เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ มีคำตอบ!?
สิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น คือการเป็นหนี้เป็นสิน เพราะมันเพิ่มภาระและเพิ่มความเครียดให้คุณเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าหลายคนคงสงสัยว่า “เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์” เพราะหลายคนอาจมีหนี้หลายก้อนจากหลายที่ มาหาคำตอบไปพร้อมกันกับบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปดูความหมายของการยึดและอายัดทรัพย์ แล้วถ้าเป็นหนี้ เจ้าหนี้สามารถยึดและไม่สามารถยึดอะไรได้บ้าง ต้องแก้ปัญหาหรือรับมืออย่างไร แล้วหนี้บัตรเครดิตเท่าไหร่ ถึงโดนฟ้องยึดทรัพย์ ไปดูกันเลย!!
ยึด กับ อายัด ความหมายต่างกันอย่างไร?
ยึดทรัพย์และอายัดทรัพย์ มีความหมายที่แตกต่างกัน เพราะการยึดทรัพย์ หมายถึง การกระทำต่อทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นหนี้หรือถูกยึด เพื่อให้ทรัพย์สินนั้นเข้ามาอยู่ในความควบคุมดูแลของผู้ที่ดำเนินการยึดทรัพย์
ในขณะที่ความหมายของคำว่า อายัดทรัพย์ คือ การสั่งไม่ให้ทรัพย์สินของผู้ถูกอายัดมีการจำหน่าย จ่ายโอน หรือกระทำใด ๆ จนกว่าจะมีการถอนอายัดทรัพย์ สำหรับคำถามที่ว่า เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ จริง ๆ แล้ว หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ ตามประมวลกฎหมาย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉบับที่ 30 พ.ศ.2560 โดยจะต้องมีการแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป
เมื่อเป็นหนี้ เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์ หรืออายัดอะไรได้บ้าง?
เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ จริง ๆ แล้วสำหรับการยึดทรัพย์ หรือ อายัดของลูกหนี้ ที่เจ้าหนี้สามารถยึดและอายัดไปได้ มีดังต่อไปนี้
สิ่งที่เจ้าหนี้สามารถยึดได้
เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เป็นจำนวนเงินที่เยอะ และนาน เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์ได้ดังนี้
- 1. บ้าน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง แต่ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ ทั้งที่ติดจำนองหรือไม่ติดจำนอง
- 2. รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ แต่รถคันนั้นจะต้องไม่เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพของลูกหนี้
- 3. ของมีค่า เครื่องประดับที่มีมูลค่า เช่น เพชร พลอย นาฬิกา สร้อยคอทองคำและของสะสมที่มีมูลค่ารวมเกิน 100,000 บาท
- 4. ของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า โต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ ที่มีมูลค่ารวมกันเกิน 20,000 บาท
- 5. เครื่องมือในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ ที่มีมูลค่ารวมกันเกิน 100,000 บาท
- 6. ทรัพย์สินประเภทสัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้ ที่ใช้ในการช่วยเหลือหรือแทนอวัยวะ
สิ่งที่เจ้าหนี้สามารถอายัดได้
สำหรับการอายัด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเงินเดือนของลูกหนี้ ซึ่งหลายคนกังวลไม่น้อยว่าจะโดยอายัดและเกิดคำถามว่า เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ สิ่งที่เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ มีดังต่อไปนี้
- 1. เงินเดือนค่าจ้าง เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา หากลูกหนี้ เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัททั่วไป แต่ลูกหนี้ต้องมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 บาท และเจ้าหนี้อายัดได้ไม่เกิน 30% ของเงินเดือน
- 2. เงินโบนัส แต่เจ้าหนี้จะสามารถอายัดได้ ไม่เกิน 50%
- 3. เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ 100%
- 4. ค่าเงินคอมมิชชั่น เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ 30%
- 5. เงินค่าตอบแทนต่างๆ / ค่าสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าทรัพย์สิน เป็นต้น ถูกอายัดได้ 100%
- 6. บัญชีเงินฝากธนาคาร สามารถอายัดได้ทั้งหมด
- 7. เงินสหกรณ์ หรือแม้กระทั่งเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ทั้งหมด
- 8. หุ้น สามารถอายัดได้ทั้งหมด
เจ้าหนี้ ไม่สามารถยึดทรัพย์อะไรได้บ้าง?
