แคร์ไลฟ์สไตล์

พินัยกรรม จำเป็นมากน้อยแค่ไหน ทำไมเราถึงต้องทำ?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : ใบไม้ร่าเริง
ใบไม้ร่าเริง

มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี

close
 
Published: January 4,2021
  
Last edited: January 5, 2019
พินัยกรรม

พินัยกรรม จำเป็นมากน้อยแค่ไหน ทำไมเราถึงต้องทำ?

ทำความเข้าใจกับพินัยกรรม ต้องเป็นคนรวยเท่านั้น ถึงทำได้ จริงหรือ ? 

หลายคนติดภาพว่า การทำพินัยกรรม ต้องเป็นคนรวย หรือมีมรดกที่ร่ำรวยเท่านั้น แต่แท้จริงไม่จำเป็นเสมอไป เพราะคนธรรมดาทั่วไปอย่างเราๆ ก็สามารถทำพินัยกรรมได้ 

เพราะ มรดก ไม่ได้หมายถึงแค่เงินของผู้ที่เสียชีวิตไปเท่านั้น แต่ยังรวมถึง ที่ดิน, เงินที่มีลูกหนี้ยืมไป และยังจ่ายไม่ครบ, ค่าเช่า ดอกเบี้ย บ้าน หรือแม้แต่ เงินปันผลจากกองทุน หรือการทำประกันต่างๆ และรวมไปถึงหนี้สินของผู้ตายอีกด้วย 

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    แน่นอนว่า ถ้าเป็นหนี้สิน อาจจะไม่มีปัญหานัก เพราะเจ้าหนี้ ย่อมต้องติดตามถึงผลประโยชน์ของตัวเอง และผู้ที่จะมารับผิดชอบหนี้สินต่อ แต่ทรัพย์สินที่ทายาทของผู้ตายควรจะได้รับนี่สิ หากไม่ทำพินัยกรรมแจกแจง หรือแจ้งเอาไว้ อาจจะทำให้เราตกหล่นเรื่องทรัพย์สินต่างๆ ที่ควรจะได้ได้

     

    ทายาทโดยธรรม

     

    สงสัยไหม ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ จะแบ่งมรดกยังไง ?

     

    ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โดยในทางกฎหมาย แบ่งทายาทออกเป็น 2 ประเภท คือ

    ทายาทโดยธรรม คือ ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย โดยกฎหมายกำหนดไว้แล้วว่าบุคคลตามสายเลือดดั่งต่อไปนี้ จะเป็นผู้รับสืบทอดมรดกโดยทันที เช่น บุตรของผู้ตาย, บิดามารดาของผู้ตาย, คู่สมรสของผู้ตาย เป็นต้น

    ทายาทโดยพินัยกรรม คือ เป็นเรื่องของผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ซึ่งอาจเป็นคนอื่นก็ได้ จะทำยกให้ใครแม้ไม่ใช่ญาติของตนก็ได้  โดยจะเรียกทายาทประเภทนี้กันว่า ผู้รับพินัยกรรม

     

    ปกติ ทายาทโดยพินัยกรรมนั้นจะมีสิทธิสูงกว่าทายาทโดยธรรม หมายความว่า ถ้าเจ้าของมรดก หรือผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบ่งมรดกเอาไว้เรียบร้อยแล้ว การแบ่งทรัพย์สินต่างๆ นั้น จะถูกนับตามการแบ่งมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายทันที โดยไม่ต้องคำนึงถึงทายาทโดยธรรม

    แต่ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ มรดกจะแบ่งให้ทายาทโดยธรรม ซึ่งส่วนมากจะเป็นญาติ หรือผุ้สืบสายเลือดของผู้ตาย โดยมีลำดับขั้นในการแบ่งมรดกตามกฎหมาย ดังนี้ 

     

    • ผู้สืบสันดาน (ลูก, หลาน, เหลน, โหลน, ลื้อ)
    • พ่อแม่ของผู้ตาย
    • พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน
    • พี่น้องร่วมพ่อ หรือร่วมแม่เดียวกัน
    • ปู่ ย่า ตา ยาย
    • ลุง ป้า น้า อา

     

    ผู้จัดการมรดก

     

    ทายาทลำดับบนๆ ยังมีชีวิตอยู่นั้น จะทำให้ทายาทลำดับล่างๆ ไม่มีสิทธิได้รับมรดก ส่วนคู่สมรส (ต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย) จะมีแตกต่างกับทายาทโดยธรรม เพราะมีสิทธิได้รับมรดก 2 ส่วนคือ ครึ่งนึงของสินสมรส และสิทธิ์ได้รับมรดกของผู้ตาย 

    สำหรับการได้ส่วนแบ่งของมรดก ในคูาสินสมรส ทางกฎหมายจะนับเหมือนเป็นทายาทชั้นบุตร  แต่จะได้มาก หรือน้อยนั้น ต้องขึ้นอยู่กับว่าทายาทโดยธรรมประเภทญาตินั่น เหลือใครบ้างนั่นเอง

    นอกจากนี้ ในกรณีที่ทายาทโดยธรรม ลำดับชั้นที่ 1 และ ลำดับชั้นที่ 2 ยังมีชีวิตอยู่ กฎหมายกำหนดไว้ว่า จะมีการได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่าๆ กัน เพราะกฎหมายถือว่าเป็น พ่อแม่ คือญาติในลำดับที่สนิทที่สุด

