พ่อแม่มือใหม่ บริหารการเงินอย่างไรให้รุ่งเงินไม่ช็อต
วางแผนออมเงินให้ลูกแบบไหนดี
การวางแผนการเงินให้แก่ลูกน้อยนั้นถือว่า เป็นเรื่องที่สำคัญ เช่น เริ่มตั้งแต่ลูกจะเริ่มเรียนอนุบาลที่โรงเรียนอะไร ต้องใช้เงินจำนวนเท่าไร ในระหว่างทางจะต้องประสบกับค่าใช้จ่ายอะไร ฉะนั้นแล้วควรเริ่มวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ ไปจนถึงระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องวางแผนเงินนั้นให้งอกเงย ซึ่งมีหลากหลายวิธีดังนี้
1.ฝากประจำแบบปลอดภาษี
ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดให้เงินฝากบัญชีปลอดภาษี เริ่มตั้งแต่ 12 เดือน 24 เดือน หรือ 36 เดือน เป็นการฝากเงินเท่ากันทุกงวดตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น ถ้าหากเริ่มบัญชีกำหนดไว้ที่ 24 เดือน ในทุก ๆ เดือนจะต้องฝากเงิน 10,000 บาท จนครบ 24 เดือน ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด และไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 ถือว่าเป็นบัญชีเงินฝากประจำประเภทหนึ่งที่ให้อัตราดอกเบี้ยคงที่แม้ว่า ในช่วงนั้นเศรษฐกิจจะหดตัวลง ทำให้ดอกเบี้ยของธนาคารปรับลดลงแค่ไหนก็ตาม จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ซึ่งถือว่า เป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการวางแผนเงินออมให้ลูกน้อย
2.กองทุนรวมตราสารหนี้
มีความปลอดภัยใกล้เคียงกับการฝากออมทรัพย์ แต่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกวา โดยมีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชน เป็นต้น ตามที่หนังสือชี้ชวนของกองทุนนั้นๆ กำหนด แต่ต้องมีการวางแผนทางการเงินให้ดีหากต้องมีปัญหาในการใช้เงิน เพราะจะสามารถบเงินเมื่อขายคืนกองทุน โดยกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นส่วนใหญ่ได้เงินคืนในวันที่ T+1 (1 วันทำการนับจากวันทำรายการขายคืนหน่วยลงทุน) ส่วนกองทุนตราสารหนี้ระยะปานกลาง ส่วนใหญ่จะได้รับเงินค่าขายคืนในวันที่ T+2 (2 วันทำการนับจากวันทำรายการขายคืนหน่วยลงทุน) นั่นเอง
3.ทองคำ
ต้องยอมรับว่า ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเนื่องจากหาซื้อได้ง่ายและขายได้คล่อง ธนาคารแห่งชาติทั่วโลกต่างก็ใช้ทองคำเป็นส่วนหนึ่งของทุนสำรองระหว่างประเทศ และคนส่วนใหญ่ก็นิยมซื้อเพื่อสะสม ลงทุน และเก็งกำไร เพราะมีสภาพคล่องในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที ทองคำจึงเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างผลตอบแทนที่ดี ทองคำแท่งที่ลงทุนโดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ ความบริสุทธิ์ 96.5% และ 99.99% นอกจากนี้ยังสามารถทองคำผ่านกองทุนรวมได้อีกด้วย เป็นการเก็บออมได้ในจำนวนเงินทีละน้อย ๆ ขั้นต่ำเพียงเดือนละ 1,000 บาท เท่านั้น
4.พันธบัตรรัฐบาล
การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือตราสารหนี้รัฐบาล ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ ผู้ซื้อซึ่งนักลงทุนมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับการชำระหนี้และผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล จากลูกหนี้คือรัฐบาลหรือหน่วยงานที่ออกพันธบัตร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากำหนด ระยะเวลาลงทุนไม่นานมาก เช่น 3 ปี 5 ปี 7 ปี สามารถรับผลตอบแทนดีกว่าฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำ โดยพันธบัตรรัฐบาลจะมีราคาจำหน่ายอยู่ที่หน่วยละ 1,000 บาท และกำหนดวงเงินซื้อขั้นต่ำไว้ที่ 1,000 บาท เท่ากับ 1 หน่วย
5.ลงทุนหุ้น
หลายคนอาจจะมองว่า การออมเงินในหุ้นนั้นค่อนข้างทำความเข้าใจยาก แต่ปัจจุบัน ได้มีการออมหุ้นแบบ DCA (Dollar Cost Averaging) เป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยมีการกำหนดช่วงเวลา และทยอยซื้อในจำนวนเงินเท่า ๆ กัน อย่างสม่ำเสมอในระยะยาวคล้ายกับการฝากประจำที่ต้องลงเดือนละเท่า ๆ กัน เช่น กำหนดว่าจะซื้อหุ้น AOT จำนวน 5,000 บาท ทุกวันที่ 5 ของเดือน ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี โดยผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 8 – 12% และไม่ต้องเป็นกังวลต่อสภาวะตลาดในช่วงที่เกิดวิกฤติ เพราะส่วนใหญ่แล้วการออมเงินระยะยาว
6.ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
สามารรถสร้างเงินออมที่ตรงกับทุกเป้าหมายทางการเงิน ที่เราสามารถเลือกผลตอบแทนได้รวมถึงได้รับความคุ้มครองชีวิตให้อุ่นใจแถมยังลดหย่อนภาษีได้ นอกจากนี้การออมผ่านประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ยังได้รับเงินคืนทุก ๆ ปี ในระหว่างที่ทำประกัน รวมถึงได้เงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดสัญญาเป็นมูลค่าที่มากกว่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระไว้ จึงเป็นการเพิ่มพูนผลตอบแทนให้ได้อย่างคุ้มค่า ขณะเดียวกันหากในระหว่างสัญญาเกิดเสียชีวิตก่อนถึงกำหนด ผลประโยชน์ก็ไม่สูญเปล่าแต่ผู้ที่เป็นทายาทก็จะได้รับเงินก้อนนี้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการสร่างความมั่นคงให้แก่ชีวิตได้
สนใจวางแผนออมเงินให้ลูกผ่านประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ได้ที่ rabbit financ
มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี