ไม่จ่ายบัตรเครดิต จะโดนฟ้องไหม ส่งผลอย่างไรบ้าง
ไม่จ่ายบัตรเครดิต จะโดนฟ้องไหม? ไม่จ่ายบัตรเครดิต ถูกอายัดเงินเดือนได้ไหม? ไม่จ่ายบัตรเครดิต จะโดนจับไหม? หลากหลายคำถามที่ลูกหนี้บัตรเครดิตหลายคนยังคงมีข้อสงสัย
ในยุคสังคมไร้เงินสดอย่างเช่นทุกวันนี้ บัตรเครดิต นับเป็นรูปแบบการใช้จ่ายที่สะดวกสบาย และมอบสิทธิประโยชน์หลากหลายให้กับผู้ใช้งาน แต่ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย และค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน จึงทำให้ใครหลายคนประสบปัญหารายจ่ายมากกว่ารายรับ ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายบัตรเครดิตได้ตามยอดที่เรียกเก็บ จนเกิดปัญหาไม่จ่ายบัตรเครดิต หรือหยุดจ่ายบัตรเครดิตไปเสียเฉย ๆ
การไม่จ่ายบัตรเครดิต หรือเลือกจ่ายแค่ขั้นต่ำเป็นตัวการสร้างหนี้โดยไม่รู้ตัว เพราะสาเหตุที่ทำให้หนี้บัตรเครดิตบานปลายจนเกินจะรับไหว ก็เพราะการสร้างวินัยทางการเงินที่ไม่ดี หลายคนเลือกใช้บัตรเครดิตโดยจ่ายเพียงยอดขั้นต่ำ และใช้บัตรรูดซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นในเดือนถัดไป ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเมื่อจ่ายแค่ยอดขั้นต่ำ ก็จะทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ส่งผลให้ผู้ใช้งานเลือกที่จะไม่จ่ายบัตรเครดิตนั่นเอง
จ่ายหนี้ล่าช้า ดอกเบี้ยบานปลายไม่รู้ตัว
ติดหนี้ธนาคารแล้วไม่จ่าย ร้ายแรงกว่าที่คิด เพียงแค่เริ่มใช้งานบัตรเครดิต ดอกเบี้ยจะถูกแบ่งเป็น 2 ยอด ยอดแรก จะถูกคิดตั้งแต่วันที่รูดใช้จ่าย ไปจนถึงวันครบกำหนดชำระ ส่วนยอดที่ 2 จะคิดจากยอดคงเหลือจากการจ่ายขั้นต่ำ ไปจนวันสรุปยอดบัญชีในเดือนถัดไป เมื่อเลือกที่จะไม่จ่ายบัตรเครดิต จึงทำให้ดอกเบี้ยบานปลายได้ง่าย ๆ
อีกสาเหตุที่ทำให้ดอกเบี้ยบานปลายนอกจากการจ่ายขั้นต่ำ ก็คือ การจ่ายบัตรเครดิตไม่ตรงเวลา จนถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ตลอดจนค่าปรับจากการชำระหนี้ล่าช้า นับว่าการไม่จ่ายบัตรเครดิต หรือจ่ายไม่ตรงเวลา ส่งผลเสียอย่างมาก
ติดหนี้ธนาคารแล้วไม่จ่าย ผลที่ตามมา มีอะไรบ้าง
ผลที่จะตามมาหลังจากหยุดจ่ายบัตรเครดิต หรือไม่จ่ายบัตรเครดิตนั้นมีมากมาย โดยจะถูกคิดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าปรับจากสถาบันการเงินที่ให้บริการบัตรเครดิต หากไม่จ่ายบัตรเครดิต หรือปล่อยให้มีหนี้ค้างชำระนานเกินกว่า 3 เดือน จะถูกเปลี่ยนสถานะจากลูกหนี้ปกติ ไปเป็นลูกหนี้ที่มีประวัติค้างชำระหนี้ทันที หรือที่เรียกกันว่า ติดเครดิตบูโร และจะถูกลดความน่าเชื่อถือทางการเงิน เสียประวัติในการขอสินเชื่อหรือทำธุรกรรมทางการเงินในอนาคต