    แต่ถ้ามีทายาทในชั้นพี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน หรือถ้าไม่มีบุตรแต่พ่อแม่ของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิ์ได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง (50%)

    ถ้ามีทายาท คือ พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือลุง ป้า น้า อา หรือมีปู่ ย่า ตา ยายแล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิ์ได้มรดก 2 ใน 3 ส่วน (66.7%) และในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาทเลย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิ์ได้รับมรดกทั้งหมด (100%)

     

    จะเห็นได้ว่าการแบ่งมรดกนั้น แม้จะไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่ก็ยังสามารถแบ่งกันได้ แต่จะมีความยุ่งยากในเรื่องการจัดสรร และอาจมีปัญหาได้ หากผู้ตายมีญาติพี่น้องเยอะ หรือในกรณีที่ทรัพย์สินมาก

     

    ประกันชีวิต

     

    ทำไมการไม่ทำมรดกเอาไว้ ถึงลำบาก ยุ่งยากกว่า? 

    นอกเหนือจากความยุ่งยากในการแบ่งมรดกแล้ว สิ่งที่ยุ่งยากไม่แพ้กันเลย คือ ปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่  โดยทั่วไป ผู้เป็นลูกหลาน หรือญาติที่มีสิทธิ์ในมรดก จะยื่นคำขอต่อศาล เพื่อจัดตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้

    หลังจากศาลจัดตั้งแล้ว ผู้จัดการมรดก ก็สามารถนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อน มิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้

    แต่ขั้นตอนเหล่านี้ ก็เรียกได้ว่า ยุ่งยากอยู่ไม่น้อย โดยช่วงหลังๆ ศาลลเองก็ได้อำนวยความสะดวก โดยมีแบบคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแบบง่ายๆ ไว้ให้

    ในกรณีที่มีมรดกจำนวนเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นมรดกรายใหญ่มีมากมาย  มีเรื่องซับซ้อนยุ่งยากเข้ามาเกีย่วข้อง เพราะในบางครั้ง ก็อาจมีการยื่นคัดค้านอีกด้วย

     

    ทายาท

     

    โดยการขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น จะมีลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้

     

    1. ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก ได้แก่ ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกที่มีสิทธิรับมรดก เช่น บุตร บิดามารดา คู่สมรสของเจ้ามรดกผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก ซึ่งอาจเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก 


    2. ผู้จัดการมรดกไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทของเจ้ามรดก แต่จะเป็นใครก็ได้ และผู้จัดการมรดกต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย คนประเภทนี้เห็นแล้วว่าไม่สามารถรู้ผิดชอบ  หย่อนความคิดอ่าน มีหนี้สินล้นพ้นตัว

    3. สำหรับการยื่นคำร้อง สามารถยื่นที่ศาลตามภูมิลำเนาของผู้ตายนั่นเอง โดยคุณอาจปรึกษาทนายในการทำแบบคำร้อง รวมถึงระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น หลักฐานการตาย, ผู้ตายมีทายาทกี่คนใครบ้าง, มีทรัพย์สินอะไรบ้าง, มีเหตุขัดข้องอย่างไร และท้ายสุดก็ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก 

    4. เมื่อยื่นคำร้องแล้วเจ้าหน้าที่จะเสนอศาล ศาลจะสั่งนัดว่าไต่สวนหลังจากรับคำร้องประมาณ 1 เดือน และผู้ร้องจะต้องมาศาลและนำพยานอื่น เช่น ทายาทคนอื่นๆ มาด้วย หากเป็นเรื่องไม่ซับซ้อน ศาลก็จะนัดฟังคำสั่งวันนั้นเลย  คือการตัดสินว่า จะยกให้เป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ นั่นเอง

     

    ทายาทโดยธรรม

     

    เห็นได้ชัดเลยว่า การทำพินัยกรรมนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นคนรวย หรือเป็นผู้มีทรัพย์สินมากถึงจะทำได้ แต่การทำพินัยกรรม บันทึกเรื่องทรัพย์สิน หนี้สินต่างๆ เอาไว้ จะช่วยให้คนที่เรารัก สามารถจัดการทรัพย์สิน เอกสารต่างๆ ด้านกฎหมายได้ง่ายมากขึ้น และไม่ตกหล่นเรื่องทรัพย์สินต่างๆ ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น การทำประกันชีวิตทิ้งเอาไว้ การซื้อกองทุน หรือลงทุน ลูกหลาน หรือพ่อแม่ของคุณไม่ทราบ

     

    หรืออีกวิธี หากไม่ทำพินัยกรรม ก็สามารถจัดตั้งผู้จัดการกองมรดกได้เลยทันที โดยไม่ต้องรอให้เจ้าของมรดกเสียชีวิตก่อน 

     

    แน่นอนว่า ทุกอย่างในชีวิตสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ และเพื่อความไม่ประมาท การทำประกันชีวิตเอาไว้ ก็เปรียบเสมือนการเพิ่มมรดกไว้เผื่อคนที่อยู่ข้างหลัง กับ ประกันชีวิต จาก Rabbit Care ที่มาพร้อมกับประกันชีวิตที่มีเบี้ยประกันหลากหลาย ให้คุณได้เลือกจ่ายตามไลฟ์สไตล์ของคุณ พร้อมบริการเปรียบเทียบจากผู้เชี่ยวชาญด้านโบรกเกอร์ประกัน คลิกเลย!

    ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


    ที่มา


     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    Rabbit Care Blog Image 96153

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

    การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
    Thirakan T
    27/08/2024