รู้จักกับ ผู้จัดการมรดก บุคคลสำคัญที่ขาดไม่ได้!

คะน้าใบเขียว
ผู้เขียน: คะน้าใบเขียว Published: พฤษภาคม 6, 2022
คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
ผู้จัดการมรดก

หลายคนอาจจะเข้าใจว่า ผู้จัดการกองมรดกนั้น เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีทรัพย์สินเยอะ ๆ มีมรดกให้ลูกหลานมากมาย แต่รู้หรือไม่? มนุษย์เงินเดือนธรรมดาทั่วไปก็สามารถมีผู้จัดการกองมรดกได้ แต่ในทางกฎหมายจำเป็นต้องมีด้วย! ทำไมถึงเป็นแบบนั้นกันนะ แล้วผู้จัดการกองมรกดกมีหน้าที่อะไรบ้าง วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบ!

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ผู้จัดการมรดกคือใครกัน?

    ผู้จัดการกองมรดก คือ ผู้เข้ามาทำหน้าที่รวบรวม ทำบัญชี และแบ่งปันทรัพย์สินหรือที่เราเรียกกันว่า มรดก ของผู้ตายให้กับทายาทหรือผู้ที่มีสิทธิรับมรดกในอัตราส่วนตามกฎหมาย โดยที่มาของผู้จัดการกองมรดก สามารถมาได้จากสองช่องทาง คือ 

    • ผู้ที่ผู้ตายระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้จัดการกองมรดกที่ได้รับการแต่งตั้งจะเข้ามาจัดการมรดกให้ทันที โดยไม่ต้องรอยื่นให้ศาลแต่งตั้งให้ ยกเว้นแต่ทายาทผู้มีสิทธิคัดค้าน

    • ผู้ที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้แต่งตั้งได้ ก็คือ ทายาท (ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม), ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (เช่น เจ้าหนี้ ผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาท หรือผู้จัดการกองมรดกโดยพินัยกรรม เป็นต้น) และอัยการ

    โดยผู้จัดการกองมรดกไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทของเจ้ามรดก แต่จะเป็นใครก็ได้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลและได้รับการยินยอมจากตัวได้รับการแต่งตั้งเอง

    เขียนพินัยกรรม

    ตัวอย่าง 

    คุณแคร์ เป็นเพื่อนของ คุณใส่ใจ และคุณใส่ใจได้ระบุชื่อคุณแคร์เป็นผู้จัดการกองมรดกได้ หากคุณแคร์รับรู้ และยินยอมก็จะได้เป็นผู้จัดการกองมรดกให้คุณใส่ใจ แต่หากคุณแคร์ปฎิเสธ สามารถให้ทายาทผู้รับมรดกของคุณใส่ใจจัดหาผู้จัดการกองมรดกใหม่ได้

    หรือ

    คุณห่วงใย เป็นทายาทโดยธรรมที่จะได้รับมรดกจาก คุณกระต่าย เมื่อคุณกระต่ายไม่ได้ทำพินัยกรรมทิ้งไว้ หรือทำทิ้งไว้แต่ไม่ได้ระบุชื่อผู้จัดการกองมรดก หากคุณสมบัติคุณห่วงใยครบถ้วน ก็สามารถยื่นต่อศาล และพร้อมคำรับรองจากทายาทคนอื่น ๆ เพื่อให้ตนเป็นผู้จัดการกองมรดกได้เช่นกัน

    นอกจากนี้ ผู้จัดการกองมรดกยังมีหน้าที่นำมรดกของผู้ตายไปชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีมรดก และรายการแสดงบัญชีการจัดการ โดยต้องจัดการไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่มรดก เช่น ผู้จัดการมรดก มีอำนาจขายที่ดินมรดกเพื่อนำไปใช้หนี้สินของผู้ตายได้ หากเสียงส่วนใหญ่จากทายาทได้รับความยินยอม

    แต่ในกรณีที่ผู้จัดการกองมรดกไม่ทำหน้าที่อย่างถูกต้อง เช่น ปิดบังมรดกต่อทายาท, ไม่แบ่งมรดกให้ทายาท, มีการแบ่งมรดกที่ทางทายาทมองว่าไม่เป็นธรรม เป็นต้น เหล่าทายาทก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะทางทายาทฟ้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก และแต่งตั้งผู้จัดการกองมรดกใหม่ได้

    แต่งตั้งผู้จัดการมรดก

    แล้วแบบนี้ หน้าที่ของผู้จัดการมรดก มีอะไรบ้างนะ? 

    ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ผู้จัดการกองมรดกนั้นจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม หรือมีการทำพินัยกรรมไว้ แต่ไม่มีการแต่งตั้งชื่อผู้จัดการกองมรดก ทั้งนี้ก็เพื่อความโปร่งใสในการแบ่งทรัพย์สินให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก

    เมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้ว ทางศาลจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งให้หน้าที่ของผู้จัดการมรดก ดังต่อไปนี้

    1. จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน และต้องจัดทำให้เสร็จภายใน 1 เดือน หากไม่เสร็จก็สามารถขออนุญาตต่อศาลขยายระยะเวลาอีกได้

    ซึ่งบัญชีทรัพย์มรดก ต้องประกอบด้วย รายการแสดงทรัพย์สิน, สิทธิเรียกร้อง, เงิน, มูลค่า และแจ้งจำนวนเจ้าหนี้ เป็นเงินรวมเท่าใด และต้องมีพยานรับรอง 2 คน โดยหนึ่งในพยานจะต้องเป็นทายาทที่มีส่วนได้เสียในกองมรดกด้วย

    ถ้ามิได้จัดทำให้เสร็จภายในกำหนดเวลา และตามแบบที่กำหนด หรือบัญชีไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือการทุจริต หรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้

    2. ต้องจัดการทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการ และแบ่งปันมรดกแก่ทายาททั้งหมด ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งตั้ง โดยจำนวนเสียงข้างมากของทายาท หรือศาลจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

    3. ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดก เว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทจำนวนเสียงข้างมากจะได้กำหนดไว้

    ทำประกันออนไลน์

    4. จะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้ เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล

    5. ต้องจัดการมรดกด้วยตนเอง

    6. ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก โดยเห็นแก่ทรัพย์สินอย่างใด ๆ หรือประโยชน์อื่นใดอันบุคคลภายนอกได้ให้ หรือได้ให้คำมั่นว่าให้เป็นลาภส่วนตัวย่อมไม่ผูกพันทายาท เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วย

    7. ต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสีย และแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นภายในเวลาอันสมควร     

    8. ทายาทจะต้องบอกทรัพย์สินมรดกและหนี้สินของผู้ตายตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการกองมรดก

    9. ผู้จัดการกองมรดกต้องจัดแบ่งสินมรดกและมอบโดยเร็วโดยชำระหนี้กองมรดก(ถ้ามี)เสียก่อน

    ซึ่งหน้าที่ของผู้จัดการมรดกจะมีสถานะสิ้นสุดได้ จากเหตุดังนี้

    • ผู้จัดการกองมรดกตาย
    • ผู้จัดการกองมรดกลาออก ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากศาล แต่หากมีความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างทำหน้าที่ก็ต้องรับผิดชอบ
    • ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการกองมรดก
    • ตกเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติต้องห้าม เช่น บุคคลล้มละลาย, บุคคลวิกลจริต หรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น
    • การจัดการมรดกสิ้นสุดลง และเป็นการเริ่มนับอายุความจัดการมรดก 5 ปี กรณีทายาทได้รับความเสียหาย

    แบ่งมรดก

    เริ่มแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ต้องทำอย่างไร?

    อย่างที่ทุกคนทราบกันดี ผู้จัดการกองมรดกสามารถมาได้ทั้งจากการแต่งตั้งที่พินัยกรรมระบุไว้ หรือได้มาโดยคำสั่งศาล เบื้องต้นแล้วการมีชื่อผู้ที่ถูกแต่งตั้งเอาไว้แล้วจะยุ่งยากน้อยกว่าการไม่ได้แต่งตั้งชื่อผู้จัดการกองมรดกเอาไว้

    โดยผู้จัดการกองมรดกไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก แต่สามารถเป็นใครก็ได้ตามที่อธิบายไว้ข้างต้น แต่มีเงื่อนไขว่า ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาล ต้องเป็นทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก หรือผู้ที่ได้รับมรดกตามพินัยกรรม หรืออาจเป็นบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือสามีภริยาซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมีทรัพย์สินร่วมกัน เป็นต้น

    ซึ่งการร้องต่อศาลเพื่อแต่งตั้งผู้จัดการมรดก สามารถทำได้ โดยผู้จัดการกองมรดกเอง จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

    • บรรลุนิติภาวะ อายุ 20 ปีบริบูรณ์
    • ไม่เป็นคนวิกลจริต, คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
    • ไม่เป็น บุคคลล้มละลาย

    จากนั้นเตรียมเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง ดังนี้

    • เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับผู้ตาย เช่น สูติบัตร, ทะเบียนสมรส, ทะเบียนบ้าน, บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น
    • มรณบัตรของผู้เสียชีวิต
    • เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดก เช่น โฉนดที่ดิน, หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ห้องชุด, สมุดเงินฝากธนาคาร, ทะเบียนรถยนต์, ทะเบียนอาวุธปืน เป็นต้น
    • บัญชีเครือญาติ
    • หนังสือยินยอมให้เป็นผู้จัดการกองมรดกจากทายาท
    • พินัยกรรม (ถ้ามี)
    • หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)

