Narcissist โรคหลงตัวเอง คืออะไร? หากเจอแล้วจะรับมืออย่างไร ?
คุณเคยเจอคนที่ทำอะไรไม่เคยผิด คุยด้วยแล้วอึดอัดสุด ๆ เพราะชอบพูดถึงเรื่องของตนเองจนอาจรู้สึกว่าตัวเราถูกกด ถูกด้อยค้า คุณอาจกำลังรับมืออยู่กับคนที่มีความ Narcissist หรือเป็นโรคหลงตัวเอง ซึ่งอาจฟังดูไม่มีอยู่จริง แต่ตามหลักจิตวิทยาแล้ว อาการ Narcissist นับเป็นสภาวะทางจิตที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และเป็นอาการที่ยากจะตระหนักรู้ ฉะนั้นเรามาทำความรู้จักกับสภาวะนี้กันดีกว่า !
Narcissist โรคหลงตัวเอง คืออะไร ?
Narcissist คือโรค หรืออาการหลงตัวเอง จัดอยู่ในกลุ่มของอาการบุคลิกภาพแปรปรวน (Personality Disorder) โดยเรียกเต็ม ๆ คือชื่อ Narcissistic Personality Disorder โดยจะต้องแยกแยะโรคหลงตัวเอง กับคนที่มีความมั่นใจสูง เพราะความมั่นใจในตัวเอง จะไม่ไปด้อยค่าผู้คนรอบข้าง แต่หากเป็นโรคหลงตนเอง อาจนำไปสู่ความบิดเบี้ยวของมุมมองที่มองตนเองยิ่งใหญ่ สูงส่ง ในขณะที่คนอื่นดูต้อยต่ำ และไร้ค่า [Gaslighting] จนอ่านส่งผลให้สูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้าง หรือนำไปสู่สภาวะต่อต้านสังคม (Anti-Social) หรือ ไซโคพาธ (Psychopath) ได้เลย
ที่มาของคำว่า Narcissist
คำว่า Narcissist มีรากศัพท์ที่น่าสนใจมาก ๆ และจะทำให้เราเข้าใจความหมายของคำนี้มากขึ้น โดยคำนี้รากศัพท์มากจากชื่อของตำนานกรีก โดยเป็นเรื่องราวของ ‘Narcissus’ (นา-ซี-ซัส) ผู้เป็นพรานหนุ่มรูปงาม มากฝีมือ แต่แม้จะมีหญิงสาวมากมายมาหมายปอง Narcissus ไม่เคยสนใจผู้ใดเลย จนกระทั่งเขาได้เห็นเงาตนเองที่สะท้อนกับน้ำ เขาจึงตกหลุมรักในความงามของตนเอง จดจ้องเงาตนเองจนสุดท้าย Narcissus ได้ตายลง จากการที่ไม่สามารถละสายตาจากเงาของตนเอง
โดยสุดท้ายแล้วเหล่าทวยเทพได้เสกให้ร่างไร้วิญญาณของ Narcissus กลายเป็นดอกไม้ ที่มีชื่อว่า Narcissus ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนามดอกแดฟโฟดิล (Daffodil) ซึ่งเป็นดอกไม้ที่จะหันหน้าเข้าหาพระอาทิตย์ตลอด หากไม่ได้แสงแดดจะค่อย ๆ ก้มหน้าปักด และตายลง เหมือนกับ Narcissus ผู้หลงตนเอง หิวแสงอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
อาการเบื้องต้นของ Narcissist โรคหลงตัวเอง
อาการของ Narcissist สามารถมีความหลากหลาย แตกต่างกันไปตามระดับ หรือการเติบโตของแต่ละคน ฉะนั้นไม่ได้กล่าวว่าคนเป็นโรคหลงตัวเองจะต้องมีอาการแบบเดียวกันหมด แต่หากมีเกินครึ่ง หรือมีข้อใดมาก ๆ ก็อาจจะเข้าข่าย Narcissist ได้
- คิดว่าตนเองมีความสำคัญที่สุดตลอดเวลา ต้องให้คนรอบข้างชม ยกย่องอยู่เสมอ
- ต้องการสิทธิพิเศษ หรือการปฏิบัติที่แตกต่างจากผู้อื่นอยู่เสมอ
- คิดว่าความสามารถ และความสำเร็จของตน ยิ่งใหญ่กว่าผู้อื่น
- พูดถึงแต่ความสำเร็จของตนเอง ฐานะ ไปจนถึงคนรอบข้าง เช่น หน้าตาของแฟน ความดีงามของเพื่อน ๆ จนมีความเกินจริง
- คบหาแต่ผู้ที่เชื่อว่าอยู่ในระดับเดียวกับตน
- นิสัยชอบวิจารณ์ และดูถูกผู้อื่น
- ชอบเอาเปรียบผู้อื่นแม้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
- มักมองข้ามความรู้สึก และความต้องการของผู้อื่น
- อิจฉาผู้อื่น ในขณะที่คิดว่าผู้อื่นอิจฉาตนเอง