เมื่อไม่จ่ายบัตรเครดิต ผู้ใช้บัตรยังจะถูกธนาคาร หรือสถาบันการเงินเจ้าของบัตร ทวงถามหนี้ค้างชำระ ด้วยการส่ง SMS ส่งเอกสาร หรือแม้แต่โทรศัพท์ทวงถามจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งนับว่าสร้างความลำบากใจและความตึงเครียดให้กับผู้ใช้บัตรไม่น้อยเลยทีเดียว
แต่หากถูกทวงถามหนี้ค้างชำระแล้ว ผู้ใช้บัตรยังไม่จ่ายบัตรเครดิต หรือไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการใช้สิทธิทางศาลในการดำเนินคดี และบังคับชำระหนี้ต่อไป ซึ่งคดีหนี้บัตรเครดิตนับเป็นคดีแพ่ง ผู้ใช้บัตรที่อยู่ในสถานะของลูกหนี้ จะต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่ศาลเห็นสมควร และจะต้องสู้คดีในชั้นศาลต่อไป โดยลูกหนี้อาจทำข้อตกลงเจรจาไกล่เกลี่ยที่ชั้นศาล ไม่ต้องจ้างทนายเพื่อสู้คดีก็ได้เช่นกัน
เมื่อเรื่องถึงศาลแล้ว ลูกหนี้ยังคงไม่จ่ายบัตรเครดิตตามที่ศาลสั่ง หรือยังคงเพิกเฉย ไม่ติดต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อขอชำระหนี้ หรือแม้แต่เจรจาตกลงเรื่องเงินคืนไม่สำเร็จ ธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่อยู่ในสถานะเจ้าหนี้ มีสิทธิยึดทรัพย์หรืออายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ แต่ลูกหนี้จะไม่มีโอกาสติดคุก เพราะคดีไม่จ่ายบัตรเครดิตนั้นไม่ใช่คดีอาญา
หยุดจ่ายบัตรเครดิต นานแค่ไหนถึงโดนฟ้อง
อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า เมื่อไม่จ่ายบัตรเครดิต หรือหยุดจ่ายบัตรเครดิตนานเกิน 3 เดือน หรือ 90 วัน จะมีชื่อติดเครดิตบูโร และต้องรอสถานะกลับมาเป็นปกตินานถึง 3 ปี และถ้ายังคงไม่จ่ายบัตรเครดิตอีก จะถูกธนาคารหรือสถาบันการเงินดำเนินการฟ้องร้องเพื่อให้เราชำระหนี้คืน และอาจร้ายแรงจนถึงขั้นถูกศาลตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลายเลยก็เป็นได้
อายุความคดีหนี้บัตรเครดิตจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โดยจะต้องมีจำนวนหนี้ขั้นต่ำ 2,000 บาทขึ้นไป และมีอายุความ 2 ปี โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ จะต้องยื่นขอหมายศาลภายในระยะเวลา 2 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่จ่ายบัตรเครดิต โดยส่วนใหญ่แล้ว ธนาคารจะใช้วิธีส่งเอกสารทวงถามหนี้ หรือให้เจ้าหน้าที่ติดตามทวงถามหนี้ผ่านทางโทรศัพท์ก่อน เนื่องจากการขึ้นศาลมีค่าใช้จ่ายสูง อาทิ ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล และมีขั้นตอนดำเนินการค่อนข้างละเอียด ทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ลูกหนี้จึงควรใช้โอกาสนี้เจรจาต่อรองก่อนจะถูกยื่นฟ้องในคดีไม่จ่ายบัตรเครดิต
