ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตคืออะไร ทำไมทำบัตรเครดิตต้องเสียค่าธรรมเนียม?
ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตคือค่าบริการที่เราใช้บัตรเครดิตแต่ละใบที่ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินออกให้ใช้บริการ เนื่องจากการรูดบัตรแต่ละครั้งจะนับว่าเป็นการบริการทั้งหมดและจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ธนาคารมอบให้กับคุณ การเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตจึงเหมือนเป็นการที่คุณจ่ายเงินเพื่อได้รับสิทธิ์ต่าง ๆ มาใช้งานนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นบริการพิเศษ การสะสมแต้มไปแลกของ การได้รับเครดิตเงินคืน เป็นต้น ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมนั้นจะขึ้นกับประเภทของบัตรและนโยบายของธนาคารผู้ให้บริการ แต่ทั้งนี้ก็มีบัตรเครดิตบางใบอาจไม่มีค่าธรรมเนียมก็ได้ ขึ้นกับประเภทของบัตรที่คุณเลือกทำ ดังนั้นก่อนที่คุณจะเลือกทำบัตรเครดิตให้พิจารณาสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ รวมถึงอัตราค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตด้วยว่าคุ้มค่าหรือไม่
การเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตมีกี่แบบ?
บัตรเครดิตแต่ละประเภทอาจมีข้อกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทางธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมดังนี้
• ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตรายปี
เป็นการจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อใช้งานเป็นรายปี ผู้ใช้ต้องจ่ายทุกปีตามจำนวนที่ธนาคารกำหนดเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ที่บัตรมอบให้
• ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตแรกเข้า
เป็นค่าธรรมเนียมที่คุณต้องจ่ายตอนสมัครทำบัตรเครดิตครั้งแรกตามจำนวนที่ธนาคารกำหนด เหมือนเป็นการจ่ายเงินเพื่อเปิดใช้งานบัตรนั่นเอง
ทั้งนี้ก็มีบัตรเครดิตบางประเภทที่ผู้ใช้งานต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเพื่อเปิดบัตร และยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีทุกปีด้วย เพื่อรับสิทธิ์พิเศษที่ยิ่งกว่าบัตรเครดิตใบอื่น ๆ ทั่วไป ด้วยเหตุนี้ก่อนทำบัตรเครดิตก็ต้องตรวจสอบกับทางธนาคารให้ดีเสียก่อนว่าต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง
ข้อมูลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตจะเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายของแต่ละธนาคาร ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
ข้อมูลอ้างอิงสำหรับค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากธนาคารชั้นนำในประเทศไทย:
ธนาคาร | ค่าธรรมเนียมแรกเข้า | ค่าธรรมเนียมรายปี | อัตราดอกเบี้ย |
กรุงเทพ | 0 - 700 บาทต่อปี | อยู่ในช่วง 700 - 8,000 บาทต่อปี | 15-21% |
กสิกรไทย | 0 - 1,000 บาทต่อปี | อยู่ในช่วง 500 - 5,000 บาทต่อปี | 15-24% |
กรุงไทย | 200 - 1,500 บาทต่อปี | อยู่ในช่วง 200 - 1,500 บาทต่อปี | 15-20% |
ทหารไทยธนาชาต | 0 - 3,500 บาทต่อปี | อยู่ในช่วง 0 - 5,000 บาทต่อปี | 15-26% |
ไทยพาณิชย์ | 300 - 2,500 บาทต่อปี | อยู่ในช่วง 800 - 2,000 บาทต่อปี | 15-25% |
กรุงศรีอยุธยา | 100 - 1,000 บาทต่อปี | อยู่ในช่วง 500 - 5,000 บาทต่อปี | 15-20% |
ยูโอบี | 500 - 1,500 บาทต่อปี | อยู่ในช่วง 1,000 - 5,000 บาทต่อปี | 15-25% |
ซีไอเอ็มบีไทย | 500 - 2,000 บาทต่อปี | อยู่ในช่วง 1,000 - 3,000 บาทต่อปี | 15-25% |
หมายเหตุ: อัตราค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับบัตรเครดิต และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายของแต่ละธนาคาร กรุณาตรวจสอบกับธนาคารเพื่อข้อมูลล่าสุด
ทำไมบัตรเครดิตแต่ละใบเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตไม่เท่ากัน
บางคนอาจเกิดคำถามหลังการเปรียบเทียบบัตรเครดิตแต่ละใบจากหลากหลายธนาคารแล้วเกิดข้อสงสัยว่า ทำใบบัตรเครดิตบางใบต้องจ่ายค่าธรรมเนียมราคาแพง บางใบจ่ายค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตถูก บางใบไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเลย ซึ่งคำตอบก็อยู่ตรงที่สิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิตแต่ละใบนั้นไม่เท่ากัน ค่าธรรมเนียมจะขึ้นกับสิทธิประโยชน์นั้น ๆ ยิ่งบัตรเครดิตที่มอบสิทธิ์ให้กับคุณมากก็จะมีแนวโน้มเสียค่าธรรมเนียมแพง
สิทธิประโยชน์ที่มักมีให้กับบัตรเครดิตคือ การสะสมแต้ม การได้รับเครดิตเงินคืน การได้รับส่วนลดหรือบริการพิเศษตามข้อกำหนด การสะสมไมล์เพื่อแลกของรางวัล หากบัตรไหนที่เสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตรายปีแพงก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ข้างต้นมากกว่าบัตรใบอื่น ยกตัวอย่างเช่น บัตร Amex Platinum ที่จ่ายค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตปีละ 35,000 บาท จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมายที่เหนือชั้นกว่าบัตรอื่น ๆ อย่าง การเข้าใช้ห้องรับรองสนามบินกว่า 1,300 แห่ง ทั่วโลก, การสะสม Membership Rewards x3 ในเดือนเกิด, การรับอภินันทนาการเข้าพักโรงแรมหรูและรีสอร์ทที่ร่วมรายการ เป็นต้น
สรุปง่าย ๆ คือ หากคุณอยากใช้สิทธิประโยชน์ระดับไฮเอ็นด์ของบัตรมากเท่าไหร่ ก็ย่อมเสียค่าธรรมเนียมมากขั้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ทางธนาคารและสถาบันทางการเงินจึงได้ออกรูปแบบบัตรเครดิตมากมายเพื่อรองรับกับความต้องการและรายได้ของผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น บัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มนักศึกษาไปจนถึงวัยเริ่มต้นทำงานก็จะไม่เสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตแต่ก็ได้รับสิทธิประโยชน์น้อย ส่วนบัตรเครดิตที่เจาะตลาดกลุ่มผู้ที่มีฐานะก็จะเสียค่าธรรมเนียมบัตรราคาแพงแต่ก็ได้รับสิทธิประโยชน์อันมหาศาลเช่นกัน
ระหว่างบัตรเครดิตที่มีค่าธรรมเนียม กับบัตรที่ไม่มีค่าธรรมเนียม สมัครแบบไหนดีกว่ากัน?
ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สมัคร สำหรับบัตรที่สิทธิประโยชน์มากก็ต้องแลกมาด้วยค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต แต่ถ้าเลือกบัตรที่ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม สิทธิประโยชน์ที่ได้มาก็จะน้อยตาม ให้ลองพิจารณาความต้องการของตัวคุณ รวมถึงรายได้ต่อเดือน แล้วเลือกสมัครบัตรที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด เช่น หากเป็นคนขับรถยนต์ก็ให้เลือกบัตรเครดิตที่มอบสิทธิประโยชน์เรื่องค่าน้ำมัน หรือถ้าชอบช้อปปิ้งออนไลน์ ก็ให้เลือกบัตรที่มีโปรโมชั่นร่วมกับ Shopee หรือ Lazada เป็นต้น แม้ว่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ก็เทียบกันแล้วก็มอบความคุ้มค่ามากกว่านั่นเอง
ไม่อยากจ่ายค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ต้องสมัครบัตรประเภทไหน?
บัตรเครดิตบางใบอาจเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า หรือเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตรายปีจำนวนมาก สมัครไปก็อาจไม่คุ้มถ้าการใช้งานไม่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคุณ เช่น การไม่ได้ใช้สิทธิ์ต่าง ๆ ที่บัตรมอบให้อย่างคุ้มค่า ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ใช้งานบัตรเครดิตมือใหม่และไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต เราแนะนำให้เลือกทำบัตรที่ไม่เสียค่าธรรมเนียมไปก่อนในช่วงแรก จากนั้นให้ลองหาไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสมกับตนแล้วเลือกบัตรเครดิตที่เหมาะสมตามมาก็ยังไม่สาย หรืออาจจะมีการใช้งานบัตรเครดิตในวงเงินที่กำหนด จะสามารถขอเวฟค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตได้
ทั้งนี้ก่อนสมัครบัตรเครดิต เราแนะนำว่าให้ตรวจสอบรายละเอียดให้ดีเสียก่อนว่าบัตรใบที่คุณสนใจอยู่มีค่าธรรมเนียมหรือไม่ หรือง่าย ๆ ลองใช้เครื่องมือเปรียบเทียบบัตรเครดิตกับแรบบิท แคร์ ได้ โดยเปรียบเทียบง่ายภายใน 30 วินาที อีกทั้งยังสามารถเลือกค้นหาบัตรเครดิต ฟรีค่าธรรมเนียมได้ด้วย
หากต้องการยกเลิกบัตร จะต้องเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตในปีนั้นด้วยหรือไม่?
การคิดค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตจะคิดตามเป็นรอบปี หากคุณต้องการยกเลิกคุณจะยังคงต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในรอบปีนั้น ด้วยเหตุนี้เราแนะนำว่าหากเสียค่าธรรมเนียมในปีนั้น ๆ ไปแล้ว ก็ให้ใช้บัตรไปก่อน แล้วพอจะครบปีก็ให้ยกเลิกก่อนที่จะเสียค่าธรรมเนียม เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ที่จ่ายไปแล้วให้คุ้มค่าเสียก่อน
รูดใช้งานบัตรเครดิตที่ต่างประเทศ ต้องเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตด้วยหรือไม่?
สำหรับใครที่มีแพลนจะไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศต้องฟังให้ดี เพราะการรูดใช้งานบัตรเครดิตที่ต่างประเทศทุกครั้งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตด้วย เพราะธนาคารจะชาร์จค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในอัตรา 2.5% ของสินค้าที่ซื้อ สำหรับเป็น "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" นั่นเอง เนื่องจากธนาคารจะเก็บค่าธรรมเนียมเหล่านี้เพื่อการันตีจากความเสี่ยงที่ค่าเงินแปรผันผวน ซึ่งค่าเงินแต่ละประเทศมีการขึ้น-ลง แทบทุกวัน กว่าเงินจะตัดยอดเข้าธนาคาร ค่าเงินอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป มูลค่าของที่เราซื้อก็ย่อมมีโอกาสเปลี่ยนแปลงตาม ซึ่งการเก็บค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตตอนซื้อสินค้าต่างประเทศนี้จะเก็บหมดในทุกบัตร ทุกธนาคาร
ยกตัวอย่างเช่น นายเอ ไปรูดซื้อรองเท้าที่ญี่ปุ่น ราคา 20,000 เยน จะต้องจ่ายจริงเพิ่มขึ้นอีก 2.5 เปอร์เซ็น เป็น 20,500 เยน นั่นเอง
นอกจากนี้การใช้งานบัตรเครดิตที่ต่างประเทศ บางร้านค้าอาจมีการกำหนดยอดขั้นต่ำในการชำระสินค้าด้วย หากยอดไม่ถึงตามที่ทางร้านกำหนดไว้ ก็จะไม่สามารถรูดบัตรเครดิตได้
ข้อมูลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตในการรูดใช้ต่างประเทศจะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายของแต่ละธนาคาร
ข้อมูลอ้างอิงสำหรับค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเพื่อซื้อสินค้าที่ต่างประเทศจากธนาคารชั้นนำในประเทศไทย:
ธนาคาร | ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตในการรูดใช้ต่างประเทศ |
กรุงเทพ | 2.5% ของยอดธุรกรรม หรือ 300 บาท (สูงสุด) |
กสิกรไทย | 2.5% ของยอดธุรกรรม หรือ 300 บาท (สูงสุด) |
กรุงไทย | 2% ของยอดธุรกรรม หรือ 250 บาท (สูงสุด) |
ทหารไทยธนชาต | 2.5% ของยอดธุรกรรม |
ไทยพาณิชย์ | 2.5% ของยอดธุรกรรม |
กรุงศรีอยุธยา | 2.5% ของยอดธุรกรรม หรือ 300 บาท (สูงสุด) |
ยูโอบี | 2.5% ของยอดธุรกรรม |
ซีไอเอ็มบีไทย | 2.5% ของยอดธุรกรรม |
หมายเหตุ: อัตราค่าธรรมเนียมบี้ยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายของแต่ละธนาคาร กรุณาตรวจสอบกับธนาคารเพื่อข้อมูลล่าสุด
ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ตัดยอดจ่ายจากทางไหน?
