แคร์ไลฟ์สไตล์

List วัคซีนแมว ที่เหล่าทาสแมวควรพาไปฉีด พร้อมวิธีเตรียมตัว และสังเกตอาการ

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: May 12,2023
  
Last edited: May 14, 2023
วัคซีนแมว

ทาสแมวมือใหม่ควรรู้ไว้ แรบบิท แคร์ List วัคซีนแมวที่ต้องพาและควรพาน้องแมวไปฉีดมาให้ วัคซีนแต่ละอย่างสำคัญและช่วยป้องกันอะไร รวมถึงนำวิธีการเตรียมตัวก่อนพาน้องแมวไปฉีดวัคซีน อาการข้างเคียงและสิ่งที่ต้องสังเกตหลังฉีดมาให้ เพื่อที่จะได้ดูแลน้องได้แบบครบถ้วนทุกขั้นตอน

วัคซีนแมว ประเภทหลัก

วัคซีนแมวประเภทหลักหรือวัคซีนพื้นฐานที่น้องแมวทุกตัวควรได้รับการฉีดเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันพื้นฐานป้องกันโรคต่าง ๆ ให้กับน้อง ๆ ซึ่งจะมี ดังนี้

วัคซีนรวมแมว

วัคซีนรวมแมว คือ วัคซีนที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคหวัดแมว ไข้หัดแมว โรคทางระบบทางเดินหายใจของน้องแมว รวมถึงช่วยป้องกันช่องปากและตาอักเสบ

วัคซีนพิษสุนัขบ้า

วัคซีนพิษสุนัขบ้า (Rabies) เป็นวัคซีนแมวที่จำเป็นมากตัวหนึ่ง เนื่องจากพิษสุนัขบ้านั้นไม่เพียงสามารถติดต่อได้แค่ในสุนัขเท่านั้น แต่ยังสามารถติดต่อผ่านแมว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และมนุษย์ได้เช่นกัน ซึ่งหากไม่ฉีดวัคซีนป้องกัน เมื่อน้องแมวโชคร้ายติดเชื้อจะทำให้มีอาการดุร้าย กัดสิ่งมีชีวิตและสิ่งของรอบตัว อาจเผชิญภาวะเป็นอัมพาตและเสียชีวิตในที่สุด

วัคซีนแมว 8 สัปดาห์

วัคซีนโรคหัดแมว

วัคซีนโรคหัดแมว (Feline Panleukopenia) หรือที่บางคนรู้จักในชื่อวัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบในแมว ซึ่งโรคนี้จะสามารถเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อไวรัส Feline Panleukopenia ซึ่งมักพบได้ในแมวเด็กหรือแมวที่อายุยังน้อย โดยอาการของโรคจะส่งผลให้ลูกแมวมีอาการเบื่ออาหาร ขาดน้ำ เซื่องซึม มีไข้ อาเจียน และเม็ดเลือดขาวต่ำ 


วัคซีนลูคีเมียแมว

วัคซีนโรคลูคีเมียในแมว (Feline Leukemia) วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งชนิดที่พบได้บ่อยในแมว เกิดจากการติดเชื้อไวรัส FelineLeukemia ซึ่งจะติดต่อกันผ่านทางน้ำลาย ขน อุจจาระ-ปัสสาวะของแมวที่มีเชื้อ หรือกัดกับแมวที่มีเชื้อ ซึ่งเมื่อติดแล้วจะมีอาการ คือ มีไข้สูง หายใจไม่สะดวก ท้องเสียรุนแรง น้ำหนักตัวลดลง มีอาการอ่อนเพลีย เซื่องซึม เฉื่อยชา 

และยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองโต ติดเชื้อฉับพลันบริเวณระบบปัสสาวะ โลหิตจาง และทางเดินหายใจเกิดภาวะไขกระดูกถูกกดซึ่งจะทำให้แมวของเราทุกข์ทรมานมากอีกด้วย

วัคซีนแมว ประเภทเสริม

วัคซีนแมวประเภทเสริม หรือที่อาจเรียกได้ว่าวัคซีนแมวโรคกลุ่มเสี่ยง เป็นวัคซีนที่หากน้องแมวไม่ได้มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง หรือถูกเลี้ยงในระบบปิด ไม่ได้ปล่อยให้ออกไปเที่ยวข้างนอกหรือมีปฏิสัมพันธ์กับแมวตัวอื่น และเจ้าของไม่ต้องการฉีดจะเลือกที่จะไม่ฉีดก็ได้ แต่แน่นอนว่าฉีดกันไว้ก็ย่อมดีกว่าแน่นอน