- ไขว่คว้าทุกสิ่งอย่างที่ดี ไม่ว่าจะเป็นรถ บ้าน การไปเที่ยว
- ชอบบันดาลโทสะกับพนักงาน หรือเพื่อนร่วมงาน
- จัดการความเครียด และการเปลี่ยนแปลงไม่ค่อยได้
โดยภายนอกของ Narcissist อาจเต็มไปด้วยเสน่ห์ และไม่ได้แสดงความหลงตัวเองออกมาอย่างเด่นชัด แต่หากรู้จักกันไปนาน ๆ จะรู้สึกว่าบุคคลผู้นี้ไม่ได้จริงใจ และอาจหาวิถีทางอ้อม ๆ ในการชักจูงเรา หรือทำให้เขากดเรา ทำให้รู้สึกไม่ดี
สาเหตุการเป็น Narcissist
แน่นอนว่าเราอาจไม่สามารถเจาะจงไปที่เพียงสาเหตุเดียวที่ทำให้คน ๆ หนึ่งเป็นโรคหลงตัวเองได้ โดยสามารถเกิดจากทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่
สภาพแวดล้อม : การเลี้ยงดูมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก เช่นการเลี้ยงแบบประคบประหงม ตามใจมากเกินไป ไปจนถึงการส่งสัญญาณผิด ๆ ให้เด็กเล็กในช่วงกำลังพัฒนา อาจทำให้แง่มุมที่เขา หรือเธอมีต่อตนเองบิดเบี้ยวได้
พันธุกรรม : งานวิจัยระบุว่าผู้ชายมีโอกาสเป็น Narcissist มากกว่าผู้หญิง และหากมีเครือญาติที่เป็น Personality Disorder ลูกหลานก็มีโอกาสเป็นสูงกว่าบุคคลทั่วไป
ประสาทชีววิทยา : มีงานวิจัยระบุว่าผู้ที่เป็นโรคหลงตัวเอง จะมีคลื่นสมองฝั่งซ้ายที่บกพร่อง โดยเฉพาะในส่วน anterior insula ที่ควบคุมด้านอารมณ์ ความเห็นอกเห็นใจ
แบบทดสอบว่าคุณเป็น Narcissist หรือไม่ ?
ตอบให้ครบทุกข้อด้วยความสัตย์จริง ใช้ระบบบวกคะแนนตามคำตอบของคุณ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง +2 คะแนน
เห็นด้วย +1 คะแนน
กลาง ๆ 0 คะแนน
ไม่เห็นด้วย -1 คะแนน
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง -2 คะแนน
1. ฉันสามารถชักจูงคนได้อย่างง่ายดาย
a) เห็นด้วยอย่างยิ่ง
b) เห็นด้วย
c) กลาง ๆ
d) ไม่เห็นด้วย
e) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
2. ฉันมักจินตนาการถึงอำนาจและอิทธิพล ที่ตัวฉันจะได้รับ
a) เห็นด้วยอย่างยิ่ง
b) เห็นด้วย
c) กลาง ๆ
d) ไม่เห็นด้วย
e) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
3. ฉันอยากให้ผู้อื่นยกย่องและสนใจตนเอง
a) เห็นด้วยอย่างยิ่ง
b) เห็นด้วย
c) กลาง ๆ
d) ไม่เห็นด้วย
e) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
4. ฉันเชื่อว่าฉันเป็นคนพิเศษ เช่นเดียวกับคนรอบตัวของฉันด้วย
a) เห็นด้วยอย่างยิ่ง
b) เห็นด้วย
c) กลาง ๆ
d) ไม่เห็นด้วย
e) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
5. ฉันมักใช้งานผู้อื่น เพื่อทำให้ตนเองประสบความสำเร็จ
a) เห็นด้วยอย่างยิ่ง
b) เห็นด้วย
c) กลาง ๆ
d) ไม่เห็นด้วย
e) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
6. ผู้อื่นสมควรปฏิบัติกับฉันในแบบที่พิเศษกว่าผู้อื่น
a) เห็นด้วยอย่างยิ่ง
b) เห็นด้วย
c) กลาง ๆ
d) ไม่เห็นด้วย
e) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
7. เวลาผู้อื่นแสดงความรู้สึกต่าง ๆ ฉันมักจะไม่ค่อยเข้าใจ และไม่ได้มีความรู้สึกร่วมกับคนอื่น
a) เห็นด้วยอย่างยิ่ง
b) เห็นด้วย
c) กลาง ๆ
d) ไม่เห็นด้วย
e) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
8. ชั้นมักพูดเว่อร์เกินจริงทุกครั้งที่พูดถึงความสำเร็จของตนเอง
a) เห็นด้วยอย่างยิ่ง
b) เห็นด้วย
c) กลาง ๆ
d) ไม่เห็นด้วย
e) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
9. ชั้นรับมือกับความเครียดและความเปลี่ยนแปลงไม่ดีเลย
a) เห็นด้วยอย่างยิ่ง
b) เห็นด้วย
c) กลาง ๆ
d) ไม่เห็นด้วย
e) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
10. ฉันมักคิดว่าคนอื่นอิจฉาฉันอยู่ตลอดเวลา
a) เห็นด้วยอย่างยิ่ง
b) เห็นด้วย
c) กลาง ๆ
d) ไม่เห็นด้วย
e) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ผลลัพธิ์
- 16-20 คะแนน : มีแนวโน้ม Narcissist ที่แข็งแกร่ง
- 11-15 คะแนน : มีแนวโน้ม Narcissist ปานกลาง
- 6-10 คะแนน : มีแนวโน้ม Narcissist ที่อ่อนบาง
- 1-5 คะแนน : มีแนวโน้ม Narcissist อย่างน้อย
- 5-0 คะแนน : มีแนวโน้ม Narcissist ที่ต่ำมาก
การรักษาของผู้ที่มีอาการ Narcissist
สำหรับโรคหลงตัวเอง ก้าวแรกของการรักษาที่สำคัญยิ่งคือ การตระหนักรู้ ว่าตนเองมีความหลงตัวเอง และมีมุมมองเกี่ยวกับตนเอง และคนรอบข้างที่บิดเบี้ยว โดยครั้นเข้ามารักษาแล้ว จะไม่สามารถแก้อาการได้ภายในชั่วข้ามคืน ต้องอาศัยเวลาปรับความเข้าใจ พูดคุยกับคุณหมอเยอะ ๆ บำบัดเดี่ยว และบำบัดกลุ่ม โดยประเด็นหลัก ๆ ที่นักบำบัดจะพยายามทำคือ
- การตอบรับ และรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และครอบครัว
- การโอบรับคำวิจารณ์ ติชม และความผิดพลาด
- เข้าใจ และเท่าทัน อารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง
- ตระหนักว่าความคิด เป้าหมาย หรือแผนการไหน สามารถปฏิบัติได้จริง หรืออันไหนเกินจริง และมีความสุขกับสิ่งที่ตนเองมีอยู่
การรับมือกับบุคคลที่เป็น Narcissist
อีกหนึ่งปัญหาที่ยากมาก ๆ คือหากกรณีที่เราต้องทำงาน หรือใช้ชีวิตอยู่คู่กับคนที่มีอาการเป็นโรคหลงตัวเองเรื้อรัง เราจะใช้อยู่ร่วมกับเขาได้อย่างไรโดยที่ไม่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ และเกิดความรู้สึกสุดแสน toxic
สร้างความมั่นใจให้กับตนเอง : การรับมือกับ Narcissist อันดับแรกคือเราจะต้องแข็งแกร่งทางด้านจิตใจเสียก่อน สร้างความมั่นใจจากภายในให้กับตนเอง self-esteem ต้องเยอะ จะได้มั่นใจว่าจะไม่โดยผู้ใดกดขี่ และมีจุดยืนที่มั่นคงอยู่ตลอดเวลา
ไม่รับคำสัญญา แต่วัดกันที่การกระทำจริง ๆ : Narcissist มีความสามารถในการพูด ให้คำสัญญาไปก่อนโดยสุดท้ายแล้วอาจจะทำไม่ได้ หรือเป็นเพียงคำพูด คำเคลมเกินจริง ฉะนั้นอย่ารับเพียงแค่คำพูด ให้เขา หรือเธอพิสูจน์กันที่การกระทำจริงไปเลย
เห็นใจ แต่ไม่ตามใจ : ไม่ควรให้ท้ายคนที่เป็น Narcissist มากเกินไป แต่ก็ยังสามารถแสดงความเห็นอกเห็นใจ และเป็นห่วงเป็นใยในฐานะคนรู้จัก โดยที่ไม่สนับสนุนให้เขา หรือเธอเชื่อแบบผิด ๆ ต่อไป
รู้ว่าควรหยุดเมื่อไหร่ : ครั้นความสัมพันธ์กับคน Narcissist มีความเป็นพิษมากเกินไป ก็รู้ที่จะหยุด และถอยออกมา และไม่โทษตนเองว่าเป็นผู้ที่ทำให้ความสัมพันธ์จบลง
เมื่อรู้จักสภาวะ Narcissist แล้ว ไม่ว่าคุณกำลังคิดว่าตนเองเป็น หรือกำลังต้องรับมือกับคนเป็นโรคหลงตัวเอง ก็อย่าเพิ่งถอดใจ ดูแลสุขภาพใจขแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพร่างกายของเรา แรบบิท แคร์ จึงอยากแนะนำ ประกันสุขภาพ จากสถาบันการเงินชื่อดัง สนใจ คลิกเลย
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี