่กระทำร่วมกันได้ทุกเมื่อ 

MOU VS MOA แตกต่างกันอย่างไร ?

MOU – Moment of Understanding บันทึก ‘ความเข้าใจ’

MOA – Moment of Agreement บันทึก ‘ข้อตกลง’

ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดคือคำว่า ความเข้าใจ กับคำว่า ข้อตกลง ซึ่งในด้านความเข้มข้น จริงจัง ข้อตกลง หรือ MOA จะมีความจริงจังมากกว่า MOU โดยความแตกต่างสำคัญคือ หากผิดสัญญาข้อตกลงในรูปแบบของบันทึกความเข้าใจจะไม่สามารถฟ้องคดีได้ เป็นข้อตกลงที่ไม่ผูกมัดทางกฎหมาย (non-legally binding agreement) แต่หากเป็นในรูปแบบของ MOA หากผิดสัญญาจะสามารถฟ้องคดีความได้ จึงเป็นสัญญาที่มีความผูกมัดมากกว่า (legally binding agreement) ฉะนั้นรายละเอียดของ MOA จึงจะมีความชัดเจนกว่า ตั้งแต่จุดประสงค์ของสัญญา หลักปฎิบัติ บทบาทของแต่ละฝ่าย ข้อห้ามข้อปฎิบัติ จะต้องระบุอย่างเป็นรูปธรรม

ฉะนั้นสัญญา หรือข้อตกลงบางอย่างที่มีความสำคัญมาก ๆ เช่นทางด้านธุรกิจ หรือการเมืองการปกครอง จะถูกทำขึ้นด้วยการร่วมเซ็น MOU ก่อน มีการประชุม และประเมิน ตกลงกันหลายครั้ง ก่อนที่จะทำ MOA ซึ่งมีการผูกมัดทางกฎหมาย หากผิดสัญญาจะสามารถฟ้องศาลได้ตามรูปแบบข้อกำหนดที่ได้เซ็นยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย

ร่าง MOU อย่างไร ?

ก่อนที่จะระบุรายละเอียดของ MOU หรือ MOA สิ่งที่จะต้องระบุชัดเจนคือ LOI (Letter of Intent) หรือหนังสือแสดงเจตจำนง โดยเป็นการร่างกรอบความร่วมมือคร่าว ๆ หลังการเจรจาเบื้องต้น แต่แสดงให้เห็นว่าคู่เจรจาทุกฝ่าย ยินดีเจรจาเพิ่มเติมหรือพร้อมเตรียมเดินหน้าสู่การทำข้อตกลงต่อไป เป็นหลักเกณฑ์ที่ระบุนัยยะในการประชุมแต่ละครั้งเพื่อไม่ให้ผู้ร่วมประชุมหลุดประเด็น หรือยึดติดกับจุดประสงค์ของวาระประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในไทยอาจไม่ได้มีกฎหมายระบุว่าทุกการเซ็นบันทึกความเข้าใจ จะต้องมีการทำ LOI ทุกครั้ง แต่อย่่างประเทศอเมริกา ระบุไว้เลยว่าทุกบันทึกความเข้าใจ จะต้องมี LOI

หลักจากนั้นก็ถึงขั้นตอนการร่วมประชุม และสร้างข้อตกลงร่วมขึ้นมา โดยมีข้อมูลสำคัญที่บันทึกความเข้าใจ จะต้องระบุ ได้แก่ : โดยระบุชื่อของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง/  อธิบายโครงการที่พวกเขาเห็นพ้องกัน / กำหนดขอบเขตของโครงการ / ระบุรายละเอียดหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย

โดยส่วนมากแล้ว MOU จะเริ่มจากการร่างสัญญาของแต่ละฝ่ายขึ้นมาก่อน โดยระบุว่าสิ่งที่ฝ่ายของตนต้องการคืออะไร ? สิ่งที่ต้องการจากฝ่ายอื่นคืออะไร ? และสิ่งไหนที่อยู่นอกเหนือจากข้อตกลง เป็นสิ่งที่ไม่สามารถต่อรองได้ (Non-negotiable) ยิ่งมีหลายฝ่ายเกี่ยวข้องกันภายในบันทึกความเข้าใจ ข้อตกลงก็ยิ่งจะเกิดขึ้นได้ยากเท่านั้น เพราะแต่ละฝ่ายก็มีสิ่งที่ต้องการ และสิ่งที่ไม่สามารถต่อรองได้ จึงต้องจัดการหาพื้นที่ตรงกลางที่ทุกฝ่ายยินยอม และเป็นธรรม จึงไม่ใช่สิอ่งแปลกเลยหากบางครั้งเพียงแค่การร่างบันทึกความเข้าใจ อาจกินเวลา 2 – 3 สัปดาห์กว่าที่จะหาจุดลงตัวได้ หรือสุดท้ายเซ็นบันทึกความเข้าใจไปแล้ว แต่ไม่เกิดการเซ็นสัญญาจริง

MOU ในแต่ละบริบท

หลังจากเข้าใขความหมายของ MOU กันแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่า MOU ในแต่ละบทบาท มันคืออะไร แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ? เพราะคอนเซ็ปต์ของบันทึกความเข้าใจ ก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างกลาง ๆ ถูกใช้ได้กับในทุกวงการ 

MOU และการเมือง

อย่างที่เห็นกันมากมายในสื่อกระแสหลัก กระแสรอง ที่มีการใช้ MOU ตั้งรัฐบาล ร่วมกันระหว่างพรรคหลัก และพรรครอง ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยใช้บันทึกความเข้าใจ ในการตั้งรัฐบาล โดยปกติการเมืองไทยจะใช้การให้ ‘สัตยาบัน’ หรือเป็นสัญญาปากเปล่า โดยไม่ได้มีการบันทึกอย่างเป็นทางการโดยเป็นรายลักษณ์อักษร 

หากแต่ในครั้งนี้ได้มีการร่าง MOU ขึ้นมาเพื่อให้มีความชัดเจนว่าแต่ละฝ่ายมีจุดยืนอย่างไร ซึ่งก็เป็นข้อดี ถึงแม้ว่า บันทึกความเข้าใจ จะไม่ได้มีผลผูกขาดทางกฎหมาย แต่ก็เป็นหลักฐานมัดมือชัดเจนเมื่อมีการผิดสัญญา หรือกลับคำ ซึ่งถึงแม้ว่าการนำหลักบันทึกความเข้าใจมาใช้ในบริบทของการเมืองจะค่อนข้างแปลกใหม่สำหรับการเมืองไทย แต่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีเสรีในการเลือกตั้ง แกละใช้รูปแบบรัฐบาลผสม การทำสัญญาความเข้าใจเพื่อตั้งรัฐบาล ไม่ได้เป็นสิ่งที่แปลกใหม่แต่อย่างใด

ยกตัวอย่างประเทศอังกฤษ ปี 2015 ได้มีการเซ็น “Confidence and Supply Agreement” ตกลงร่วมเสียงพรรคคอนเซอเวทีฟ กับพรรครองอื่น ๆ เพื่อร่วมโหวตให้กลายเป็นเเสียงส่วนใหญ่ โดยใช้เวลาต่อรอง ตกลงกันกว่า 2 อาทิตย์เพื่อที่จะร่วง MOU ขึ้นมา

ประเทศเยอรมัน ร่างข้อตกลงภายในพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสามพรรคดังกล่าว ลงนามในข้อตกลงที่มีจำนวนกว่า 177 หน้าในชื่อว่า “Dare more progress – Alliance for Freedom, Justice and Sustainability” ในปี 2021 เพื่อเป็นแบบร่างแผนการบริหารประเทศตลอดระยะเวลา 4 ปี