วัคซีนแมวเอดส์แมว

วัคซีนโรคเอดส์แมว (Feline Immunodeficiency) เพราะน้องแมวก็สามารถเป็นเอดส์ได้เช่นกัน ซึ่งโรคนี้จะมีกระบวนการเกิดขึ้นเหมือนการติดเชื้อ HIV ในร่างกายมนุษย์ จากนั้นก็ลุกลามเป็นโรคเอดส์ในเวลาต่อมา ซึ่งการติดโรคดังกล่าวจะทำให้แมวเกิดภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง โดยจะสามารถแบ่งได้เป็น 5 ระยะ เริ่มจากอาการพื้นฐานอย่างมีไข้สูง เบื่ออาหาร เหงือกอักเสบ จากนั้นก็จะเกิดภาวะหรือโรคแทรกว้อนมากขึ้น จนเสียชีวิตในท้ายที่สุด

วัคซีนแมว พิษสุนัขบ้า

วัคซีนป้องกันเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

เป็นการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันอีกหนึ่งโรคร้ายแรงที่สามารถทำให้น้องแมวเสียชีวิตได้ เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดอักเสบ เมื่อเกิดบริเวณอวัยวะใดก็จะทำลายระบบต่าง ๆ บริเวณอวัยวะนั้น โดยส่วนมากจะพบว่าเกิดกับอวัยวะภายในช่องท้อง ทรวงอก ตา และระบบประสาทเป็นส่วนใหญ่

ต้องพาน้องแมวไปฉีดวัคซีนแมว เมื่อไหร่?

สำหรับคำถามที่หลายคนสงสัย ต้องพาเด็ก ๆ ไปฉีดวัคซีนแมวเมื่อไหร่ อะไรฉีดตอนไหน แรบบิท แคร์ สรุปวัคซีนที่ต้องฉีดและช่วงอายุมาให้ ด้านล่างนี้เลย!

  • ช่วงอายุ 6 สัปดาห์ : ต้องพาน้องแมวไปตรวจสุขภาพกับคุณหมอและรับการถ่ายพยาธิ

  • ช่วงอายุ 8-9 สัปดาห์ : ต้องพาไปฉีดวัคซีนรวม โรคไข้หวัดแมว หัดแมว วัคซีนดูแลระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก ป้องกันตาอักเสบ เข็มที่ 1

  • ช่วงอายุ 10-12 สัปดาห์ : ต้องพาไปฉีดวัคซีนรวม โรคไข้หวัดแมว หัดแมว วัคซีนดูแลระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก ป้องกันตาอักเสบ เข็มที่ 2 และ วัคซีนป้องกันลูคีเมียเข็มที่ 1

  • ช่วงอายุ 12 สัปดาห์ : ต้องพาไปฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า เข็มที่ 1

  • ช่วงอายุ 12-16 สัปดาห์ : ต้องพาไปฉีดวัคซีนรวม โรคไข้หวัดแมว หัดแมว วัคซีนดูแลระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก ป้องกันตาอักเสบ เข็มที่ 3 และ วัคซีนป้องกันลูคีเมียเข็มที่ 2

  • นอกจากนี้ยังควรฉีดยาป้องกันเห็บหมัดและพยาธิหนอนหัวใจในทุกเดือน

ช่วงอายุ (สัปดาห์)

ฉีดวัคซีนแมว/ดูแลสุขภาพ

6 สัปดาห์

- ตรวจสุขภาพ/ถ่ายพยาธิ

8-9 สัปดาห์

- วัคซีนรวม โรคไข้หวัดแมว หัดแมว วัคซีนดูแลระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก ป้องกันตาอักเสบ เข็มที่ 1

10-12 สัปดาห์

- วัคซีนรวม โรคไข้หวัดแมว หัดแมว วัคซีนดูแลระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก ป้องกันตาอักเสบ เข็มที่ 2


- วัคซีนป้องกันลูคีเมีย เข็มที่ 1

12 สัปดาห์

- วัคซีนพิษสุนัขบ้า เข็มที่ 1

12-16 สัปดาห์

- วัคซีนรวม โรคไข้หวัดแมว หัดแมว วัคซีนดูแลระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก ป้องกันตาอักเสบ เข็มที่ 3


- วัคซีนป้องกันลูคีเมีย เข็มที่ 2

*ทุกเดือน

- ฉีดยาป้องกันเห็บหมัดและพยาธิหนอนหัวใจ

*ทุก 3 เดือน

- ถ่ายพยาธิ

*ทุกปี

- วัคซีนรวม


- วัคซีนป้องกันลูคีเมีย


- วัคซีนพิษสุนัขบ้า

*ควรถ่ายพยาธิทุก ๆ 3 เดือน

*วัคซีนโรคไข้หวัดแมว หัดแมว วัคซีนดูแลระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก ป้องกันตาอักเสบ วัคซีนป้องกันลูคีเมีย และวัคซีนพิษสุนัขบ้า ควรฉีดซ้ำทุกปี

วัคซีนแมว อาการหลังฉีด

ฉีดวัคซีนแมว ต้องเตรียมตัวให้น้องแมวอย่างไร?