การหยุดจ่ายบัตรเครดิตเพียงไม่นาน ส่งผลกระทบมากกว่าที่คิด อาจร้ายแรงจนถึงขั้นถูกอายัดเงินเดือน ยึดทรัพย์ ยึดบ้านเลยก็เป็นได้ อีกทั้งการถูกฟ้องศาลยังสร้างความวุ่นวาย เพิ่มภาระทางการเงิน เสียค่าดำเนินการต่าง ๆ และยังสิ้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ ดังนั้น การไม่จ่ายบัตรเครดิต จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ แต่สามารถสร้างความเสียหายที่ยิ่งใหญ่และบานปลายได้
ไม่จ่ายบัตรเครดิต แล้วโดนฟ้อง ทำอย่างไรดี
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า เมื่อไม่จ่ายบัตรเครดิต จะถูกทวงถามหนี้ก่อนจะถึงขั้นตอนฟ้องศาล ลูกหนี้หรือเจ้าของบัตร ควรใช้โอกาสนี้เจรจาต่อรองไกล่เกลี่ยขอประนอมหนี้ ก่อนที่จะถูกฟ้อง แต่หากถูกยื่นฟ้องเรียบร้อยแล้ว จะมีหมายศาลส่งไปยังที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ซึ่งลูกหนี้ไม่สามารถอ้างได้ว่าไม่ได้รับเอกสารดังกล่าว เพราะกฎหมายระบุไว้ว่าเมื่อหมายศาลถูกส่งถึงบ้านแล้ว จะถือว่าลูกหนี้ได้รับหมายศาลเรียบร้อยแล้ว
เมื่อต้องขึ้นศาลในคดีความไม่จ่ายบัตรเครดิต สิ่งที่จะต้องเตรียมต่อมา คือ หาทนาย เตรียมเอกสารส่วนบุคคล และเอกสารแสดงความสามารถในการชำระหนี้ เช่น เอกสารแสดงรายรับรายจ่ายต่าง ๆ หรือหากหนี้บัตรเครดิตดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากผู้อื่นนำบัตรเครดิตของเราไปใช้ ก็สามารถเตรียมหลักฐานมายืนยันและต่อสู้ในชั้นศาลได้ โดยหลักฐานที่นำมาก็อาจจะเป็นหน้าจอแชทที่แสดงหลักฐานการขอยืมบัตรเครดิต หรือหากบัตรเครดิตสูญหาย ก็สามารถนำใบแจ้งความมาแสดงได้
นอกจากนี้ หากมีการชำระหนี้ไปบางส่วนแล้ว ก็สามารถนำหลักฐานมาแสดงได้ หรือในกรณีที่คดีไม่จ่ายบัตรเครดิตของเราขาดอายุความ ลูกหนี้ก็สามารถยกประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อปฏิเสธการชำระหนี้ได้
ปิดหนี้บัตรเครดิตอย่างไร ให้หมดไว
การไม่จ่ายบัตรเครดิต หรือหยุดจ่ายบัตรเครดิตเพียงไม่นาน อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นทำลายชีวิตเราไปได้ทั้งชีวิต ดังนั้น ปัญหาการไม่จ่ายบัตรเครดิต จึงไม่ได้กระทบแค่ตัวผู้เป็นหนี้เอง แต่อาจกระทบไปยังคนในครอบครัวอีกด้วย
วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงขอพาทุกคนมาดูเทคนิคการปิดหนี้บัตรเครดิตให้หมดไว จบปัญหาไม่จ่ายบัตรเครดิต และหยุดจ่ายบัตรเครดิต จนถึงขั้นโดนฟ้อง ซึ่งสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเป็นหนี้บัตรเครดิตก็คงจะเป็นการสมัครบัตรเครดิตหลายใบ และไม่วางแผนการใช้จ่ายให้ดี ไม่มีวินัยในตนเอง วิธีแก้จึงทำได้ด้วยการปิดบัตรเครดิตใบที่ไม่จำเป็น และเลือกใช้งานเฉพาะบัตรที่จำเป็นและมอบสิทธิประโยชน์สูงสุด