    ประกันชีวิตเป็นมรดกไหม

    นำเอกสารข้างต้น ไปยังศาลที่เจ้ามรดก (ผู้ตาย) มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลในขณะถึงแก่ความตาย หรือถ้าไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศ ให้ไปศาลทีทรัพย์ตั้งอยู่ โดยจะมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมศาล, ค่าปิดประกาศแจ้ง ณ ภูมิลำเนาผู้ตายหรือที่ว่าการอำเภอ ตามอัตรานำหมายของศาล เป็นต้น

    เมื่อยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว จะนัดไต่สวนคำร้องประมาณ 2 เดือน หลังจากไต่สวนคำร้องเสร็จ 1 เดือน ผู้ร้องสามารถขอคัดสำเนาคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก พร้อมหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดเพื่อใช้ดำเนินการต่อไป

    สรุปแล้ว การยื่นขอแต่งตั้งผู้จัดการกองมรดก จะใช้ระยะเวลาราว ๆ 2 – 3 เดือน ดังนั้นแล้ว หากไม่ลำบากเกินไป เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องพบกับการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม เราอาจเริ่มต้นเขียนพินัยกรรม พร้อมมอบหมายให้บุคคลที่ไว้ใจเป็นผู้จัดการมรดกได้ตั้งแต่ช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ได้เลย เพื่อลดความยุ่งยากในการดำเนินการเหล่านี้ได้ 

    รวมถึงการพยายามรวบรวมเอกสารสำคัญต่าง ๆ รวมถึงทรัพย์สินเตรียมพร้อมไว้ ก็ไม่เสียหาย เช่น โฉนดที่ดินต่าง ๆ , ทำประกันชีวิตมรดก หรือประกันต่าง ๆ ไว้ที่ใดบ้าง รวบรวมไว้เพื่อคนที่คุณรักจะได้ไม่ต้องวิ่งวุ่นจัดการเอกสารภายหลังนั่นเอง 

    การแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม

    อะไรบ้างที่ถูกนับเป็นมรดก และผู้จัดการกองมรดกต้องจัดการ

    หากอธิบายกันให้เข้าใจง่าย ๆ สำหรับ มรดกหรือกองมรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์, ลิขสิทธิ์, สิทธิในเครื่องหมายการค้า, หุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน, สิทธิเรียกร้องที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินได้, หน้าที่และความรับผิดของเจ้ามรดก 

    และรวมถึงสิทธิต่าง ๆ บางประการ เช่น สิทธิเหนือพื้นดินซึ่งอาจโอนและรับมรดกกันได้, สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ, สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ขายฝาก, สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า, สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง 

    ส่วนสิ่งที่ไม่ถูกนับว่าเป็นมรดกนั้น คือ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ซึ่งตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เช่น สิทธิอาศัย, สิทธิเก็บกินซึ่งสิ้นไปเมื่อผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความตาย, ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์, สิทธิการเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า เมื่อผู้เช่าตายไปสัญญาเช่าเป็นอันสิ้นสุดลง ไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท และยังรวมไปถึง ทรัพย์สินที่ได้หลังจากผู้ตายเสียชีวิตอีกด้วย 

    นอกจากนี้ ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน หากว่ากองมรดกมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์มรดก เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องเอาจากกองมรดกได้เพียงเท่าที่ทรัพย์มรดกมีอยู่ ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่านั้น ซึ่งนี่เอง คือหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะจัดการหนี้สินเหล่านั้น โดยหักจากมรดกที่มีอยู่ ก่อนนำไปจ่ายหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ให้

    และตามกฎหมายแล้ว มรดกต่าง ๆ จะตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม ซึ่งทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า 

    • ทายาทโดยธรรม คือ ผู้สืบสันดาน หรือ ญาติผู้สืบทอดสายเลือดของผู้ตาย เป็นได้แต่เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น เบื้องต้นแล้วการตกทอดมรดกจะนับตามลำดับขั้นไป ตั้งแต่ขั้นที่ 1 – 6 หากทายาทที่ได้รับมรดก มีหลายคน จะได้ส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกคนละเท่า ๆ กัน และคู่สมรสมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเหมือนเป็นทายาทชั้นบุตร โดยมีเงื่อนไขว่าต้องจดทะเบียนสมรสเท่านั้น
    • ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรม คือ บุคคลที่ถูกระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมของผู้ตาย ไม่จำเป็นต้องมีเชื้อสาย หรือญาติกับผู้ตาย เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