เรื่องที่ทาสแมวหลายคนอาจเผลอมองข้ามไป จะพาเจ้านายไปฉีดวัคซีนไม่ใช่ว่าจู่ ๆ นึกอยากจะพาไปก็พาไปได้ อย่าลืมเตรียมตัวให้น้องและทำสิ่งที่ต้องทำก่อนไป ตามนี้เลย

  1. อาบน้ำน้องแมวให้สะอาดก่อนพามาฉีดวัคซีน เนื่องจากหลังการฉีดวัคซีนแมวและหยอดยาบางชนิดสัตวแพทย์อาจจะมีคำแนะนำในเรื่องงดการอาบน้ำไปซักระยะหนึ่ง (ปกติหลังฉีดวัคซีนจะงดอาบน้ำ 7 วัน) อีกทั้งบางครั้งน้องแมวอาจมีอาการข้างเคียงอย่างเป็นไข้ ซึ่งไม่ควรอาบน้ำให้อย่างเด็ดขาด
  1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ที่ให้เตรียมตัวก่อนไปฉีดวัคซีนอย่างเคร่งครัด
  1. พยายามทำให้น้องแมวรู้สึกผ่อนคลายและสบายใจมากที่สุดเมื่อเดินทางเพื่อที่จะไปฉีดวัคซีน

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนแมว

ภายหลังการฉีดวัคซีนอาจมีอาการหรือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ หากมีอาการเหล่านี้เหล่าทาสแมวไม่ต้องตกใจ เป็นเพียงอาการชั่วคราวเดี๋ยวก็หาย ไม่ต้องกังวล

  • มีไข้อ่อน ๆ 
  • มีอาการเซื่องซึม
  • เจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีนแมว
  • ผิวบริเวณที่ฉีดวัคซีนบวมเล็กน้อย
  • มีน้ำมูก มีอาการไอ และจาม

สัญญาณอันตรายหลังฉีดวัคซีนแมว ต้องรีบพาไปพบแพทย์

หลังจากทราบอาการหรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีนแมวไปแล้ว มาดูอาการซึ่งเป็นสัญญาณอันตราย หากเกิดขึ้นต้องนำน้องแมวไปพบสัตวแพทย์ทันที

  • น้องแมวมีผื่นแดงขึ้นตามตัว
  • มีอาการหายใจไม่สะดวก 
  • มีอาการบวมตามตัวหลายจุด
  • มีอาการบวมบริเวณใบหน้า/รอบดวงตา
  • มีอาการไอติดต่อกันไม่หยุด
  • ท้องเสีย-ท้องร่วง
  • อาเจียน

ข้อดีของการฉีดวัคซีนแมว

  • ป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วยของน้องแมว
  • ป้องกันไม่ให้น้องแมวกลายเป็นพาหะนำโรคที่ติดต่อไปสู่คนได้
  • หลีกเลี่ยงโอกาสการเสียค่ารักษาพยาบาลมหาศาลในอนาคตได้
  • น้องแมวที่ฉีดวัคซีนแมวจะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นกว่าไม่ฉีด
  • เป็นการดูแลสุขภาพของน้องแมวในระยะยาว
  • เจ้าของและคนรอบตัวสามารถสัมผัสน้องแมวได้อย่างวางใจ

แน่นอนว่าการฉีดวัคซีนแมวถือเป็นการดูแลขั้นพื้นฐานที่เหล่าเจ้าของจะต้องดูแลรับผิดชอบไม่ให้ขาดตกบกพร่อง นอกเหนือจากการทำความเข้าใจนิสัยแมวและการให้ความรักความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ


ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับใครที่ต้องการดูแลเพื่อนซี้สี่ขาตัวนี้ให้มากขึ้นก็สามารถเลือกทำประกันสัตว์เลี้ยง กับ แรบบิท แคร์ ได้ เพื่อความปลอดภัยในการคุ้มครองดูแลสุขภาพและอุบัติเหตุของน้องแมวในระยะยาวนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 96153

แคร์ไลฟ์สไตล์

เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
Thirakan T
27/08/2024