นอกจากจะเลือกใช้งานบัตรเครดิตแล้ว การคิดให้ดีก่อนรูด และวางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ก็นับว่าจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้เราตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ลดปัญหาไม่จ่ายบัตรเครดิตได้ นอกจากนี้ ยังจะต้องจ่ายยอดเรียกเก็บเต็มจำนวน ไม่จ่ายขั้นต่ำ เพื่อไม่ให้ถูกคิดดอกเบี้ย และไม่ควรกดเงินสดจากบัตรเครดิต เพราะจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเบิกถอน 3% ภาษี 7% ทั้งยังถูกคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน ทำให้หนี้เพิ่มพูนขึ้น จนเราเลือกแก้ไขด้วยการไม่จ่ายบัตรเครดิตในที่สุด
แต่หากใครที่กำลังเผชิญปัญหาไม่จ่ายบัตรเครดิต อย่าหยุดจ่ายบัตรเครดิตไปเฉย ๆ แนะนำให้แก้ไขด้วยการขอสินเชื่อรวมหนี้ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้มีหนี้หลายก้อน เช่น หนี้บ้าน รถยนต์ และบัตรเครดิต เพื่อให้การบริหารจัดการหนี้ง่ายขึ้น ช่วยลดดอกเบี้ยลงได้ ยิ่งไปกว่านั้น การเจรจาประนอมหนี้ก็เป็นการแก้ปัญหาไม่จ่ายบัตรเครดิตที่ควรทำ อาจจะขอลดดอกเบี้ย หรือขยายเวลาผ่อน ก็จะช่วยรักษาเครดิตทางการเงินของตนไว้ได้ ซึ่งแรบบิท แคร์ เอง ก็มี สินเชื่อส่วนบุคคล ให้เลือกมากมาย ช่วยในการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว และลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ ไม่ต้องใช้คนหรือสินทรัพย์ค้ำประกันก็ยื่นกู้ได้ ปลอดภัยสูง เลือกดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนได้ ช่วยจบปัญหาไม่จ่ายบัตรเครดิตได้
ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
บัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลตินัม วีซ่า
KTC / VISA
- ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
- ปลอดภัยกว่า ช้อปออนไลน์มั่นใจขั้นสุดด้วย Dynamic CVV รหัสหลังบัตรที่เปลี่ยนทุกครั้งที่ขอ
- สบายใจกว่า เมื่อใช้จ่ายที่ร้านค้าทั่วไป ด้วย Numberless Physical Credit Card บัตรพลาสติกไร้หมายเลขที่สามารถขอได้ผ่านแอป KTC Mobile
- รับส่วนลดตลอดปีที่ห้องอาหารในโรงแรมชั้นนำทั่วไทย และใช้ง่ายสะดวกรอบโลก
บัตรเครดิต เคทีซี วีซ่า แพลตทินั่ม
KTC / VISA
- ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
- ผ่อนชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.74%
- ประกันการเดินทาง 8 ล้านบาท
- รับส่วนลดตลอดปีที่ห้องอาหารในโรงแรมชั้นนำทั่วไทย และใช้ง่ายสะดวกรอบโลก
บัตรเครดิต เคทีซี บางจาก แพลตทินั่ม
KTC / Mastercard
- ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
- รับเครดิตเงินคืน 1% เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊มบางจาก
- ประกันการเดินทาง 8 ล้านบาท
- รับส่วนลดร้านค้าออนไลน์ทุกเดือน พร้อมรับสิทธิพิเศษที่ร้านอาหารหรูในไทยตลอดปี
บัตรเครดิต เคทีซี แคชแบ็ค แพลตทินัม มาสเตอร์การ์ด
KTC / Mastercard
- ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
- รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 0.8%