สำหรับใครที่กลัวโดยยึดทรัพย์ อาจมีคำถามเกี่ยวกับ เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ แต่รู้ไหมว่า เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทุกอย่างของเราได้ ไปดูกันว่าสิ่งไหนบ้างที่ไม่สามารถยึดไปได้
เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์สินที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น ข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน ที่มีมูลค่า 50,000 บาท เช่น โต๊ะกินข้าว, เก้าอี้, โทรทัศน์ หรือเครื่องครัว เพราะถ้าหากไม่มีสิ่งของเหล่านั้น จะทำให้การเดินชีวิตของลูกหนี้เกิดความลำบาก
แต่ถ้าเป็นของที่ไม่ได้จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เช่น สร้อยคอ, แหวนทอง, แหวนเพชร และนาฬิกาสุดหรู ที่ใส่ประดับเพื่อแสดงถึงฐานะทางการเงิน เจ้าหนี้มีสิทธิและสามารถยึดทรัพย์ในส่วนนั้นได้ แม้ว่าลูกหนี้จะคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นก็ตาม
นอกจากนี้ ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของลูกหนี้ ที่มีมูลค่ารวม ไม่ถึง 100,000 บาท เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดได้ เพราะจะทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ แต่ถ้าหากเครื่องมือนั้นมีมูลค่ามากกว่า 100,000 บาท และจำเป็นต้องใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น คอมพิวเตอร์ สามารถยื่นร้องขอต่อศาลได้
เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ รู้หรือไม่ว่า หากเจ้าหนี้รายแรกยึดไปแล้ว เจ้าหนี้รายต่อ ๆ ไปไม่สามารถยึดซ้ำได้อีก
เงินกองทุนไหนบ้างที่เจ้าหนี้ไม่สามารถอายัดได้?
สำหรับกองทุนที่เจ้าหนี้ไม่สามารถอายัดได้ ประกอบไปด้วย เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หากมีการสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลูกหนี้สามารถหมดกังวลได้เลย เพราะเงินจำนวนนั้นยังเป็นเงินสะสมที่สามารถนำมาใช้จ่ายในอนาคตหลังเกษียณได้
นอกจากนี้ หลายคนกังวลว่า เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ แต่จริง ๆ แล้วถ้าลูกหนี้มีรถยนต์ หรือ รถจักรยานยนต์ที่ยังติดไฟแนนซ์อยู่ เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดได้ เนื่องจากกรรมสิทธิ์เป็นของบริษัทไฟแนนซ์ ยังไม่ใช่ของลูกหนี้
ถ้าไม่อยากให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ ต้องทำอย่างไร?
การเป็นหนี้ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความเครียดที่มากขึ้น ทำให้หลายคนหาคำตอบจากหลายแหล่งว่า แล้วถ้าไม่อยากให้เจ้าหนี้ยึด ควรทำอย่างไร แรบบิท แคร์ มีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก
หากรู้ตัวว่าสถานะทางการเงินเป็นตัวแดง หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ แนะนำให้รีบหาเงินกู้จากธนาคาร ไม่ควรหนี เพื่อขอคำปรึกษา และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน นอกจากนี้ ควรพูดคุยและหาตรงกลางกับเจ้าหนี้ เช่น ขอผ่อนผันการชำระ โดยมีการทำสัญญาที่ชัดเจน หรือการขอขยายระยะเวลาชำระหนี้
หากถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาด มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?
หากถูกสถาบันทางการเงิน หรือเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ แล้วมีจดหมายบังคับคดีส่งมาถึงบ้าน เกี่ยวกับคำพิพากษาของศาล แล้วกำลังจะถูกนำทรัพย์สินที่ยึดมาขายทอดตลาด วิธีแก้ไขปัญหามีดังต่อไปนี้
1. ติดต่อกับทางกรมบังคับคดี
สิ่งแรกที่ควรทำ คือให้คุณรีบติดต่อกับทางกรมบังคับคดีหรือกับทางเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาว่าจะขอนำเงินมาชำระหนี้แทนการนำทรัพย์สินขายทอดตลาด เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลหรือทางเจ้าหนี้ว่าจะยอมหรือไม่
2. เจรจาขอลดหนี้ หรือ ผ่อนชำระหนี้
หากทรัพย์สินกำลังจะถูกนำไปขายทอดตลาด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่เจ้าหนี้จะยอมลดหนี้ให้ ดังนั้นพยายามไกล่เกลี่ยก่อน เพื่อขอผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ควรทำตั้งแต่ขบวนการพิจารณาในชั้นศาล แต่เจ้าหนี้จะยอมอนุโลมให้ไหม ก็ขึ้นอยู่กับตัวเจ้าหนี้เอง
หากคุณไม่มีเงินเพียงพอในการชำระหนี้เพื่อที่จะไม่ให้ทรัพย์สินนั้นถูกขายทอดตลาด คุณจำเป็นที่จะต้องยอมให้กรมบังคับคดีนำทรัพย์สินไปขายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ แนะนำให้หาญาติ หรือคนที่คุณรู้จักเข้าประมูลทรัพย์ที่ถูกขายทอดตลาด เพราะการประมูลของสามารถขอกู้เงินจากธนาคารได้
เป็นหนี้บัตรเครดิต เสี่ยงโดนฟ้องยึดทรัพย์สินหรือไม่?
เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ จริง ๆ แล้วหากใช้งานบัตรเครดิตเต็มวงเงิน ในจำนวนที่เต็มแล้ว และผิดค้างชำระหนี้ ถือเป็นการติดหนี้บัตรเครดิต เพราะเจ้าของบัตรไม่จ่ายหนี้ที่มีให้ตรงเวลาหรือตรงตามจำนวนที่ต้องจ่าย ดังนั้น มีความเสี่ยงสูงมาก ๆ ในการโดน เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ ถูกอายัดเงินเดือน ซึ่งในกรณีนี้ เจ้านี้ของคุณก็คือธนาคารหรือสถาบันทางการเงินนั่นเอง
คดีหนี้บัตรเครดิต อายุความกี่ปี?
สำหรับคดีหนี้บัตรเครดิต เกิดขึ้นเมื่อเจ้าหนี้หรือธนาคารแจ้งกำหนดชำระหนี้บัตรเครดิตแล้ว แต่ลูกหนี้หนีหรือผิดชำระหนี้ตามที่ได้กำหนดไว้ อายุความของคดีหนี้บัตรเครดิตจะถูกนับทันทีในวันถัดไป ซึ่งอายุความทั้งหมดในคดีนี้คือ 2 ปี นับจากผิดนัดชำระหนี้
เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการเป็นหนี้ที่ทำให้หลายคนกังวลว่า เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ รวมถึงการยึดหรืออายัดทรัพย์ของเจ้าหนี้และการขายทอดตลอด ดังนั้นใครที่อ่านมาถึงตรงนี้จะสามารถตอบคำถามได้แล้วว่า “เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์” ดังนั้น อย่าลังเลที่จะสมัครสินเชื่อรวมหนี้ กับ แรบบิท แคร์ เพื่อรวมหนี้ไว้ในที่เดียวกันในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง หมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ สามารถถอนออกมาใช้ได้ตลอด สมัครง่าย ปลอดภัย อนุมัติไว สนใจโทรเลย 1438
สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ
SCBX
- ผ่อนนานสูงสุด 24 และ 72 เดือน
- วงเงินกู้ถึงหลักล้าน
- อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี
- มีอายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
- มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาทขึ้นไป
Citi
- ผ่อนชิลๆ 60 เดือน
- อนุมัติวงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท
- มีรายได้ต่อเดือน 20,000 บาทขึ้นไป
- อายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
- ไม่เคยยื่นกับ Citi ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
LH Bank
- ดอกเบี้ยต่ำ 8.88%/ปี*
- วงเงินสูงสุด 1.5 ล้านบาท*
- ผ่อนนานสูงสุด 60 เดือน*
- ไม่ต้องค้ำประกัน
- อายุงานไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป
- ทำงานในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล
- รายได้ต่อเดือนขั้นต่ำ 30,000 บาทขึ้นไป
TTB
- อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 25% ต่อปี
- ไม่ต้องค้ำ
- ดอกเบี้ยพิเศษ ลดต้นลดดอก
- ผ่อนได้นานสุด 60 เดือน
- วงเงินอนุมัติสูง 5 เท่าของรายได้