    ตัวอย่าง 

    คุณแคร์ ได้ทำพินัยกรรมไว้ให้ลูกหลานของตน รวมถึงคู่สมรส และได้ทำพินัยกรรมบางส่วน บริจาคให้กับองค์กรรักษาป่าไม้ รวมถึงคุณห่วงใย ผู้เป็นเพื่อนที่คอยช่วยเหลือมาโดยตลอด

    หรือ

    คุณใส่ใจได้ทำประกันชีวิตออมทรัพย์ โดยลงชื่อผู้รับผลประโยชน์ให้กับ คุณเอ คู่รักเพศเดียวกัน แต่เมื่อคุณใส่ใจประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตโดยไม่ทันทำพินัยกรรม ทรัพย์สินอื่น ๆ จะถูกนับเป็นมรดกส่งต่อให้ทายาทโดยธรรมแทน แต่ถึงแม้ไม่ได้ทำพินัยกรรมทิ้งมรดกเอาไว้ แต่ประกันชีวิตออมทรัพย์ที่ได้ทำเอาไว้ ก็สามารถส่งต่อให้กับคุณเอได้ โดยไม่ต้องกังวลว่า จะมีผู้จัดการมรดกหรือญาติของคุณใส่ใจเข้ามาจัดการ

    ลดหย่อนภาษี

    จะเห็นได้ว่าเรื่องการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่น้อย หากต้องการแบ่งเบาภาระเหล่านี้ลง การเริ่มต้นทำพินัยกรรมไว้แต่ต้นก็ไม่เสียหาย หรือการทำประกันชีวิตทิ้งไว้ให้กับคนที่คุณรักเอง ก็ถือว่าเป็นการทำพินัยกรรมทิ้งไว้ให้คนที่อยู่ข้างหลังได้ทันที

    สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะทำประกันชีวิตที่ไหนดี? หรือจะเลือกเปรียบเทียบทำประกันเจ้าไหน? นี่เลยกับ แรบบิท แคร์ ! ที่พร้อมห่วงใย ใส่ใจ ทั้งคุณ และคนที่คุณรัก ด้วยบริการเปรียบเทียบประกันต่าง ๆ ให้คุณได้เบี้ยประกัน และผลประโยชน์ที่ต้องการ

    สมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก สร้างมรดกและพินัยกรรมได้เอง โดยไม่ต้องรอใครมาแบ่งมรดก แค่ทำประกันชีวิต กับ แรบบิท แคร์ คลิกเลย! 


    บทความแนะนำอื่นๆ : เศรษฐกิจและกฎหมาย

    ทำความเข้าใจการเล่นแชร์ แบบไหนถือว่าผิดกฎหมาย เข้าใจความเป็นมาของยุคอัตราเงินเฟ้อดุดันไม่เกรงใจใคร และรู้วิธีรับมือ! เจาะลึกเรื่องภาษีมรดก จ่ายอย่างไร? คำนวณอย่างไร? พาณิชย์เสนอ เพิ่มยา-ค่าบริการ ขึ้น เป็นบัญชีสินค้าและบริการควบคุม สรรพากรคาดเก็บ ภาษี 2563 ได้มากถึง 2.1 ล้านล้านบาท เจาะลึกทุกเรื่องโฉนดที่ดิน เช็คโฉนดที่ดินอย่างไร อยากรู้ คลิก! เข้าใจ MOU การร่างข้อตกลง ความหมายในแต่ละบริบท

    บทความแคร์การเงิน

    Rabbit Care Blog Image 102347

    แคร์การเงิน

    หนี้เยอะ จ่ายไม่ไหว ทำยังไงดี? ประนอมหนี้ดีไหม?

    เมื่อหนี้สินพอกพูนจนเริ่มแบกรับไม่ไหว หลายคนอาจรู้สึกท้อแท้และหาทางออกไม่เจอ หากคุณกำลังเจอกับปัญหา หนี้บัตรเครดิตท่วม, หนี้เสียถูกฟ้อง,
    คะน้าใบเขียว
    01/07/2025
    Rabbit Care Blog Image 102326

    แคร์การเงิน

    ไขข้อสงสัย ผ่อนบ้านกี่ปีถึงรีไฟแนนซ์ได้? รีไฟแนนซ์บ้านคุ้มไหม?

    สำหรับเจ้าของบ้านหลายคน ภาระผ่อนบ้านต่อเดือนถือเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ต้องแบกรับอยู่ไม่น้อย
    คะน้าใบเขียว
    27/06/2025
    Rabbit Care Blog Image 102286

    แคร์การเงิน

    เครื่องมือคำนวณค่าใช้จ่ายหลังสินเชื่อ ประเมินภาระการชำระเงิน

    การขอสินเชื่อเป็นทางเลือกที่หลายคนใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบ้าน รถยนต์ หรือลงทุนในธุรกิจส่วนตัว
    กองบรรณาธิการ
    26/06/2025