แคร์การเงิน

ตามรอยแนวคิดและวิธีบริหารจัดการเงินแบบพ่อหลวง

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: October 23,2017

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นต้นแบบของประชาชนชาวไทยในหลายๆ เรื่อง ทั้งการรู้จักให้ การเสียสละ การอดทน การพอเพียง ฯลฯ โดยเฉพาะเรื่องการออมเงินของพระองค์ท่านที่ทรงแสดงให้เห็นตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์

ซึ่งแนวคิดและวิธีบริหารจัดการเงินแบบพระองค์ท่านนั้นเป็นเรื่องที่ประชาชนทั่วไปสามารถยึดถือ และปฏิบัติตามได้โดยง่าย ดังนี้


แนวคิดการบริหารจัดการเงิน

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ เพื่อนำไปขาย เมื่อทรงได้เงินมาก็จะนำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูก เพิ่มความมัธยัสถ์ถือเป็นคุณูปการสำคัญที่ทำให้ในหลวงทรงเรียนรู้ หลักความพอเพียงสมถะ ตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ถึงแม้พระองค์จะได้รับเงินค่าขนมก็ตาม จนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยมีพระดำรัสว่า

“ในสวนจิตรเนี่ย คนที่ประหยัดที่สุด คือ ในหลวง ประหยัดที่สุดทั้งน้ำ ทั้งไฟ เรื่องฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือยไม่มี”

หากคุณได้รับเงินรายวัน และต้องการจัดการบริหารเงินให้คุ้มค่าและประหยัดมากที่สุด คุณควรจัดสรรปันส่วนเงินให้ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ความพอเพียง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ขอบคุณภาพจาก www.tnews.co.th
  • แบ่งเงินเพื่อเก็บออม

การเก็บเงินหรือออมเงินนั้น ต้องใช้วินัยและความตั้งใจเป็นอย่างมาก เพราะโอกาสในการออมเงินให้ประสบความสำเร็จมีน้อยมาก ในบุคคลที่ไม่มีความตั้งใจ หรือ คุณควรตั้งเป้าหมายในการออมเงิน เช่น

ออมเงินเพื่อการทองเที่ยว, ออมเงินเพื่อซื้อของขวัญให้แก่คนรัก, ออมเงินเพื่อเป็นของขวัญให้แก่ตนเอง ซึ่งหากคุณมีเป้าหมายในการออมเงินแล้ว จะทำให้การออมเงินของคุณสนุก และประสบความสำเร็จเร็วขึ้น

  • แบ่งเงินรายจ่ายทุกเดือน

ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งค่าน้ำประปา, ค่าไฟฟ้า, ค่าโทรศัพท์, ค่ารีไฟแนนซ์บ้าน, ค่าผ่อนรถยนต์ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย

ดังนั้น คุณควรรีบแบ่งเงินชำระ พร้อมทั้งจดรายละเอียดของใช้จ่ายต่างๆ เพื่อที่คุณจะได้ไม่มีปัญหาจ่ายหนี้ไม่ตรงเวลา หรือเงินไม่พอชำระหนี้ เนื่องจากนำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่นก่อน

  • แบ่งเงินที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน

การแบ่งเงินเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้คุณสามารถกำหนดการใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งจะทำให้คุณมีเงินเหลือเพื่อการออมมากขึ้น

ซึ่งหากคุณจดบันทึกรายรับและรายจ่ายร่วมด้วย จะช่วยให้คุณสามารถประเมินการใช้จ่ายของคุณได้เป็นอย่างดีว่า ค่าใช้จ่ายที่เสียไปนั้นเป็นสิ่งที่คุ้มค่า และมีประโยชน์มากพอหรือไม่ ?


แนวคิดการรู้จักอดออม

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์พระองค์ได้กราบทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีว่า อยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เข้ามีกันหมด ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีรับสั่งว่า

“ลูกอยากได้ก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญได้มาก ค่อยเอาไปซื้อ”

จึงทำให้พระองค์ได้รู้จักการอดออม และเริ่มการเก็บออมเงินนับตั้งแต่ครั้งนั้น โดยพระองค์เก็บออมเงินจนสามารถซื้อรถจักรยาน และ กล้องถ่ายรูปด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์เอง ในขณะที่มีพระชนมพรรษาเพียง 8 พรรษา เท่านั้น

แสดงให้เห็นถึงการมีวินัย และความตั้งใจอย่างแท้จริงในการอดออมเงิน ซึ่งถือเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับนักออมเงินมือใหม่ หรือผู้ที่กำลังท้อแท้ในการเก็บออมเงิน

ของใช้ส่วนพระองค์ ร.9
ขอบคุณภาพจาก www.ddproperty.com

แนวคิดการเพิ่มคุณค่า

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงอบรมพระองค์ท่านให้รู้จัก “การให้” โดยทรงทำกระป๋องออมสินที่เรียกว่า “กระป๋องคนจน” เอาไว้ เพื่อให้พระองค์ท่านนำเงินที่ได้ไปมอบให้กับผู้ยากไร้ หรือมูลนิธิต่างๆ ทุกๆ สิ้นเดือน เช่นโรงเรียนสอนคนตาบอด, มอบให้เด็กกำพร้า, มอบให้ผู้พิการ หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน

โดยเงินใน “กระป๋องคนจน” มาจากเงินที่คล้ายกับการหักภาษีทั่วไป เพราะหากพระองค์นำเงินส่วนพระองค์ไปทำกิจกรรมต่างๆ แล้วได้ผลกำไร จะต้องถูก “เก็บภาษี” โดยหักเพียง 10% เพื่อนำมาหยอดในกระปุกดังกล่าว

การปลูกฝัง “การให้” ตั้งแต่ครั้งพระเยาว์นี้เอง ทำให้พระองค์กลายเป็นผู้ให้ ที่คอยมอบสิ่งดีๆ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทยมาตลอดระยะเวลา 70 พรรษา ที่ทรงครองราชย์


แนวคิดการรู้จักพอเพียง

ความพอเพียงของพระองค์ท่านเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย เช่น พระองค์ทรงใช้หลอดยาสีพระทนต์จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ และบริเวณคอหลอดบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด

เนื่องจากพระองค์ทรงใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และกดเป็นรอยบุ๋มนั่นเอง หรือการที่พระองค์ไม่ยึดติดกับวัตถุ เช่น ไม่โปรดการใช้ปากการาคาแพง หรือการใช้ดินสอของพระองค์ ที่ทรงใช้จนกว่าดินสอจะสั้นกุด และทรงเบิกดินสอใช้เพียงปีละ 12 แท่งเท่านั้น

เศรษฐกิจพอเพียง รัชกาลที่ 9
ขอบคุณภาพจาก welovethaiking.com

แนวคิดของพระองค์ที่รู้จักพอเพียง ไม่ยึดติดกับค่านิยม หรือวัตถุ เป็นต้นแบบอีกอย่างหนึ่งของปวงชนชาวไทยทั้งในเรื่องการใช้จ่าย และการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ซึ่งความพอเพียงนี้เป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้กับทุกคน ไม่ว่าจะรวยหรือจน เพราะหากคุณนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติจะทำให้คุณลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และมีเงินเก็บสะสมมากขึ้น

แนวคิดและวิธีบริหารจัดการเงินแบบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นั้น เป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยควรปฏิบัติตาม เพราะพระองค์ท่านทรงแสดงให้เห็นแล้วว่า แนวคิดดังกล่าวนี้สามารถทำได้จริง และถือเป็นการบริหารจัดการเงินอีกหนึ่งวิธีที่จะมีประโยชน์แก่ผู้ที่สามารถปฏิบัติตามได้


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024
Rabbit Care Blog Image 93664

แคร์การเงิน

มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
คะน้าใบเขียว
22/08/2024