Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

เปรียบเทียบบัตรเครดิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

รวมหนี้บัตรเครดิต

เป็นหนี้บัตรเครดิต มีวิธีการปรับโครงสร้างหนี้อย่างไร คลินิกแก้หนี้ช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างไร?

จากสถานการณ์ที่ผ่านมา หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยบ้านเรายังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง แถมเศรษฐกิจยังไม่ค่อยสู้ดีนัก ซึ่งข้อมูลภาระหนี้ครัวเรือนต่อเดือนนั้นพบว่ากว่า 40% เป็นหนี้ส่วนบุคคลสำหรับเครื่องอุปโภคและบริโภคที่เป็นการผ่อนในระยะสั้นจากบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด ซึ่งเป็นภาระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ส่งผลให้ประชาชนปลดหนี้ได้ยากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้ตั้งโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) ขึ้นมาเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาหนี้เหล่านี้ในปี 2560

เป็นหนี้บัตรเครดิต วางแผนอย่างไรให้ใช้หนี้ทัน

ในปัจจุบัน การใช้บัตรเครดิตเพื่อใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการถือว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน เพราะบัตรเครดิตมักให้สิทธิพิเศษบางประการที่มูลค่ามากกว่าเงินที่เราใช้จ่ายไป เช่น การเก็บคะแนนบัตร การคืนเงิน Cashback และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็แล้วแต่ มีหลายคนที่อาจวางแผนทางการเงินผิดพลาด จนทำให้ตัวเองไม่สามารถชำระหนี้บัตรเครดิตได้เต็มจำนวนเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากยอดที่ใช้จ่ายไป มากไปกว่านั้น หากไม่สามารถชำระหนี้บัตรเครดิตไปเรื่อย ๆ จะทำให้เราเป็นหนี้บัตรเครดิต แล้วอาจเกิดความคิดว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายได้หรือไม่ ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะพูดถึงเรื่องการเป็นหนี้บัตรเครดิตว่าเป็นอย่างไร วิธีการชำระหนี้อย่างเหมาะสมหากเป็นหนี้บัตรเครดิต และในกรณีที่หนีหนี้หากเป็นหนี้บัตรเครดิต จะมีผลกระทบอย่างไร เป็นหนี้บัตรเครดิต โดนฟ้องยึดทรัพย์หรือไม่ เป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่ไปขึ้นศาลได้หรือไม่ หมายศาลบัตรเครดิตเป็นอย่างไร เป็นหนี้บัตรเครดิตกี่ปี จึงจะหมดอายุความ เป็นหนี้บัตรเครดิต จะถูกยึดเงินในบัญชีหรือไม่

ลักษณะของการเป็นหนี้บัตรเครดิต

การเป็นหนี้บัตรเครดิตถือเป็นหนี้ส่วนบุคคลที่เกิดจากความต้องการหรือความจำเป็นในการใช้จ่ายเพื่อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หากเราใช้บัตรเครดิตเพื่อใช้จ่ายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ แล้วสามารถชำระหนี้คืนเต็มจำนวนในแต่ละเดือน นั่นหมายความว่าเราจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยใด ๆ จากการใช้จ่ายของเรา แต่ในทางกลับกัน หากเราใช้บัตรเครดิตเพื่อใช้จ่ายแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้เต็มจำนวน หรือชำระจ่ายแค่ขั้นต่ำ ทำให้เหลือยอดค้างไว้ จะทำให้เราเป็นผู้ผิดนัดในการชำระหนี้ ทำให้เรามีประวัติทางการเงินที่ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก และยิ่งถ้าเราติดค้างหนี้ไว้นานเท่าไร จะทำให้ประวัติทางการเงินของเราแย่ลงมากเท่านั้น และจะปรากฎอยู่ในระบบเครดิตบูโร ซึ่งจะส่งผลต่อการทำธุรกรรมต่าง ๆ ในอนาคต

วิธีจัดการหนี้หากเป็นหนี้บัตรเครดิต

หากเรารู้ตัวแล้วว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต หรือเกิดความคิดว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายได้หรือไม่ ตั้งแต่เนิ่น ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าอย่างน้อยเราจะสามารถวางแผนทางการเงินเพื่อแก้ไขหนี้บัตรเครดิตที่เป็นอยู่ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่างที่ทราบกันดีว่าการเป็นหนี้บัตรเครดิตส่วนมากเกิดจากยอดค้างชำระหนี้ที่เยอะจนทำให้ดอกเบี้ยบัตรเครดิตเยอะตามกันไปด้วย ดังนั้น เราควรชำระหนี้ให้ได้มากที่สุด แต่ต้องไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ในแต่ละเดือน โดยมีวิธีที่สามารถทำได้หากเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่ 4 วิธี

  • ใช้จ่ายด้วยเงินสดให้มากขึ้น
    จากที่เคยกล่าวไว้ข้างต้นว่าบัตรเครดิตมักให้สิทธิประโยชน์แก่กับผู้ใช้บัตรเครดิต เช่น การเก็บคะแนนบัตร การคืนเงิน Cashback และอื่น ๆ แต่ในบางครั้ง การใช้จ่ายสินค้าหรือบริการด้วยบัตรเครดิตจะทำให้เราใช้จ่ายจนไม่ทันคำนวณถึงวงเงินที่ใช้ไปแล้วในขณะนั้น ทำให้หลาย ๆ คนอาจสร้างหนี้ที่มากกว่ารายได้ของตนเอง ก่อเกิดเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เท่าไรนัก ดังนั้น หากคุณกำลังเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายอยู่ แนะนำว่าลองใช้จ่ายด้วยเงินสดให้มากขึ้น เพราะจะทำให้เราตระหนักว่าเรามีเงินอยู่เท่าไร ทำให้ความอยากในการซื้อสินค้าต่าง ๆ ที่อาจไม่จำเป็นในชีวิตประจำวันลดลงได้ ถือว่าเป็นการลดรายจ่ายได้มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้ที่กำลังเป็นหนี้บัตรเครดิตจัดลำดับความสำคัญในการใช้เงิน เพราะต้องใช้จ่ายเพื่อสิ่งที่จำเป็นภายในชีวิตประจำวันเท่านั้น รวมไปถึงการชำระหนี้ในแต่ละเดือน

