แคร์ไลฟ์สไตล์

ซอยจุ๊ อาหารสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน คืออะไร มีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่ ? ควรดูแลตัวเองอย่างไรหากอยากชิม ?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: July 14,2023
ซอยจุ๊

‘ซอยจุ๊’ ชื่ออาหารจานเด็ดจากภาคอีสานที่เป็นกระแสมาแรงแซงแทบจะทุกเมนูในโซเชียลมาพักใหญ่ แต่แน่นอนว่าก็ยังมีหลายคนที่ยังไม่กล้าลองเพราะยังตัดสินใจไม่ได้ ว่าจะลองกินดีไหม ปลอดภัยที่จะกินหรือไม่ ?

วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับซอยจุ๊มาให้ ทั้งในประเด็นที่ว่าซอยจุ๊ คืออะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรในจานบ้าง รวมถึงกรรมวิธีการทำเผื่อใครต้องการลองทำเองเพราะกลัวว่าซื้อกินแล้วจะไม่สะอาด ความเสี่ยงในการกินซอยจุ๊มีอะไรบ้าง และข้อควรระวัง! 

ซอยจุ๊ คืออะไร ?

ซอยจุ๊ อาหารที่เป็นเอกลักษณ์และมีต้นกำเนิดมาจากภาคอีสานของประเทศไทย มีลักษณะเป็นอาหารชนิดไม่ปรุงสุกหรือของดิบ ที่นำเนื้อวัวดิบและเครื่องในวัวอย่างตับ สไบนาง (ผ้าขี้ริ้ว) และขอบกระด้งมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ โดยไม่มีการปรุงรส และจิ้มในน้ำจิ้มแจ่วที่มีรสชาติเปรี้ยว-หวาน-เผ็ด-ขมเล็กน้อย โดยจะประกอบด้วยส่วนผสมพิเศษคือ ดีวัวหรือขี้เพี๊ยะวัว

เมนูซอยจุ๊เนื้อนั้นจะมีความเข้มข้นทั้งในด้านรสชาติและกลิ่น มีประวัติความเป็นมาได้รับความนิยมในภาคอีสานของไทยเรามาอย่างยาวนาน จึงถือเป็นเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลิ้มลองหรือสัมผัสรสชาติความเป็นอีสานแท้ ๆ ได้เลยทีเดียว

ประวัติของซอยจุ๊

ซอยจุ๊เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากภาคอีสานและเป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากในภาคอีสานนั้นมีวัวจำนวนมาก ทำให้เนื้อวัวได้กลายเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร ซึ่งทางภาคอีสานนั้นจะนำมาประกอบอาหารทั้งเมนูที่รับประทานแบบสดและแบบสุก โดยเฉพาะช่วงที่มีงานบุญหรืองานเทศกาลที่เครือญาติหรือชาวบ้านนั้นมารวมตัวกัน ก็จะมีการล้มวัวเพื่อนำมาประกอบอาหารทั้งสุกและดิบเพื่อแจกจ่ายกันถ้วนหน้า

โดยหนึ่งในเมนูยอดฮิตอย่างซอยจุ๊นี้นั้นจะเป็นการนำเนื้อวัวดิบและเครื่องในวัว (เช่น ตับ ผ้าขี้ริ้ว สไบนาง) มาซอยหรือสไลด์ให้พอดีคำ จากนั้นจิ้มกับน้ำจิ้มแจ่วขมสูตรพิเศษที่ผสมดีวัวและขี้เพี๊ยะวัวลงไป ด้วยกรรมวิธีการทำเช่นนี้ จึงทำให้เมนูดังกล่าวได้ชื่อว่าซอยจุ๊ เพราะคำว่า ‘ซอย’ มาจากคำว่าหั่นหรือซอย และคำว่า ‘จุ๊’ หมายถึงการจิ้มนั่นเอง

ส่วนประกอบของซอยจุ๊

  • เนื้อวัวดิบ : เป็นวัตถุดิบหลักในเมนู ซึ่งจะถูกนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอดีคำเพื่อให้สามารถจิ้มกับน้ำจิ้มแจ่วขมและรับประทานได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการปรุงสุก

  • ตับ : ส่วนหนึ่งของเครื่องในวัวที่นิยมนำมาใช้ในการทำ เป็นเครื่องในที่มีรสชาติเข้มข้นและส่งกลิ่นหอมหวานเฉพาะตัว

  • สไบนาง (ผ้าขี้ริ้ว) : เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องในวัวที่นิยมนำมาใช้ มีลักษณะเนื้อกรุบกรอบและเนื้อสัมผัสที่ค่อนข้างขรุขระ

  • ขอบกระด้ง: อีกส่วนหนึ่งของเครื่องในวัวที่นิยมใช้จะมีลักษณะกรุบ ๆ และมีรสชาติหอมเหม็นเฉพาะตัว

  • น้ำจิ้มแจ่วขม : เป็นน้ำจิ้มที่ใช้คู่กับซอยจุ๊ เป็นน้ำจิ้มที่มีส่วนผสมที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนน้ำจิ้มแจ่วทั่วไปเพราะจะมีการใส่ดีวัวและขี้เพี๊ยะลงไปด้วย มีรสชาติเปรี้ยว-หวาน-เผ็ด-ขมเล็กน้อย ช่วยเพิ่มรสชาติและช่วยดับคาวได้เป็นอย่างดี