- ประกันการเดินทาง 8 ล้านบาท
- รับส่วนลดร้านค้าออนไลน์ทุกเดือน พร้อมรับสิทธิพิเศษที่ร้านอาหารหรูในไทยตลอดปี
บัตรเครดิต เคทีซี อโกด้า แพลทินัม มาสเตอร์การ์ด
KTC / Mastercard
- รับสิทธิ์ AgodaVIP Platinum
- รับเพิ่ม 250 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายที่ Agoda ตามกำหนด
- ใช้คะแนนน้อยกว่า 800 คะแนน KTC FOREVER แลกได้ 100 บาท AgodaCash
- รับส่วนลดร้านค้าออนไลน์ทุกเดือน พร้อมรับสิทธิพิเศษที่ร้านอาหารหรูในไทยตลอดปี
บัตรเครดิต ยูโอบี เลดี้ แพลตทินัม
UOB / Mastercard
- รับคะแนนสะสม 10 บาท = 1 คะแนน
- แลกรับเครดิตเงินคืน 15% เพียงใช้คะแนนสะสมเท่ายอดซื้อที่ EVEANDBOY, Cental&Zen, The mall, Paragon, Emporium, EmQuartier, Blueport และ Robinson
- แลกรับเครดิตเงินคืน 15% เมื่อใช้คะแนนสะสม ยูโอบี รีวอร์ด พลัส เท่ากับยอดใช้จ่ายในหมวดร้านอาหาร
- รับเครดิตเงินคืน 3% เมื่อชำระค่าเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ทุก 800 บาท/เซลล์สลิป
บัตรเครดิต ยูโอบี โยโล่ แพลตทินั่ม
UOB / VISA
- รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15% เมื่อใช้จ่ายที่รถไฟฟ้า BTS MRT 7-11, All Online by 7-Eleven ร้านบูทส์ ร้านวัตสัน ร้านมัตสึโมโตะ คิโยชิ เบอร์เกอร์ คิง, Shopee, Grab และ Atome
- แบ่งชำระ 0% นาน 3 เดือน เมื่อมียอดใช้จ่ายในหมวดท่องเที่ยวและออนไลน์
- 1 ฟรี 1 เมื่อซื้อบัตรชมภาพยนตร์ในเครือ SF
- เครดิตเงินคืน 3% เมื่อชำระค่าเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ทุก 800 บาท/เซลล์สลิป เฉพาะสถานีที่ร่วมรายการ
บัตรเครดิตไทเทเนียม โรงพยาบาลรามาธิปดี
BBL / Mastercard
- รับเงินคืนสูงสุด 2% ทุกรอบบัญชี
- บริจาคสมทบ 0.2% ทุกยอดใช้จ่าย
- ให้แก่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
- เอกสิทธิ์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี
บัตรเครดิต แอร์เอเชีย
BBL / Mastercard
- บริการเลือกที่นั่ง Hot Seat ฟรี
- บริการฝากสัมภาระใต้ท้องเครื่อง ฟรี
- บริการเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นบนเครื่อง ฟรี
- รูดช้อปรับคะแนน BIG Points สูงสุด 3 เท่า
- แบ่งชำระสบายๆ 0% หรือ 0.79% นานสูงสุดถึง 10 เดือน
บัตรเครดิต วีซ่า แพลทินัม
BBL / VISA
- รับคะแนนสะสมทุกการใช้จ่าย 25 บาท รับคะแนนสะสม 1 คะแนน ทั้งในและต่างประเทศ
- สะสมไมล์เดินทางคะแนนสะสมสามารถแลกเป็นไมล์เดินทางจากสายการบินชั้นนำ
บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ชิลล์
TTB / VISA
- ผ่อน 0% 3 เดือน
- ฟรีค่าธรรมเนียมทุกการกดเงินสด 3%
- ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี
- รับดอกเบี้ยพิเศษ 3 รอบบัญชีแรก