  • ปิดบัตรเครดิตที่ไม่ใช้แล้ว
    ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่กำลังเป็นหนี้บัตรเครดิต หรือผู้ที่ไม่ได้เป็นหนี้บัตรเครดิตก็ตาม ควรปิดบัตรเครดิตที่เราไม่ได้ใช้แล้วเพื่อลดโอกาสการเป็นหนี้บัตรเครดิตจากการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตหลายใบ เพราะมีหลายกรณีที่มีคนเป็นหนี้บัตรเครดิตจากการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตหลายใบ ดังนั้น เราจึงควรปิดบัตรเครดิตที่ไม่ใช้แล้วเพื่อลดโอกาสดังกล่าวลง

  • ทยอยชำระหนี้ที่เป็นภาระมากที่สุด
    ในวิธีนี้จะเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบ หรือเป็นหนี้จากแหล่งอื่นร่วมด้วย โดยวิธีนี้แนะนำให้เราแจกแจงหนี้ของตัวเองว่าเราเป็นหนี้จากอะไรบ้าง โดยเฉพาะเป็นหนี้จากบัตรเครดิต เพราะมีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง หรือหนี้จากสินเชื่อต่าง ๆ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล เพราะมีอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตอยู่เล็กน้อย ทั้งนี้ เมื่อเราแจกแจงรายละเอียดของหนี้เราแล้ว ให้เลือกพิจารณาชำระหนี้ที่เป็นภาระต่อเรามากที่สุด กล่าวคือ หนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุด เพราะถ้าหากเราสามารถชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดหมดแล้ว จะช่วยลดภาระให้กับเราได้เป็นอย่างมาก อันดับต่อมา ให้เราเลือกชำระหนี้ที่สามารถโปะได้ หรือหนี้ที่อยู่ในลักษณะลดต้นลดดอก ยิ่งหนี้ที่เป็นเงินต้นน้อยลงเท่าไร ยิ่งทำให้ดอกเบี้ยลดลงเท่านั้น ซึ่งทำให้ภาระของเราลดลงอีกเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ชำระหนี้พร้อมกันทุกแหล่ง เพราะไม่ช่วยให้ภาระในการชำระหนี้ของเราลดลง ควรเลือกชำระหนี้ทีละแหล่งจะดีกว่า

  • เจรจากับธนาคารเจ้าของบัตรให้เร็วที่สุด
    หากเราเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่าย หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ ควรรีบเจรจากับธนาคารเจ้าของบัตรเพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงการถูกดำเนินคดีทางกฎหมายอีกด้วย ซึ่งจะทำให้ประวัติทางการเงินของคุณเสีย และส่งผลต่อการทำธุรกรรมในอนาคตอีกด้วย ในการเจรจากับธนาคารเจ้าของบัตร ธนาคารจะพิจารณาถึงปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น ความสามารถในการชำระหนี้ของเรา จำนวนเงินที่เรากำลังเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายอยู่ และอื่น ๆ ซึ่งถ้าหากเราเจรจากับธนาคารแล้ว จะส่งผลให้เราได้รับการขยายเวลาในการผ่อนชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง ทำให้เราสามารถจัดการกับหนี้ได้ดีขึ้น ในบางกรณี ธนาคารอาจพิจารณาการพักดอกเบี้ยชั่วคราว มากไปกว่านั้น ธนาคารอาจพิจารณาถึงการลดหนี้ที่เราค้างชำระบางส่วนด้วย ดังนั้น การเจรจากับธนาคารเจ้าของบัตรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรทำเป็นอย่างยิ่ง

เป็นหนี้บัตรเครดิตกี่ปี จึงจะหมดอายุความ

สำหรับผู้ที่ถูกดำเนินคดีเนื่องจากเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายนั้น หรือสำหรับผู้ที่สงสัยว่าเป็นหนี้บัตรเครดิตกี่ปี จึงจะหมดอายุความ ด้วยลักษณะของการใช้งานบัตรเครดิต นั่นคือ การที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการแทนเรา โดยจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากเราในภายหลัง ดังนั้น ลักษณะของการเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายจึงเข้าข่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จากสำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม เรื่องประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับอัพเดตล่าสุด ได้เพยแพร่ไว้ ตามมาตรา 194/34 (7) บัญญัติว่า “สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี … (7) บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยูในประเภทที่ระบุไว้ใน (1) แต่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทํางานการต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป” ดังนั้น จากที่ธนาคารได้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการแทนผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อน แล้วจึงเรียกเก็บค่าใช้จ่ายหรือเงินที่ออกทดรองแทนเราไปนั้น คดีต่าง ๆ ที่เป็นคดีจากการเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่าย จึงมีอายุความ 2 ปี

เป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่ไปขึ้นศาลได้หรือไม่

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่ไปขึ้นศาลได้หรือไม่ เป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายได้หรือไม่หากเราเป็นหนี้บัตรเครดิต คณะนิติศาสตร์ สรุปสาระสำคัญเรื่องการผิดชำระหนี้ ที่จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งระบุไว้ว่าในขั้นต้น ทางธนาคารจะส่งหนังสือทวงถามหนี้เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้โดยที่ไม่มีการประนีประนอมยอมความใด ๆ กับทางธนาคาร ทางเจ้าหนี้หรือธนาคารจะส่งฟ้องศาล และเมื่อคดีขึ้นสู่ศาลแล้ว จะมีการส่งหมายศาลบัตรเครดิตไปยังที่อยู่ของลูกหนี้ ถึงแม้ว่าเราจะเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่าย แล้วไม่ไปขึ้นศาลก็ตาม หรือเราเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายต่อธนาคาร ทางเจ้าหนี้หรือธนาคารยังสามารถขอให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปฝ่ายเดียวได้ ทำให้เราเสียโอกาสต่อสู้คดีไปโดยปริยาย เช่น ต่อสู้เพื่อปฏิเสธชำระหนี้ทั้งหมด หรือชำระหนี้บัตรเครดิตบางส่วน ดังนั้น คำถามที่ถามว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่ไปขึ้นศาลได้หรือไม่ มีคำตอบว่า สามารถไม่ไปขึ้นศาลได้ในกรณีเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่ไปขึ้นศาล แต่ก็จะเสียสิทธิ์ในการสู้คดีไปโดยปริยาย