ซอยจุ๊ วิธีทํา

ขั้นแรกในการทำซอยจุ๊คือการเตรียมเนื้อวัวดิบและเครื่องในซึ่งเป็นส่วนประกอบอย่างพิถีพิถันและใส่ใจในด้านความสะอาด โดยใช้เนื้อวัว-เครื่องในวัวที่สดใหม่และมีคุณภาพดี นำเนื้อวัวมา-เครื่องในมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ พอดีคำ โดยควรนำเนื้อวัวแช่เย็นในตู้เย็นให้เนื้อมีความเย็นก่อนหั่นเพื่อให้เนื้อแข็งแน่นมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้น นำตับ สไบนาง และขอบกระด้งมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอดีคำเช่นเดียวกับเนื้อวัวที่ได้เตรียมไว้

หลังจากที่เตรียมส่วนประกอบทั้งหมดแล้ว เริ่มต้นการจัดเสิร์ฟซอยจุ๊ โดยนำเนื้อวัวและเครื่องในที่เตรียมไว้มาวางบนจานเรียงเป็นแถว จากนั้นจะวางน้ำจิ้มแจ่วขมที่เตรียมเรียบร้อยไว้ที่ด้านข้าง เพื่อให้ผู้รับประทานสามารถจิ้มเนื้อวัวและเครื่องในในน้ำจิ้มและรับประทานได้ตามชอบ

ความเสี่ยงจากการกินซอยจุ๊

  •  การติดเชื้อแบคทีเรีย : เนื่องจากซอยจุ๊เป็นเนื้อวัวและเครื่องในดิบที่ไม่ผ่านการปรุงสุก อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในเนื้อวัว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน หรืออาจเกิดการติดเชื้อที่ร้ายแรงมากขึ้นได้

  • การติดเชื้อจากเครื่องใน : เครื่องในที่ใช้ในซอยจุ๊ เช่น ตับ สไบนาง หรือขอบกระด้ง อาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากเชื้อโรคหรือสารพิษ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ปวดท้อง หรือติดเชื้ออย่างรุนแรงได้

  • การเป็นโรคพิษสุนัขบ้า : หากเนื้อวัวที่ใช้ในซอยจุ๊มีการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า อาจเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไปยังร่างกายผู้บริโภค ทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรง นำไปสู่การเสียชีวิตได้

  • การแพร่กระจายเชื้อโรคอื่น ๆ : หากไม่มีการดำเนินการสุขอนามัยและความสะอาดในการจัดเตรียมซอยจุ๊อย่างถูกต้อง อาจเป็นที่เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคอื่น ๆ เช่น เชื้อโรต้า ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

ข้อควรระวังในการรับประทานซอยจุ๊

  • เลือกร้านค้าที่สะอาด น่าเชื่อถือ : ควรเลือกรับประทานซอยจุ๊จากร้านค้าที่สะอาด น่าเชื่อถือ มั่นใจได้ในสุขอนามัยและมีการประกอบอาหารได้มาตรฐาน

  • การเลือกวัตถุดิบที่ปลอดภัย : กรณีทำซอยจุ๊เองควรเลือกเนื้อวัวที่สดใหม่และคุณภาพดีจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและปนเปื้อนสารอันตราย

  • ใส่ใจทุกขั้นตอนการปรุง : เนื้อวัวในซอยจุ๊เป็นเนื้อและเครื่องในดิบที่ไม่ผ่านการปรุงสุก ควรระวังเรื่องการล้างทำความสะอาดให้ดี และใส่ใจทุกขั้นตอนการทำตั้งแต่ต้นจนจัดเสิร์ฟ

  • รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ : ควรรับประทานซอยจุ๊ในปริมาณที่เหมาะสมและไม่ส่งผลต่อสุขภาพ ไม่ทานเยอะจนเกินไป หรือทานบ่อยจนเกินไป

  • สังเกตอาการตัวเอง : หากมีอาการไม่พึงประสงค์หลังจากการรับประทานซอยจุ๊ เช่น อาการท้องเสีย คลื่นไส้ หรืออาการแพ้ ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสม

ทราบกันไปแล้วว่าซอยจุ๊เป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสานที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน ใครอยากลองสัมผัสประสบการณ์ลิ้มลองรสชาติอาหารพื้นบ้านของทางอีสาน ก็อย่าลืมให้ความสำคัญในด้านความสะอาด การเลือกวัตถุดิบหรือร้านที่มีคุณภาพ

เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปว่าการรับประทานอาหารดิบ หรือแม้แต่อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ นั้นไม่ว่ามากหรือน้อยล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยง เพราะฉะนั้นใครที่ชอบทานอาหารเหล่านี้ หรือชอบลองอาหารประเภทใหม่ ๆ ที่อาจไม่ได้ปรุงสุกเสมอไป ควรทำประกันสุขภาพติดตัวไว้ให้อุ่นใจด้วยนั่นเอง!

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์


     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    Rabbit Care Blog Image 96153

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

    การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
    Thirakan T
    27/08/2024