MOU และธุรกิจ การเงิน

นอกจากนั้น MOU ยังถูกใช้อย่างแพร่หลายในแวดวงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกรณีของการร่วมมือทางธุรกิจของบริษัทยักษ์ใหญ่ หรือการหาคู่ค้าร่วมกัน เพื่อสร้างข้อสรุปที่ยุติธรรม และเกิดผลประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ซึ่งข้อตกลงทางธุรกิจมีรายละเอียดที่เยอะ และซับซ้อนอย่างมาก ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจจริง ๆ จึงควรจะทำข้อตกลงบันทึกความเข้าใจ เสียก่อน ซึ่งหากข้อตกลงไม่สำเร็จ ผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจจะไม่เกิดขึ้ิน ไม่มีผลผูกมัดใด ๆ ทางกฎหมาย แต่มีก็แค่เสียหายด้านเวลา หรือทุนทรัพย์เล็กน้อยในการจัดการประชุม

MOU ในชีวิตประจำวัน

MOU ที่เราสามารถเจอได้ในชีวิตประจำวัน ส่วนมากจะเจอได้เมื่อเราซื้อขายของชิ้นใหญ่ เช่น บ้าน หรือที่ดิน โดยอาจมีการร่างสัญญาซื้อขายขึ้นมาก่อนเพื่อเป็นการรับรู้ระหว่างผู้ซื้อขาย โดยจะยังไม่ใช่การเซ็นสัญญาฉบับจริง และยังไม่ได้มีผลทางกฎหมายใด ๆ ซึ่งสัญญาลักษณะนี้อาจเรียกได้ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย แต่ลักษณะ หรือคอนเซ็ปต์ มีความคล้ายคลึงกับ บันทึกความเข้าใจอย่างมาก 

ข้อดีข้อเสียของ MOU

หนังสือยินยอม (Memorandum of Understanding: MOU) ช่วยให้ฝ่ายทั้งหมดสามารถระบุวัตถุประสงค์และเป้าหมายทั้งหมดได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะลดความไม่แน่ใจและป้องกันไม่ให้เกิดข้อพิพาทที่ไม่คาดคิดในอนาคต นอกจากนี้ โดยการระบุอย่างชัดเจนว่าแต่ละฝ่ายคาดหวังอะไรจากอีกฝ่าย หนังสือยินยอมจะเป็นแบบแผนการที่สำหรับการทำสัญญาที่สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับฝ่ายทั้งสอง ที่อาจต้องเริ่มร่างในอนาคตหรือไม่ต้องร่าง

ข้อเสียที่สำคัญของหนังสือยินยอม ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละฝ่าย คือไม่จำเป็นต้องผูกมัดตามกฎหมาย ในบางกรณีนี้อาจเป็นประโยชน์ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่ต้องปฏิบัติตามสิ่งที่พวกเขาได้กล่าวในหนังสือยินยอม พวกเขาสามารถยุติหรือเปลี่ยนความคาดหวังได้ตามต้องการ แต่นั่นขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและภาษาทางกฎหมายของหนังสือยินยอม

การร่างหนังสือยินยอมอาจใช้เวลาและแผนการสำคัญในการสร้าง และถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนความต้องการอย่างสิ้นเชิง การสร้างหนังสือยินยอมก็จะเป็นการสูญเสียทรัพยากรขนาดใหญ่

จะเห็นว่าเรื่องของ MOU อยู่ใกล้ตัวเรา ๆ มากกว่าที่ทุกคนคิด ซึ่งโดยรวมแล้วมีขึ้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการตัดสินใจสำคัญ ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นสัญญาเชิงธุรกิจ ไปจนถึงธุรกรรมซื้อขายบ้านรถ เราควรจะพิจารณารายละเอียดทุกครั้งก่อนเซ็น ไปจนถึงการเซ็นขอสินเชื่อต่าง ๆ ซึ่งหากใครอยากได้สินเชื่อส่วนบุคคล ข้อเสนอดี แรบบิท แคร์ มีให้คุณ คลิกไปดูต่อได้เลย !

คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ


บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024