เป็นหนี้บัตรเครดิต เท่าไหร่จึงจะโดนฟ้อง

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต เท่าไหร่จึงจะโดนฟ้อง เป็นหนี้บัตรเครดิต โดนฟ้องยึดทรัพย์หรือไม่ หรือเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายได้หรือไม่ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือแม้แต่ในสัญญาการทำบัตรเครดิตไม่มีระบุไว้ว่าเป็นหนี้บัตรเครดิตเท่าไหร่ จึงจะถูกฟ้อง กล่าวคือ การฟ้องคดีหนีบัตรเครดิตไม่เกี่ยวกับจำนวนหนี้ที่เป็นอยู่ ดังนั้น คำถามที่ถามว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต เท่าไหร่จึงจะโดนฟ้องนั้น สามารถตอบได้ว่า การถูกฟ้องนั้นขึ้นอยู่กับการผิดนัดชำระหนี้โดยที่ไม่มีการประนีประนอมยอมความกับทางธนาคารมากกว่า อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารจะให้โอกาสกับลูกหนี้ในการเจรจาเพื่อต่อรองในการชำระหนี้ เพราะในการส่งฟ้องแต่ละครั้ง ทางธนาคารจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล เป็นต้น

เป็นหนี้บัตรเครดิต จะถูกยึดเงินในบัญชีหรือไม่

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต โดนฟ้องยึดทรัพย์หรือไม่ เป็นหนี้บัตรเครดิต จะถูกยึดเงินในบัญชีหรือไม่ หรือเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายได้หรือไม่ หากคดีที่เป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่ในขั้นตอนหลังศาลพิพากษาแล้ว โดยที่ได้รับหมายศาลบัตรเครดิตแล้วไม่ไปตาหมายศาล ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุถึงสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ไว้ว่า ลูกหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลและสัญญาประนีประนอมยอมความ หากไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลได้ ลูกหนี้จำเป็นต้องติดต่อเจ้าหนี้ หรือธนาคารเพื่อเจรจาถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ของการชำระเงิน โดยที่เจ้าหนี้ หรือธนาคารมีสิทธิ์ในการตกลงหรือปฏิเสธข้อต่อรองได้ หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จะดำเนินการต่าง ๆ และขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ อายัดเงินเดือน หรือทั้งสองอย่าง โดยมีกรมบังคับคดีเป็นผู้ดำเนินการ สำหรับการอายัดหรือยึดเงินในบัญชีจะรวมไปถึงเงินเดือน ค่าจ้าง เงินสงเคราะห์ เงินโบนัส เงินฝากในธนาคาร และเงินอื่น ๆ แต่จะไม่อายัดทั้งหมด เพื่อให้ลูกหนี้มีเงินใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง อย่างไรก็แล้วแต่ ในกรณีที่เป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่าย แล้วกังวลว่าจะถูกยึดเงินในบัญชี จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อคดีมีการพิพากษาเรียบร้อยแล้ว หากมีการประนีประนอมยอมความก่อนที่ธนาคารจะส่งฟ้องศาล ถึงแม้เป็นหนี้บัตรเครดิต แต่ก็จะไม่ถูกยึดเงินในบัญชี ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่าหากเป็นหนี้บัตรเครดิต โดนฟ้องยึดทรัพย์ ถือว่ามีความจริงอยู่บ้าง แต่จะไม่ถูกยึดทั้งหมด

แน่นอนว่าการเป็นหนี้บัตรเครดิตย่อมเป็นปัญหาทางการเงินที่หลาย ๆ คนอาจกำลังประสบปัญหาอยู่ หรืออาจกำลังสงสัยอยู่ เช่น เป็นหนี้บัตรเครดิต โดนฟ้องยึดทรัพย์ ถูกส่งหมายศาลบัตรเครดิต เป็นหนี้บัตรเครดิตกี่ปี จึงจะหมดอายุความ แต่ก็สามารถแก้ปัญหาการเป็นหนี้บัตรเครดิตได้ด้วยการวางแผนทางการเงินที่ดี มีการชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ หากชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอแล้ว โดยเฉพาะมีการเจรจาหรือปรึกษาธนาคารที่เป็นเจ้าของบัตรแล้ว เราก็ไม่ต้องกังวลหรือตั้งคำถามต่าง ๆ อย่างการเป็นหนี้บัตรเครดิตกี่ปี จึงจะหมดอายุความ เป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่ไปขึ้นศาลได้หรือไม่ เป็นหนี้บัตรเครดิต เท่าไหร่จึงจะโดนฟ้อง เป็นหนี้บัตรเครดิต จะถูกยึดเงินในบัญชีหรือไม่ หรือแม้แต่เป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายได้หรือไม่ ซึ่งจะทำให้เราไม่เกิดความคิดว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต ไม่จ่ายได้หรือไม่ แต่ในทางที่ดี เราควรใช้บัตรเครดิตเพื่อใช้จ่ายอย่างมีสติ เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาการเป็นหนี้บัตรเครดิตอันแสนวุ่นวาย หรือก่อนที่จะสมัครบัตรเครดิตนั้น ควรศึกษาถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของบัตรเครดิต และเปรียบเทียบว่าบัตรเครดิตของสถาบันไหนตรงตามความต้องการของเรามากที่สุด สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกคนใช้จ่ายอย่างมีสติ เพื่อไม่ให้เป็นหนี้บัตรเครดิตนะ

ไม่จ่ายหนี้บัตรเครดิตได้ไหม?

หลายคนอาจเกิดข้อสงสัย หากมีหนี้บัตรเครดิตแล้ว ถ้าไม่จ่ายหนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง คุ้มกับค่าเสี่ยงไหม? แรบบิท แคร์ ขอแนะนำว่าไม่ควรหยุดจ่ายหนี้ หรือหนีหนี้เด็ดขาด เพราะทันทีที่เราหยุดจ่าย ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจะทำการทวงบิลทันที ซึ่งการทวงเหล่านี้ จะถูกนับเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่ลูกหนี้ต้องจ่ายคืนด้วย

และเมื่อไม่จ่ายหนี้ติดต่อกันนานถึง 3 เดือน ประวัติการชำระหนี้ของเราจะกลายเป็นสถานะหนี้เสีย และถูกบันทึกในเครดิตบูโร ทำให้ไม่สามารถกู้และทำธุรกรรมสินเชื่อสถาบันการเงินอื่นได้ ซึ่งการทำแบบนี้ จะทำให้การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตได้ยากขึ้น

เมื่อเราไม่สามารถรวมหนี้เป็นก้อนเดียวได้และไม่สามารถหาเงินมาจ่ายคืนได้ทัน ในที่สุดทางสถาบันการเงินก็จะทำเรื่องฟ้อง และส่งหมายศาลมาที่บ้าน โดยคดีค้างชำระหนี้จะถือว่าเป็นคดีแพ่ง ไม่ว่าคุณจะมียอดหนี้เท่าไหร่ก็สามารถถูกฟ้องได้ และในกรณีที่ลูกหนี้ยังคงเพิกเฉย ไม่ไปศาล หรือไปประนอมหนี้แล้วยังไม่จ่ายอีก ฝ่ายเจ้าหนี้ก็อาจทำเรื่องขอยึดทรัพย์สินหรืออายัดเงินเดือนของเราได้

ดังนั้น เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มจ่ายไม่ไหวแล้ว อย่าหนีหนี้หรือพยายามไม่จ่าย แต่ควรเข้ามาคุยกับทางธนาคาร หรือเริ่มต้นรวมหนี้บัตรเครดิตตั้งแต่เนิ่น ๆ ที่เริ่มมีปัญหาจะดีกว่า

ทำไมถึงควรรวมหนี้เป็นก้อนเดียว? รวมหนี้บัตรเครดิตดีอย่างไร?

มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การรวมหนี้เป็นก้อนเดียว คือ การสร้างหนี้ก้อนใหม่ โดยการย้ายวงเงินที่ค้างชำระไปยังธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใหม่ที่อนุมัติเงินกู้ แล้วโอนเงินทั้งก้อนเข้าบัญชีออมทรัพย์ รวมหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สินอื่น ๆ เพื่อมานำไปผ่อนชำระกับเจ้าหนี้คนใหม่ ซึ่งการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว หรือการรวมหนี้บัตรเครดิตนั้น มีข้อดีดังนี้

  • ช่วยลดภาระยอดผ่อนต่อเดือนได้
    เนื่องด้วยบัตรเครดิตจะมีเกณฑ์ผ่อนชำระขั้นต่ำต่อเดือนที่ 10% ของยอดใช้วงเงินในบัตร หรือ 5% สำหรับบัตรกดเงินสด นั่นทำให้หลายคนต้องพบกับปัญหาสภาพคล่อง หมุนเงินไม่ทัน ทำให้เจอปัญหาชำระหนี้ล่าช้า การลดภาระผ่อนหนี้ด้วยวิธีการขอสินเชื่อส่วนบุคคล หรือสินเชื่อรถแลกเงิน เพื่อปิดหนี้จะช่วยลดภาระผ่อนต่อเดือนลงได้เหลือเพียงประมาณ 3 % ของยอดหนี้เท่านั้น แลกกับต้องผ่อนระยะเวลาชำระที่นานมากขึ้น ช่วยให้สภาพคล่องระยะสั้นของผู้กู้อีกด้วย

  • สะดวกในการผ่อนชำระเพียงที่เดียว
    การรวมหนี้มาไว้ที่สถาบันการเงินเดียว จะช่วยให้ลูกหนี้อย่างเรา ๆ สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายหนี้เพียงเดือนละครั้ง ช่วยติดตามภาระทางการเงินได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม รวมถึงช่วยให้เราวางแผนการเงินได้สะดวกมากขึ้นด้วย

จะเห็นได้ว่าการรวมหนี้บัตรเครดิต หรือรวมหนี้เป็นก้อนเดียว เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มจ่ายไม่ไหว จะช่วยให้คุณปลดหนี้ได้ง่ายมากกว่าการรอให้ตัวเองติดเครดิตบูโร หรือปล่อยให้เจ้าหนี้ฟ้องถึงขั้นต้องขึ้นศาล

แน่นอนว่าทุกวันนี้ ธนาคารหลายแห่งต่างมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจมากมายที่ช่วยให้คุณปิดบัตรเครดิตได้ง่ายดาย สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อย่าง แรบบิท แคร์ ที่พร้อมให้คำแนะนำ รวมถึงบริการด้านสินเชื่อการเงินไว้คอยช่วยเหลือคุณตลอดเวลา คลิกเลย!

เริ่มต้นยังไง ถ้าอยากรวมหนี้บัตรเครดิต?

หากอยากเริ่มต้นรวมหนี้บัตรเครดิต เพื่อปิดบัตรเครดิตทั้งหมดนั้นทำได้ไม่ยาก โดยเราสามารถเริ่มต้นได้ ดังนี้

  • คำนวณยอดหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมดเพื่อวางแผน
    ทบทวนยอดหนี้สินทั้งหมดให้ดี เพราะนอกจากจะต้องใช้ในการขอสินเชื่อมาใช้ปิดบัตรเครดิตแล่ว ยังช่วยให้คุณวางแผนได้ ว่าจะต้องขอสินเชื่อแบบไหนได้จึงจะเหมาะสม นอกจากนี้ เราควรตั้งวงเงินสินเชื่อเผื่อให้มากกว่าหนี้สินที่มีอยู่ เนื่องจากบางครั้งสถาบันการเงินอาจพิจารณาให้สินเชื่อไม่เต็มจำนวนนั่นเอง

  • เตรียมเอกสารให้พร้อม
    สถาบันการเงินแต่ละที่ นอกจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนตัว เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทางการเงินแล้ว อาจจะมีการขอเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่า ผู้ขอกู้จะสามารถเป็นลูกหนี้ที่ดี สามารถจ่ายเงินที่ยืมมาได้ และที่สำคัญ ควรมีประวัติการเงินที่ดี ก็จะช่วยให้การขอรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น และธนาคารบางแห่งยังมีโปรโมชั่นดี ๆ ยื่นข้อเสนอดี ๆ ให้อีกด้วย

  • เปรียบเทียบสินเชื่อเพื่อรวมหนี้เป็นก้อนเดียวให้ดี
    เมื่อรู้ยอดหนี้สินที่แน่นอนแล้ว คุณก็สามารถเลือกสินเชื่อที่เหมาะสมกับตัวเองได้ จากนั้น ให้ลองพิจารณาเลือกสินเชื่อที่ให้โปรโมชั่นที่คุ้มค่า และเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด เช่น บางแห่งให้ดอกเบี้ยที่ถูก แต่ใช้เงินเป็นจำนวนมากในการผ่อนแต่ละเดือน อาจจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน คุณอาจจะเลือกอีกสินเชื่อที่แม้ดอกเบี้ยจะแพงกว่า แต่ยืดหยุ่นได้มากกว่า ทั้งจำนวนที่ใช้ผ่อนต่อเดือน หรือระยะเวลาที่ใช้ในการผ่อน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ การใช้จ่ายเงินต่าง ๆ ใช้ในการเปรียบเทียบพิจารณาด้วย

  • เลือกประเภทสินเชื่อรวมหนี้เป็นก้อนเดียว

    การรวมหนี้บัตรเครดิตสามารถทำได้หลากหลายสินเชื่อ ซึ่งคุณอาจจะเลือกสินเชื่อเหล่านี้ให้เหมาะกับหนี้ที่เรามีอยู่ เช่น