บัตรเครดิตส่วนมากจะตัดยอดรวมกับเครดิตที่ใช้ไปในแต่ละเดือน ยกตัวอย่างเช่น หากเดือนนี้คุณรูดบัตรไปรวมมูลค่า 10,000 บาทและครบรอบจ่ายค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตเดือนนี้พอดีเป็นจำนวน 1,000 บาทต่อปี ทางธนาคารก็จะแจ้งสรุปยอดรวมที่คุณต้องจ่ายคือธนาคาร เป็นจำนวนทั้งหมด 11,000 บาทเป็นต้น ซึ่งคุณสามารถจ่ายหนี้บัตรเครดิตได้ผ่านทางแอปพลิเคชันของทางธนาคาร ก็จะไปชำระตรงกับเค้าท์เตอร์เซอร์วิสของทางธนาคารได้เลย
ไม่จ่ายค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตหรือจ่ายล่าช้า มีผลอย่างไรบ้าง?
อย่างที่กล่าวไปว่าทางธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตรวมกับยอดหนี้ที่คุณต้องจ่ายในแต่ละเดือน หากคุณไม่จ่ายก็เท่ากับคุณไม่ได้จ่ายหนี้เครดิตที่ชำระไปเดือนนั้น ๆ ด้วย หากจ่ายล่าช้าก็จะมีดอกเบี้ยตามมาภายหลัง จากหนี้เพียงเล็กน้อยก็จะพอกพูนเป็นจำนวนมหาศาล และหากคุณเลือกที่จะไม่จ่ายต่อไป ก็จะส่งผลให้ประวัติทางการเงินเสีย ติดเครดิตบูโร และถูกทางธนาคารฟ้องให้ใช้หนี้ตามมา
ด้วยเหตุนี้เราจึงขอแนะนำว่าให้เลือกจ่ายค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตให้ครบตามกำหนดย่อมดีกว่า เพราะจ่ายเงินเพียงเล็กน้อยย่อมดีกว่าเสียประวัติทางการเงินแน่นอน นอกจากนี้ก่อนที่คุณจะทำบัตรเครดิตแต่ละใบทางเจ้าหน้าที่ธนาคารจะแจ้งให้คุณทราบอย่างชัดเจนว่าบัตรแต่ละใบจะเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตรายปีหรือค่าธรรมเนียมแรกเข้าปีละเท่าไหร่ หากไม่สะดวกที่จะจ่ายก็ให้เลือกทำบัตรเครดิตที่ไม่มีค่าธรรมเนียมแต่แรกย่อมดีกว่า
บัตรเครดิตที่มีอยู่จ่ายค่าธรรมเนียมแพง ต้องทำอย่างไรดี?
หลายคนอาจประสบปัญหาว่าบัตรเครดิตที่มีอยู่ให้สิทธิประโยชน์ไม่คุ้มค่า หรือจ่ายค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตแพงเกินไปเมื่อเทียบกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ หรือคิดว่าบัตรเครดิตที่มียังไม่ตอบโจทย์ตามต้องการต่างกับสิ่งที่คิดไว้ก่อนสมัครบัตร ความผิดพลาดเหล่านี้เกิดขึ้นได้เสมอ แรบบิท แคร์ จึงขอแนะนำว่าให้ลองเปลี่ยนมาใช้บัตรตัวอื่นที่จ่ายค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตน้อยลงหรือฟรีค่าธรรมเนียมไปเลย แต่ก็ต้องดูสิทธิประโยชน์ประกอบด้วยว่าเหมาะสมกับคุณแค่ไหน แรบบิท แคร์ เรามีเครื่องมือเปรียบเทียบบัตรเครดิตที่เหมาะสมกับคุณ ใช้งานง่ายภายใน 30 วินาที หากคิดว่าบัตรที่มีอยู่จ่ายค่าธรรมเนียมแพง ลองหาบัตรใหม่กับเรา แรบบิท แคร์
บัตรเครดิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