    • 1. สินเชื่อส่วนบุคคล เหมาะสำหรับคนมีหนี้ก้อนเล็ก มีจุดเด่น คือ สามารถขอได้โดยไม่ต้องพึ่งคนค้ำประกัน บางธนาคาร หรือสถาบันการเงิน จะมีสินเชื่อพิเศษที่ให้วงเงินสูง มีดอกเบี้ยต่ำ เพื่อใช้ปิดบัตรเครดิตโดยเฉพาะ
      ทั้งนี้ แม้สินเชื่อส่วนบุคคลไม่จำเป็นจะต้องมีผู้ค้ำประกัน แต่ทางสถาบันการเงินจะพิจารณาจากรายได้ของผู้กู้ร่วมกับประวัติการชำระหนี้สินต่าง ๆ หากมีประวัติที่ดี ก็สามารถขอวงเงินได้สูงเพื่อปิดบัตรเครดิตได้ แต่ถ้ามีประวัติที่ไม่ดี หรือฐานรายได้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ทางสถาบันการเงินต้องการ อาจได้วงเงินน้อยกว่าเกินกว่าจะนำมาปิดรวมหนี้บัตรเครดิต
    • 2. สินเชื่อรถแลกเงิน เหมาะสำหรับคนที่เป็นหนี้หลายเจ้าหรือเป็นหนี้ก้อนโต ไม่สามารถใช้เงินจากสินเชื่อส่วนบุคคลในการปิดบัตรเครดิตได้หมด การนำทรัพย์สินมาค้ำประกัน จะช่วยเพิ่มยอดวงเงินที่ขอกู้ยืมได้มากขึ้น
      เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลอาจจะขอได้สูงสุด 100,000 บาท แต่หากขอสินเชื่อรถแลกเงิน คุณอาจขอวงเงินได้สูงสุด 800,000 บาท ได้ ทั้งนี้อาจจะต้องวางแผนให้ดี เพราะหากเราไม่สามารถหาเงินมาหมุน รถยนต์ หรือสินทรัพย์ที่เรานำไปค้ำประกันอาจถูกยึดได้

เบื้องต้น ทาง แรบบิท แคร์ ไม่แนะนำให้ใช้บัตรกดเงินสด กดเงินเพื่อจ่ายเงินค่าบัตรเครดิต เพราะดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดจะคิดเป็นรายวัน หาหมุนเงินมาจ่ายไม่ทัน อาจจะกลายเป็นการเพิ่มหนี้ก้อนโตได้ หากต้องการใช้บัตรกดเงินสด ควรเป็นหนี้ก้อนเล็ก เป็นหนี้สินที่สามารถจ่ายคืนได้ในเร็ววันจะคุ้มค่ากว่ามาก

  • ปรึกษา และวางแผนการชำระหนี้
    ถึงแม้จะเลือกสินเชื่อได้แล้ว แต่ยอดสินเชื่อบางอย่าง ก็ไม่สามารถใช้ปิดหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดได้อยู่ดี ในกรณีแบบนี้แนะนำให้ ลูกหนี้เข้าไปปรึกษาร่วมกันกับสถาบันการเงินโดยตรง เพราะบางสถาบันการเงิน อาจจะเสนอสินเชื่อพิเศษ ดอกเบี้ยพิเศษต่าง ๆ ที่ช่วยให้คุณรวมหนี้เป็นก้อนเดียวได้ทันที!

คลินิกแก้หนี้คืออะไร ช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างไร?

ทำความรู้จัก คลินิกแก้หนี้คืออะไร?

คลินิกแก้หนี้คือหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของประชาชน โดยดำเนินการแทนเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ประกอบการทางการเงินภายใต้เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากคลินิกแก้หนี้จะช่วยให้ประชาชนมีโอกาสปลดหนี้แล้ว ยังให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนเพื่อให้มีทักษะการบริหารจัดการเงินที่ดีอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ในปี 2560 คลินิกแก้หนี้เริ่มต้นจากการแก้ไขปัญหาหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของลูกหนี้รายย่อย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้แบบครบวงจรในที่เดียว โดยในระยะที่ 1 นี้มีธนาคารพาณิชย์เข้าร่วมทั้งหมด 16 แห่ง

ต่อมาในปี 2562 คลินิกแก้หนี้ได้ขยายขอบเขตให้รวมผู้ประกอบการ Non-bank 19 แห่ง เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลแบบครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยรวมหนี้บัตรที่มีเจ้าหนี้ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปและลูกหนี้ที่ไม่ถูกดำเนินคดีหรือหนี้อยู่ในกระบวนการตัดสินของศาล

จากนั้นในปี 2563 คลินิกแก้หนี้จึงได้ขยายขอบเขตเพิ่มเติมให้รวมหนี้บัตรที่มีเจ้าหนี้รายเดียวและหนี้บัตรที่มีคำพิพากษาแล้ว รวมทั้งปรับปรุงคุณสมบัติผู้เข้าโครงการจากเดิมต้องมีหนี้บัตรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก่อน 1 มกราคม 2562 มาเป็น 1 มกราคม 2563

ปัจจุบันในปี 2565 ตามรายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย คลินิกแก้หนี้ได้ปรับปรุงคุณสมบัติผู้เข้าโครงการจากเดิมต้องมีหนี้บัตรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก่อนวันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นก่อนวันที่ 1 กันยายน 2565 เพื่อรองรับหนี้เสียรายใหม่ รวมถึงปรับทางเลือกการปรับโครงสร้างหนี้เป็น 3 ทางเลือก

ปัจจุบันคลินิกแก้หนี้ มีสมาชิกเป็นธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน Non-bank รวมกันทั้งหมด 33 แห่ง

คลินิกแก้หนี้จะช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างไรบ้าง?

บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด หรือ SAM ดำเนินการในฐานะคลินิกแก้หนี้โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการช่วยเจรจาและรวมหนี้ทั้งหมดมาไว้ที่เดียวในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลจากเจ้าหนี้หลายรายและต้องการปลดภาระหนี้ทั้งหมด ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกหนี้โดยเพียงแค่ติดต่อคลินิกแก้หนี้ที่เดียว ก็สามารถเจรจากับเจ้าหนี้ทุกรายแทนลูกหนี้ได้

จากนั้นคลินิกแก้หนี้จึงให้คำแนะนำและปรับโครงสร้างหนี้ โดยลูกหนี้จะต้องผ่อนเฉพาะเงินต้น (หากผ่อนครบตามสัญญาจะได้รับการยกเว้นดอกเบี้ยที่ค้างอยู่เดิมทั้งหมด) โครงสร้างหนี้ที่ผ่อนปรนเป็นพิเศษจะมีดอกเบี้ยต่ำเพียง 3-5% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ยของบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 16-25% และสามารถผ่อนชำระได้นานสูงสุด 10 ปี ซึ่งหากผ่อนแบบปกติอาจมีระยะเวลาผ่อนชำระสั้นกว่า

การให้ระยะเวลาผ่อนชำระนานจะช่วยให้ยอดที่ต้องผ่อนต่อเดือนไม่สูงมากนัก เช่น ถ้ามีหนี้ 1 แสนบาท ยอดผ่อนต่อเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 1,200 บาทเท่านั้น และเมื่อผ่อนชำระเสร็จสิ้นตามสัญญาแล้ว ก็จะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่เดิมทั้งหมด คลินิกแก้หนี้จึงเป็นทางเลือกในการปลดหนี้ที่มีประสิทธิภาพทางหนึ่ง

บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ภายใต้กำกับของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน SAM มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่บริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (Non-performing loan : NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (Non-performing asset : NPA) มาตั้งแต่ปี 2543 จึงเป็นหน่วยงานรัฐที่มีความพร้อมในการดำเนินงานโครงการคลินิกแก้หนี้ เนื่องจากมีทีมที่มีความรู้และทักษะในการแก้ไขหนี้พร้อมประสบการณ์ยาวนานกว่า 17 ปี

ข้อดีข้อเสียของคลินิกแก้หนี้มีอะไรบ้าง?

ข้อดีของคลินิกแก้หนี้มีดังนี้

  • รวมหนี้เสียจากสินเชื่อและบัตรทุกใบไว้ที่เดียว
  • ดอกเบี้ยต่ำเพียง 3-5% ซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ยของบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันอย่างมาก
  • ระยะเวลาผ่อนนานสูงสุด 10 ปี
  • หากไม่สามารถจ่ายค่างวดได้เต็มจำนวน จะไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้และไม่เสียประวัติในฐานข้อมูลเครดิต
  • ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ
  • สามารถนำยอดหนี้บัตรเครดิตเฉพาะบัตรที่เป็นหนี้เสียทุกใบมาเข้าร่วมโครงการได้ โดยมียอดหนี้เงินต้นคงค้างไม่เกิน 2 ล้านบาท
  • สามารถชำระเพิ่มในแต่ละงวดได้ ซึ่งจะช่วยให้ปิดหนี้ได้เร็วกว่ากำหนดโดยไม่มีค่าปรับหรือค่าธรรมเนียม
  • หากรายได้ไม่เพียงพอสามารถนำรายได้ของผู้อื่นมาช่วยผ่อนได้

ข้อจำกัดของคลินิกแก้หนี้มีดังนี้

  • ต้องเป็นหนี้บัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือ Non-bank ที่เข้าร่วมคลินิกแก้หนี้เท่านั้น ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลจะต้องเป็นแบบไม่มีหลักประกันและไม่มีผู้ค้ำประกันจึงจะเข้าร่วมได้
  • จะไม่สามารถก่อหนี้ใหม่ได้ในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่เข้าร่วมโครงการ
  • ไม่สามารถแก้หนี้หรือสินเชื่อบ้านได้
  • ไม่สามารถแก้หนี้นอกระบบได้

ใครที่สามารถเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ได้บ้าง?

คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้มีดังนี้

  • เป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้และมีอายุไม่เกิน 65 ปี
  • มีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก่อนวันที่ 1 กันยายน 2565
  • เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ
  • มีหนี้รวมกันแล้วเงินต้นไม่เกิน 2 ล้านบาท

ธนาคารไหนที่เข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้บ้าง?

ธนาคารพาณิชย์ 13 แห่ง ได้แก่

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด
  • ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารออมสิน

หมายเหตุ: ธนาคารกรุงไทย อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนการเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้

Non-Bank จำนวน 18 แห่ง ได้แก่

  • บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด
  • บริษัท เจนเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
  • บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด
  • บริษัท เทสโก้ คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
  • บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์(ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ซิตี้คอร์ปลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด*
  • บริษัท พรอมิส (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล จำกัด
  • บริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ไอทีทีพี จำกัด
  • บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เจ ฟินเทค จำกัด
  • บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท นครหลวง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)

จะเห็นได้ว่า โครงการคลินิกแก้หนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้เสียจากบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันได้อย่างครอบคลุมและเปิดโอกาสให้สามารถผ่อนชำระหนี้ในระยะเวลาที่ยาวนาน จึงเป็นทางเลือกสำหรับบุคคลที่มีปัญหาด้านหนี้สิน หากใครสนใจสมัคร สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไชต์ของคลินิกแก้หนี้หรือติดต่อ Call Center ที่ 1443

การปรับโครงสร้างหนี้คืออะไร? ใครบ้างที่ต้องปรับโครงสร้างหนี้?

การปรับโครงสร้างหนี้ คือ การช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญากู้เงินที่เคยทำไว้กับเจ้าหนี้ได้อีกต่อไป จึงอาจมีการพูดคุยเพื่อปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ให้เหมาะสมกับรายรับที่ลดลงหรือความสามารถในการชำระหนี้ที่เปลี่ยนไป โดยที่ไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสีย เพราะหากปล่อยปัญหาหนี้ไว้นานเกินไปอาจส่งผลเลวร้ายกว่าที่คิด เช่น ถูกฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ และหาทางออกได้ยากยิ่งขึ้น

โดยการปรับโครงสร้างหนี้ ไม่ใช่เฉพาะกับหนี้สินเชื่อ หนี้บัตรเครดิตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงหนี้สินอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น หนี้ผ่อนบ้าน, หนี้ทำธุรกิจ, หนี้ผ่อนรถ เป็นต้น

การปรับโครงสร้างหนี้ มีวิธีอะไรบ้าง?

การปรับโครงสร้างหนี้นั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยทางสถาบันทางการเงินจะช่วยวิเคราะห์ว่าลูกหนี้เหมาะกับรูปแบบไหน? ต้องผ่อนชำระอย่างไร? โดยหลัก ๆ รูปแบบของการปรับโครงสร้างหนี้จะมี ดังนี้

  • ขยายเวลาชำระหนี้สิน

การปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งจะทำให้ค่างวดลดลง เช่น สัญญาฉบับเดิมมีระยะเวลาการกู้อยู่ที่ 20 ปี ผ่อนชำระมาแล้ว 12 ปี เหลือระยะเวลาผ่อนอยู่ 8 ปี แต่เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหว จึงขอเจรจาขยายเวลาชำระหนี้กับเจ้าหนี้ออกไปจาก 8 ปี เป็น 12 ปี เพื่อให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนลดลงต่ำกว่าเดิม เพื่อลดภาระในการจ่ายค่างวดแต่ละเดือนให้แก่ลูกหนี้ นิยมใช้กันมากที่สุดเพื่อช่วยให้ภาระการผ่อนสอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง

  • รีไฟแนนซ์

คือการรวมหนี้สินไว้ในที่เดียว หรือรวมไว้กับเจ้าหนี้รายใหม่ เป็นการปรับโครงสร้างหนี้ที่นิยมทำเพื่อให้ได้เงื่อนไขสัญญาที่ดีกว่าเดิม เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง, ได้ระยะเวลาการผ่อนชำระที่ยาวนานขึ้น จากนั้นนำเงินก้อนที่ได้มาปิดหนี้ก้อนเดิมที่มีอยู่ ซึ่งการรีไฟแนนซ์มีข้อดีตรงที่ลูกหนี้ได้ดอกเบี้ยถูกลง ทำให้จำนวนยอดในการผ่อนลดลงไปด้วย แต่อาจแลกมากับค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้เมื่อเปลี่ยนเจ้าหนี้ หรืออาจทำให้ระยะเวลาในการผ่อนชำระยาวนานขึ้น เช่น จากผ่อนหมดภายในระยะเวลา 5 ปี อาจต้องผ่อนนานมากขึ้นเป็น 10 ปี เป็นต้น

โดยการขอรีไฟแนนซ์นั้น หากต้องการขอรีไฟแนนซ์ให้ได้ผลมากที่สุด ผู้ยื่นเรื่องควรมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ตรงต่อเวลา แบบนี้จะทำให้สถาบันการเงินพิจารณาได้ง่ายมากขึ้น

  • ขอพักชำระเงินต้น

เป็นอีกหนึ่งวิธีที่หลายสถาบันมักเสนอให้ลูกหนี้ เนื่องจากปกติค่างวดที่ผ่อนชำระประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เงินต้นกับดอกเบี้ย และการพักชำระจะทำให้ลดภาระการผ่อนชั่วคราว โดยสถาบันการเงินอาจพิจารณาพักชำระเงินต้นเป็นเวลาสั้น ๆ และเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ลูกหนี้อาจนำเงินก้อนมาโปะเพื่อลดหนี้ก่อนถึงกำหนดตามสัญญา ซึ่งจะทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายมีจำนวนลดลงและหนี้หมดเร็วขึ้น

แต่ทั้งนี้ เงินต้นจะไม่ลดลงในช่วงลูกหนี้ขอพักชำระ และอาจส่งผลให้ลูกหนี้ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ขึ้นในช่วงท้ายสัญญา อาจทำให้ต้องเป็นหนี้และแบกภาระดอกเบี้ยนานขึ้นได้ เมื่อครบกำหนดพักชำระแล้ว จะต้องจ่ายคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่พักไปด้วย เนื่องจากดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่ตลอดเวลาที่พักชำระ ตัวอย่างที่เห็นได้ในช่วงนี้ คือ รูปแบบการพักชำระเงินต้นในช่วงโควิด-19

  • ขอลดอัตราดอกเบี้ย

การเจรจากับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อขอลดอัตราดอกเบี้ยลง เป็นอีกหนึ่งวิธีในการปรับโครงสร้างหนี้ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในช่วงที่ลูกหนี้อาจได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจทำให้ผ่อนชำระที่อัตราดอกเบี้ยเดิมไม่ไหว การยื่นเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ต่ำลง จะทำให้เงินต้นลดลง ค่างวดที่จ่ายแต่ละเดือนก็จะลดลงตามไปด้วย โดยการขอลดอัตราดอกเบี้ยนั้น ทางสถาบันการเงินจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะลดให้หรือไม่ และดูจากหลายปัจจัย เช่น ต้นทุนของสถาบันการเงินประวัติการผ่อนชำระของลูกหนี้ ประเภทสินเชื่อ และหลักประกัน เป็นต้น

หากต้องการปรับโครงสร้างหนี้สามารถเริ่มได้ที่ไหนบ้าง?

ปัจจุบัน เราสามารถเริ่มปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้จากหลากหลายแห่ง ดังนี้

  • เข้าร่วมกับ ธปท.โครงการ "คลินิกแก้หนี้"

คลินิกแก้หนี้ จาก ธปท. เป็นหนึ่งในโครงการที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน โดยรวมหนี้เสียจากเจ้าหนี้หลายเจ้ามาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และเหลือผ่อนชำระกับเจ้าหนี้รายเดียว ที่ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางเชื่อมโยงระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ทุกราย โดยสามารถผ่อนชำระนานสูงสุดถึง 10 ปี ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง

  • ยื่นคำร้องแจ้งกับเจ้าหนี้เรื่องการปรับโครงสร้างหนี้

เมื่อลูกหนี้รู้สึกว่าตนไม่มีกำลังในการชำระหนี้สินทั้งหมดได้ อาจยื่นเรื่องกับเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินดั่งกล่าว เพื่อเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้ เช่น การขอลดดอกเบี้ย, ยืดระยะเวลาผ่อนผัน หรือแม้แต่ขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับสถาบันการเงินใหม่ เป็นต้น ซึ่งการเจรจานี้ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ และควรทำได้ามความสามารถในการจ่ายคืนของเรา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้สินพอกพูนต่อไปในอนาคต

  • กู้ยืมสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อรวมหนี้ไว้ที่เดียว

อีกหนึ่งวิธีที่หลายคนนิยมและเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้บัตรกดเงินสด เนื่องจากไม่ต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกัน หรือในกรณีที่ต้องการใช้ทรัพย์สินมาค้ำประกัน อาจทำให้คุณได้วงเงินที่สูงขึ้น เพื่อให้ได้เงินก้อนโตในการโปะหนี้ รวมหนี้สินไว้ที่เดียว เช่น สินเชื่อรถแลกเงิน เป็นต้น

ลูกหนี้ควรเลือกการปรับโครงสร้างหนี้สินแบบไหนให้เหมาะกับตน

การปรับโครงสร้างหนี้ในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยรอบตัวของลูกหนี้ เช่น

  • กรณีที่ลูกหนี้มีเงินก้อนแต่ไม่มากพอปิดหนี้ทั้งหมด

ก็อาจขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการปิดจบด้วยเงินก้อนที่น้อยกว่าหนี้ทั้งก้อนได้ เรียกว่า แฮร์คัต (hair cut) เป็นการปรับโครงสร้างหนี้โดยการขอส่วนลดจากเจ้าหนี้แล้วจ่ายทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีทันที

แต่การปิดจบด้วยเงินก้อนแบบนี้ สถาบันการเงินมักมีเงื่อนไขให้จ่ายให้ครบภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ในระยะเวลาไม่กี่งวด ดังนั้น หากไม่มั่นใจว่าจะจ่ายได้ทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ควรลงนามในสัญญาเพราะอาจทำให้ต้องขอปรับโครงสร้างอีกครั้ง

ในกรณีที่ต้องขอปรับโครงสร้างหนี้อีกรอบ อาจขอสถาบันการเงินพิจารณาทางเลือกในการช่วยเหลืออื่นแทน เช่น ลดดอกเบี้ย, ยืดระยะเวลาการผ่อนชำระ เป็นต้น

  • กรณีลูกหนี้ไม่มีกำลังเงินในการจ่าย หรือพร้อมจ่ายหนี้สินใด ๆ เลย

โดยปัจจัยเหล่านี้อาจมาจากการที่ลูกหนี้ได้ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจล้มละลาย, ตกงาน, รายได้หาย ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้สินได้ในทุก ๆ กรณี แบบนี้อาจเลือกการปรับโครงสร้างหนี้โดยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้ปรับตัวกับปัญหาทางการเงินที่กำลังเผชิญอยู่หรือหางานหาอาชีพใหม่ได้ แล้วค่อยกลับมาจ่ายหนี้ตามเดิม และอาจควบรวมกับการขอขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้าย

แต่หากใกล้ครบกำหนดพักชำระและรายรับที่มียังไม่พอจ่ายหนี้ ให้เจรจาเพื่อขอความช่วยเหลืออื่นจากสถาบันการเงินอีกครั้ง เช่น ขอจ่ายเป็นขั้นบันได โดยจ่ายน้อยในช่วงแรกแล้วค่อยเขยิบขึ้นตามรายรับที่น่าจะเข้ามาในอนาคต หรือสำรวจหาทรัพย์สินที่พอจะขายได้มาช่วยชำระหนี้บางส่วน เพราะสถาบันการเงินอาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยการพักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลานานได้ อย่ารอหรือเงียบหายจนค้างจ่ายหรือเป็นหนี้เสียอาจส่งผลต่อเครดิตลูกหนี้ได้

หากต้องการแค่ลดดอกเบี้ยเพื่อลดภาระด้านการเงิน จะถือว่าเป็น การปรับโครงสร้างหนี้ ไหม? สามารถทำได้หรือไม่ ?

ในกรณีของลูกหนี้ที่ยังพร้อมจ่ายเงินผ่อนชำระ แต่อยากลดดอกเบี้ยหนี้หรือติดปัญหาอื่น ๆ ก็สามารถเลือกการปรับโครงสร้างหนี้ที่ตนมีได้ ดังนี้

  • เปลี่ยนประเภทหนี้

เช่น สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน รีไฟแนนซ์หนี้ ย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ก็จะทำให้ภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลดลงไป แต่การเปลี่ยนประเภทหนี้แบบนี้ เราต้องมั่นใจว่าเราสามารถจ่ายค่างวดคืนตามที่กำหนดได้ และต้องคำนวณให้ดีว่าค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเปลี่ยนเจ้าหนี้นั้น คุ้มกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงไหม

  • ขอพักชำระเงินต้น หรือขอลดดอกเบี้ย

เป็นอีกหนึ่งวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะกับคนที่กำลังประสบปัญหาเรื่องเงิน เช่น รายได้ลดลง, ตกงาน เป็นลักษณะที่รายได้ลดลงในช่วงเวลาระยะสั้น ๆ เท่านั้น โดยจะกลับมามีรายรับเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมในอีกไม่นาน ซึ่งวิธีนี้จะมีกำหนดระยะเวลาสั้น ๆ ถ้ารายรับลดเป็นระยะเวลานาน แรบบิท แคร์ ขอแนะนำว่าควรเลือกทางอื่นจะดีกว่า เนื่องจากการขอลดอัตราดอกเบี้ย หรือการขอพักชำระนั้นเป็นการขอละเว้นชั่วคราว หนี้สินอื่น ๆ อย่างเงินต้นและดอกเบี้ยก็ไม่ได้หายไปไหน

  • ขอขยายเวลาชำระหนี้

เป็ยวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสำหรับคนที่รายรับลดลงเป็นระยะยาวทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ในจำนวนเท่าเดิมได้ วิธีนี้จะทำให้เราเป็นหนี้นานขึ้น แต่จำนวนผ่อนต่อเดือนจะลดลง ทำให้เราสามารถบริหารการเงินได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้การขอขยายระยะเวลานั้น จะขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ทั้งสถาบันการเงิน ยอดหนี้ ประเภทหนี้ ความสามารถในการจ่ายหนี้คืน รวมถึงฐานะทางการเงินของลูกหนี้ด้วย

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

CardX SPEEDY LOAN
  • ผ่อนนานสูงสุด 24 และ 72 เดือน
  • วงเงินกู้ถึงหลักล้าน
  • อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี
  • มีอายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
  • มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาทขึ้นไป
สินเชื่อบุคคลซิตี้
  • ผ่อนชิลๆ 60 เดือน
  • อนุมัติวงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท
  • มีรายได้ต่อเดือน 20,000 บาทขึ้นไป
  • อายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
  • ไม่เคยยื่นกับ Citi ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
สินเชื่อส่วนบุคคล Happy Cash ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

LH Bank

  • ดอกเบี้ยต่ำ 8.88%/ปี*
  • วงเงินสูงสุด 1.5 ล้านบาท*
  • ผ่อนนานสูงสุด 60 เดือน*
  • ไม่ต้องค้ำประกัน
  • อายุงานไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป
  • ทำงานในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล
  • รายได้ต่อเดือนขั้นต่ำ 30,000 บาทขึ้นไป
สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล TTB Cash2Go
  • อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 25% ต่อปี
  • ไม่ต้องค้ำ
  • ดอกเบี้ยพิเศษ ลดต้นลดดอก
  • ผ่อนได้นานสุด 60 เดือน
  • วงเงินอนุมัติสูง 5 เท่าของรายได้

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา